12 มิ.ย. 2021 เวลา 04:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ให้เข้าใจในภาษาง่ายๆ
รู้กันดีว่าเงินเฟ้อคือภาวะที่ “ของน้อย แต่ราคาแพง” ซึ่งภาวะนี้กำลังเกิดขึ้นกับมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ
แต่ทว่าสหรัฐฯ ไม่ได้รับผลกระทบแค่ในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่มันยังส่งผลต่อกลไกทางการเงินของประเทศต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสกุลเงิน USD
ไม่เพียงแค่นั้น ภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐ ยังส่งผลต่อความผันผวนของสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทองคำ เงิน จนกระทั่งทิศทางของดัชนีในตลาดหุ้น
จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มจับตามองกับท่าทีของสหรัฐฯ ในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ
แล้วอิทธิพลของเงินเฟ้อสหรัฐ มันเป็นมาอย่างไร ? น่าสนใจอย่างไรในอนาคต ไปทำความเข้าใจกัน..
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติ Covid-19 ขึ้น ทำให้สถาบันการเงินของประเทศสหรัฐฯ โดยเฉพาะธนาคารกลางต้องวางหมาก เพื่อปรับสมดุลของกลไกระบบการเงิน
ช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED เดินหมากด้วยวิธีการอัดฉีด QE เข้าไปในระบบการเงินของประเทศ
แล้ว QE คืออะไรล่ะ ?
ชื่อเต็มของ QE คือ `Quantitative Easing` หรือ `มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ`
1
ซึ่ง QE ที่ว่านี้ เป็นมาตรการทางการเงินที่ไม่ได้ใช้กันในช่วงเวลาปกติ แต่จะประกาศใช้นโยบายนี้ ก็ต่อเมื่อ เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ หรือช่วงเวลาคับขันต่างๆ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 และวิกฤติ Covid-19 ในปัจจุบัน
ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ จะใช้ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ซึ่งสำหรับธนาคารกลางสหรัฐ เริ่มจากการลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับตำ่(ปัจจุบันอยู่ที่ 0-0.25%)
เพื่อให้ภาคธุรกิจกู้ยืมได้ในระดับที่ต่ำลง เพิ่มสภาพคล่องให้กลไกเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนมากขึ้น
รู้ไหมว่าในช่วงที่ผ่านมา FED อัดฉีด QE เข้าไปในระบบกว่า 1.2 แสนล้านเหรียญต่อเดือน
นอกจากนี้ FED ยังลด `อัตราผลตอบแทนพันธบัตร` หรือ `Yield` ให้อยู่ในระดับต่ำลง
แล้วลด Yield ยังไง ?
FED จะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ ทั้งของภาครัฐและเอกชน เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจ
ผลที่ตามมาก็คือ จะช่วยให้ภาคการผลิต ตลอดจนการจ้างงาน สามารถดำเนินต่อไปได้
1
ซึ่งตัวเลขดัชนีการผลิต และอัตราการจ้างงาน FED จะประกาศออกมาทุกเดือน ในช่วงเวลาของการประกาศ ทุกสินทรัพย์การลงทุนจะมีความผันผวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตลาดสกุลเงิน แร่ทองคำ แร่เงิน ดัชนีดาวน์โจนส์ ดัชนี S&P500 และอื่นๆ
1
อย่างไรก็ดี ผลกระทบโดยตรงจากการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบของ FED ทำให้ “เกิดแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ” แถมยังส่งผลต่อความอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์
1
เมื่อเงินเฟ้อมากไปก็จำเป็นจะต้องดึงเงินกลับ ซึ่งการดึงเงินกลับถูกเรียกว่า `Reverse Repo` (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/60b7898299404a14ec534542)
1
ฉะนั้น หมายความว่า การลด QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่ได้ทำเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนัก เพราะต้องใช้ต้นทุนสูง อาจเกิดการบิดเบือนในระบบเศรษฐกิจได้ง่าย
ในช่วงปัจจุบัน (กลางเดือนมิถุนายน) ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มที่จะทำ Reverse Repo หรือดึงเงินกลับ นั่นจึงเป็นสัญญาณว่า วิกฤติที่ทั้งโลกกำลังประสบ กำลังจะเข้าสู่ภาวะปกติในเร็ววัน..
*บทความนี้ ไม่ได้เป็นการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่..
Picture
Brand inside
โฆษณา