28 พ.ค. 2021 เวลา 04:09 • ประวัติศาสตร์
ความรุ่งเรืองและล่มสลายของอียิปต์โบราณ
1
“อียิปต์โบราณ” เป็นอาณาจักรและอารยธรรมที่สำคัญในประวัติศาสตร์โลก
อียิปต์โบราณนั้นมีความรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน และเป็นรากฐานสำคัญสำหรับประวัติศาสตร์ในยุคต่อมา
หากแต่อารยธรรมนี้ล่มสลายได้อย่างไร ลองไปหาคำตอบกันครับ
เมื่อ 332 ปีก่อนคริสตกาล “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)” กษัตริย์แห่งมาซีโดเนีย ได้โค่นล้มเปอร์เซีย ซึ่งเป็นศัตรูของอียิปต์ และยึดครองอียิปต์มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี
1
ภายหลังถล่มเปอร์เซียจนไม่เหลือซาก พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ได้เข้ายึดครอง แผ่อำนาจเข้ามาในอียิปต์
1
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงสร้างเมืองอเล็กซานเดรีย และอียิปต์ ซึ่งในเวลานี้อยู่ใต้อำนาจของพระองค์ ก็รุ่งเรืองในด้านศิลปวิทยาการต่างๆ
1
ภายหลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตเมื่อ 323 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรของพระองค์ก็แตกออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนก็อยู่ใต้อำนาจของแม่ทัพของพระองค์แต่ละคน
ผู้ที่ได้ปกครองอียิปต์คือ “พระเจ้าปโตเลมีที่ 1 (Ptolemy I Soter)”
1
พระเจ้าปโตเลมีที่ 1 (Ptolemy I Soter)
อียิปต์ภายใต้ราชวงศ์ปโตเลมี ก็ยังคงรุ่งเรือง ซึ่งเป็นผลจากความรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยในยุคนี้ มีการสร้างพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเมืองอเล็กซานเดรีย ดึงดูดบัณฑิตจากทั่วโลก
ในยุคนี้ อียิปต์จำเป็นต้องพึ่งพิงเหล่าทหารอาสาชาวกรีกในการปกป้องอาณาจักร รวมทั้งที่ปรึกษาระดับสูงก็เป็นชาวกรีก ทำให้กรีกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในอียิปต์ มีการเผยแพร่ศาสนาและวัฒนธรรมของกรีกในอียิปต์
ในสมัยราชวงศ์ปโตเลมี อาณาจักรกรีกได้ล่มสลายในเวลาต่อมา พร้อมๆ กับการเรืองอำนาจของอาณาจักรโรมัน รวมทั้งการเปลี่ยนขั้วอำนาจในอียิปต์
2
ผู้ที่จะมีบทบาทในอียิปต์ในเวลาต่อมา คือ “คลีโอพัตรา (Cleopatra)” พระราชธิดาของ “พระเจ้าปโตเลมีที่ 12 (Ptolemy XII)”
1
คลีโอพัตรา (Cleopatra)
เมื่อพระเจ้าปโตเลมีที่ 12 สวรรคตเมื่อ 51 ปีก่อนคริสตกาล บัลลังก์ก็ถูกส่งต่อมายังพระนางคลีโอพัตรา ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ 18 พรรษา กับพระอนุชาวัย 10 พรรษาของพระองค์ นั่นคือ “พระเจ้าปโตเลมีที่ 14 (Ptolemy XIV)”
1
ในเวลานั้น ที่ปรึกษาของพระองค์นั้นคิดที่จะชิงอำนาจ จึงได้พยายามที่จะปลงพระชนม์ของพระนางคลีโอพัตราเมื่อ 49 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์จึงต้องเสด็จหนีไปยังซีเรีย
ต่อมา “จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar)” ได้เดินทางมาถึงอเล็กซานเดรีย โดยในเวลานั้น ซีซาร์เพิ่งจะสังหารศัตรูได้และกำลังทรงอำนาจ
พระนางคลีโอพัตราทรงเห็นหนทางขึ้นสู่อำนาจผ่านซีซาร์ และทรงต้องการดึงซีซาร์เข้ามาเป็นพวก
พระนางคลีโอพัตราทรงห่อองค์มาในพรม เข้ามาในพระราชวังเพื่อพบซีซาร์ และสามารถทำให้ซีซาร์ยอมเป็นพันธมิตร
พระนางคลีโอพัตราทรงพบซีซาร์
ซีซาร์นั้นได้ช่วยให้พระนางคลีโอพัตราและพระอนุชาขึ้นสู่บัลลังก์ และโปรดปรานพระนางคลีโอพัตรามากจนยอมอยู่ในอียิปต์เป็นเวลาหลายปี
เมื่อราว 47 ปีก่อนคริสตกาล พระนางคลีโอพัตราได้ให้ประสูติกาล “พระเจ้าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน (Caesarion)” ซึ่งเชื่อว่าเป็นบุตรของซีซาร์กับพระนางคลีโอพัตรา
1
เมื่อ 45 ปีก่อนคริสตกาล ซีซาร์ได้พาพระนางคลีโอพัตราและพระเจ้าปโตเลมีที่ 15 กลับไปยังโรม หากแต่สถานการณ์ที่โรมก็ไม่ค่อยดีนัก
44 ปีก่อนคริสตกาล ซีซาร์ถูกกลุ่มสมาชิกสภาสังหาร เนื่องจากไม่พอใจและเกรงในอำนาจของซีซาร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การสังหารซีซาร์
เมื่อสิ้นซีซาร์ พระนางคลีโอพัตราและพระราชโอรสก็เสด็จกลับอียิปต์ โดยในเวลานั้น พระอนุชาของพระองค์ได้สวรรคตไปแล้ว
พระนางคลีโอพัตราได้ตั้งให้พระราชโอรสเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระองค์
นอกจากนั้น พระองค์ยังเข้านับถือ “เทวีไอซิส (Isis)” ซึ่งเป็นเทวีอียิปต์ ทำให้ความนิยมของประชาชนชาวอียิปต์ที่มีต่อพระองค์กลับคืนมาอีกครั้ง
เทวีไอซิส (Isis)
แต่ถึงอย่างนั้น อียิปต์ก็ยังอยู่ในภาวะลุ่มๆ ดอนๆ แม่น้ำไนล์ก็เริ่มจะไม่อุดมสมบูรณ์ดังแต่ก่อน ทำให้เสบียงอาหารเริ่มขาดแคลน
เมื่อเป็นอย่างนี้ พระนางคลีโอพัตราจึงเริ่มจับตามองกรุงโรม และมองหาพันธมิตรใหม่
1
ในเวลานั้น กรุงโรมกำลังมีปัญหาการเมืองภายใน โดยเหล่าผู้สืบทอดของซีซาร์ต่างแย่งกันเป็นใหญ่ และแต่ละฝ่ายก็ต้องการให้อียิปต์สนับสนุน พระนางคลีโอพัตราจึงเล็งเห็นโอกาสเหมาะ
2
พระนางคลีโอพัตราทรงส่งกองทัพไปช่วย “มาร์ค แอนโทนี (Mark Antony)” และ “ออคเทเวียน (Octavian)” ซึ่งทั้งคู่ก็เอาชนะกลุ่มอำนาจกลุ่มอื่นๆ ได้ และวางแผนที่จะปกครองโรมร่วมกัน
แต่พระนางคลีโอพัตรามีแผนอื่น
พระนางคลีโอพัตราทรงคิดว่าจะทำให้ขั้วอำนาจที่ปกครองโรมนั้นแยกกันเอง แตกกัน เพื่อที่พระองค์จะได้มีอำนาจเองเพียงผู้เดียว โดยพระองค์ทรงเล็งไปยังมาร์ค แอนโทนี
1
มาร์ค แอนโทนี (Mark Antony)
พระนางคลีโอพัตราคิดว่าหากสามารถดึงแอนโทนีเข้ามาเป็นพรรคพวกได้ พระองค์ก็จะได้ครอบครองกรุงโรม
เมื่อ 40 ปีก่อนคริสตกาล พระนางคลีโอพัตราทรงล่อลวงแอนโทนี ทำให้แอนโทนีตีจากภรรยามาหาพระองค์ โดยทั้งคู่ใช้เวลาด้วยกันในอียิปต์
ภายหลังจากที่แอนโทนีกลับไปยังกรุงโรม พระนางคลีโอพัตราก็ให้ประสูติกาลพระราชบุตรซึ่งเป็นฝาแฝด
2
อียิปต์นั้นรุ่งโรจน์อีกครั้ง โดยแอนโทนีก็ตกอยู่ใต้เงื้อมมือของพระนางคลีโอพัตรา
พระนางคลีโอพัตราได้โน้มน้าวให้แอนโทนีตั้งพระเจ้าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน เป็นผู้ปกครองกรุงโรมในอนาคต ทำให้พระนางคลีโอพัตราเป็นราชินีของทั้งอียิปต์และกรุงโรม
ทุกๆ อย่างกำลังไปได้ด้วยดี ยกเว้นเพียงปัญหาเดียว
“ออคเทเวียน (Octavian)”
ออคเทเวียนนั้นไม่พอใจกับการตัดสินใจของแอนโทนี จึงได้ทำการโน้มน้าวสภาให้เชื่อว่าแอนโทนีนั้นอ่อนแอ และทำให้สภาปลดแอนโทนีออกจากตำแหน่งและอำนาจ อีกทั้งยังประกาศสงครามต่อแอนโทนีและพระนางคลีโอพัตรา
กองทัพของออคเทเวียนได้เอาชนะกองทัพของแอนโทนีเมื่อ 31 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้แอนโทนีฆ่าตัวตาย ทิ้งให้พระนางคลีโอพัตราปกครองอียิปต์เพียงลำพัง
3
แอนโทนีฆ่าตัวตาย
ภายหลังจากการตายของแอนโทนี พระนางคลีโอพัตราก็ทรงขังพระองค์อยู่ในห้องบรรทม และปลงพระชนม์เองด้วยงูพิษ และอียิปต์ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรโรมัน
จากนั้น อารยธรรมอียิปต์ที่รุ่งเรืองก็สูญสลายไปจากประวัติศาสตร์ จนกระทั่งมีการขุดพบหลุมศพของฟาโรห์ตุตันคาเมนในปีค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) ทำให้อารยธรรมอียิปต์เป็นที่สนใจของโลกอีกครั้ง
การสวรรคตของพระนางคลีโอพัตรา
โฆษณา