25 พ.ค. 2021 เวลา 13:20 • การศึกษา
ระบบภาษีของเมืองไทย ไม่ยุติธรรมจริงหรือ ?
จากงานสัมมนา BREAKTHROUGH THAILAND 2021 ของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ได้จัดขึ้น ได้กล่าวถึงประเด็นของการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องภาษีที่น่าสนใจรวมอยู่ด้วย ผู้เขียนจึงอยากหยิบมาฝากกันค่ะ
1
โดยเนื้อความได้กล่าวถึง ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้เปิดประเด็นว่า ในช่วง 2-3 ชั่วอายุคนที่ผ่านมา เอเชียสะสมความมั่งคั่งในภูมิภาคอย่างมากมาย จำนวนคนมั่งคั่งในเอเชียและในไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขณะนี้ธุรกิจความมั่งคั่ง หรือธุรกิจ wealth (ธุรกิจที่ให้คำปรึกษาแนะนำการบริหารทรัพย์สินให้ได้ประโยชน์สูงสุด และเสียภาษีน้อยที่สุด) ในประเทศไทยกำลังเฟื่องฟู และคนมั่งมีวัยเกษียณที่ใช้บริการธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก และจะเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะโครงสร้างประชากรของไทยมีผู้สูงอายุในสัดส่วนที่มากขึ้น
" ประเด็นก็คือว่า รัฐบาลจะต้องให้กลุ่มคนมั่งมีเหล่านี้ได้มีส่วนช่วยสังคมด้วยภาษีที่เท่าเทียมเต็มกำลังมากกว่าเดิม "
ศ.ดร.ผาสุกมีประเด็นนำเสนอ หลายประเด็น ซึ่งหากทำได้จริงจะทำให้ประเทศไทยมีงบประมาณอีกมหาศาลสำหรับพัฒนาประเทศ ในที่นี้ ผู้เขียนขอยกประเด็นเกี่ยวกับภาษีมานำเสนอ ดังนี้
1
⛳ ระบบภาษีแบบแยกส่วนของไทยไม่ยุติธรรม คือมีกฎเกณฑ์-เงื่อนไขไม่เหมือนกัน
โดยยกภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาเป็นตัวอย่างอธิบายลงรายละเอียดดังต่อไปนี้ค่ะ
ภาษีของไทยเป็นแบบแยกส่วน คือมีหลายระบบ และเงินได้ประเภทต่าง ๆ มีข้อกำหนดการหักค่าใช้จ่ายต่างกัน อัตราภาษีต่างกันตามประเภทของรายได้ แบ่งกลุ่มผู้เสียภาษีเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
👉 กลุ่มแรก คือ กลุ่ม ก. เป็นมนุษย์เงินเดือน มีรายได้หลักเพียงเงินเดือน
👉 กลุ่มที่สอง คือ กลุ่ม ข. มนุษย์ทรัพย์สิน มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก มีรายได้หลายประเภท อาจจะเป็นค่าเช่า ดอกเบี้ยเงินปันผล กำไรจากการเล่นหุ้น กำไรจากการลงทุนต่างประเทศ เป็นต้น
💥 ความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ คือ
กลุ่ม ก. มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นอัตราก้าวหน้า ต่ำสุดร้อยละ 5 สูงสุดร้อยละ 35 ตามขั้นเงินได้ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องกรอกแบบภาษีประจำปีเพื่อเสียให้ครบถ้วนในที่สุด
1
กลุ่ม ข. ที่มีเงินได้จากทรัพย์สินต่าง ๆ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราคงที่ตามที่กฎหมายกำหนดตามประเภทรายได้ เริ่มที่ร้อยละ 0 สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15
1
การหักค่าลดหย่อนสำหรับกลุ่ม ก. มีขอบเขตจำกัดแน่นอน หักมากไม่ได้ สำหรับกลุ่ม ข. มีช่องทางลดหย่อนมากกว่า และมีขอบเขตไม่แน่นอน
💥 สรุปความแตกต่างคือ มนุษย์เงินเดือนและมนุษย์ทรัพย์สินผู้มั่งคั่งมีโอกาสเลี่ยงภาษีมากน้อยต่างกัน คือ มนุษย์เงินเดือนไม่มีโอกาสเลี่ยงภาษีเพราะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ขณะที่มนุษย์ทรัพย์สินมีช่องทางเลี่ยงมากมาย
3
คนมีทรัพย์สินมาก ๆ มักจะอยู่ในกลุ่มผู้มั่งคั่งชั้นยอดของประเทศที่เรียกว่า Top 1% และกลุ่มรองลงมา คือ Top 5% และ Top 10%
กลุ่ม ข. ที่มีทรัพย์สิน เสียภาษีอัตราร้อยละ 0-15 รายได้ที่เสียภาษีร้อยละ 0 มีหลายประเภทมาก เช่น
- กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทย
- เงินได้จากการลงทุนในต่างประเทศซึ่งไม่เอาเงินได้กลับเข้ามาในปีเดียวกัน
- เงินปันผลหุ้นบริษัทที่ได้รับสิทธิพิเศษจาก BOI
- รายได้จากค่าเช่าบ้าน การให้กู้เงินแบบปากเปล่า ธุรกิจที่ทำบัญชีขาดทุนทั้งที่ความจริงมีกำไร และธุรกิจ-กิจกรรมผิดกฎหมายที่อยู่นอกระบบ
ที่อธิบายมาคือระบบภาษีแบบแยกส่วนของประเทศไทยนั้นไม่ยุติธรรม ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาไม่มีระบบภาษีแบบนี้ แต่มีระบบภาษีระบบเดียวที่ใช้กับทุกคน เรียกว่า ระบบภาษีแบบบูรณาการ (integrated tax system)
1
ทุกคนเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องกรอกแบบภาษีและลงรายการรายได้ทุกประเภทในแบบฟอร์มเดียวกัน แล้วจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 5-35% ตามขั้นรายได้เหมือนกันหมด
⛳ ระบบภาษีแยกส่วนทำให้รัฐจัดเก็บรายได้ได้น้อยกว่าที่ควร
ผลของภาษีแยกส่วน คือ มีคนจำนวนมากที่นั่งเล่นหุ้นอยู่บ้าน เสียภาษีเท่ากับ 0 หรือนั่งอยู่บ้านลงทุนในต่างประเทศ หรือใช้บริการธุรกิจ wealth ไปลงทุนต่างประเทศแล้วไม่เอาเงินเข้ามาในปีเดียวกันก็เสียภาษี 0
1
ส่งผลให้ไทยมีฐานภาษีรายได้บุคคลธรรมดาแคบลง เพราะคนที่มีรายได้สูง ๆ มีโอกาสหลุดรอดจากระบบภาษี หรือสามารถหักค่าลดหย่อนได้มาก จนทำให้ฐานภาษีที่ต้องเก็บหดตัวลง
1
⛳ เสนอปฏิวัติระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้เป็นแบบบูรณาการ
ศ.ดร.ผาสุกเสนอให้ปฏิวัติระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เป็นแบบแยกส่วนให้เป็นระบบเดียวที่บูรณาการตามหลักการสากล ให้ทุกคนเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตามขั้นบันไดเงินได้ในมาตรฐานเดียวกัน
1
ระบบบูรณาการทุกคนจะต้องรายงานภาษีทุก ๆ อย่าง เข้าไปในแบบฟอร์มเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ทรัพย์สิน จะไม่มีใครสามารถนั่งอยู่บ้านเล่นหุ้นแล้วเสียภาษีเงินได้เป็น 0 หรือเอาเงินไปลงทุนต่างประเทศ เสียภาษีที่ประเทศเขาแต่ไม่เสียภาษีในประเทศไทย
1
💥 ดังนั้นเราจะมีภาวการณ์ที่ระบบภาษีทำให้เราเท่าเทียม คือ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใด ถ้าเงินได้เท่ากันต้องเสียภาษีเท่ากัน
อ.ผาสุก กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยทำผิดพลาดมากมายเกี่ยวกับระบบภาษี ที่จริงแล้วกรมสรรพากร และกระทรวงการคลังทราบดีเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ แต่ติดปัญหาทางการเมือง ฝ่ายวิชาการของกระทรวงการคลังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันภาษี แต่มักจะไปติดอยู่ที่รัฐบาล
2
ถ้าสามารถปรับระบบภาษีได้ รัฐบาลจะมีรายรับจากภาษีได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1% หรืออาจจะได้ถึง 5% หรือมากกว่า เป็นข้อมูลจากธนาคารโลกที่ศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 1990 พบว่า การที่ประเทศไทยไม่เจริญเติบโตอย่างที่เราต้องการ ไม่เป็นสังคมเสมอภาค ไม่มีสวัสดิการที่ดีอย่างประเทศอื่น ๆ เพราะมีการรั่วไหลในเรื่องภาษีมาก
4
ถ้าเราอุดรูรั่วไหลต่าง ๆ เราจะสามารถเพิ่มรายรับได้อีกถึง 5% ของจีดีพี ซึ่งเพียง 1% ของจีดีพีก็สามารถจ่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าฯได้แล้ว ถ้าเราเก็บได้เพิ่มถึง 5% เราจะสามารถทำอะไรได้มากขึ้นอีกเยอะเลย แล้วเศรษฐกิจของเราก็จะเจริญเติบโต สังคมเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
3
💦.....ดูจากข้อเสนอแนะดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้มองเห็นเป็นรูปธรรมมาก ๆ แต่ความเป็นไปได้จะมากหรือน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะรับฟังและกล้าพอจะทำตามหรือไม่ ?
แล้วคุณผู้อ่านละคะ คิดเห็นอย่างไรกับข้อเสนอแนะนี้ ส่วนผู้เขียนคิดว่าเราจะมีความเสมอภาคมากขึ้น และลดความเหลื่อมล้ำกันได้มากขึ้น ถ้าเราสามารถปฎิวัติระบบภาษีให้มีความยุติธรรมมากขึ้นค่ะ
1
อ้างอิง : ประชาชาติธุรกิจ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณกำลังใจและการติดตามนะคะ ทุกการอ่าน ไลค์ แชร์ หรือคอมเม้นท์มีความหมายเสมอค่ะ
❤❤🙏🙏❤❤

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา