8 พ.ค. 2021 เวลา 01:46 • หนังสือ
สรุปหนังสือ | หนังสือเสียง Ep.22 | เพราะชีวิต ดีได้กว่าที่เป็น : Atomic Habits โดย James Clear
ฟังไฟล์เสียงได้ที่ 👉🏻 https://youtu.be/QBNz_XO1gPE
...หนังสือเล่มนี้อ่านแล้วมีความสุขเพราะว่าจะรู้ว่าตัวเองจะต้องมีนิสัยอย่างไร...แค่เราหาต้นแบบว่าเราอยากสำเร็จเป็นแบบไหน...แล้วเราก็ไปดูว่าเค้าทำอย่างไรเราก็สามารถที่จะฝึกนิสัยแบบนั้นขึ้นมาได้...ความคิด—> ก่อให้เกิดความรู้สึก ความรู้สึก—>ก่อให้เกิดการกระทำ การกระทำจนเป็นนิสัย —> กำหนดโชคชะตา ...หนังสือเล่มเนี่ยจะทำให้เราสร้างนิสัยที่เราต้องการได้ง่าย เราสามารถกำหนดโชคชะตาตนเองได้
1
....ปรับปรุงสิ่งเล็กน้อยเพียงอย่างละ 1% ...เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วจะเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าขึ้นอย่างก้าวกระโดด
....แทบไม่มีใครสังเกตเห็นแต่มีคุณค่าในระยะยาว...หากพัฒนาตัวเองวันละ 1 %ทุกวันเป็นเวลา1 ปี จะก้าวหน้าขึ้น 37 เท่า
....ถ้าทำนิสัยแย่วันละ 1% จะแทบไม่เหลือนิสัยดี...ส่งผลกระทบที่ใหญ่หลวง คล้ายเงินฝากทวีคูณ...แต่เพราะไม่เห็นผลทันตา...จึงกลับไปมีพฤติกรรมเดิมและอาจมีพฤติกรรมแย่แทรกเข้ามาได้
....ถ้ากินอาหารทำลายสุขภาพวันนี้ เข็มน้ำหนักขึ้นไม่มาก
2
....ความสำเร็จเป็นผลของนิสัยที่ทำเป็นกิจวัตร...ไม่ใช่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอะไรเพียงครั้งเดียวในชีวิต
...ให้ดูว่านิสัยของคุณกำลังนำไปสู่ความสำเร็จไหม...ให้สนใจวิธีการมากกว่าผลลัพธ์
1
....ความมั่งคั่งคือมาตราวัดพฤติกรรมการใช้เงิน
น้ำหนักคือมาตราวัดประพฤติกรรมการกิน
ความรู้คือมาตราวัดพฤติกรรมการเรียนรู้
ความไม่เป็นระเบียบคือมาตราวัดพฤติกรรมรักษาความสะอาด
...คุณจะได้รับผลตามพฤติกรรมที่คุณทำซ้ำๆ
....หากต้องการทำนายจุดหมายปลายทางของชีวิตให้ดูสิ่งที่เลือกทำในแต่ละวัน...การมุ่งมั่นฝ่าฟันกับสิ่งเล็กๆคือสิ่งที่จะทำนายอนาคตคุณ
2
....เวลาจะส่งผลทวีคูณต่อสิ่งที่คุณปัอนให้มัน
....นิสัยดีทำให้เวลาเป็นพันธมิตรส่งเสริมนิสัยไม่ดีทำให้เวลาเป็นศัตรู เป็นตัวถ่วง... เพราะฉะนั้นต้องดูว่านิสัยที่ทำส่งผลกระทบยังไง เช่น
...สั่งสมทางบวก=สั่งสมประสิทธิภาพ+ประสิทธิผล..สั่งสมความรู้...สั่งสมความสัมพันธ์ที่ดี
...สั่งสมทางลบ=สั่งสมความเครียด..สะสมความคิดลบ...สั่งสมความก้าวร้าว
...พัฒนาการที่ผ่านอุปสรรคมาก่อนหน้าจะปลดปล่อยพลังอันยิ่งใหญ่ออกมา....เหมือนมะเร็งที่ใช้เวลา 80% เติบโตโดยตรวจไม่พบ
....นิสัยที่เหมือนไม่แตกต่างอะไรจนกว่าจะก้าวข้ามจุด+สำคัญปลดล็อคพฤติกรรมใหม่ๆ (นิสัยเหมือนคุณภาพที่แสดงถึงผลงานที่สั่งสมมา)
...เพราะฉะนั้นต้องอดทนฝึกพฤติกรรมนั้นๆให้ต่อเนื่องยาวนานพอ...จนกว่าจะผ่านภาวะแห่งศักยภาพที่ซ่อนเร้น
....เหมือนวางน้ำแข็งไว้ในอุณหภูมิ 25-31 องศา น้ำแข็งไม่ละลาย...แต่ 32 องศาน้ำแข็งเริ่มละลาย = การฝึกนิสัยไม่ได้สูญเปล่าแค่สะสมผลงานเพื่อรอเวลา...และเมื่อผ่านภาวะแห่งศักยภาพที่ซ่อนเร้น
...คนอื่นจะเรียกว่าสำเร็จเพียงชั่วข้ามคืน
(คนจะมองเห็นเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกทึ่งมากกว่าขั้นตอนทั้งหมดที่ก่อให้เกิดผลเช่นนี้)
...ความเชี่ยวชาญต้องใช้ความอดทน...ทุกสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ...เมล็ดพันธุ์ของนิสัยทุกอย่างเกิดจากการตัดสินใจเล็กๆ...แต่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า....เมล็ดนั้นก็จะเติบโตแข็งแรงฝั่งรากลึก
2
...ผลลัพธ์จากความพยายามมักเกิดขึ้นซ้ำเป็นเดือนเป็นปี...ความคาดหวังผลสำเร็จจะทำให้ผิดหวังและท้อแท้จากการทุ่มเทฝึกฝน...แต่ความเพียรไม่สูญเปล่า...แต่จะสะสมไว้ตอนถึงเวลาเหมาะสม
....ผลลัพธ์สัมพันธ์กับเป้าหมายน้อยมาก....แต่ผลที่ได้เกี่ยวกับการมุ่งเน้นกระบวนการการปฏิบัติ
เช่น เป้าหมายในธุรกิจคือสร้างธุรกิจมูลค่าหลาย พันล้าน....กระบวนการ คือ วิธีที่ทดลอง ไอเดีย จ้างพนักงาน ทำการตลาด
...เป้าหมายดีสำหรับการกำหนดทิศทาง
...กระบวนการดีสำหรับสร้างความก้าวหน้า
...ปัญหาจากผุดหากคิดแต่เป้าหมายแต่ไม่ใช่เวลาไปกับกระบวนการ...ตั้งมั่นที่กระบวนการที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าเรื่อยๆ
1. คนแพ้ชนะต่างมีเป้าหมายเหมือนกัน....ต่างที่ผู้ชนะใช้กระบวนการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2. การบรรลุเป้าหมายเป็นเพียงการเปลี่ยนชั่วคราว เช่น จัดห้องให้เป็นระเบียบ...ไม่เปลี่ยนนิสัยห้องก็รก...เพราะฉะนั้นผลลัพธ์ไม่ใช่ปัญหา...เน้นเปลี่ยนกระบวนการที่สร้างผลลัพธ์
3. อย่าให้เป้าหมายมาจำกัดความสุข เช่น ต้องได้ผลแบบนี้ถึงมีความสุข...แต่ให้เปลี่ยนเป็นมีความสุขกับกระบวนการ...จะมีความสุขเมื่อกระบวนการดำเนินไปเรื่อยๆ
4. การยึดเป้าหมายอาจเกิดโยโย่...เพราะทุ่มเทพลังไปกับจุดหมาย...พอบรรลุแล้วกลับก็กลับไปมีพฤติกรรมเดิม
...จุดประสงค์การกำหนดเป้าหมายเหมือนชนะในเกม
...จุดประสงค์การสร้างระบบ คือ การเล่นเกมอย่างต่อเนื่อง
...ไม่ใช่แก้ที่นิสัย...แต่แก้พฤติกรรมเล็กๆอันเป็นส่วนให้กับพฤติกรรมใหญ่กว่าสู่การปรับปรุงในภาพรวม
....ทำไมการเปลี่ยนพฤติกรรมทำได้ยาก...เพราะไปอิงกับผลลัพธ์กับความพยายาม...ไม่ใช่เน้นความสำคัญกับคนที่คุณอยากเป็น....อยู่ที่ที่ทางการเปลี่ยนแปลง
....การเปลี่ยนนิสัยมีสิ่งท้าทาย 2 เหตุผล คือ
1. เปลี่ยนผิดสิ่ง
2. เปลี่ยนด้วยวิธีที่ผิด
....การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมี 3 ระดับ
1. ระดับผลสัมฤทธิ์ = เปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ = สิ่งที่ได้รับ
2. ระดับกระบวนการ = เปลี่ยนแปลงนิสัยและระบบในการสร้างกิจวัตรประจำวันใหม่ = สิ่งที่ทำ
3. ระดับอัตลักษณ์ = เปลี่ยนความเชื่อ การมองโลก ภาพลักษณ์ที่มีต่อตัวเอง การตัดสินตัวเองและคนอื่น สิ่งที่ศรัทธา
....กระบวนการปรับปรุงนิสัย
1. อิงผลลัพธ์ / ผลสัมฤทธิ์ (Outcome - Based habits) เช่น ผมพยายามจะเลิกสูบ(หวังพฤติกรรมเปลี่ยนในความเชื่อเดิม)
2. อิงอัตลักษณ์ (Identity-based habits) เริ่มโดยให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยากเป็น = ผมไม่ใช่คนสูบบุหรี่ = การหลุดจากตัวตนเดิม
...โดยส่วนมากคิดถึงผล + วิธีการ...แต่ไม่ได้คิดถึงความเชื่อ + ความผลักดัน ที่ก่อให้เกิดการกระทำ..ไม่เปลี่ยนมุมมองตัวเอง (เพราะฉะนั้นเน้นว่าทำไมต้องทำก่อน)
...ทุกอย่างอยู่ที่ความเชื่อ....พฤติกรรมที่ขัดแย้งกับความเชื่อจะไม่คงอยู่
เช่น ต้องการมีเงิน แต่ตัวตนชอบจ่ายมากกว่าหา
....ต้องการสุขภาพดีแต่ให้ความสบายมากกว่าความสำเร็จ
.....ฉะนั้นยากที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม....หากไม่เปลี่ยนความเชื่อ
.....ทำให้ภูมิใจในสิ่งที่เป็นตัวตน....ยิ่งเสริมนิสัยที่ทำให้เกิดตัวตนแบบนั้น เช่น ภูมิใจกับกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ (ไม่หยุดออกกำลังกาย) ...เมื่อภูมิใจจะรักษานิสัยนั้น
....สิ่งที่คุณทำคือคุณเชื่อว่าคุณเป็นคนประเภทใด...ไม่ว่าคุณเชื่อหรือไม่ (ทั้งจิตสำนึก / จิตใต้สำนึก) เราจะแสดงออกในสิ่งที่เราเชื่อ
...การทำสิ่งที่ถูกต้องเป็นเรื่องง่าย....ไม่ต้องหาวิธีการเพราะเชื่อว่าเป็นแบบนั้น เช่น เชื่อว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของตน...ก็ไม่ต้องพยายามโน้มน้าวให้ตัวเองออกกำลังกาย
...เราต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับตัวเองทำให้เกิดความกดดัน (สบายใจในสิ่งที่เชื่อ)
....เมื่อเราบอกกับตัวเองเป็นยังไง....ความเชื่อนั้นจะฝังลึก + ยอมรับว่าเป็น
...การที่รู้สึกฝืน + สู่การฝึกนิสัยเพราะมุมมองที่มีต่อตัวเอง...เพราะฉะนั้นลบความเชื่อเดิมเพื่อก้าวไปข้างหน้า
...ตัวตนของคน...เกิดจากนิสัยตัวเอง
...ความเชื่อเกิดจากการเรียนรู้ + กำหนดจากประสบการณ์ = นิสัยเกิดจากที่คุณกำหนดตัวตน...ยิ่งทำพฤติกรรมใดซ้ำ...ยิ่งเสริมแรงตัวตน...ยิ่งมีหลักฐาน (สิ่งที่ทำ) = ยิ่งเชื่อ
....การกระทำสม่ำเสมอมีอิทธิพลต่อตัวคุณ...เมื่อทำสิ่งใดซ้ำๆ...หลักฐานจะปรากฏ....ภาพพจน์จะเปลี่ยนไป...นิสัยจะเปลี่ยนไป
...เพราะฉะนั้นการสร้างนิสัย = กระบวนการสร้างคงความเป็นตัวตน....เราจะเปลี่ยนวันละเล็กวันละน้อยพัฒนาตนเองสม่ำเสมอ
....เปลี่ยนนิสัย = เปลี่ยนสิ่งที่ทำ (ทุกการกระทำคือการโน้มเอียงไปสู่คนในแบบที่อยากเป็น + สั่งสมจนเป็นนิสัย เช่น แค่เขียนหนังสือ 1 หน้าในแต่ละครั้ง คุณคือนักเขียน....แต่ละครั้งให้กำลังใจลูกน้องคุณคือผู้นำ
....ถ้าทำอะไรเดิมๆ = ผลลัพธ์เดิมๆ...เพราะฉะนั้นทำอะไรใหม่ๆ โดยเลือกต้นฉบับที่อยากเป็น...และพิสูจน์ให้ตัวเองเห็นจากความสำเร็จเล็กๆน้อยๆไปเรื่อยๆ
.....หาต้นฉบับที่อยากเป็น เช่น คนแบบไหนที่สามารถลดน้ำหนักได้ 40 กิโล...คนแบบไหนเริ่มต้นธุรกิจได้สำเร็จ....อะไรคือสิ่งที่คนสุขภาพดีทำกัน (เป้าหมายมุ่งที่คนที่อยาก....เป็นไม่ใช่ผลลัพธ์)
....ปฏิบัติแบบคนสุขภาพดีนานพอก็จะกลายเป็นคนแบบนั้น
....การเปลี่ยนนิสัยเริ่มจากต้องการเป็นใคร
....นิสัยสำคัญมากทำให้กลายเป็นคนที่ปรารถนา...พัฒนาตนเชื่อลึกที่สุด....คุณจะเป็นตามนิสัยที่คุณสร้าง
...นิสัยคือพฤติกรรมทำซ้ำจนกลายเป็นอัตโนมัติ...คือการแก้ปัญหาต่างๆที่เผชิญ....เจอปัญหา= สิ่งใหม่ = ทดลอง (สมองทำงานเยอะมาก)
....สมองเรียนรู้จะตอบสนองยังไงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด....เจอสิ่งที่ได้รับรางวัลรู้สึกดีก็จะคิดว่าก่อนหน้านี้ทำอะไร....ก็กลับไปทำซ้ำ (วงจรสะท้อนกลับ) การกระทำที่ได้ผลจะได้รับการเสริมแรง
....เมื่อนิสัยถูกสร้างแล้ว...สมองก็ไม่วิเคราะห์แล้วทำได้อัตโนมัติ...เป็นความทรงจำของขั้นตอนที่เคยทำมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีต.....จิตสำนึกทำได้ทีละอย่างที่สำคัญ / จำเป็นที่สุดก่อน....เมื่อเกิดการทำอัตโนมัติจะลดภาระสมอง....เมื่อนิสัยจัดการชีวิตพื้นฐานได้...ก็ไปใส่ใจเรื่องใหม่ใหม่ได้
....วงจรนิสัย / กระบวนการสร้างนิสัย แบ่งเป็น4 ขั้นตอน
ปัจจัยกระตุ้น ...ความปรารถนา (ช่องปัญหา)
การตอบสนอง...รางวัล (ช่องแกปัญหา)
....ระยะเวลา—->Craving—->Reward—->Response
หากขาดอันใดอันหนึ่งจะไม่เกิดนิสัย
2
1. ปัจจัยกระตุ้น Cue
....สร้างพฤติกรรมบางอย่างที่คาดว่าจะได้รางวัล เช่น เงินทองการ มีชื่อเสียง การได้รับการยอมรับ ความรัก ความพึงพอใจส่วนบุคคล
2. ความปรารถนา
....เป็นแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการเกิดนิสัย...ความปราถนาเชื่อมโยงความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง
เช่น อยากปากสะอาดจึงแปรงฟัน ...อยากผ่อนคลายถึงสูบบุหรี่
....สามารถกระตุ้นให้เกิดความปรารถนาได้....ปัจจัยกระตุ้นต้องผ่านการแปล +ความคิด + ความรู้สึก +อารมณ์...เปลี่ยนปัจจัยกระตุ้นเป็นความปรารถนา เช่นเสียง slot Machine กระตุ้นนักพนันแต่ไม่มีผลกับคนธรรมดา
1
3. การตอบสนอง
....คือนิสัยที่แสดงออกมาขึ้นอยู่กับแรงจูงใจกับแรงต้าน....ซึ่งต้องขึ้นกับความสามารถคุณด้วยว่าตอบสนองสิ่งนั้นได้ไหม
4. รางวัล
....เป้าหมายสุดท้ายของทุกการกระทำ ซึ่งมี2วัตถุประสงค์...คือทำให้สมปรารถนาและจำว่าการกระทำใด...มีคุณค่าที่สนองความต้องการ + ความพอใจ....ทำให้เกิดความสะท้อนกลับ (การทำซ้ำ) ทำให้เกิดวงจรนิสัยสมบูรณ์
....เมื่อเราทำอะไรซ้ำๆสมองจะสังเกต..แยกแยะดูว่าปัจจัยอะไรกระตุ้นที่สำคัญ....เมื่อฝึกฝนเพียงพอจะทำได้โดยไม่ต้องคิด...เหมือนเจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑ์รู้ความต่างว่าอันไหนของจริงของปลอม
...นิสัยเกิดขึ้นและเป็นกระบวนการอัตโนมัติ...อยู่ในจิตไม่รู้สำนึก....จะทำพฤติกรรมซ้ำๆก่อนจะรู้ตัว...แทบไม่สังเกตเห็น...เพราะฉะนั้นอยากสร้างกระบวนการการเปลี่ยนพฤติกรรมต้องมีสติรู้ตัว
...ถ้าคุณกำหนดทิศทางของจิตไร้สำนึกไม่ได้...มันจะชี้นำชีวิตคุณ....แล้วคุณก็จะเรียกมันว่าโชคชะตา
...ระบบชี้+ส่งเสียง (pointing and calling) เป็นระบบปลอดภัยที่ลดความผิดพลาดได้ 85% ...ช่วยเพิ่มระดับสติสัมปชัญญะของพฤติกรรมแบบอัตโนมัติ....เพราะต้องใช้สายตา ปาก มือ และหูช่วยกันทำงาน
....เช่นเจ้าหน้าที่รถไฟบนชานชลาของญี่ปุ่น
....เพราะยิ่งมีพฤติกรรมอัตโนมัติเท่าไหร่...เราจะมีสติกับมันน้อยลง...มองข้ามมัน...เคยชิน...ไม่สงสัยว่ามันถูกต้องหรือไม่
....เพราะฉะนั้นความล้มเหลวเกิดจากความไร้สติไม่รู้ตัวของเรา
...เราต้องมีสติรู้ตัวเมื่อเราแสดงพฤติกรรมอะไรออกมาด้วยการทำรายการกิจวัตรประจำวัน...พิจารณาพฤติกรรมแต่ละอย่าง...ถามตัวเองว่าเป็นนิสัยดี...ไม่ดีปานกลาง
...โดยให้พฤติกรรมสอดคล้องกับเป้าหมาย
ถาม....พฤติกรรมนี้ช่วยให้ฉันกลายเป็นคนในแบบที่ฉันปรารถนาจะไปหรือไม่
...พฤติกรรมนี้ส่งเสริมหรือลดทอนตัวตนที่ฉันต้องการจะไปหรือไม่
....นิสัยที่ช่วยเสริมตัวตนที่ต้องการคือนิสัยดี...ให้สังเกตที่เกิดขึ้นจริง
....กระบวนการการเปลี่ยนนิสัยไม่ดี
1. สังเกตพฤติกรรมของตัวเอง...อาจใช้ระบบชี้+ส่งเสียงเตือนตัวเอง เช่น ฉันกำลังจะกินคุกกี้...ไม่จำเป็นต้องกิน...จะทำให้น้ำหนักขึ้น (ต้องเริ่มจากการมีสติรู้ตัว)
2. ตอกย้ำสิ่งที่ต้องทำโดยการพูดออกมาดังๆ
3. รู้ว่ามีปัจจัยอะไรกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
4. มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ....คือแผนที่คิดไว้ล่วงหน้าว่าจะทำที่ไหน...เมื่อไหร่ (ปัจจัยพื้นฐานกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมคือเวลา+สถานที่)
...ที่ไม่ลงมือทำไม่ใช่ขาดแรงจูงใจเพราะขาดแผนปฎิบัติที่ชัดเจน เช่น ฉันจะทำ....ในเวลา....ณ....(ฉันจะทำสมาธิ 1 นาทีตอน 7 โมงในห้องนอน)
.....ความชัดเจนในสิ่งที่มุ่งหวัง+วิธีการ....ช่วยให้ปฏิเสธสิ่งที่เป็นอุปสรรค...ขวางความตั้งใจ...กิเลสเล็กน้อยไว้ได้
5. ปรากฏการณ์ที่เดอโร (Diderct effect)
....ปฏิกิริยาที่คนได้รับสิ่งใหม่...จะสร้างการซื้อสิ่งอื่นตามมาให้เข้าชุดกัน....ไม่มีพฤติกรรมใดเกิดขึ้นเดี่ยวๆ....ทุกการกระทำกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอื่นๆ
....เพราะฉะนั้นเมื่อสร้างนิสัยใหม่...ให้เพิ่มเติมนิสัยใหม่เข้าไปจากนิสัยเดิม....(การต่อยอดนิสัย)
....แทนที่จะจับคู่เวลา+สถานที่....เป็นโปรแกรมสร้างนิสัยเล็กๆ...ใช้สร้างแรงกระตุ้นให้ชัดเจนเพื่อเกิดนิสัยใดๆก็ได้ เช่น หลังจากเกิดนิสัย.......จะสร้างนิสัยใหม่คือ......เช่น หลังจากกินกาแฟตอนเช้าจะนั่งสมาธิ 1 นาที
1
....Key คือเชื่อมโยงเป็นชุดพฤติกรรมนั้น เช่น กินกาแฟเรานั่งสมาธิ..แล้วเขียนรายการที่ต้องทำ...แล้วเริ่มงานชิ้นแรกทันที.....เป็นการเลือกปัจจัยกระตุ้นซึ่งมีเวลาสถานที่แล้ว....ก็แทรกพฤติกรรมได้เลย (โดยปัจจัยกระตุ้นต้องมีความทีพอๆกับพฤติกรรมที่อยากทำ)
....การต่อยอดนิสัยได้ผลดีที่สุด...เมื่อมีปัจจัยกระตุ้นที่เจาะจงและปฏิบัติได้ทันที เช่น พอปิด laptop ในเวลากลางวัน จะวิดพื้นข้างโต๊ะทำงาน 10 ครั้งเพื่อให้รู้ตัวว่าต้องทำสิ่งนั้นแล้ว
6. สิ่งแวดล้อม ชัด+ใหม่+เชื่อมโยง
...คนเรามักเลือกสินค้าไม่ใช่ว่าคืออะไร...แต่เพราะอยู่ตรงไหนเช่นใกล้ที่จ่ายเงิน มีวางเยอะ หาง่าย อยู่ตรงหน้า....นิสัยบางอย่างถูกกำหนดโดยสิ่งแวดล้อมสถานที่นั้นนั้น เช่น เข้าโบสถ์พูดเบาๆ
....การซื้อที่ได้รับแรงจูงใจจากคำแนะนำ (Suggestion impulse buying) เมื่อผู้ซื้อเห็นสินค้าครั้งแรก+นึกภาพที่จำเป็นต้องซื้อต้องมีสินค้านั้น...บางครั้งซื้อเพราะไม่ได้ต้องการ...แต่พอถูกเสนอขายอย่างไร เช่น วางในระดับสายตา ชั้นหัวมุม 45% (เห็นได้ชัดเจน)
....การมองเห็นเป็นตัวกระตุ้นที่ทรงพลังที่สุดของการแสดงพฤติกรรม เพราะฉะนั้นสร้างสภาพแวดล้อม...เปลี่ยนสิ่งเล็กๆที่มองเห็น
....นิสัยทุกอย่างแล้วจากปัจจัยกระตุ้น....ทำให้มองเห็นชัดๆ...สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับนิสัย...ทำให้ออกแบบโลกคุณได้....ใจจะสั่งตัวเองแสดงนิสัยตามสถานที่ที่เราอยู่....แต่ละที่มีผลต่อการพัฒนาความต่อเนื่องจากพฤติกรรมไปสู่ชีวิตประจำวัน....พฤติกรรมไม่ได้ถูกกำหนดจากสิ่งรอบตัว...แต่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ที่เรามีต่อสิ่งนั้น....(ความทรงจำที่มีต่อสิ่งของ)
...เพราะฉะนั้นเราฝึกตัวเองได้โดยเชื่อมโยงพฤติกรรมกับสิ่งของ
....นิสัยสามารถเปลี่ยนง่ายขึ้นมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่....ง่ายกว่าเดิมเพราะทิ้งความเคยชิน...ใช้หลัก1พื้นที่1ใช้สอย เช่น เก้าอี้ไว้ทำงานก็คือไว้ทำงาน...มือถือไว้ตอบลูกค้า
...สภาพแวดล้อมจะเชื่อมกับนิสัยที่เราจัดเอาไว้ได้ซึ่งคงที่+คาดเดาได้=สิ่งแวดล้อมนั้นมีเพื่อพฤติกรรมนั้นจะสร้างนิสัยง่าย
...พฤติกรรมไม่ดีปกป้องความรู้สึกที่เราอยากมองข้าม เช่น ...รู้สึกแย่เลยกินอาหารขยะ...ก็อ้วน
...กิน—>อ้วน...= ...ความอยากที่ถูกชักนำโดยปัจจัยกระตุ้น
...เพราะฉะนั้นลดปัจจัยกระตุ้นที่เป็นต้นเหตุ เช่น
...วางโทรศัพท์ที่อื่นเพื่อทำงานให้เสร็จ
...ทำให้เข้าถึงยาก
...การทำให้ชัดเจนคือทำให้อันตรธาน
...ความลับในการควบคุมตัวเอง คือ สร้างนิสัยดีให้มีปัจจัยกระตุ้นที่เห็นได้ชัด...กับนิสัยไม่ดีท ทำให้มองเห็นคลุมเครือ หรือมองไม่เห็น (การคุมตัวเองได้ผ่อนระยะสั้น)
....สรุปการสร้างนิสัยดี
1. ทำให้ชัดเจน
...ประเมินนิสัย...รู้ว่ามีอะไรกระตุ้น
...วางแผนชัดว่าจะทำอะไรที่ไหน
...เชื่อมโยงพฤติกรรมกับพฤติกรรม เชื่อมโยงกับสิ่งของ สร้างภาพจำ
...สร้างสภาพแวดล้อมให้เห็นชัด+พาตัวเองไปในสภาพแวดล้อมใหม่
เช่น อยากลดน้ำหนัก
...รู้ว่าเราอยากกินเพราะ
...เอาตัวเองมาอยู่ในสถานที่ใหม่ จัดสิ่งแวดล้อมใหม่
...หาอะไรทดแทน
..ทำให้มองเห็นสิ่งที่ต้องกินง่าย (ลดปัจจัยกระตุ้น)
...เชื่อมโยงกับนิสัยบางอย่าง
✅กฎข้อที่2 ทำให้น่าดึงดูด
....ความคาดหวังในรางวัลต่างหากที่ทำให้เราแสดงพฤติกรรมออกมาไม่ใช่ผลสำเร็จที่เกิดหลังจากนั้น
....สิ่งเร้ายิ่งยวด (supernomal stimuli) = สิ่งกระตุ้นที่เกิดในระดับเกินจริง เช่น จะงอยปากแดงที่มี3 จุด ไข่ที่มีขนาดเท่าลูกวอลเลย์) ทำให้เกิดการตอบสนองที่รุนแรงมากกว่าปกติ
....เป้าหมายเบื้องต้นของวิทยาศาสตร์อาหาร คือ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่น่าดึงดูด...ทุ่มเทวิจัยกับทำอย่างไรให้รู้สึกดีเมื่ออยู่ในปาก (ก๊าซน้ำอัดลมพี่พอดี..ระดับความกรอบของมันฝรั่ง)
...การวัดคุณภาพความรู้สึกนี้ก็คือ Orosensation เช่นเฟรนฟราย์ (อาหารไม่แปรรูป...สมองได้รับความรู้สึกเดิมๆ....แปรรูป=ประสบการณ์แปลกใหม่น่าสนใจอยากทดลอง
....ค้นพบผสมเกลือ น้ำตาล ไขมัน ที่กระตุ้นสมองให้อยากกินตลอด เพราะดึงดูดสมอง...เป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนพฤติกรรมคือทำให้น่าดึงดูด
....ยิ่งน่าดึงดูดมากเท่าไหร่...ยิ่งเกิดนิสัยใหม่มากเท่านั้น....ทำให้เข้าใจว่าความอยากคืออะไร+ทำงานอย่างไร
...แรงขับโดปามีน (ทุกพฤติกรรมมีร่วมกัน) หากไม่มีความต้องการพฤติกรรมก็จะหยุด
...คีย์= โดปามีนจะถูกปล่อยออกมาเมื่อได้รับความพึงพอใจ+กำลังคาดหวัง —> เกิดแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรม
...เพราะฉะนั้นความคาดหวังในรางวัล = ทำให้เกิดพฤติกรรม...ไม่ใช่ผลสำเร็จหลังจากนั้น
...ทุกการกระทำเกิดขึ้นเพราะมีความคาดหวังล่วงหน้า...นำไปสู่การตอบสนอง
...เมื่อเราคาดหวังว่าจะได้รับรางวัล...พอทำเสร็จต้องให้รางวัลจริงๆ...เพราะเกี่ยวกับโดปามีน...ทำให้สมองรับรู้ว่าต้องทำพฤติกรรมนี้ซ้ำ
...ยิ่งคาดหวังมากโดปามีนยิ่งหลั่งมาก
...การใช้สิ่งล่อใจโดยใช้สูตรการต่อยอด+เทคนิคการรวมสิ่งล่อใจคือ
...หลังจากฉันทำ...(พฤติกรรมนี้)....ฉันจะทำ....(สิ่งที่ต้องทำ)...แล้วฉันจะทำ....(สิ่งที่อยากทำ)
.....เพื่อน+ครอบครัว —>บรรทัดฐานวัฒนธรรม
...กลุ่มทำให้ก่อเกิดพฤติกรรมบางอย่าง...เป็นพฤติกรรมกลุ่มที่ทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม....เพราะน่าดึงดูด...โดยเราทำพฤติกรรมที่เหมือนกลุ่มคนใกล้ชิด / คนส่วนใหญ่ / คนมีอำนาจ
...ทำตามกลุ่มคนใกล้ชิด....เป็นการลอกเลียนแบบ
(กฎคือยิ่งเขาใกล้คนใด...ยิ่งดูเหมือนมีนิสัยแบบคนเหล่านั้น)...เราจะซึมซับคุณลักษณะต่างๆ+ หลักในการปฏิบัติของคนที่อยู่รอบตัว
...เพราะฉะนั้นการเข้าร่วมในกลุ่ม..ที่มีพฤติกรรมที่เราต้องการเปลี่ยน...จะสร้างนิสัยใหม่ง่าย...เพราะเขาทำการไปเลยปกติ...โดยที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพราะมีบางอย่างเหมือนกัน
....กลุ่มคนส่วนใหญ่...จำนวนคนในกลุ่มยิ่งมากยิ่งมีผลมาก...เมื่อเราไม่แน่ใจเราจะมองพฤติกรรมคนส่วนใหญ่ว่าคนอื่นเค้าทำกันอย่างไร...ทำตามกลุ่มเพื่อเข้ากับบรรทัดฐานของกลุ่มได้
...ทำตามกลุ่มคนที่มีอำนาจ
...เราเลียนแบบคนสำเร็จ คนที่เราชื่นชม คนโปรด คนที่เราอิจฉา...เพราะพวกเขาดึงดูด (มันเป็นรางวัล)
....และทำในสิ่งที่หลีกเลี่ยงการลดสถานะของตัวเอง เช่น ตัดหญ้าเพราะไม่อยากเป็นคนสกปรกในสายตาเพื่อนบ้าน...พฤติกรรมที่ได้รับการยกย่องนับถือน่าดึงดูดให้ทำ
....คุณสามารถทำให้นิสัยดีที่สร้างได้ยากน่าดึงดูดมากขึ้น....ถ้าเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ด้านบวก
....เชื่อมโยงความต้องการจากธรรมชาติ เช่น เชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาทุกครั้งที่ได้รับปัจจัยกระตุ้น..สมองจะจำลองสถานการณ์...คาดการณ์ว่าจะทำอะไรต่อไป
เช่น...เห็นของร้อน...คาดการณ์ว่าผิวจะพอง...ต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรม.....เกิดขึ้นอยู่กับการตีความหมายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นการคาดการณ์ล่วงหน้า....ที่นำไปสู่ความรู้สึกความอยาก....แรงกระตุ้นโดยอารมณ์และความรู้สึกจะแปลงปัจจัย
....ความปรารถนา คือ ความรู้สึกว่าบางสิ่งหายไป...เป็นความต้องการเปลี่ยนภาวะภายในของคุณ....ต้องการความรู้สึกที่แตกต่างจากเดิม....โดยอารมณ์จะเป็นตัวกำหนด...ว่าสิ่งไหนดี / ไม่ดี....สีไหนปกติสำหรับคุณ
....พฤติกรรมน่าดึงดูดเมื่อเชื่อมกับความรู้สึกด้านบวก....โดยเปลี่ยนทัศนคติ
เปลี่ยนคำว่า...ต้อง= มีโอกาส
เปลี่ยนจาก...ภาระ = โอกาส
....อยู่ที่มุมมองที่เลือกการกำหนดกรอบพฤติกรรม....โดยมุ่งเน้นข้อดีแทน เช่น ออกกำลังกาย...ฉันต้องวิ่ง = ถึงเวลาฝึกความอดทนทำอะไรให้รวดเร็วแล้ว....ช่วยปรับเปลี่ยนความรู้สึกใหม่....ให้เอาเข้าไปเชื่อมโยงกับนิสัยสถานการณ์ใด
....ฝึกเชื่อมโยงพฤติกรรมกับสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกเพลิน...สำนึกรู้อันน่าแปลก เช่น ใส่หูฟังจะเกิดสมาธิจดจ่อ..เป็นการสร้างเงื่อนไขให้ตัวเอง...โดยการทำซ้ำ...ทำนิสัยบางอย่างก่อนทำสิ่งที่คนรัก เช่น หายใจลึกสามครั้ง-ยิ้ม-เล่นกับสุนัข...ทำซ้ำๆจนเชื่อมโยงว่า...มีความสุข ...หลังจากนี้ หายใจ-ยิ้ม->มีความสุข
....จับคู่การกระทำที่อยากทำกับสิ่งที่ต้องทำ...โดยเทคนิครวมสิ่งล่อใจ....เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม....ให้มีพฤติกรรมที่เราต้องการสร้าง....วิถีแห่งแรงจูงใจทำอะไรที่มีความสุขในทันที....ก่อนทำพฤติกรรมบางอย่างเพื่อสร้างนิสัยดี
✅กฎข้อที่3 ทำให้เป็นเรื่องง่าย
...การทำซ้ำ คือ รูปแบบพฤติกรรมอย่างหนึ่ง...ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ...ฝึกทักษะน้อยเพราะเอาแต่ศึกษาทฤษฎีความสมบูรณ์แบบปริมาณ...ฝึกทักษะเรียนรู้จากความผิดพลาด....เพราะฉะนั้นเราอาจชะงัก...เพราะมัวแต่หาวิธีที่ดีที่สุด....แต่ไม่ลงมือทำสักที
....อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ ไม่เสี่ยงที่จะล้มเหลว....กลัวถูกตัดสิน...ทำให้รู้สึกไม่ดี...เลยเลื่อนความล้มเหลวออกไป...เป็นการผัดวันประกันพรุ่ง...วางแผนกำหนดวิธีศึกษาเรียนรู้....แต่ไม่เกิดผลลัพธ์...กับทำการแสดงพฤติกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์
...การสร้างนิสัย...เกิดจากการทำซ้ำ....ๆไม่ใช่การทำสมบูรณ์แบบ....แค่ฝึกฝนยิ่งทำซ้ำๆ...โครงสร้างสมองจะเปลี่ยนให้เชี่ยวชาญมากขึ้น.....เซลล์สมองยิ่งเชื่อมโยงยิ่งแข็งแรง
....ต้องการสร้างนิสัยใด...เริ่มต้นด้วยการทำซ้ำๆ...ไม่ใช่การทำสมบูรณ์แบบ
...แค่ฝึกฝน+ลงมือทำ...ยิ่งทำซ้ำมากเท่าไหร่...โครงสร้างสมองยิ่งเปลี่ยนให้มีความชำนาญ....เป็นการเสริมกำลังการส่งสัญญาณระยะยาว (long term potentiation) เรียกว่า กฎการเรียนรู้ของเฮบบ์ (Hebb’s Law) เช่น สมองส่วนซีรีเบลลัมของนักดนตรี..มีขนาดใหญ่กว่าคนที่ไม่ใช่นักดนตรี
...เหมือนขนาดกล้ามเนื้อพัฒนาไปตามการใช้งาน / เลิกใช้งาน....กระตุ้นการทำงานของวงจรประสาทที่เชื่อมพฤติกรรมนั้น
...ตอนแรกรู้สึกว่าทำยาก...เพราะช่องทางส่งผ่านความรู้สึกของพฤติกรรมนั้นยังไม่ถูกสร้างขึ้น...ทำซ้ำบ่อย—>เกิดช่องทาง—>รู้สึกทำง่าย—>เป็นการกระทำอัตโนมัติ
...นิสัย คือ การกระทำโดยอัตโนมัติ (ทำโดยไม่ต้องคิด) (ไม่ต้องคิดว่าแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างไร...เป็นการทำงานของจิตไม่รู้สำนึก)
...เพราะฉะนั้นนิสัยเกิดจากความถี่...ไม่ใช่ระยะเวลา...ความถี่ต่างหากที่สร้างผลลัพธ์ที่แตกต่าง....ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อสร้างนิสัย...การฝึกฝนที่มีประสิทธิภาพมากสุด คือ ทำให้เป็นเรื่องง่าย (คนเรามีแรงจูงใจทำสิ่งที่ง่ายดายก่อนเสมอ)
🌷กฎที่ใช้ความพยายามน้อยที่สุด
...แรงจูงใจคือหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม....หากต้องการจริงลงมือทำแน่นอน...แต่มนุษย์มักทำตามกฎแห่งความพยายามน้อยที่สุด (Law of least effort) คือเลือกพยายามน้อยสุดแต่ให้มูลค่ามากสุด
...ยิ่งต้องใช้พลังงานมาก...แนวโน้มในการทำยิ่งน้อย...พวกพฤติกรรมที่ใช้พลังงานมาก...ช่วงแรกอาจตื่นเต้น...ฮึดสู้แล้วกลายเป็นความเหนื่อยล้า...เพราะฉะนั้นนิสัยที่ใช้พลังงานน้อย....จะเกิดขึ้นได้ง่าย....โดยไม่ต้องใช้แรงจูงใจหรือความพยายาม ...จึงต้องทำให้นิสัยนั้นง่าย
...การกระทำเป็นอุปสรรคขวางความต้องการ...ยิ่งมีอุปสรรคเยอะ...นิสัยนั้นยิ่งทำได้ยาก....เกิดแรงต้าน..ไม่ใช่ทำสิ่งยากไม่ได้....แต่ทำให้บางวันรู้สึกขยัน / ยอมแพ้ เช่น
...ลดความอ้วน...เป็นอุปสรรคของ....การมีหุ่นฟิต
...นั่งสมาธิ....เป็นอุปสรรคของ....ความสงบ
...การจดบันทึก....เป็นอุปสรรคของ...การคิดอย่างกระจ่างแจ้ง
....เพราะฉะนั้นควรทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ—>มีแรงใจ—>มีแรงต้านน้อย—>เข้มแข็ง—>มีไอเดีย—>ทำให้เป็นเรื่องง่าย
...การเพิ่มแรงจูงใจให้กับนิสัยที่ยาก....เหมือนบังคับให้น้ำไหลผ่านสายยางที่พับงออยู่...ทำได้แต่ต้องพยายามมหาศาล...เพิ่มความเครียด....แทนที่จะเอาชนะแรงต้าน....เปลี่ยนเป็นลดแรงต้าน...คือ...
🌷การออกแบบสภาพแวดล้อม
...เพื่อฝึกพฤติกรรมใหม่ (นิสัยเกิดง่ายขึ้นหากสอดคล้องกับวิถีชีวิตอยู่แล้ว) เช่น กลยุทธ์การเพิ่มโดยการลด (Addition by subtraction) ของบริษัทญี่ปุ่น...สำรวจทุกจุดที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการผลิต+กำจัดทิ้ง+ลดกระบวนการทำงานอันสูญเปล่าลง
...หรือการที่เราจะสิ่งของให้เป็นระเบียบทำให้รู้สึกดี...กำจัดอุปสรรคเล็กๆน้อยๆออกไปจากชีวิต.... ลดความยุ่งยากทำให้สะดวกสบาย....แค่ลด1กระบวนการก็มีอัตราการตอบรับเพิ่ม เช่น
....ส่งอาหาร—>ลดการไปซื้อที่ร้านเอง
...แอพหาคู่—>ลดการแนะนำตัว / เข้าสังคม
...แชร์ที่นั่งในรถ—>ลดการเดินทางข้ามเมือง
...ส่งข้อความทางโทรศัพท์ —>ลดการส่งจดหมาย
...เพราะฉะนั้นสร้างสภาพแวดล้อม...เพื่อให้คนเราสร้างนิสัยที่ดีได้ง่าย....เพิ่มอุปสรรคให้กับนิสัยไม่ดีแทน...เตรียมสภาพแวดล้อมให้พร้อมใช้งานได้ทันที...เช่น เตรียมผักปั่นไว้ล่วงหน้า
....ถาม...เราจะทำให้โลกนี้ง่ายสำหรับการทำสิ่งที่ถูกต้องได้อย่างไร
🤩....วิธีขจัดดินพอกหางหมูด้วยกด 2 นาที
....บางพฤติกรรมเสร็จสิ้นไม่กี่วินาที...แต่กำหนดการกระทำอื่นที่ใช้เวลานานตามมา เช่น เรียกแท็กซี่ไปออกกำลังกาย 2 ชั่วโมงทุกวัน
...การทำอย่างอัตโนมัติที่ไม่คิด...เป็นตัวตัดสินว่าควรจะทำอะไรต่อ...เป็นทางเลือกเล็กๆที่จะสร้างผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ คือ
🤩ช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจ
....ควบคุมช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจให้ได้ตลอดวัน...เหมือนกันเลือกทางแยกว่าจะไปทางเลือกที่ดีหรือทางเลือกที่ไม่ดี
...ใช้กฎ 2 นาที (เมื่อความตื่นเต้นมาครอบงำจะจบด้วยความพยายามมากเกิน / เร็วเกิน) เพราะฉะนั้นเริ่มต้นนิสัยใหม่...ควรฝึกน้อยกว่า 2 นาที เช่น อ่านหนังสือก่อนนอน —> อ่านหนังสือ1หน้า...เป็นการเริ่มต้นง่ายที่สุด....ไม่ควรให้ท้าทายเกินไป...เพื่อเป็นประตูการเริ่มต้นสร้างนิสัย....ทำเรื่องง่ายมากเป็นการเริ่มสร้างนิสัย....ก่อนพัฒนาให้ดีขึ้นทำ....เรื่องง่ายอย่างสม่ำเสมอ
(ง่ายมาก)...ใส่รองเท้า —> (ง่าย) เดิน 10 นาที —> (ปานกลาง) ....เดิน 10,000 ก้าว —>(ยาก) ..วิ่ง 50 กิโล —> (ยากมาก)...วิ่งมาราธอน
...ความลับคืออย่าทำให้เกิดจุดที่รู้สึกว่าเป็นงานที่ต้องทำ เช่น ไปยิม 5 นาที เป็นการตอกย้ำสิ่งเล็กๆในการที่จะเป็นคนใหม่...การทำได้น้อยกว่าที่คาดหวังย่อมดีกว่าการไม่ทำอะไรเลย....จดจ่อ 2 นาทีจนคุ้นชินแล้วขยับสู่ระดับต่อไป (เทคนิคการปรับแต่งนิสัย Habit Shaping) ....ใช้กับทุกเป้าหมายในการสร้างนิสัยหรือเมื่อรู้สึกฝืน
🌷วิธีสร้างนิสัยดีให้เกิดขึ้นแน่นอนและการป้องกันนิสัยไม่ดี....บางครั้งความสำเร็จอาจมาจากการทำให้นิสัยไม่ดีเกิดขึ้นยาก
🤩แผนสร้างข้อผูกมัด...เพื่อควบคุมพฤติกรรมบางอย่างที่อาจเกิดในอนาคต (บล็อกไม่ให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์)...ช่วยให้ได้รับผลดีจากความตั้งใจ...ก่อนที่จะเป็นเหยื่อของอารมณ์ความรู้สึก เช่น ครึ่งหนึ่งเอามากิน...ครึ่งหนึ่งใส่กล่องกลับบ้าน
....Key คือหากมีแรงจูงใจทำอะไร...ให้สร้างข้อผูกมัดขึ้น เช่น อยากมีรูปร่างดี....จ่ายเงินค่าคอร์สล่วงหน้า
อยากทำธุรกิจใหม่....นัดเพื่อขอคำปรึกษา....พอถึงเวลาการยกเลิกยุ่งยากกว่าการเริ่มต้นลงมือทำ
🤩การกระทำเพียงครั้งเดียว
....ช่วยสร้างนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้นได้ (อัตโนมัติ+ระยะยาว) เช่น ...ซื้อเครื่องกรองน้ำ...ลบแอพเกมออกจากมือถือ...เปลี่ยนพาสเวิร์ดใหม่เพื่อไม่ต้องเช็คโทรศัพท์ตลอด....ซื้อฟูกที่นอนเพื่อสุขภาพ
...การกำจัดสิ่งล่อใจออกไปจากสภาพแวดล้อมรอบตัว...ทำให้เปิดรับสิ่งที่ดี+มีประโยชน์ง่ายขึ้น...เมื่อได้ทำสิ่งที่ชอบ...พฤติกรรมที่ดีจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
...การตัดสินใจบางอย่างเพียงครั้งเดียวให้ได้ผลดี
🤩ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เช่น ...แอพช่วยจำ ...แอพซื้อของอัตโนมัติ....แอปออมเงินอัตโนมัติ(พวกทำซ้ำๆ) ...เป็นการกระตุ้นนิสัยดีว่าพฤติกรรมนั้นจะเกิดขึ้นแน่นอน
✅กฏข้อที่4 ทำให้พึงพอใจทันที
....เช่น....การใช้ผลิตภัณฑ์ที่กระตุ้นให้เขารู้สึกดีมากๆ...เช่น...ยาสีฟันทำให้ปากรู้สึกสะอาด
....คนเราจะทำพฤติกรรมซ้ำๆ...ถ้าบริกรรมนั้นน่าพอใจ(รู้สึกดี)...สมองจะจำว่ามีคุณค่าควรจดจำ+ทำซ้ำอีก
...ประสบการณ์ที่ไม่น่าพอใจ....คนก็จะไม่ไปทำแบบนั้นอีก....พฤติกรรมใดได้รางวัล = ทำอีก
....พฤติกรรมใดได้รับโทษ = หลีกเลี่ยง
(ความรู้สึกทางบวก = บ่มเพาะนิสัย)
(ความรู้สึกทางลบ = ทำลายนิสัย)
1. การตัดสินใจที่ส่งผลในทันที (Immediate-return Environment)
...การกระทำนั้นส่งผลชัดเจน+ทันที (เน้นความสุขเฉพาะหน้า / ปัจจุบันมากกว่าระยะยาวในอนาคต)
....นิสัยแย่มักให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในทันที...แต่ส่งผลเสียในระยะยาว
...เลือกทำเพื่อปัจจุบัน...เติมเต็มจนอิ่ม...ได้รับการปนเปอ...สนุกกับชีวิตตอนนี้ = กฎของสมอง
...คือพฤติกรรมใดได้รางวัลทันที...เราจะทำซ้ำ...พฤติกรรมใดให้โทษทันที...เราจะหลีกเลี่ยง
...เพราะฉะนั้นถามตัวเอง...ยิ่งพอใจกับการกระทำที่เกิดในปัจจุบันมากเท่าไหร่....ต้องถามตัวเองว่าทำสิ่งที่ทำ...นำไปสู่เป้าหมายในอนาคตหรือไม่
....คนส่วนใหญ่หาความพอใจที่ตอบสนองได้ทันที..ถ้าเติมใจรอคอยรางวัลที่ยิ่งใหญ่นานกว่าคนอื่น....จะเผชิญจำนวนผู้แข่งขันน้อยมาก...และรางวัลนั้นยิ่งใหญ่เสมอ (ณ โค้งสุดท้ายมักมีคนน้อยที่สุดเสมอ)
....คนมีความอดทนอดกลั้นสูง...มักได้คะแนน SAT (Scholastic Aptitude test) สูงกว่าปกติ...ใช้สารเสพติดต่ำกว่า....เป็นโรคอ้วนต่ำกว่า....ตอบสนองความเครียดได้ดีกว่า....มีทักษะเข้าสังคมยอดเยี่ยม
...ความสำเร็จเกือบทุกเรื่องเกิดขึ้น...หากยอมเมินเฉยต่อรางวัลที่จะได้ในทันที...และอดทนรอรางวัลในอนาคต (อดเปรี้ยวไว้กินหวาน)
....การฝึกตัวเองให้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน คือ ฝึกไปตามธรรมชาติ...ให้รางวัลทันทีเพื่อสร้างความพึงพอใจเล็กๆน้อยๆ...ฝึกพฤติกรรมระยะยาว...ให้รู้สึกรับรู้ถึงความสำเร็จระยะเริ่มต้น...ต้องมีอะไรซักอย่างให้อดทนทำไปอย่างต่อเนื่อง...เพราะฉะนั้นรางวัลปลอบใจทันทีมีความสำคัญ...เพราะทำให้ตื่นเต้นได้ตลอดเวลา
A. การเสริมแรง (Reinforcement)
....เป็นกระบวนการใช้รางวัลมอบให้ทันที...ช่วยเพิ่มความถี่ในการแสดงพฤติกรรม...เชื่อมโยงพฤติกรรมกับปัจจัยกระตุ้น....เกิดความชัดเจนตอนเริ่มต้นฝึก...เป็นประโยชน์กับการรับมือนิสัยที่ต้องเลิก / อยากอยู่ทำ
...เช่นอยากซื้อเสื้อเป้าหมาย...พออยากซื้อของอื่นก็ฝากเงินที่จะซื้อเข้าไปในกองเงินซื้อเสื้อเป้าหมาย...เป็นการสร้างLoyalty program (โปรแกรมสร้างความภักดีให้คุณ)
....รางวัลทันที คือ เห็นตัวเองเก็บเงินเพื่อซื้อเสื้อเป้าหมาย....เลือกรางวัลระยะสั้นเพื่อเสริมแรงนิสัยใหม่....โดยต้องไม่ขัดแย้งกับเป้าหมาย...เช่น...ออกกำลังกายเสร็จกินไอติม (ขัดแย้ง) ....ไม่กินอาหารนอกบ้านโอนเงิน 300 เข้าบัญชีทัวร์ยุโรป
...นิสัยดีที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนมากเท่าไหร่....ยิ่งอยากได้สิ่งกระตุ้นจากภายนอกน้อยลงเท่านั้น
....การเสริมแรงเป็นการจูงใจระยะสั้น....ระหว่างรอให้รางวัลระยะยาวมาถึง....ทำให้มีความสุขในช่วงฝึกนิสัย
B. การสร้างความก้าวหน้า
....ด้วยการวัดผล กลยุทธ์คลิปกระดาษ (โทรหาลูกค้า1คน...หยิบคลิแลงอีกโถจนครบ 120 คลิป) คือ สร้างความพึงพอใจด้วยการวัดผลด้วยสายตา เช่น วิธีติดตามผลของนิสัย เช่น จดบันทึก
...จงอย่าแหกกฎ (ในการโทรหาลูกค้าทุกวัน...ออกกำลังกายทุกวัน)
🤩....ประโยชน์ในการตามติดตามดูนิสัย
(จดจ่อกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์)
1. เห็นผลชัดเจน
....คนที่ติดตามความก้าวหน้าในเป้าหมายที่ต้องการ เช่น ลดน้ำหนักมีแนวโน้มสำเร็จกว่าคนที่ไม่ได้ทำ
...การเฝ้าดูพฤติกรรมให้เป็นกิจวัตร....กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้+ซื่อสัตย์กับตัวเอง+เอาชนะความมืดบอด+โกหกตัวเองได้ยาก+สังเกตเห็นผลที่เกิดขึ้นจริง
2. กระตุ้นให้อยากทำต่อไป
...เห็นสัญญาณว่ากำลังก้าวไปข้างหน้า....เป็นแรงบันดาลใจ...กระตุ้นเตือนว่ามาไกลแค่ไหนแล้ว (ในวันที่รู้สึกเศร้า)
3. ทำให้รู้สึกพึงพอใจ
...มีความสุขจะอดทนเพียรพยายามมากขึ้น
....การวัดผลที่ง่าย....ทำไปโดยอัตโนมัติ...จำกัดเรื่องสำคัญสุด 1 อย่าง (จดบันทึกการติดตามผลทันทีหลังจากทำพฤติกรรมนั้นเสร็จ)
....หากพลาด = การพลาดไม่ได้ทำหลายคุณ...แต่วงจรของการพลาดซ้ำๆที่ตามมา...เป็นจุดเริ่มต้นพฤติกรรมใหม่
....ความแตกต่างระหว่างผู้แพ้กับผู้ชนะ คือ การผิดพลาดไม่มีผลอะไรเลย...เมื่อรีบลุกขึ้นใหม่
....เพราะฉะนั้นอย่าหยุด / เลิกกลางคันโดยไม่จำเป็น (ชาลี มังกอร์Charlie Munger) อย่าให้ความพ่ายแพ้มาครอบงำความสำเร็จที่อุตส่าห์สั่งสมมา
...การทำกิจวัตรเดิมในยามที่ไม่อยากทำ....ช่วยย้ำเตือนความเป็นคนในแบบที่คุณต้องการจะเป็น
....ข้อเสียของการติดตามพฤติกรรมบางอย่าง
คือ...อาจวัดผลเชิงปริมาณ...มากกว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริง (คือทำวิธีที่ผิดพลาด แค่อยากเอาชนะ)
...เช่น...เอาตัวเลขบนตาชั่งน้อย...ทำให้อดอาหารกินยาลดความอ้วน...แทนที่จะหุ่นดีสุขภาพดี
....เพราะฉะนั้นการวัดผลเป็นเพียงแนวทางให้เห็นภาพรวมที่กว้าง...อย่าให้ครอบงำหรือเป็นเป้าหมาย
...การวัดบางสิ่งไม่ได้หมายความว่า...สิ่งนั้นสำคัญสุด...ที่วัดไม่ได้กับบางสิ่ง...ไม่ใช่สิ่งนั้นไม่สำคัญเลย
C. ความล้มเหลวที่เจ็บปวดพฤติกรรมนั้นจะเปลี่ยน
...มีบทเรียนให้กับพฤติกรรมแย่ๆ
....ความล้มเหลวใดได้รับความเจ็บปวด...จะได้รับการแก้ไข...ซึ่งความผิดพลาดส่งผลทันทีทัดใด + ให้บทเรียนหนักเท่าไหร่...ยิ่งได้เรียนรู้จากมันได้เร็วเท่านั้น
....ผลที่ตามมาร้ายแรง...คนจะเรียนรู้รวดเร็ว + ความเจ็บปวด...ยิ่งฉับพลัน...พฤติกรรมที่ทำจะน้อยลงเท่านั้น
....ถ้าอยากป้องกันไม่ให้เกิดนิสัยแย่ ....กำจัดพฤติกรรมไม่ดี = สร้างบทเรียนราคาแพงให้เห็น...ลดการเกิดพฤติกรรม = การลงโทษนิสัยที่ไม่ดี
...ความรุนแรงของการลงโทษ...ต้องสอดคล้องระดับเดียวกับพฤติกรรมที่ต้องการเปลี่ยน...ต้องเจ็บปวดมากพอถึงใช้ได้จริง
D. มีพันธะสัญญาในการสร้างนิสัย + มีพยานรับรู้
....โดยเป็นคำพูดลายลักษณ์อักษรว่าจะฝึกฝน / ทำพฤติกรรมใดๆ ....หากไม่ทำจะยอมรับการลงโทษเหมือนกฎหมาย....การใช้เข็มขัดนิรภัย (ซึ่งควรมีพยานรับทราบด้วย + เซ็นสัญญา)
....การมีคนเฝ้าสังเกต (พยาน) เป็นเครื่องจูงใจที่มีประสิทธิภาพ เพราะจะผลัดวันประกันพรุ่ง / ล้มเลิกน้อยลง ..เพราะจะเกิดผลเชิงลบหากไม่ทำตามข้อตกลง เช่น..ไม่น่าเชื่อถือ....ขี้เกียจ
....คนเรามักคะแนนส่วนที่ดีที่สุดของตัวเองให้โลกรับรู้....เราแคร์ความคิดคนรอบตัว....เรารู้สึกดีหากคนชื่นชม...เพราะฉะนั้นการมีพยานจะช่วยคุมการกระทำสร้างนิสัยได้ดีมาก
🌷วิธีเปลี่ยนจากการเป็นคนนิสัยดี—> เป็นคนที่มีนิสัยดีเลิศ (เทคนิคแบบก้าวกระโดด)
...ความลับในการเพิ่มโอกาสความสำเร็จขั้นสูงสุด คือ การเลือกสนามแข่งขันให้เหมาะสม...จะทำนิสัยอะไรได้ง่ายขึ้น + มีความสุขที่จะทำต่อเนื่อง ...ถ้านิสัยนั้นสอดคล้องกับธรรมชาติกับความสามารถของคูณ
....สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดความเหมาะสมของพันธุกรรมและประโยชน์ของพรสวรรค์ที่เรามี....แต่เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง...คุณภาพจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จ
...ความสามารถขึ้นกับสภาพแวดล้อม เช่น ผู้เขียนฉลาดเรื่องนิสัย + พฤติกรรมของมนุษย์..แต่ไม่ได้เรื่องหากเป็นเย็บปักถักร้อย...ขับจรวด
...เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ระดับบนสุด...ไม่เพียงแต่ถูกฝึกมาดี...แต่เขายังมีความเหมาะสมด้วย...หากอยากยิ่งใหญ่...การเลือกที่ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
....พันธุกรรมไม่ได้กำหนดชะตาชีวิต...แต่เป็นตัวกำหนดขนาดของโอกาส
...กุญแจคือความมุ่งมั่นทุ่มเท...ไปจุดที่ทำให้คนรู้สึกตื่นเต้น กระตือรือร้น เหมาะกับทักษะที่มีตามธรรมชาติ....ทำให้ความฝัน + ความสามารถส่งเสริม....การโดยทำความเข้าใจบุคลิกภาพของตัวเองก่อน
....🌷Big 5 ลักษณะบุคลิกภาพห้าแบบ
1. บุคลิกภาพด้านเปิดรับประสบการณ์ (openness to experience)
....อยากรู้อยากเห็น....มีความคิดสร้างสรรค์ / ...เป็นคนระวังตัว...มั่นคงคงเส้นคงวากับผู้อื่น
2. บุคลิกภาพด้านการมีมโนสำนึกต่อหน้าที่การงาน (Conscien-tiousness)
...ตั้งแต่คนมีระเบียบแบบแผน ...จนถึงสบายสบายง่ายๆเป็นตัวของตัวเองอย่างคล่องแคล่ว
3. บุคลิกภาพด้านการแสดงตัว (Extroversion)
.....ชอบเข้าสังคม / รักสันโดษ...รู้จักในแบบ Extroverts ชอบเข้าสังคม Introverts เก็บตัว
4. บุคลิกภาพด้านการประนีประนอม (Agreeableness)
...มีความเป็นมิตร...มีออกซิโทซินสูง...เห็นอกเห็นใจจนท้าทายแข่งขัน...โต้แย้ง
5. บุคลิกภาพหวั่นไหวทางอารมณ์ (Neuroticism)
...วิตกกังวลอ่อนไหว / มั่นใจตัวเอง...อารมณ์มั่นคง
....ลักษณะพิเศษทางพันธุกรรม....ทำให้เกิดพฤติกรรมบางอย่างง่ายกว่าคนอื่น (แบบทดสอบ Atomichabits.com/petsonality)
...การสร้างนิสัยที่ส่งผลดีต่อบุคลิกภาพของคุณ...เหมาะสมกับคุณจะก้าวหน้าง่าย
...คนเรามักพอใจกับอะไรที่ทำง่าย...มีความสามารถพิเศษในเรื่องใด....ทำผลงานได้ดี...มีความสุข...ทำให้ทำผลงานออกมายอดเยี่ยม
...วิธีง่ายสุดในการหานิสัยที่เข้ากับตัวเอง คือ...ลองผิดลองถูก....แต่เพราะเวลาในชีวิตมีจำกัด...จึงมีวิธีจัดการที่มีประสิทธิภาพคือ (Explore/expbitth.trade-off)
...การสำรวจทางเลือกของการลองอะไรใหม่ไ...กับการทำแบบเดิมๆ เช่น... เวลาทำอะไรใหม่ๆควรมีระยะเวลาที่เรียกว่า...การเดท
...การวัดประสิทธิภาพตอนที่ลอง....มีคำถามที่ช่วยสำรวจคือ
1. อะไรที่ฉันทำแล้วรู้สึกสนุก
....รับมือกับความเจ็บปวดได้ดีกว่าคนอื่น
2. อะไรที่ทำให้ฉันต้องเสียเวลา
...ความลื่นไหลของกิจกรรมที่กำลังทำอยู่....เข้าถึง
3. ที่ไหนที่ฉันได้รับผลตอบแทนดีกว่าคนทั่วไป
4. อะไรที่เป็นธรรมชาติของฉัน
...รู้สึกมีชีวิตชีวา...เป็นตัวตนที่แท้จริง
....คนเราทุกคนต่างมีโอกาสผลักดันความสามารถพิเศษบางอย่างของเราเอง...ให้ขึ้นไปอยู่ในระดับท็อปบนสุด 25% โดยอาศัยความวิริยะอุตสาหะ (สก็อตต์ อดัมส์)
....หากไม่คนพร้อมสนามแข่งขันที่มีโอกาสดีๆ...ก็สร้างขึ้นมาเอง...หากไม่สามารถเอาชนะด้วยผลงาน / ทำตัวให้ดีกว่า...ก็ชนะด้วยอะไรที่ต่างออกไป....การผสมผสานทักษะต่างๆที่มีช่วยลดความเข้มข้นของการแข่งขันลง....สร้างความโดดเด่นง่าย...หาทางลัดที่ต้องหลีกเลี่ยงข้อได้เปรียบทางพันธุกรรม / อดทนฝึกฝนหลายปี ...สร้างสรรค์เกมของตนเองขึ้นมาใหม่...ที่ได้เปรียบ + หลีกเลี่ยงจุดอ่อนของตนเอง
...พันธุกรรมบอกว่าเราควรทุ่มเทพลังไปที่จุดไหน...จุดแข็งตัวเอง...โอกาสแบบไหนที่ควรแสวงหา....เลือกพฤติกรรมที่สอดคล้องบุคลิกภาพ / ทักษะของคุณ...ควรหลีกเลี่ยงความท้าทายไหน...ยิ่งเข้าใจธรรมชาติของตนเอง....ยิ่งมีหนทางมากขึ้น...ให้ความสำคัญกับการเติมเต็มศักยภาพของตัวเอง...มากกว่าเปรียบเทียบกับคนอื่น...อย่ายึดติดกับดักว่าตนเองมีข้อจำกัด...ลงมือทำอย่างหนักเท่ามืออาชีพ
✅กฎของโกลดิล็อกส์ (Goldilocks Rule) อยู่อย่างไรให้มีแรงจูงใจในชีวิตและการทำงาน
...การแสดงตลกของสตีฟ มาร์ติน (Steve Martin) ..เค้าเพียรฝึกฝนตลกที่ต้องต่อสู้ความกลัวในหัวใจ...ทุกสัปดาห์ถึง 18 ปี
...การรักษาระดับแรงจูงใจเพื่อไปถึงความต้องการอันสูงสุดได้ คือ การทำงานภายใต้อุปสรรคที่จัดการได้ คืออุปสรรคไม่ยากเกินไม่ง่ายเกิน
เช่น...ตีเทนนิสกับเด็ก4ขวบก็ง่ายเกิน...กับแชมป์ระดับโลกก็ยากเกิน...แต่หากตีกับคนที่มีฝีมือสูสี...ผลัดกันชนะ...ต้องพยายามมากหน่อย...จะค้นพบความทุ่มเทสุดหัวใจกับการแข่งขันตรงหน้า....ทำให้มีแรงจูงใจพัฒนาไปเรื่อยๆ...มีความผิดพลาดมากพอที่จะทำให้เขาฝึกหนัก
....การเริ่มต้นนิสัยใหม่ต้องง่ายที่สุด...ทำต่อเนื่องทีละน้อย....ฝึกฝนต่อจนถึงโต๊ะโซนโกลดิล็อกส์...ก็จะเป็นภาวะลื่นไหล...เป็นภาวะที่จดจ่อหมกมุ่นกับกิจกรรมนั้น
...คือต้องทำงานเหนือความสามารถประมาณ 4% ...คือมีความสมดุลระหว่างตัวเองได้ใช้ความสามารถเต็มที่...กับมีความก้าวหน้ามากพอ...ให้ทำนิสัยนั้นได้อย่างสม่ำเสมอ...แปลกใหม่น่าดึงดูดไม่น่าเบื่อ
...การทำงานของสมอง2โหมด
...ระบบ1 = รวดเร็ว+ควบคุมโดยสัญชาตญาณ เช่น พูดปกติ
...ระบบ2 = ควบคุมความคิด = กระบวนการที่ต้องพยายามมากขึ้น + เป็นไปอย่างช้าๆ เช่น...คำนวณตัวเลขที่ยาก
...ภาวะลื่นไหล คือ 2อย่างนี้ทำงานประสานกันเต็มที่ทั้งจิตสำนึกและจิตไม่รู้สำนึก
...คนสำเร็จจริงๆ คือ...พอถึงจุดจุดหนึ่งแล้ว...ใครสามารถจัดการกับความเบื่อหน่ายจากการฝึกซ้อมทุกวัน...อย่างยกน้ำหนักซ้ำไปซ้ำมา...คือทำอย่างสม่ำเสมอทั้งๆที่เบื่อ
...ความเชี่ยวชาญ คือ ...การฝึกฝน...อุปสรรคต่อความสำเร็จ...ไม่ใช่ความล้มเหลว...แต่เป็นความเบื่อหน่าย...พอเบื่อก็ไปหาอะไรใหม่ๆ...จึงติดในวงจรไม่สิ้นสุด
...ทุกคนต้องเผชิญความท้าทายบนเส้นทางของการพัฒนาตัวเอง...การอืดลุกขึ้นสู้ความเบื่อหน่าย..เจ็บปวด..ไม่มีแรงทำ ...คือความแตกต่างระหว่างมืออาชีพกับมือสมัครเล่น
...มนุษย์ต้องการความแปลกใหม่ = รางวัลแบบไม่แน่นอน (Variable Reward) หนูทดลองกดอาหารได้บ้างไม่ได้บ้าง...ทำให้ทำพฤติกรรมนั้นเพิ่มอีก...หากทำอะไรซักอย่างช่วงสะดวก ...ตื่นเต้น...ไม่มีความต่อเนื่องที่จะให้ผลลัพธ์
...มืออาชีพเคร่งครัดกับตารางเวลา...รู้ว่าอะไรสำคัญและมุ่งมั่น...เพื่อทำให้ได้เป้าหมาย....มือสมัครเล่น...ปล่อยชีวิตตามยถากรรม...ทำสิ่งต่างๆตามความเร่งด่วนที่เข้ามาในชีวิต
...ใครๆก็ทุ่มเททำงานหนักได้เมื่อมีแรงจูงใจ...แต่ยังคงทำงานซึ่งไม่ตื่นเต้นต่อไปอย่างสม่ำเสมอ..ต่อเนื่อง..,จะสร้างความแตกต่าง
⁉️ข้อเสียของการสร้างนิสัยที่ดี
...การเล่นหมากรุกที่ดีผู้เล่นต้องเดินหมากขั้นพื้นฐาน...จนเดินหมากได้อย่างอัตโนมัติก่อน...จึงทำให้ผู้เล่นคิด + จดจ่อกับการเล่นที่ยากขึ้นได้
...ความคิดก็เหมือนกัน...นึกให้ออกเป็นช่วงๆ...ก็จะนึกออกมากขึ้นเรื่อยๆ
...การลงมือทำซ้ำ...ๆพัฒนาความชำนาญ...คล่องแคล่ว...ความเร็ว...ทักษะ...เกิดเป็นอัตโนมัติโดยไม่ต้องคิด
...ข้อเสียคืออาจเกิดความผิดพลาดง่าย + คิดว่าดีพอจึงหยุดพัฒนา = ความสามารถถดถอยได้...หากไม่ได้พัฒนาเพิ่ม...แค่มีประสบการณ์เพิ่ม
...การเพิ่มศักยภาพให้สูงสุด + บรรลุความสามารถสุดยอด คือ ผสมผสานการทำนิสัยอัตโนมัติ + ฝึกฝนต่อเนื่อง = ความเชี่ยวชาญ
...ความเชี่ยวชาญ คือ ขบวนการจำกัดความสนใจให้แคบลง...ไปสู่องค์ประกอบเล็กลงที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้
...ทำซ้ำๆเพื่อเป็นทักษะภายในตัว...เมื่อเป็นอัตโนมัติ...ต้องสร้างระบบวิเคราะห์ทบทวน + สะท้อนผล
...การทบทวน + สะท้อนผล..ช่วยให้พฤติกรรมพัฒนาขึ้นในระยะยาว...ทำให้ระมัดระวังในการทำผิดพลาด (ทำซ้ำ) + เห็นเส้นทางที่จะเป็นไปได้ในการปรับปรุงให้ดีขึ้น
...หากไม่มีจะหาข้ออ้าง + หลอกตัวเองว่าดีขึ้น / แย่กว่าเมื่อวาน...ยังช่วยเรื่องรายละเอียด เช่น การใช้เวลา...จะได้ปรับทิศทางถูก เช่น...นักตลกชื่อว่า คริส ร็อก ...เตรียมมุกตลกใหม่ๆไปทดลองใช้...พกสมุดจดขึ้นเวที...ว่าอันไหนได้ผลอันไหนต้องปรับปรุง...ประโยคเด็ดที่ใช้ได้ผล...ผู้บริหารนักลงทุน = สมุดบันทึกการตัดสินใจ...เพื่อทบทวนสิ้นเดือน / สิ้นปี..ว่าอันไหนผิดถูกถูก
....ทำบันทึก2 แบบ (ทบทวน + สะท้อนผล)
ถามคำถาม
1. อะไรที่ดำเนินไปได้ด้วยดีในปีนี้
2. อะไรที่ดำเนินไปได้ไม่ดีในปีนี้
3. ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
...บันทึกแห่งบูรณภาพ = รู้ว่าผิดพลาดตรงไหน + กระตุ้นเตือนให้กลับมาสู่เป้าหมาย ...ทบทวนค่านิยม + ใช้ชีวิตสอดคล้องค่านิยมไหม...ป้องกันการออกนอกลู่...ควรกลับมาตั้งหลัก + ให้ความสำคัญจริงๆเหมือนมองดูกระจก...เห็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ควรปรับปรุง...โดยไม่เสียมุมมองภาพรวมที่ใหญ่กว่า....เห็นเทือกเขาทั้งหมดไม่ใช่เห็นแค่ยอดเขา...ทบทวนจุดสำคัญที่สุด...ในการเปลี่ยนพฤติกรรม = อัตลักษณ์เราเอง
1. อะไรคือคุณค่าที่แท้จริง..ซึ่งช่วยผักดันชีวิตและการทำงานของผม
2. ผมจะมีชีวิตอยู่และทำงานตามค่านิยมในชีวิตของผมได้อย่างไร
3. ผมจะปรับระดับมาตรฐานชีวิตให้สูงขึ้นในอนาคตได้อย่างไร
⁉️วิธีทำลายความเชื่อที่ถ่วงคุณไว้
...ยิ่งเรายึดม่านความเชื่อนี้มากเท่าไหร่...ความทะนงตนจะยิ่งหยั่งรากลึกเท่านั้น...เรายิ่งปกป้อง...ความเชื่อนี้ยิ่งยึดติดยิ่งพัฒนาต่อยาก
...เพราะฉะนั้นต้องทำตัวคุณให้เล็กเข้าไว้ (Paul Grattam) ยิ่งยอมให้ความเชื่อเพียงด้านเดียวกำหนดความเป็นตัวคุณ..ยิ่งปรับตัวยาก
...เมื่อใช้ชีวิตแสดงเป็นคนในแง่มุมเดียว...แล้วมุมมองนั้นหายไปคนเป็นใคร เช่น...ฉันเป็น CEO ใช้ทุกช่วงเวลาทุ่มเททำธุรกิจ...แล้วจะรู้สึกอย่างไรหากต้องขายธุรกิจนั้นไป
Key เพื่อลดความสูญเสียตัวตน คือ การนิยามตัวตนเสียใหม่...เพื่อรักษาความเป็นคุณไว้หลายๆแง่มุม เช่น
...ฉันเป็นนักกีฬา —> ฉันเป็นคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง + ชอบความท้าทายด้านร่างกาย
...ฉันเป็น CEO —> ฉันเป็นนักสร้างสรรค์และริเริ่มสิ่งใหม่...จะเป็นคนยึดหยุ่น
...นิสัยมีประโยชน์ยิ่งใหญ่...แต่ข้อเสีย คือ...ทำให้ยึดติดอยู่กับรูปแบบความเชื่อ + พฤติกรรมเดิมๆ
...ชีวิตเปลี่ยนตลอด...ต้องตรวจตราตนเองเป็นระยะๆว่า...พฤติกรรม+ ความเชื่อยังใช้ได้หรือไม่
...ความไม่มีสติเหมือนยาพิษ...การหมั่นวิเคราะห์ทบทวนเป็นเหมือนยาต้านพิษ
...เงิน 1 เหรียญไม่สามารถทำให้รวยได้...แต่ไม่มีใครรวยได้ถ้าไม่เริ่มจากเงินเพียง 1 เหรียญ
...เปลี่ยนทีละน้อยจนถึงจุดหนึ่ง...ชีวิตก็เปลี่ยนไปจากการเริ่มต้น
...เป้าหมายการเปลี่ยนนิสัยไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง 1% เพียงครั้งเดียว...แต่เป็นพันๆครั้ง....มันคือผลรวมของพฤติกรรมเล็กๆที่สะสมรวมกัน
...นิสัยแต่ละอย่างคือรากฐานสำคัญของชีวิตคุณทั้งชีวิต
...ตอนเริ่มอาจมองไม่เห็นอะไรที่แตกต่างชัดเจน...ความก้าวหน้าเหมือนค่อยๆเทเม็ดทรายในจานด้านหนึ่งของตราชั่ง...เมื่อติดเป็นนิสัยรู้สึกทำได้ง่ายขึ้น
...การเริ่มต้นฝึกนิสัยเล็กๆช่วยหล่อหลอมให้เกิดความเชี่ยวชาญ + พาตัวเองก้าวกระโดดสู่ระดับสุดยอดในสายอาชีพนั้น...จากความมุ่งมั่นสู่การค่อยๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ย่อท้อ
...ความสำเร็จไม่ใช่เป้าหมายให้ไขว่คว้า...แต่เป็นระบบการพัฒนา....เป็นกระบวนการที่ต้องกลั่นกรอง..ปรับปรุง..อย่างไม่หยุดยั้ง
...หากพบความยุ่งยากในการเปลี่ยนพฤติกรรม...ปัญหาไม่ใช่ตัวคุณ ...คือระบบของคุณ
...เคล็ดลับการสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้คงอยู่ตลอดไป คือ การไม่หยุดพัฒนา...คุณสามารถสร้างสิ่งที่น่าทึ่งได้...หากไม่หยุดทำนิสัยเล็กๆน้อยๆ...ไม่ใช่เพิ่มนิสัยใหม่...แต่เป็นการเพิ่มพูนที่ส่งผลทบทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ
✅กฎแห่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1. ทำให้ปัจจัยกระตุ้นเห็นชัดเจน
2. ทำนิสัยนั้นน่าดึงดูดใจ = ชวนอยากทำ
3. ทำให้เป็นเรื่องง่าย
4. ทำให้นิสัยนั้นน่าพอใจ = ทำแล้วมีความสุข
ปัญหา —> ปัจจัยกระตุ้น + ความปรารถนา —> เห็นโอกาส + สร้างอารมณ์ความรู้สึกมาจากการแปลความหมาย
ทางออกของปัญหา —> การตอบสนอง + รางวัล
...ความสุข = ช่วงเวลาระหว่าง...ความปรารถนาที่ได้รับการเติมเต็มและมีความปรารถนาใหม่ๆก่อตัวขึ้น (ภาวะไร้ความปรารถนา)
...ความทุกข์ คืออยากเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแต่ผลสำเร็จยังไม่ปรากฏ
...สิ่งที่เราไล่ล่า คือ ความคิดว่าตัวเองจะมีความสุข...แต่เราไม่รู้ว่าทำยังไงให้เราพอใจ
...(Victor Frankl ฟิคเทอร์ ฟรันเคิล) ...เราไม่อาจไล่ตามความสุขได้...ความสุขต่างหากที่ต้องตามเรา
...สิ่งที่เราวิ่งไล่ตามคือความปรารถนาต่างหาก...ความสุขนั้นเกิดขึ้นหลังการกระทำ
...คนจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา...ถ้าไม่ใส่ใจว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหา
...ขั้นแรกของพฤติกรรม คือ การรับรู้ (ข้อมูล / เหตุการณ์) —> กระตุ้น —> ไม่รู้สึก / ดิ้นรนแก้ = ความสุข
...ความปรารถนา = ต้องการแก้ไขสิ่งต่างๆ...หากปรารถนาไม่รุนแรง...ก็ไม่อยากเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เป็นอยู่
Friedrich Nieyzsche : ฟรีดริช นิทเชอ) ...ด้วยเหตุผลที่ยิ่งใหญ่มากพอว่าทำไม...จะทำให้คุณสามารถเอาชนะทุกสิ่งได้...ไม่ว่าจะต้องทำอย่างไร
...ผู้ใดก็ตามที่รู้ดีว่าตัวเองมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร...ย่อมสามารถรับมือกับทุกสิ่งทุกอย่างได้ = ถ้าแรงจูงใจ + ความต้องการคุณยิ่งใหญ่พอ ...แม้เรื่องยากลำบาก...มีอุปสรรค...ก็สามารถพักดันให้เกิดการกระทำอันยิ่งใหญ่ได
...ความไฝ่รู้ย่อมดีกว่าความฉลาด...เพราะมันนำไปสู่การลงมือทำ
...ความฉลาดไม่ได้สร้างผลลัพธ์..ไม่ใช่ที่ปัญญา...แต่เป็นแรงปรารถนาที่กระตุ้นให้ลงมือทำ
...Naval Ravitkant : นาวาล ราวิคานต์ = กลยุทธ์ในการลงมือทำสิ่งใดก็ตาม...อยู่ที่เราต้องสร้างแรงปรารถนาให้เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน
...อารมณ์เป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรม...ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด...การที่จะทำสิ่งนั้นก็ต่อเมื่อถูกอารมณ์บังคับให้ทำเท่านั้น....เป็นแรงขับเคลื่อน
...เพราะฉะนั้นมีเหตุผล 108 ...แต่ไม่มีแรงปรารถนา...ไม่มีความอยาก...ไม่มีความรู้สึก...ก็ไม่มีการกระทำ
...คนเราจะมีเหตุผล + ตรรกะหลังใช้อารมณ์แล้ว
...สมอง...จะเริ่มต้นทำงานโดยรู้สึก + คาดหวังก่อน(เป็นการทำงานของจิตใต้สำนึก)...แล้วความคิดเหตุผลตามมา
...คนเราทำตามอารมณ์ความรู้สึก...เต็มไปด้วยพลังมากกว่าเหตุผล
...ความทุกข์เป็นตัวช่วยผักดันให้เกิดความก้าวหน้า...เพราะความปรารถนาจะเปลี่ยนจากสถานะที่เป็นอยู่...ผลักดันให้ทำ
...ความต้องการที่มากขึ้น...ทำให้แสวงหาความก้าวหน้าปรับปรุง
...ความอยาก...ทำให้เกิดความทะเยอทะยาน
...การกระทำของคุณ...บ่งบอกว่าคนมีความต้องการมากแค่ไหน...แค่บอกว่าอยากแต่ไม่ทำ...ไม่ได้ต้องการจริง
...รางวัลได้ต่อเมื่อได้ลงมือลงแรงแล้ว...เป็นผลลัพธ์ตอบสนองความปรารถนาคน
...การควบคุมตัวเองด้วยการเพิกเฉย + ทำให้ความอยากผ่านไป...ดีกว่าพยายามห้าม ..ยับยั้ง...ต่อต้านสิ่งที่เราอยาก
...ความคาดหวังเป็นตัวกำหนดความพอใจของเรา...ช่องว่างระหว่างความปรารถนา + รางวัล...เป็นตัวกำหนดความพอใจหลังจากเราได้ลงมือทำ
...หากเป็นบวก...ทำซ้ำ
...หากเป็นลบ...จะผิดหวัง + ไม่ทำอีก
...ความชอบ + ความอยาก...อยู่ในระดับของพอๆกันทำให้พอใจ
(ความพอใจ = ความชอบ - ความอยาก)
...ความจนไม่ใช่การที่มีน้อยเกินไป...แต่เป็นความต้องการที่มากขึ้น...รู้สึกไม่พอ...หมกมุ่นกับปัญหามากกว่าวิธีแก้ปัญหา
...ความเจ็บปวดจากการล้มเหลว...สัมพันธ์กับระดับความคาดหวัง...ยิ่งเราปรารถนาสูง....จะยิ่งเจ็บปวดมากหากไม่ได้....เลยไม่อยากคาดหวัง
...ความรู้สึกที่จูงใจให้ลงมือกระทำ คือ ความปรารถนา(จุดเริ่มต้น = ความอยาก + ความชอบ) + ได้รับรางวัล = จะทำซ้ำ (ต่อเนื่อง) = ความสุข / ความพอใจ
...ปัจจัยกระตุ้น —>ความรู้สึก (ปรารถนา) —> การตอบสนอง —> รางวัล (ความรู้สึก)
...ความรู้สึกมีธิพลต่อการกระทำ...การกระทำก็มีผลต่อความรู้สึก
...ความคาดหวังจะลดลงเป็นความจริงมากขึ้น...เมื่อเรามีประสบการณ์กับสิ่งนั้น...คนเราจะหลงเชื่อแผนรวยฟ้าผ่าเพราะคาดหวังในสิ่งที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
.
.
. เพิ่มการพัฒนาตัวเองวันละนิด
. เหมือนเติมวันละ 1 องศา
. 1 วัน อาจจะไม่มีอะไร
. 10 วันไม่มีความต่าง
. แต่ 100 วันล่ะ 1000 วันล่ะ
. จะเปลี่ยนแปลงไปโดยแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม
.
. มาพัฒนาวันละ 1 องศา
. เพื่อเติมเต็มวงล้อชีวิตให้สมบูรณ์ไปด้วยกัน
. ...กับเพจ #องศาที่หายไป
.
.
. 🪴🪴🪴🪴🪴🪴
👍🏻เลื่อนนิ้วโป้งกด Like กด Share ให้จูลสักนิด..เพื่อชีวิตที่มีกำลังใจให้จูลนะคะ..ขอบคุณค่ะ
⭐️ติดตามที่ Blockdit
❤️ติดตามที่ Youtube
🥰คุยกับจูลได้ใกล้ชิดมากขึ้น ที่Line ค่า (Add ไว้ จะได้ทราบข่าวสารอัพเดตค่า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา