27 มิ.ย. 2021 เวลา 06:17 • ปรัชญา
อย่าอวดกิเลสให้คนอื่น
1
.
Photo by Benjamin Sow on Unsplash
โง่ ในบริบทนี้คือ จิตยังประกอบไปด้วยเชื้อกิเลส
ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
ฉลาด คือ จิตประกอบไปด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ
ซึ่งก็คือ ปราศจากเชื้อกิเลส
1
การกระทำที่แสดงออกโดยยังมีเชื้อของกิเลส
คอยสั่งการอยู่เบื้องหลัง
จะทำให้คน ๆ นั้น เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ
ลามออกไปถึงผู้คนรอบตัว
คือการเบียดเบียนทั้งต่อตัวเอง และผู้อื่น
1
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสำรวมกาย วาจา ใจ ให้มาก
จะเกิดผลเกื้อกูลทั้งต่อตัวเอง และผู้อื่น
การให้อารมณณ์นำสติปัญญา
ผลที่เกิดขึ้นมีแต่หายนะ
ต่อให้เถียงชนะ ก็เกิดความสูญเสียมากกว่า
3
หมั่นสำรวจ สังเกตใจตัวเองกันก่อนเป็นอันดับแรก
เพราะใจเป็นประธาน
ก่อนที่จะเกิดการกระทำทางกาย วาจา ออกไป
ล้วนมีจุดตั้งต้นมาจาก 'ใจ'
3
รู้เท่าทันอาการปรุงแต่งจากกิเลสให้มาก
เมื่อรู้ทัน กิเลสจะถูกละไปโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติ
1
รู้เท่าทันความคิด
เหตุที่ทำให้คิดเห็นเช่นนี้ คืออะไร
1
จิตที่ยังไม่บริสุทธิ์
มักจะกลับกลอกไปมา พร้อมจะพลิกไปมาเสมอ
ชื่นชมยินดีคนอื่นอยู่ดี ๆ ก็พร้อมจะพลิกไปอิจฉาได้
รักกันอยู่ดี ๆ ก็พร้อมจะโกรธเคือง ขุ่นมัวได้
... ฯลฯ ...
1
อารมณ์แปรปรวนกันไปมา
จะต้องเพิ่มกำลังให้สติปัญญา
มากขึ้นไปตามลำดับความละเอียดของกิเลส
จึงจะสามารถรู้เท่าทัน ชำระอุปกิเลสออกไปได้
อย่างทรงประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
ส่วนใหญ่แล้วการกระทำที่มีเชื้อมาจากกิเลส
มักจะทำให้คน ๆ นั้น ดูไม่มืออาชีพ
ไม่ว่าจะประกอบกิจการงานใด ๆ
ไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญ
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะถูกประนาม
ควรรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้มากกว่าสิ่งที่ควรพูด
เพราะ คำพูดเมื่อลั่นออกไปแล้ว
คำพูดจะเป็นนายของผู้พูดในทันที
3
:
การชำระกิเลส ชำระกันที่จิต
ก่อนที่จะลั่นวาจา แสดงกิริยาอะไรออกไป
ต้องรู้เท่าทันใจของตัวเองก่อนว่า
นั่นคือ สิ่งที่สมควรพูด สมควรกระทำจริง ๆ ใช่มั้ย
นั่นคือ สิ่งที่ประกอบด้วยสติปัญญาพร้อมจริง ๆ รึเปล่า
1
.... ถ้าไม่ใช่
:
'เงียบ' ไว้
จะยังเกิดประโยชน์มากกว่า ...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา