5 พ.ค. 2021 เวลา 14:05 • ไลฟ์สไตล์
"ภาษี" ฝรั่ง VS ไทย
บทความนี้เราจะแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับสวัสดิการที่ได้จากประเทศสวีเดน เราเคยได้ยินคนพูดกันว่าภาษีต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วสูง ยอมรับว่าภาษีที่นี่สูงจริงนะ ภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเริ่มที่ 30 - 50% (อัตราก้าวหน้าเหมือนบ้านเรา) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 25% (สำหรับสินค้าทั่วไป มีบางสินค้าที่เสียต่างกัน)
ตัวเลขการเสียภาษีแค่คร่าวๆอะ เราไม่ได้ค้นหาข้อมูล100% เพราะไม่ใช่สิ่งที่เราจะพูดถึงจริงๆ สิ่งที่เราอยากแชร์คือ เรารู้สึกว่าคนที่นี่ได้อะไรจากการเสียภาษีบ้าง🤔
1. เรามีลูก และตั้งแต่อนุบาลถึงปัจจุบันลูกเรียนอยู่ ป.5 ไม่เคยต้องมีปัญหาว่าจะเอาลูกไปเรียนไหนถึงจะดีที่สุดกับลูกเมื่อเทียบกับเงินในกระเป๋า เพราะทุกโรงเรียนมีมาตราฐานและคุณภาพใกล้เคียงกันมากๆ มีโรงเรียนเอกชนให้เลือก แต่ก็คุณภาพเหมือนรัฐบาลและฟรีเหมือนกันทั่วประเทศ👶🏻 👦🏻 👧🏻
เราไม่เคยที่จะต้องน้อยใจเสียใจว่าลูกไม่ได้เรียนโรงเรียนดีๆเหมือนลูกคนสวีเดนแท้ๆ ตอนนี้ลูกปันจักรยานไปเรียนเอง เพราะโรงเรียนอยู่ใกล้ๆบ้านนี่เอง🚴🏻‍♀️
2. ค่ารักษาพยาบาลฟรีและมาตราฐานเดียวกันทั่วประเทศ; ครอบครัวเราไม่เคยต้องกังวลว่าจะต้องเก็บเงินไว้สำหรับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยเลย
แม้ว่าจะไม่มีใครเป็นข้าราชการ ประกันสุขภาพก็ไม่จำเป็น (เราทำแต่ประกันอุบัติเหตุ สำหรับเงินช่วยเหลือ เช่น หากหลังการรักษาแล้วเรามีสุขภาพไม่ปกติ)
โรงพยาบาลเอกชนไม่แน่ใจว่ามีไหม แต่ไม่มีความจำเป็นและไม่เป็นที่นิยมเลย ทุกโรงพยาบาลของรัฐต้อนรับทุกคนเท่าเทียมกันและตามคิวใครมาก่อนหลัง (นอกจากฉุกเฉิน)🚑
ไม่เตยมีเหตุการณ์ว่าคนสวีเดนคนนี้รวย รู้จักคนนั้นคนโน้นแล้วได้รับสิทธิ์ก่อน คนที่นี่จะถูกปลูกฝั่งว่าการใช้สิทธิ์ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมนั้นน่าอับอาย ทั้งผู้ที่ใช้สิทธิ์และผู้ที่อนุญาติให้เกิดการใช้สิทธิ์
ส่วนการรักษาจะมุ่งเน้นที่อาการของคนไข้ แทนที่จะมุ่งเน้นว่าคนไข้เป็นใครจะมีเงินจ่ายค่ารักษาไหม ครอบครัวของเราไม่ได้ร่ำรวยคะเราพออยู่พอกิน แต่สามีละเอียดเรื่องการทำบัญชี แกทำบัญชีเพื่อกำหนดว่าเราจะใช้จ่ายอะไรได้เท่าไร
บัญชีเงินเก็บของเรามีรายการ เช่น เงินเก็บสำหรับซ่อมบ้าน (เผื่อว่ามีปัญหาอะไร) เงินเก็บสำหรับการท่องเที่ยว เงินเก็บสำหรับรถเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนคันใหม่ ฯลฯ แต่ไม่มีรายการเงินเก็บเมื่อเจ็บป่วย หรือเงินเก็บสำหรับการศึกษาของลูกเลย
3. ไม่ต้องกังวลว่าแก่ไปจะเอาเงินที่ไหนมาใช้ เพราะทุกคนที่เสียภาษีจะได้รับเงินนั้นคืนเมื่อหยุดทำงานหรือเมื่อปลดเกษียณ ได้รับมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภาษีที่เสียไว้ตอนหนุ่มๆ
เรากับสามีมีบัญชีเงินเก็บไว้ใช้ตอนแก่ เพราะเราอยากอยู่สะดวกสบายมากขึ้น ไม่ใช่เพราะเรากลัวจะไม่มีอาหารและที่อยู่หรือยารักษาโรค (ตรงนี้ขอแชร์ยาวหน่อยนะคะ)
คือ บ้านเรา (เมืองไทย) ลูกๆ หรือเด็กๆ จะถูกสอนให้ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่แก่ชรา ส่วนตัวแล้วคิดว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่ดีและสวยงามมากๆๆ แต่พอมาที่นี่ไม่มีเด็กคนไหนถูกปลูกฝังให้เลี้ยงพ่อแม่ยามแก่เฒ่าเลย 😱😱
เท่าที่เราได้สัมผัสกับคนที่นี่ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่รักพ่อแม่หรือไม่รู้จักบุญคุณนะคะ แต่พวกเขาดูแลพ่อแม่ยามพ่อแม่ชรา เพราะความเป็นลูกและด้วยความรัก ไม่ใช่ทำเพราะการถูกปลูกฝังให้รู้สึกว่าเป็นหน้าทีหรือความรู้สึกบาป
เราก็เลยสงสัยว่าหรือมันจะโชคดีที่บ้านเรา (เมืองไทย) มีวัฒนธรรมปลูกฝังให้เด็กทำหน้าทีดูแลคนชรา (พ่อแม่) มิฉะนั้นใครจะเลี้ยงดู? เพราะที่นี่รัฐบาลต้องใช้ภาษีจำนวนเยอะมาก เพื่อคอยดูแลและเลี้ยงดูผู้สูงอายุให้มีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยคุณภาพ
มันทำให้ประชากรคนหนุ่มสาวที่นี่มีหน้าทีเพียงแค่ทำงานเพื่อดูแลตัวเอง สร้างครอบครัวตัวเอง และเสียภาษี ส่วนรัฐมีหน้าที่เอาภาษีมาบริหารให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีทั้งปัจจุบันและอนาคต (อย่างแท้จริง) พอมาถึงตรงนี้เราก็สงสัยอีกว่า มันจะเป็นโชคดีที่เรามีวัฒนธรรมอันสวยงามนี้ หรือ มันคืออะไรกันแน่ 🤔 🙄
4. ความรู้สึกปลอดภัยบนท้องถนน คือ ถนนหนทางที่นี่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุจริงๆ ไม่ใช่เฉพาะแค่ทางเท้านะ เขามีทางสำหรับคนปั่นจักรยานที่ปลอดภัยด้วย
ที่เราชอบแม้มันจะใช้เวลาสักหน่อยคือ ทางแยกหรือทางตัด ทางแยกใดที่มีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุ เขาจะทำวงเวียน และทุกคนที่ขับรถจะต้องผ่านการสอบใบขับขี่เพื่อให้รู้กฎการใช้วงเวียนใครเข้าก่อนหรือหลัง 🚗 🚕
ทางแยกหรือทางตัดที่ต้องมีการเลี้ยวตัดถนน และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงหรือเคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้บ่อย เขาจะสร้าง เช่น อุโมงค์ หรือสะพาน ให้ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการขับตัดหรือข้ามฝั่งถนน
เราไม่ได้อาศัยในเมืองหลวง ในเมืองเล็กๆ ทั่วไปหากมีถนนใดที่มีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุเขาก็แก้ไข เราเชื่อว่าเงินที่พวกเขาใช้ปรับปรุงถนนหนทางเหล่านี้มันคือภาษี
ยังมีอีกหลายสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าภาษีที่นี่สูงแต่ไม่แพง เพราะสิ่งที่ได้มันคือคุณภาพสมกับที่เราเสียไป ที่สำคัญเราเชื่อได้ว่ามันถูกนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจริงๆ
ตอนลูกของเราเรียน ป.1 เขาอ่านหนังสือช้ากว่าเพื่อนคนอื่นๆ เขาจึงได้เรียนการอ่านส่วนตัวจากครูพิเศษ ต่อมาลูกเราอ่านได้คล่อง เรารู้สึกขอบคุณครูพิเศษคนนั้นมากและอยากจะตอบแทนด้วยของขวัญเล็กๆน้อยๆ แต่ถูกแฟนคนสวีเดนห้ามไว้เขาบอกว่านั้นเป็นการปลูกฝังให้เกิดคอรัปชั่น 😱
เราก็งง เขาอธิบายว่าครูทำตามหน้าที และที่สำคัญครูเองก็ไม่อยากให้เด็กเห็นหรือถูกปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ (การให้ของกำนัลกับใครสักคนเพื่อให้ได้สิทธิพิเศษอะไรสักอย่างถือว่าเป็นคอรัปชั่น) คนสวีเดนจะถูกปลูกฝังให้รู้สึกว่าคอรัปชั่นเป็นสิ่งที่น่ารังเกลียด 😍
ยังมีประสบการณ์อีกเยอะแยะที่เราอยากแชร์เพื่อนๆ เกี่ยวกับภาษี อย่าเข้าใจเราผิดไปนะ (หรือจะทำก็แล้วแต่ใครจะคิดคะ) เพราะเราไม่ได้มีจุดประสงค์มาเล่าเพื่ออวดว่าประเทศอื่นดีอย่างไร แต่เราเพียงอยากเล่าว่าบ้านเรา (เมืองไทย) ต่างหรือเหมือนกับประเทศอื่นอย่างไร
อันที่จริงเราอยากแชร์ประสบการณ์สำหรับเพื่อนๆคนไทยโดยเฉพาะที่คิดว่า “ที่เมืองไทยก็ดีอยู่แล้ว มันก็ต้องเป็นอย่างที่เป็นอยู่แล้วจะทำอะไรได้อีก” ฯลฯ เพราะความเป็นจริงมันยังสามารถทำให้ดีกว่าที่เราเป็นอยู่ได้อีกเยอะ💪💪
ถ้าใครจะบอกว่าภาษีต่างประเทศเก็บสูง ประเทศเราเก็บน้อยจะทำเหมือนอย่างที่ต่างประเทศทำได้อย่างไร ก็ลองคิดเล่นๆ ว่า อย่างประเทศสวีเดนมีประชากรประมาณ 10 ล้านคนสำหรับจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเทศเรามีเท่าไหร่ 🙄 🤔
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพราะเราไม่รักประเทศตัวเอง ตรงกันข้าม เราคิดว่าคำว่า "เมืองไทยดีที่สุด" ไม่ผิดไปเสียทั้งหมด เพราะถ้าสามารถแก้ไขสาธารณูปโภคและสวัสดิการพื้นฐานสำคัญ อย่างเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล เงินบำนาญคนชรา ได้ เมืองไทยคือเป็นประเทศที่ดีที่สุดสำหรับเราเลย
ทั้งภาษาตัวเอง อาหาร อากาศ สถานที่ท่องเที่ยว ฯ เราว่าประเทศไทยเรามีของดีจริงๆ ไม่อย่างงั้นฝรั่งจะอยากไปเที่ยวบ้านเราทำไมกัน... รักเมืองไทยและคนไทยเสมอ ❤️ ❤️
ป.ล.
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ แม้เราจะเล่าแต่มุมที่ดูดีของสวีเวน แต่ไม่มีที่ไหนที่สมบูรณ์แบบ ยังมีเรื่องเล่ามากมายหลากหลายมุมมองของความเหมือนที่ต่างความต่างที่เหมือน ว่างๆก็แวะมาคุยกันอีกนะ บายๆ 😊😊
อ่านเพิ่มเติม
🌼 "โรงเรียน" ฝรั่ง VS ไทย
🌼 “เชื่อฟัง - ฟังแล้วเชื่อ” ฝรั่ง VS ไทย
🌼 “ย้ายประเทศกันเถอะ” ฝรั่ง VS ไทย
🌼 “เยาวชน กับ การชุมนุม” ฝรั่ง VS ไทย
โฆษณา