1 พ.ค. 2021 เวลา 07:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ 52 วิธีคิดให้ได้อย่างเฉียบคม โดย รอล์ฟ โดเบลลี
The Art Of Thinking Clearly By Rolf Dobelli
ฟังไฟล์เสียงได้ที่ 👉🏻 https://youtu.be/jI8xH_8DZro
....การไม่สามารถคิดได้อย่างกระจ่าง (ความผิดพลาดของกระบวนการทางความคิด) คือ คนเราไม่สามารถคิดและประพฤติตัวในแบบถูกต้อง สมเหตุสมผล เหมาะสม เรามักประเมินความรู้ของตัวเองสูงเกิน ความสูญเสียการกระตุ้นให้ลงมือทำมากกว่าจะได้อะไร มองข้ามความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริง ทำให้พลาดในเรื่องเดิม แผนเดิมซ้ำ เป็นมุมแห่งความมั่นใจเกินไป
1
....เมื่อรู้ รวบรวม จัดหมวด ความผิดพลาดของกระบวนการทางความคิด ทำให้เห็นข้อผิดพลาดของตัวเองได้เร็ว ปรับ เปลี่ยนแปลงก่อนเสียหาย กลัวมันน้อยลง และหลีกเลี่ยงความผิดพลาดได้
....จูลว่าหนังสือเล่มนี้ ทำให้เรารู้ว่า มีหลุมพรางอะไรในชีวิตบ้าง ความผิดพลาดทางความคิด ทำให้รู้จักตัวเองเร็ว วิเคราะห์ตัวเองและคนรอบข้างได้ เล่มนี้เป็นปรัญชามากและเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือนิสัยที่เราทำทุกวันโดยที่ไม่รู้ตัว หากได้อ่าน เราจะระวัง และ เลือกทุกอย่างในชีวิตได้ถูกต้องมากขึ้น และมีความสุขมากขึ้นในการใช้ชีวิต
1. อคติจากการเห็นผู้อยู่รอด
....เป็นการมองเห็นความเป็นไปได้เกินจริง
....คนเราประเมินโอกาสความสำเร็จของตนเองสูงเกินไปและชัยชนะถูกนำเสนออย่างเด่นชัด ทำให้เราไม่รู้เบื้องหลังของคนที่ไม่สำเร็จ ให้ลองขุดคุ้ยความจริง ทั้งเรื่องเงิน ความเสี่ยง โอกาส เพื่อประเมินความจริงก่อนลงทุนหรือทำอะไร
2. ภาพลวงตาที่ว่าด้วยรูปร่างของนักว่ายน้ำ
....นักว่ายน้ำ นางแบบโฆษณาไม่ใช่ทำอาชีพนี้แล้วถึงมีรูปร่างสวยงาม แต่เพราะเขามีรูปร่างสวยงามก่อนแล้ว จึงถูกคัดให้มาทำอาชีพนี้ อย่าสับสนกับผลลัพธ์ว่าจะได้จริง หรือโรงเรียนนี้เรียนแล้วสอบได้ทุกคน อาจเพราะเขาเข้มงวดในการคัดนักเรียนตั้งแต่แรก ให้มองมุมกลับบ้าง
3. ปรากฎการณ์ความมั่นใจมากเกินไป
....คนเรามักประเมินความรู้ความสามารถในการคาดเดาของตัวเองสูงเกินไป คิดว่าเราเดาเก่ง ซึ่งผลลัพธ์แตกต่างจากความจริงมาก โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ(คิดว่ากิจการจะไปได้ดีสุด) โครงการขนาดใหญ่(ที่ไม่เคยเสร็จก่อนเวลาและค่าใช้จ่ายเกินงบ) ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง เพราะฉะนั้นมองให้รอบด้าน ประเมินจากความจริง
4. ข้อพิสูจน์ทางสังคม
....คนส่วนใหญ่ทำอะไรเราจะทำตามๆกัน และพฤติกรรมหมู่สามารถกดดัน บิดเบือนสามัญสำนึก ความผิดถูกของคนเราได้ เพราะในอดีตการทำตามคนส่วนใหญ่เป็นกลยุทธ์ในการเอาชีวิตรอด ไม่งั้นจะสูญพันธุ์
....ในวงการโฆษณา เช่น คำว่า...ได้รับความนิยมสูงสุด...ยอดขายไม่ได้หมายถึงคุณภาพเสมอไป
5. เหตุผลวิบัติที่ว่าด้วยต้นทุนจม
....เราจะเสียดายกับสิ่งที่เราทุ่มเทเวลา เงินทอง พลังงาน ความรักมากมายไปกับบางสิ่ง และกลายเป็นเหตุผลทำให้เลือกเดินหน้าต่อ ทั้งๆที่ดูไร้ประโยชน์ เช่น หุ้นที่ขาดทุนเก็บไว้นานขึ้น
.....ทำไมถึงทำแบบนี้เพราะดูเป็นคนแน่วแน่ น่าเชื่อถือ รักษาหน้า หากล้มเลิก คือพ่ายแพ้ ถึงยอมเลื่อนความเจ็บปวดออกไป
....ไม่สำคัญว่าลงทุนไปเท่าไหร่ แต่ผลประโยชน์ที่ได้กลับมาในอนาคตมีมากแค่ไหน
....อย่าเสียดายอดีตที่ผ่านมา.....ให้เสียดายอนาคตที่เหลืออยู่
1
6. ผลประโยชน์ต่างตอบแทน
.....คนเรารู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจเมื่อมีอะไรติดค้างผู้อื่น หลักการคือ ฉันช่วยเธอ เธอต้องช่วยฉัน เหมือนลองชิมของฟรีแล้วต้องซื้อของนั้น
7. อคติจากการเลือกรับข้อมูล (ตอน1)
....เป็นข้อผิดพลาดทางความคิดทั้งปวง คือ ตีความตามความคิดความเชื่อของตัวเอง เช่น มีกรณีพิเศษ ข้อยกเว้น เราต้องพยายามหาหลักฐานมาแย้งทฤษฎีของตัวเอง
8. อคติจากการเลือกรับข้อมูล (ตอน2)
....เราต้องหาหลักฐานมาสนับสนุนความเชื่อเรา ที่ขัดแย้งก็ทิ้งไป ไม่มีใครอยากให้คนอื่นม่โจมตีความเชื่อเรา จึงพยายามปกป้องความเชื่อทุกวิธี วิธีแก้คือ เขียนความเชื่อตัวเองออกมาทั้ง การลงทุน ชีวิตแต่งงาน การดูแลสุขภาพ แล้วพยายามหาหลักฐานมาโต้แย้ง
9. อคติจากการเชื่อถือผู้มีอำนาจ
....เราเชื่อความคิดเห็นของผู้มีอำนาจทั้งๆที่ดูไม่สมเหตุสมผลหรือแปลกๆ เมื่อใดที่ต้องตัดสินใจ ให้ลองคิดดูว่ามีใครมีอิทธิพลต่อการใช้เหตุผลของคุณ
10. ผลกระทบจากการเปรียบเทียบ
....คนเราตัดสินใจว่าสวย มีขนาดใหญ่ ราคาแพง ถูก เพราะมีตัวเปรียบเทียบ หากไม่มีก้ตัดสินใจยากมาก เพราะฉะนั้น อย่าไปไหนกับคนที่หน้าตาดี เพราะคุณจะหน้าตาดีน้อยลงกว่าความเป็นจริงมาก
11. อคติจากข้อมูลที่หาง่าย
....เรามองโลกรอบตัวโดยอาศัยตัวอย่างที่นึกออกง่ายที่สุด คนเราให้ความสำคัญกับสิ่งที่ดูหวือหวา น่าตื่นเต้น สะเทือนใจ แต่ละเลยสิ่งที่ดูธรรมดาหรือมองเห็นได้ยาก คนเราชอบคิดถึงผลลัพธ์สุดโต่งมากกว่าความจริง คนจะนึกถึงวิธีที่คุ้นเคย มากกว่าวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม แก้ไขโดยการพบปะคนที่คิดต่าง หรือมีประสบการณ์เชี่ยวชาญต่างจากคุณ
12. เหตุผลวิบัติที่ว่าด้วยฟ้าหลังฝน
....ให้ระวังคำพูดที่ว่า มันจะแย่ลงก่อนแต่เดี๋ยวจะดีขึ้นเอง มองให้ออกโดยมีเป้าหมายและคัวชี้วัดที่ชัดเจน
13. อคติจากเรื่องที่แต่งขึ้นเอง
.....คนเราชอบการร้อยเรียงเรื่องราวหรือการสร้างความหมาย (ทำหลายปีเป็นอัตลักษณ์ของตัวเรา) มากกว่าข้อเท็จจริง ไม่งั้นคนคงอ่านสารคดีมากกว่านิยาย เพราะมันมีความหมาย ความรู้สึกแทรกอยู่ด้วย
....โฆษณาที่มีเรื่องราวทรงพลังกว่าโฆษณาที่พูดถึงข้อเท็จจริง แต่เรื่องราวอาจถูกบิดเบือน วิธีแก้ คือ ทบทวนชีวิตที่ผ่านมาจากข้อเท็จจริงโดยตัดเรื่องราว
14. อคติจากการรู้ผลลัพธ์อยู่แล้ว
...เช่น ฉันว่าแล้วเชียว
...ข้อเสียคือเราจะเป็นนักพยากรณ์ที่เก่งกาจเกินจริง และ มั่นใจเกินไปจนตัดสินทำอะไรเสี่ยงๆ
....วิธีแก้คือจดการคาดการณ์ในเรื่องต่างๆลงในสมุดบันทึกที่พกติดตัวและศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่าเราพยากรณ์ได้แย่มากและโลกนี้คาดเดาไม่ได้
2
15. รู้แบบคนขับรถ
ความรู้มีสองประเภท
ก. ความรู้ที่แท้จริงเกิดจากความทุ่มเทและพยายามเพื่อเข้าใจเรื่องหนึ่ง
ข. ความรู้แบบคนขับรถที่ฟังซ้ำๆจนจำได้แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย แค่พูดคล่องแคล่วทำเหมือนเข้าใจน่าเชื่อถือ(ชาลีมังกอร์)
คนมักเข้าใจว่าคนที่แสดงออกเก่งคือทำผลงานได้ดี กว่า..เราต้องรู้ขอบเขตแห่งความสามารถ...ต้องรู้ว่าตัวเองเข้าใจอะไรหรือไม่เข้าใจอะไร...รู้ว่าตนเองถนัดอะไร....ความสามารถอยู่ตรงไหน....พยายามแข่งขันในขอบเขตนั้น
....ผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริงจะไม่อายที่จะพูดว่าผมไม่รู้
ส่วนพวกที่มีความรู้แบบคนขับรถจะพร่ำไม่หยุด
16. ภาพลวงตาที่ว่าด้วยการควบคุม
....คิดว่าตัวเองควบคุมสิ่งต่างๆได้....แค่คนเราคิดว่าสามารถคุมชะตาชีวิตตัวเองได้หรือเหตุการณ์ได้ก็มีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไป....แต่คนเราไม่สามารถควบคุมได้ทุกอย่าง.....พยายามจดจ่อสิ่งสำคัญที่สามารถควบคุมได้จริง
17. การตอบสนองแบบสุดโต่งต่อสิ่งจูงใจ
...คือคนเราพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด...ไม่ว่าวิธีที่ได้มาจะผิดก็ตาม...โดยคนจะเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างสิ้นเชิงทันทีที่มีการใช้สิ่งจูงใจ..กลับคนเราจะตอบสนองต่อสิ่งจูงใจไม่ใช่เบื้องหลังของมัน...หากข้องใจกับพฤติกรรมใครให้ถามตนเองว่าเบื้องหลังของสิ่งจูงใจคืออะไร....เช่นไม่ควรจ่ายค่ารายชั่วโมงให้ทนาย/สถาปนิก/ที่ปรึกษา/นักบัญชี....ควรจ่ายแบบครั้งเดียวไม่งั้นเค้าจะประวิงเวลาให้นานขึ้น
18. การถอยกลับสู่ภาวะปกติ
...ความสามารถของเราไม่เสมอต้นเสมอปลาย....ผลงานมีขึ้นมีลง....หากมาตรฐานค่าเฉลี่ยดี...ความสามารถถึงอาจมีวันที่แย่บ้างไม่ต้องตกใจ...เดี๋ยวก็กลับมาดีเหมือนเดิม....เหมือนไม่สบายไปหาหมอ2-3วันก็ดีขึ้นเป็นปกติ
19. โศกนาฏกรรมของผลประโยชน์ร่วม
...คือทุกคนคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน...จนทำความเสียหายให้ส่วนรวม....การทำให้ใครสักคนเข้าใจอะไรบางอย่างอาจเป็นเรื่องยาก....เพราะหากมันกระทบต่อผลประโยชน์ของเขา เขาก็พร้อมที่จะทำเป็นไม่เข้าใจ(อัพตัน ซินแคลร์)
...สรุปเราจะปล่อยให้ทุกคนทำตามใจหรือยื่นมือเข้าไปจัดการ
20. อคติจากผลลัพธ์
....เราจะประเมินผลว่าดีหรือไม่ดีจากผลลัพธ์ไม่ใช่กระบวนการ
เช่น หมอAผ่าตัดคนไข้ตาย ...หมอBผ่าตัดไม่ตาย..หมอBเก่งกว่า
...ความจริงคืออย่าประเมินผลตัดสินจากผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว...ถามตัวเองทำไมถึงตัดสินเช่นนั้น....เหตุผลฟังขึ้นและถูกต้องหรือไม่
21. ความสับสนจากตัวเลือกที่มากเกินไป
....คือยิ่งน้อยยิ่งดี
A. การมีตัวเลือกมากเกิน ...แช่แข็งความคิดของคน จะตัดสินใจไม่ได้
B. การมีตัวเลือกมากทำให้คนตัดสินใจได้แย่ลง...เกิดความเครียด
C. การมีตัวเลือกมากทำให้เกิดความไม่พอใจ..ไม่แน่ใจกับการตัดสินใจว่าถูกต้องหรือดีพอ
....เพราะฉะนั้นควรพิจารณาว่าตนเองต้องการอะไรก่อนเลือก....เขียนเกณฑ์การตัดสินใจออกมา
22. อคติจากการถูกใจ
...คือยิ่งเราชอบใครสักคนมากเท่าไหร่เรายิ่งมีแนวโน้มจะช่วยหรือซื้อของจากเขามากขึ้นเท่านั้น
...การขายจะสำเร็จมากสุดเมื่อลูกค้าเชื่อหมดใจว่าคุณชอบและใส่ใจเขาจริงๆ : โจ จีราร์ด
...ชอบ = น่าคบหา โดยพิจารณา
A. รูปร่างหน้าตาดี
B. มีมีภูมิหลังนิสัยความสนใจขายคล้ายเรา
C. ชอบเรา
...จึงมีเทคนิคกระจกเงา...ที่พนักงานขายเลียนแบบสีหน้าท่าทางวิธีการพูดของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าชอบ
23. อคติจากการครอบครอง
...คนเราจะมองสิ่งต่างๆมีค่าขึ้นทันทีเมื่อได้ครอบครอง...คือเวลาอยากขายอะไรจะตั้งราคาสูงกว่าที่ตัวเองจะจ่าย...เพราะมีการนำความผูกพันมาคิดมูลค่าด้วย
...ทำให้ชอบเก็บมากกว่าทิ้ง
...ยังส่งผลต่อคนที่มีแนวโน้มจะได้ครอบครองด้วย เช่น คนที่ประมูลยอมจ่ายมากกว่าราคาที่ตั้งใจตอนแรก...และมองว่าการถอนตัวเป็นการขาดทุน....หรือสมัครงานแล้วผ่านการสัมภาษณ์หลายรอบแล้วไม่ได้งาน จะเสียดาย
...แต่เพราะไม่ว่าจะถูกปฏิเสธตอนไหนผลลัพธ์คือไม่ได้งานเหมือนกัน...อย่ายึดติดกับสิ่งต่างๆ
24. เหตุบังเอิญ
...เหตุบังเอิญที่ไม่น่าเป็นไปได้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก...แต่มันเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
25. การคิดแบบพวกมากลากไป
....กลุ่มที่มีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่นจะสร้างภาพลวงตาบางอย่างโดยไม่รู้ตัว....หนึ่งในนั้นคือ...เชื่อว่าตัวเองไม่มีทางเพลี่ยงพล้ำ (คนฉลาดฉลาดจะตัดสินใจผิดพลาดไปในทิศทางเดียวกัน)
และภาพลวงตาจากมติเอกฉันท์ เมื่อคนอื่นเห็นตรงกัน แล้วเราเห็นต่างจะคิดว่าเราผิดแน่ๆ...เพราะไม่มีใครอยากขวางโลก...อยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
....เพราะฉะนั้นต้องแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและกล้าโต้แย้ง...บางทีการเห็นพ้องต้องกันอาจเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเสมอไป
26. การมองข้ามความเป็นไปได้
....ไม่ว่าโอกาสชนะมีมากน้อยแค่ไหนคนเรามักเลือกเล่นเกมที่มีรางวัลใหญ่กว่าเสมอ (คือทำไมคนเราถึงคาดหวังการถูกลอตเตอรี่รางวัลที่1)
...คนเราตอบสนองต่อความรุนแรงแต่ไม่ตอบสนองต่อความเป็นไปได้
....เหมือนการทดลองว่า
กลุ่มAจะถูกไฟฟ้าช็อต1ครั้ง
กลุ่มBจะถูก 50% ..แล้วค่อยๆลด%ลง....แต่ระดับความเครียดกลับเท่าเดิมและเท่ากันทั้ง2กลุ่ม
....การมองข้ามความเป็นไปได้จะตัดสินใจผิดพลาด เช่น คิดตั้งบริษัทใหม่เพราะเห็นกำไรก้อนโต...ทั้งๆที่ลืมคิดถึงความสำเร็จว่าเป็นไปได้หรือเปล่า
หรือยกเลิกจะบินเมื่อได้ข่าวเรื่องเครื่องบินตก
...คนเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยงว่าอันไหนได้ผลมาก..น้อยกว่า..จะเลือกที่ตัวเลขเยอะ
...และมีอคติเรื่องความเสี่ยงที่เป็น0...คือต้องให้ความเสี่ยงเป็น0เท่านั้นถึงสบายใจ
...วิธีแก้คือให้ใช้การคำนวณมาช่วยในการตัดสินใจ
27. อคติว่าด้วยความเสี่ยงที่เป็น0
...มนุษย์ประเมินความเสี่ยงได้แย่...ยิ่งเป็นเรื่องที่อันตรายร้ายแรงมาก เช่น ความเสี่ยงของการเกิดสารเคมีปนเปื้อน 99% กับ 1% จะรู้สึกกลัวพอๆกัน
....ความกลัวจะหมดไปเมื่อเป็น0 ...เราจึงยอมจ่ายเงินเพื่อลดความเสี่ยงให้หมดไป
...เพราะฉะนั้นลืมความเสี่ยงที่เป็น0...เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตท่ามกลางความไม่แน่นอน....มีจิตใจที่สงบสุข....ทำให้มีความสุขเสมอไม่ว่าจะพบเจอกับอะไร
...แต่ถ้ามีจิตใจว้าวุ่นก็ไม่มีความสุข(ยอมจ่ายเงินมากเกินความจำเป็น)
28. ความเข้าใจผิดคิดว่าขาดแคลน
...ทำไมคุกกี้ชิ้นสุดท้ายถึงทำให้คนน้ำลายไหล
...เพราะมีชิ้นเดียว หรือมีเฉพาะวันนี้ จำนวนจำกัด เป็นสิ่งหายาก มีค่า โอกาสกำลังจะหลุดลอยไป
....เพราะความรู้สึกหายากขาดแคลนทรงพลังมาก....ไม่ได้เกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอย
....เรียกปรากฏการณ์โรมีโอกับจูเลียต) ยิ่งห้ามคนยิ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้น...ทั้งเรื่องความรักและเรื่องอื่นๆ
...วิธีแก้ไขคือ จงประเมินสินค้าจากบริการ ราคาและประโยชน์ใช้สอยมากกว่า
29. การมองข้ามตัวเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุด
(ถ้าได้ยินเสียงม้าอย่าพึ่งคิดว่าเป็นม้าลาย) เพราะคำบรรยายลักษณะหลอก ทำให้มองข้ามความจริงทางสถิติไปได้ เช่นชายร่างผอมสูง สวมแว่นตา ชอบฟังเพลงโมสาร์ท เราจะคิดว่าเป็นศาสตราจารย์มากกว่าคนขับรถบรรทุก
...แต่เค้ามีโอกาสเป็นคนขับรถบรรทุกมากกว่า เพราะมีคนขับรถบรรทุกมากกว่าศาสตราจารย์ถึง 10,000 เท่า
....การมองข้ามตัวเลือกที่น่าเป็นไปได้...พบบ่อยสุดในหมู่นักข่าว นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง วงการแพทย์จะถูกฝึกให้คิดถึงโรึที่หน้าเป็นไปได้มากที่สุด แล้วค่อยคิดถึงโรคแปลกประหลาด
...แก้ไขโดยดูความเป็นไปได้เชิงสถิติด้วยเชิงสถิติด้วย
30. เหตุผลวิบัติของนักพนัน
...ทำไมพลังแห่งความสมดุลจึงเป็นเรื่องเหลวไหล เพราะเหตุการณ์ทั้งหลายเป็นอิสระต่อกัน
...ความสมดุลหรือค่าเฉลี่ยเลยไม่ได้มีบทบาทอะไรเลย เช่น ตกช่องดำมานานแล้วต้องมาตกช่องแดงบ้าง เพื่อสมดุล
...ให้ดูว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอิสระต่อกัน หรือไม่เป็นอิสระต่อกัน จะส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
31. สมอทางความคิด
...เวลาเดาอะไรบางอย่าง ...เราจะเริ่มคำนวณจากสมอทางความคิด คือเอาเหตุการณ์สำคัญ มาช่วยพิจารณา หรือว่าตัวเลขที่คุ้นเคย สิ่งที่คุ้นเคย มาตรฐานที่เคยพบ
....ยิ่งไม่มั่นใจมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งยึดติดกับสมอทางความคิดมากขึ้นเท่านั้น เช่น มีราคาขายปลีกเสนอให้ยึดติดก่อน แล้วค่อยยื่นข้อเสนอที่ดีกว่าให้ จะดูเหมือนถูก
32. การให้เหตุผลแบบอุปนัย
....คือแนวโน้มที่จะหาข้อสรุป โดยดูจากสิ่งต่างๆที่ตัวเองสังเกตเห็น เหมือนตอนแรกจะระวังตัว แต่เหมือนเหตุการณ์จะดีขึ้นหลอกให้เราตายใจ ...แล้วอันตรายจะมาภายหลังโดยที่เราไม่รู้ตัว
...วิธีแก้ไขคือให้เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสิ่ง...อย่าหลงละเริงกับความสำเร็จ ความอยู่รอดในปัจจุบัน มั่นใจเกินเหตุ...เพราะทุกอย่างไม่แน่นอน
...ไม่มีสิ่งใดที่เที่ยงแท้นอกจากภาษีกับความตาย : เบนจามิน แฟรงกลิน
33. ความกลัวความสูญเสีย
....ทำไมเรื่องร้ายๆ ถึงมีพลังมากกว่าเรื่องดี
....หากต้องการโน้มน้าวให้อีกฝ่ายเชื่อในบางสิ่ง...อย่าบอกว่าเขาจะได้ประโยชน์อะไร...แต่เน้นย้ำว่าเค้าไม่ต้องสูญเสียอะไร
...เพราะกลัวว่าจะเสียอะไรสร้างแรงจูงใจได้มากกว่า ความดีใจ ที่จะได้รับบางสิ่งที่มีข้อมูลเท่าๆกัน
...อย่าเน้นว่าประหยัดมากแค่ไหน ...ให้เน้นว่าจะสิ้นเปลืองเงินมากแค่ไหน
...การไม่กล้าเสี่ยงทำอะไรใหม่ๆเพราะกลัวที่จะสูญเสีย
...คนจดจำพฤติกรรมร้าย เรื่องร้ายได้มากกว่าเรื่องดีๆ
34. การกินแรงทางสังคม
....ทำไมคนในที่คนในทีมถึงเกียจคร้าน
....เกิดขึ้นมามองไม่เห็นอย่างชัดเจนว่า...แต่ละคนทุ่มเทมากแค่ไหน...เพราะกลืนไปกับความทุ่มเทของทีม
...ทั้งทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ความคิด ...ยิ่งคนเยอะ ยิ่งมีส่วนร่วมน้อย ...จนถึงจุดจุดหนึ่งและไม่รับผิดชอบเต็มที่ (เป็นการกระจายความรับผิดชอบ)
...ทีมทำให้กล้ารับความเสี่ยงมากกว่าตอนที่อยู่ลำพัง คือ ไม่ต้องรับผิดชอบคนเดียว (ตัดสินใจอย่างบ้าระห่ำของกลุ่ม)
...แก้ไขโดยทำให้กลุ่มมองเห็นความทุ่มเทของแต่ละคนได้อย่างชัดเจนที่สุด
35. การเพิ่มขึ้นแบบยกกำลังหรือว่าทวีคูณ
....การพับกระดาษทำให้เราแปลกใจ เช่น เอากระดาษมาพับซ้ำ 50 ทบ จะหนาเกิน 100ล้าน กิโลเมตร หรือเกมยกเก้าอี้ (ทวีคูณ)
....มนุษย์เคยชินกับการเพิ่มขึ้นแบบคงที่ ...แต่ไม่ชินกับการเพิ่มขึ้นแบบยกกำลัง เช่น อัตราเงินเฟ้อ 5% อีก 14 ปีข้างหน้า เงินจะมีค่าลดลงครึ่งหนึ่งของปัจจุบัน
36. คำสาปของผู้ชนะ
....ทำไมคุณถึงควรระงับความอยากเอาไว้ได้บ้าง เช่นการประมูลมักเสนอราคาเกินจริงมาก..ทำให้ผู้ประมูลได้ล้มละลาย
...โดยสาเหตุแรกคือมูลค่าที่แท้จริงไม่แน่นอน...เมื่อคนสนใจมาก...คิดว่ามีมูลค่ามาก
สองความอยากเอาชนะ
...แก้ไขโดยอยากเข้าร่วมประมูล : วอร์เรนบัฟเฟต หรือกำหนดราคาสูงสุดที่ยินดีจ่าย และลบออกไปอีก 20%
37. ข้อผิดพลาดในการอ้างเหตุผล
....คือแนวโน้มที่คนเราจะให้คุณค่าที่ตัวบุคคลมากกว่าปัจจัยอื่น (คล้ายโยนความผิด) เช่น โยนความผิดให้ CEO หากบริษัทล้มละลาย ทั้งๆที่มีปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้อง หรือการแสดงดนตรีเพราะไม่เพราะ ขึ้นกับบทเพลงตัวโน้ตร้อยเรียง ไม่ใช่วาทยากร
....เพราะฉะนั้นลองพิจารณาปัจจัยอื่นนอกจากนักแสดง บุคคล ...แล้วมุมมองจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
38. การโยงเหตุและผลแบบผิดๆ
....เช่น เด็กมีผลการเรียนดีขึ้น เมื่อมีหนังสือที่บ้านจำนวนมาก...แต่ความจริงคือพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงจะซื้อหนังสือเข้าบ้านมากกว่า และให้ความสำคัญกับการศึกษาลูกมากกว่า...การเรียนเลยดี
...ไม่เกี่ยวกับการที่มีหนังสือที่บ้านมากหรือน้อย
...สรุปคือเหตุการณ์ที่ดูสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ได้เป็นเหตุผลกันเสมอไป หรืออาจไม่ได้เชื่อมโยงกันเลย....คือไม่เกี่ยวกัน
39. ปรากฏการณ์หน้ามืดตามัว
....เกิดขึ้นเมื่อความดีงามในด้านหนึ่ง...ทำให้เราเข้าใจภาพรวมผิดเพี้ยนไป...คิดว่าต้องดีงามทุกด้านโดยไม่สำรวจเพิ่มเติม
...คือใช้ข้อมูลเด่นชัดและหาง่ายชิ้นเดียว มาตัดสินเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ซับซ้อนกว่า เช่น ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีชื่อเสียงคุณภาพต้องดีกว่า ....CEOที่สำเร็จที่หนึ่งต้องสำเร็จอีกที่หนึ่งด้วย และมีชีวิตส่วนตัวที่ยอดเยี่ยม
....หรือคนเรามองเห็นคนหน้าตาดี เป็นคนน่าคบซื่อสัตย์ ฉลาดกว่า ก้าวหน้าในที่การงานง่าย
....อาจส่งผลกระทบร้ายแรง เพราะมันบดบังมุมมองของเรา
...แต่บางครั้งก็ทำให้เรามีความสุข เช่น ความรักทำให้คนตาบอด คือมองไม่เห็นข้อบกพร่องของอีกฝ่ายเลย
....สรุปคือเราไม่เห็นคุณสมบัติที่แท้จริง อย่ามองคนฉาบฉวย อย่าอยู่ใต้อิทธิพลของคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุด
40. ทางเลือกอื่นๆที่เป็นไปได้
....คือทางเลือกที่คุณเลือกได้...แต่ไม่เลือก...เพราะเรามองไม่เห็นมัน
....เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้เสมอ
....ความสำเร็จที่มาจากความเสี่ยงมีค่าน้อยกว่าความสำเร็จที่มาจากทางเลือกที่น่าเบื่อ (เช่นการทุ่มเททำงานหนัก)
....การตัดสินใจว่าจะเลือกทางไหนสำคัญมาก
....ชีวิตของข้าพเจ้าเต็มไปด้วยความโชคร้าย...เพียงแต่ข้าพเจ้ามักเลือกที่จะไม่เดินไปหามัน : มองแตญ
41. ภาพลวงตาที่ว่าด้วยการทำนาย
....ถามตัวเอง...แรงจูงใจของผู้เชี่ยวชาญคืออะไร...เขาได้เงินมาจากไหน...เค้าทำนายได้ถูกต้องกี่ครั้ง (สื่อไม่เคยพูดถึง)
....นักทำนายเหมือนได้รับสิทธิพิเศษ...หากทำนายพลาดไม่มีชีวิตขาลง....แต่ทำนายถูกชีวิตมีแต่ขึ้น...ทำให้ผลิตคำทำนายออกมามาก
42. เหตุผลวิบัติที่ว่าด้วยการเชื่อมโยง
....ทำไมเราถึงซื้อประกันที่ไม่มีวันได้ใช้....เพราะถูกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรากังวล
(งานเขียนของแดเนี่ยล กาห์เนแมน+เอมอส ทเวอร์สกี้)
....เขียนเรื่องนี้เพราะคนเราถูกดึงดูดด้วยเรื่องที่สอดคล้องกัน....ฟังดูมีเหตุผล...น่าเชื่อถือประทับใจ....ทำให้เลิกคิดถึงความเป็นไปได้อื่น...ทั้งๆที่อาจไม่เป็นความจริง
....การคิดมี2ประเภท
A. การคิดด้วยสัญชาตญาณ....เกิดแบบทันทีทันใด
B. การคิดอย่างมีสติ รอบคอบมีเหตุผล
....แต่คนเรามีมาคิดด้วยสัญชาตญาณ
43. การตีกรอบ
....สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่คุณพูดอะไร....แต่อยู่ที่ว่าคุณพูดอย่างไร
....ถ้าสื่อสารแบบที่ต่างออกไป..ผลที่ได้ก็แตกต่าง เช่น...ที่รักคุณช่วยเอาขยะไปทิ้งทีได้ไหม กับ นี่ถังขยะจะเต็มแล้วนะ
....เนื้อไร้ไขมัน 99% กับ เนื้อมีไขมัน 1%
...พวกการบิดคำ
ปัญหา=โอกาส
คนถูกไล่ออก = มองหาความท้าทายใหม่ๆในอาชีพ
ตายในหน้าที่ = วีรบุรุษในสงคราม
หุ้นราคาร่วง = การปรับฐาน
ราคาแพงเกิน = ค่านิยม
.....ใช้ทางการค้า เช่น ซื้อรถมือสอง...คนขายย้ำว่าวิ่งน้อย + สภาพอย่างดี...จนลืมดูรายละเอียดอื่นๆ เช่น ตัวเครื่อง
....การสื่อสารล้วนมีการตีกรอบไม่มากก็น้อย
44. อคติจากความเชื่อว่าต้องลงมือทำ
....ต้องลงมือทำถึงแม้ไม่ได้อะไรเลย....โดยเฉพาะตอนสถานการณ์ไม่คุ้นเคยหรือไม่แน่นอน : วอร์เรน บัฟเฟตต์
....หลักการสำคัญของการลงทุนคือ อย่าหาอะไรทำเพียงเพราะคุณอยู่เฉยๆไม่ได้
...เพราะสัญชาตญาณของเรา...เมื่อก่อนต้องลงมือทำก่อนนั่งคิด...เพื่อความอยู่รอด
...แต่ทุกวันนี้ต้องเลือกว่าจะคิดไตร่ตรองก่อน...รอคอยจนแน่ใจ....แล้วค่อยลงมือทำ
....ปัญหาทั้งมวลของมนุษย์ ชาติล้วนเกิดจากการที่มนุษย์ นั่งนิ่งๆในห้องคนเดียวไม่ได้ : แบลส ปาลกัส
....ชดเชยความไม่ชัดเจน...ด้วยการทำอะไรซักอย่าง โดยไม่สนใจว่าจะเกิดหรือไม่
...เกิดในเวลาที่สถานการณ์คลุมเครือ ยุ่งเหยิงและขัดแย้ง
45. อคติจากการเพิกเฉย
....คนเรามองว่าการเพิกเฉย แล้วเหตุการณ์ร้ายแรงตามมา ...น่ารังเกียจน้อยกว่าเราลงมือทำเรื่องที่ร้ายแรง...ทั้งทั้งที่ผลที่ได้เหมือนกัน....คนเราเลยเลือกอยู่เฉยๆ
....เกิดเมื่อสถานการณ์ชัดเจน...รู้ว่าลงมือทำอะไรซักอย่างป้องกันความเสียหายได้...แต่เลือกที่จะไม่ทำ
46. อคติจากการคิดเข้าข้างตัวเอง
....คนเราจะบอกว่าความสำเร็จเกิดขึ้นเพราะตัวเราเอง....แต่ความล้มเหลวเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก
....ประเมินบทบาทตัวเองสูงเกินไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ทำเองคนเดียว
....ลองหาสถานการณ์นั่งทานกาแฟกับศัตรู...แล้วถามจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองดู
47. การวิ่งไล่ตามความสุข
....คนเราทำงานหนัก..เพื่อให้ได้รับสิ่งที่ดีกว่าในอนาคต..แต่เมื่อได้มา..ไม่ได้ช่วยให้มีความสุขอย่างที่คิด
....การได้บ้านใหม่ เลื่อนตำแหน่ง จะมีความสุขหรือความทุกข์ประมาณ3เดือน
....การเดินทางด้วยรถยนต์สาเหตุของความไม่พอใจและความเครียด....เพราะฉะนั้นเวลาตัดสินใจอะไรใหม่ๆถามตัวเอง
A. มันทำให้คุณต้องปรับตัวกับสิ่งลบๆที่ยากจะชินได้หรือไม่ เช่นเดินทางไกลๆไปทำงาน
B. คาดหวังความสุขระยะสั้นพอ
C. หาเวลาว่างให้อิสระกับตัวเอง
....ความรู้สึกแง่บวกมาจากสิ่งที่ทำ...ไม่ใช่สิ่งที่มี
....มิตรภาพทำให้ความสุขมากกว่าความก้าวหน้าที่เสียมิตรภาพไป
48. อคติจากการรู้สึกไปเอง
....เมื่อรู้สึกโชคไม่ดี
....ความรู้สึกเกิดเพราะเป็นผลมาจากการเลือก
49. อคติจากการสร้างความเชื่อมเชื่อมโยง (ภาพจำ)
....สมองเราเป็นเครื่องเชื่อมโยง..จำว่าเคยทำอะไรมา..เป็นอะไรยังไง....แต่อาจสร้างความรู้สึกผิดๆได้ เช่น ดื่มโค้ก..หน้าตาดี..มีความสุขสุดๆ
...การเชื่อมโยงนี้ส่งผลต่อคุณภาพในการตัดสินใจของคนเรา เช่น คนเอาข่าวร้ายมา...ก็เชื่อมโยงว่าคนนั้นเป็นคนส่งข่าวร้าย(การลงโทษผู้ส่งข่าว)
...CEOก็เหมือนกัน..จึงพยายามบิดเบือนข่าวได้เพื่อให้เกิดภาพจำที่ดี
50. โชคดีของมือใหม่
....เหมือนนักพนันที่ตาแรกๆจะชนะ...หลังจากนั้นทุกอย่างก็กลับเข้าสู่ปกติ
....อาจเพราะมีปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วย...ไม่ใช่ฝีมือแท้จริง เช่น เศรษฐกิจกำลังดี
....การแยกแยะความโชคดีของมือใหม่กับความสามารถที่แท้จริง คือ
A. ถ้าทำได้ดีกว่าคนอื่นเป็นเวลานาน..อาจเป็นเพราะความสามารถของคุณ
B. ยิ่งมีคนแข่งขันมากเท่าไหร่..ยิ่งมีโอกาสที่ใครโชคดีติดต่อกันหลายครั้ง
(เหมือนทายแพ้ชนะ 50,000 คน ..ให้ส่งผลแพ้ชนะเดาไปเรื่อยๆ และหารจำนวนคนเรื่อยๆ จะมีที่เราเดาถูกตลอด)
....รอสักพักก่อนหาข้อสรุป...ดูว่าตัวเองมีข้อผิดพลาดตรงไหน
51. ความไม่สอดคล้องทางความคิด
....คนเราจัดการปัญหา3วิธี
A. พยายามจนกว่าจะได้
B. ยอมรับว่าตัวเองมีความสามารถไม่พอ
C. ตนเองมีความสามารถไม่พอ...แต่ตีความหมายใหม่เพื่อเข้าข้างตัวเอง
....เหมือนนิทาน...สุนัขจิ้งจอกกินองุ่นที่สูงบนต้นไม้ไม่ได้...เลยบอกว่าองุ่นเปรี้ยว..ไม่รู้จะกินทำไม
....การทดลองให้นักศึกษาออกไปทำงานหนึ่งได้ผลตอบแทนไม่คุ้ม...นักศึกษาเลยโน้มน้าวให้ตัวเองรู้สึกว่างานนี้ดี จึงมีความสุข (อุ่นใจเมื่อได้โกหกตัวเอง)
52. การลดค่าแบบเกินจริง
....คือคำว่าตอนนี้
...สัตว์ไม่มีทางปฏิเสธรางวัลตรงหน้า...กับโอกาสที่จะได้รางวัลใหญ่กว่าในอนาคต
....เราจะรอได้หากรางวัลมีมูลค่าสูงมาก
....ความสามารถในการอดทนรอ...ทำนายว่าจะสำเร็จหรือไม่ (เหมือนการทดลองมาร์ชเมลโล่)
.
.
. เพิ่มการพัฒนาตัวเองวันละนิด
. เหมือนเติมวันละ 1 องศา
. 1 วัน อาจจะไม่มีอะไร
. 10 วันไม่มีความต่าง
. แต่ 100 วันล่ะ 1000 วันล่ะ
. จะเปลี่ยนแปลงไปโดยแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม
.
. มาพัฒนาวันละ 1 องศา
. เพื่อเติมเต็มวงล้อชีวิตให้สมบูรณ์ไปด้วยกัน
. ...กับเพจ #องศาที่หายไป
.
.
. 🪴🪴🪴🪴🪴🪴
👍🏻เลื่อนนิ้วโป้งกด Like กด Share ให้จูลสักนิด..เพื่อชีวิตที่มีกำลังใจให้จูลนะคะ..ขอบคุณค่ะ
⭐️ติดตามที่ Blockdit
❤️ติดตามที่ Youtube
🥰คุยกับจูลได้ใกล้ชิดมากขึ้น ที่Line ค่า (Add ไว้ จะได้ทราบข่าวสารอัพเดตค่า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา