10 มิ.ย. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
คำแนะนำวัคซีน AstraZeneca จากรายงาน SAGE ของ WHO
3
SAGE หรือ Strategic Advisory Group of Experts เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันโรค ที่ทำงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้วัคซีนต่างๆ
1
เดิมที AstraZeneca ได้รับการรีวิวจาก SAGE ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2021 แต่ว่ามีการอัพเดทข้อมูลใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2021 และจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีการอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติม
รายงานนี้รวบรวมผลของวัคซีน ChAdOx1-S (AstraZeneca) ที่ผลิตจากหลายบริษัท (AstraZeneca AZD1222-Vaxzevria, Serum Institute India (SII) Covishield, และ SK Bioscience) แต่ถือเป็นข้อมูลของวัคซีนยี่ห้อนี้ทั้งหมด
[ 1 ]
🔺 ข้อมูลเดิม: (เก็บข้อมูลถึง 7 ธันวาคม 2020): การศึกษาเฟส 3 จากประเทศอังกฤษ, บราซิล และ แอฟริกาใต้
- กลุ่มตัวอย่างได้รับวัคซีนครบทั้งสองเข็ม ห่างกัน 4-12 สัปดาห์ พบว่าถ้าเว้นช่วงระหว่างเข็มแรกและเข็มสองนานกว่า 4 สัปดาห์ ภูมิจะยิ่งขึ้นสูง
- ช่วงหลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก 22 วัน ไม่มีเคสที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มี 14 เคสที่ต้องรักษาที่โรงพยาบาลเพราะอาการป่วยจากโควิด
**วัคซีนมี % efficacy อยู่ที่ 63% สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบแสดงอาการได้**
🔺 ข้อมูลใหม่: (เก็บข้อมูลถึง 5 มีนาคม 2021): การศึกษาเฟส 3 จากประเทศอเมริกา
- เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 32,449 คน โดยที่ 22% ของกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เว้นระยะห่างระหว่างเข็มแรกและเข็มสอง 7 สัปดาห์
- ช่วงหลังจากฉีดครบทั้งสองเข็ม 15 วัน ไม่พบเคสที่ป่วยแบบอาการหนักในกลุ่มฉีดวัคซีน แต่พบ 8 เคสในกลุ่มวัคซีนหลอก
1
**วัคซีนมี % efficacy อยู่ที่ 76% สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบแสดงอาการได้ และ สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป พบว่า % efficacy เพิ่มมาอยู่ที่ 85%**
1
[ 2 ]
💉 ข้อแนะนำการใช้:
- ในกลุ่มบุคคลที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
- WHO แนะนำให้ฉีดห่างกัน 8-12 สัปดาห์ ถ้ามีเหตุให้ต้องฉีดเข็มสองช้ากว่า 12 สัปดาห์ ก็ให้รีบฉีดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
1
💉 เข็มกระตุ้น:
ยังไม่มีข้อมูลว่าคนที่ฉีด AstraZeneca ครบสองโดสต้องฉีดวัคซีนเพิ่มหรือไม่ ยังต้องมีการศึกษาต่อไป
💉 ฉีดสลับยี่ห้อได้หรือไม่?:
ขณะนี้ยังคงแนะนำให้ฉีดเข็มแรกและเข็มสองเป็นวัคซีนยี่ห้อเดิม การฉีดต่างยี่ห้ออยู่ระหว่างทำการศึกษาเพิ่มเติม ยกเว้นถ้ามีอาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ในเข็มแรก ควรเปลี่ยนยี่ห้อในเข็มที่สอง
1
💉 ข้อควรระวัง:
- ไม่มีรายงานอาการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) จากการฉีด AstraZeneca แต่ถึงอย่างไรก็ควรฉีดภายใต้การดูแลของแพทย์ และนั่งสังเกตอาการหลังฉีดอย่างน้อย 15 นาที
1
- อาการลิ่มเลือดอุดตันที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมด้วย (Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome หรือ TTS) มีรายงานพบหลังฉีดวัคซีน 4-20 วัน เคสส่วนมากพบในประเทศอังกฤษและยุโรป ส่วนประเทศอื่นที่ไม่ได้อยู่ในยุโรป (non-European countries) พบน้อยมาก ซึ่งอาการ TTS นี้คาดว่าส่วนนึงเป็นผลมาจากพันธุกรรมตามเชื้อชาติ ทำให้พบในคนเอเชียน้อยกว่า และ ข้อมูลปัจจุบันจากยุโรปรายงานว่าพบในกลุ่มคนอายุน้อยมากกว่าคนสูงอายุ
3
ข้อมูลจากประเทศอังกฤษถึงวันที่ 31 มีนาคม 2021 พบเคส TTS 4 เคส จาก 1,000,000 คน (1:250,000) ในขณะที่ยุโรปพบ 1:100,000
1
[ 3 ]
การฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรต่างๆ:
▪️ ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี
2
ถึงแม้ว่าการทดลองเฟส 3 ในอังกฤษ, บราซิล และ แอฟริกาใต้ จะมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุน้อยเกินไปจนสรุปไม่ได้ แต่การทดลองเฟส 3 ในประเทศอเมริกาที่ % efficacy ของวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุอยู่ที่ 85% สามารถบอกได้ว่า AstraZeneca มีความปลอดภัยในผู้สูงอายุ
1
รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการฉีดจริงในประเทศอังกฤษ รายงานว่าวัคซีนสามารถป้องกันการป่วยหนัก, การอยู่โรงพยาบาล และการเสียชีวิต ในกลุ่มผู้สูงอายุได้ดีมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปี ดังนั้น WHO จึงแนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี
1
▪️ ผู้ที่มีโรคประจำตัว
เป็นที่รู้กันว่าผู้ที่มีโรคประจำตัวจะเสี่ยงต่ออาการป่วยรุนแรงหากติดเชื้อ จากรายงานการศึกษาพบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและ % efficacy ต่อผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆคล้ายกัน ซึ่งโรคประจำตัวที่พบในกลุ่มตัวอย่างส่วนมากได้แก่ โรคอ้วน, เบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคระบบทางเดินหายใจ
1
WHO จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มอาการป่วยให้แย่ลงหากเกิดการติดเชื้อ
1
▪️ เด็ก และ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
ยังไม่มีข้อมูล
▪️ ผู้ที่กำลังตั้งครภ์
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หากเกิดการติดเชื้อจะมีความเสี่ยงที่ทำให้อาการหนักมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ อาจทำให้ต้องคลอดก่อนกำหนด ทารกที่ออกมาต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปี/ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน/ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน, ความดัน จะยิ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงหากติดเชื้อ
1
ผลการทดลองเบื้องต้นในหนู พบว่าวัคซีนไม่เป็นอันตรายต่อหนูตั้งครรภ์ แต่การทดลองในคนสำหรับ AstraZeneca ยังอยู่ระหว่างติดตามผล ดังนั้น WHO แนะนำว่าให้ประเมินผลด้วยตัวเอง ว่าถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ เช่น เป็นบุคลากรการแพทย์, ออกนอกบ้านพบปะผู้คน, ต้องอยู่ในที่แออัด เป็นต้น ถ้าพบว่าการฉีดวัคซีนจะเป็นผลดีต่อตัวเองมากกว่าเสี่ยงติดเชื้อก็แนะนำให้ฉีด
▪️ ผู้ที่กำลังให้นมบุตร
เช่นเดียวกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ คือ ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ แต่เนื่องด้วย AstraZeneca เป็น viral vector ไม่มีไวรัสที่สามารถก่อโรคได้ ตามหลักการจึงไม่น่าส่งผลต่อเด็กที่กินนมแม่ ดังนั้นจึงให้ประเมินตัวเองเหมือนผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น เป็นบุคลากรการแพทย์หรือไม่ รวมถึงไม่แนะนำให้หยุดให้นมลูกหลังฉีดวัคซีน
1
▪️ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดแล้ว
สามารถฉีดวัคซีนได้ทั้งผู้ที่ติดเชื้อแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการ การตรวจหา Serology เพื่อบอกว่ายังมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อเหลืออยู่หรือไม่ ไม่แนะนำให้ทำเพียงเพื่อตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนหรือเปล่า
3
จากข้อมูลที่มีอยู่ หลังติดเชื้อภายใน 6 เดือน มักไม่พบการติดเชื้อแบบแสดงอาการอีกครั้ง บวกกับปัญหาขาดแคลนวัคซีน จึงแนะนำให้ผู้ที่เคยตรวจเจอผลบวกต่อเชื้อโควิด สามารถรอนานกว่า 6 เดือนหลังรักษาหาย แล้วค่อยฉีดวัคซีนได้
1
ยกเว้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ระบาดที่เชื้อมีการกลายพันธุ์ (โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน) อาจมีโอกาสติดเชื้อซ้ำแบบแสดงอาการภายใน 6 เดือนได้ จึงสามารถพิจารณาลดเวลาการฉีดวัคซีน หลังการติดเชื้อให้สั้นลง
2
[ 4 ]
1
AstraZeneca กับเชื้อกลายพันธุ์
🦠 สายพันธุ์ B.1.1.7 หรือ สายพันธุ์แอลฟ่า หรือ สายพันธุ์อังกฤษ: จากการศึกษาในประเทศอังกฤษ พบว่าทำให้ระดับแอนติบอดี้หลังฉีดลดลงเล็กน้อย โดยรวมยังป้องกันได้
🦠 สายพันธุ์ B.1.351 หรือ สายพันธุ์เบต้า หรือ สายพันธุ์แอฟริกา: จากการศึกษาในแอฟริกาใต้แต่กลุ่มประชากรไม่มาก พบว่า % efficacy ของวัคซีนลดลง
1
🦠 สายพันธุ์ B.1.617.2 หรือ สายพันธุ์เดลต้า หรือ สายพันธุ์อินเดีย: มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet >> [https://doi.org/10.1016/S0140-6736(21)01290-3] เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2021 ทำการทดสอบในกลุ่มตัวอย่างที่ฉีดวัคซีน Pfizer 1 เข็ม และ 2 เข็ม แล้วนำระดับแอนติบอดี้หลังฉีดมาทำ neutralization ด้วยไวรัสจริง 5 สายพันธุ์ที่มีการะบาดอยู่ขณะนี้
พบว่าสายพันธุ์เบต้าและเดลต้าดื้อต่อแอนติบอดี้อย่างเห็นได้ชัด จนการฉีดวัคซีน Pfizer แค่เข็มเดียวไม่สามาถยับยั้งเชื้อทั้งสองสายพันธุ์ได้ ต้องเป็นระดับแอนติบอดี้หลังฉีดครบสองเข็มแล้วเท่านั้น
1
ดังนั้นในอังกฤษ ที่มีการฉีดทั้ง AstraZeneca และ Pfizer และกำลังเผชิญการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่สายพันธุ์แอลฟ่าอยู่ขณะนี้ ปรับแผนการฉีดวัคซีน โดยฉีดเข็มสองให้เร็วขึ้น จึงเปลี่ยนจากฉีด AstraZeneca เข็มสองจากภายใน 8-12 สัปดาห์ เป็น 8 สัปดาห์
1
[ 5 ]
อาการข้างเคียงหลังฉีด AstraZeneca มีหลายบทความได้เขียนไว้อย่างละเอียดแล้ว
"เฝ้าระวังอาการ 3 ช่วงเวลา หลังฉีดวัคซีน AstraZeneca"
เพจ: เขียนตามใจ ทำตามชอบ
1
"การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca"
เพจ: THE STANDARD POP
"ข้อควรรู้ วัคซีน "แอสตราเซเนกา" เตรียมตัวก่อนฉีด ผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้"
เพจ: Thairath Online - ไทยรัฐออนไลน์
2
📌 นอกจากนี้อาการลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่หลายคนกังวลว่าจะเป็นอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2021 สปสช หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติให้ผู้ที่มีอาการเข้าข่ายตามข้อ 1-7 หลังฉีดวัคซีนภายใน 4-30 วัน เข้ารับการตรวจและรักษาฟรี
1.ปวดศีรษะรุนแรง
2.แขนขาชาอ่อนแรง
3.หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
4.ชัก ตามัว เห็นภาพซ้อน
1
5.เหนื่อยง่าย หายใจลำบากหรือติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก
6.ปวดท้องหรือปวดหลังรุนแรง
7.ขาบวมแดง หรือ ซีด เย็น
โดยครอบคลุมการเบิกจ่าย 4 รายการ
1. การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง CBC
2. การตรวจวินิจฉัย Heparin-PF4 antibody (lgG) ELISA assay
3. การตรวจวินิจฉัย Heparin induced Platelet activation test (HIPA)
4. ยา Human normal immunoglobulin, intravenous (IVIG)
1
[ 6 ]
1
🌸 ความเห็นส่วนตัว:
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2021 ที่ผ่านมา เพื่อนผู้เขียน 5 คนเข้ารับการฉีดวัคซีน AstraZeneca แบ่งเป็น ผู้หญิง 2 คน ผู้ชาย 3 คน อยู่ในกลุ่มตัวอย่างอายุน้อย และ มีผู้ปกครองของเพื่อนอีก 8 คน อยู่ในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ รวมทั้งหมด 13 คน
จากการติดตามพบว่า:
- ในกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่มีใครมีอาการข้างเคียงเลย ทุกคนปกติดี
- ในกลุ่มอายุน้อย หลังฉีดมีอาการง่วงและหิวมากกว่าปกติ
3
- 4 ใน 5 คน เป็นไข้คืนที่ฉีด, หนาวสั่น (2 ใน 4 คนไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส, ปวดหัว; ผู้หญิง 1 คน ผู้ชาย 1 คน)
- ทุกคนในกลุ่มอายุน้อย มีการปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย
1
- อาการดีขึ้นในวันที่ 2 และ ทุกคนรู้สึกปกติดีในวันที่ 3
1
จากการติดตามอาการคนใกล้ตัว พบว่าสอดคล้องกับที่ WHO ให้คำแนะนำคือเจออาการข้างเคียงในคนอายุน้อยมากกว่าผู้สูงอายุ
1
[ 7 ]
1
✏️ สรุป
- วัคซีน AstraZeneca เป็น viral vector จึงอาจพบอาการข้างเคียง เช่น เป็นไข้ เยอะกว่าวัคซีนเชื้อตายอย่าง Sinovac แต่เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าการฉีด AstraZeneca เข็มเดียว ทำให้ระดับแอนติบอดี้ขึ้นสูงได้มากกว่า Sinovac เข็มเดียว จึงเหมาะกับการนำมาฉีดปูพรมเข็มเดียวให้ประชาชน
- แต่การฉีดเข็มเดียวอาจป้องกันเชื้อกลายพันธุ์อย่างสายพันธุ์เบต้า (แอฟริกา) และ เดลต้า (อินเดีย) ไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีสายพันธุ์ดังกล่าวระบาดในประเทศไทยมากขึ้น อาจต้องรีบฉีดวัคซีนให้ครบโดสเร็วขึ้น
1
- อาการข้างเคียงลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ต้องคอยสังเกตอาการตัวเองต่อไปหลังจากฉีดวัคซีนอีก 4-30 วัน ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
1
References >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา