14 มิ.ย. 2021 เวลา 00:39 • ธุรกิจ
Billion Dollar Loser ตอนที่ 1 : Prologue
การอ้างความสามารถในการโน้มน้าวเศรษฐกิจทั้งหมด ถือเป็นหนึ่งในเจตจำนงของ Adam Neumann ที่ถือเป็นคำประกาศที่ดูหยิ่งทรนงมาก ๆ สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เพิ่งฉลองวันเกิดครบ 40 ปีของเขาไปเพียงไม่นาน
2
Billion Dollar Loser ตอนที่ 1 : Prologue
ต้องบอกว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ไม่เหมือนใคร เป็นการผสมผสานระหว่าง ความอดทน โชค เสน่ห์ รวมถึงความโหดเหี้ยมในบางจังหวะ ได้อย่างไร้ที่ติ
ทุกส่วนผสมมันได้ผลักดันให้เขาก้าวขึ้นมาในจุดที่หลายคนไม่คาดคิดว่าเขาจะสามารถทำได้ เขากลายเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของโลกในเวลาเพียงแค่ 1 ทศวรรษ
2
เขาคือส่วนผสมระหว่างจิตวิญญาณและธุรกิจ ที่แตกต่างจากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จรายอื่น ๆ ที่เราเคยเห็นมา
1
เขาได้ผลักดันให้ WeWork กลายเป็นผู้เช่าสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดใน นิวยอร์กซิตี้ และ อันดับสองในเมืองใหญ่อันดับต้น ๆ ของยุโรปอย่างลอนดอน และกำลังขยายกิจการอย่างบ้าคลั่งไปทั่วโลก
1
บริษัทได้ตอบสนองความปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ในสำนักงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาหลายสิบปี
1
มันไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่ WeWork นั้นสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นสองเท่าทุกปี เป็นเวลาหนึ่งทศวรรษ และตัว Neumann ได้ระดมทุนมากกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์
2
แน่นอนว่าเงินทุนส่วนใหญ่นั้นมาจาก Masayoshi Son ผู้ก่อตั้ง Softbank ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีของญี่ปุ่น และ Son ก็เป็นหนึ่งในผู้บริหารไม่กี่คนในโลกที่มีความทะเยอทะยานสูงกว่า Neumann
Son ได้ลงทุนครั้งแรกใน WeWork ในปี 2017 ส่วนหนึ่งได้ลงทุนผ่าน Vision Fund ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลซาอุดิอาระเบียเป็นหลัก
1
Masayoshi Son หนึ่งในนักลงทุนคนสำคัญของ WeWork (CR:WSJ)
ในเดือนมกราคมปี 2019 Softbank ได้เข้าลงทุนกับ WeWork เป็น 47,000 ล้านดอลลาร์ และทำให้ WeWork กลายเป็น Startup ที่มีมูลค่ามากที่สุดเป็นอันดับสองในอเมริกา
WeWork ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 Neumann ใช้เวลาเพียงแค่ 10 ปี ก็ก้าวมาถึงจุดนี้ได้สำเร็จ ก่อนที่ WeWork จะเริ่มเปิดพื้นที่ให้บริการเช่าในครั้งแรก ๆ Neumann ได้จินตนาการไปถึงสายธุรกิจต่าง ๆ ของ We-Branded ไม่ว่าจะเป็น WeBank , WeSail เป็นต้น มันคือวิสัยทัศน์แรกเริ่มของ Neumann ที่คิดใหญ่เกินกว่าจะเป็นเพียงบริษัทอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า
3
และในปี 2019 นี่เองที่ WeWork ได้เปลี่ยนชื่อเป็น We Company โดยมีสายธุรกิจสามสายที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนก็คือ WeWork , WeLive และ WeGrow ภายใต้พันธกิจใหม่ของบริษัท “เพื่อยกระดับจิตสำนึกของโลก” โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น
ภารกิจของ WeWork คือการช่วยให้ผู้คน “สร้างชีวิต” ไม่ใช่แค่เพียงการหาเลี้ยงชีพ เขาเชื่อว่า WeLive ซึ่งให้เช่าอพาร์ทเมนต์ขนาดเล็กที่มีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยสามารถบรรเทาความเหงาและลดอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
1
Neumann นั้นมีความทะเยอทะยานไม่ต่างจาก Elizabeth Holmes ผู้ก่อตั้ง Theranos และเหล่าพนักงานของ WeWork ก็เริ่มได้ติดตามเรื่องราวของ Theranos ด้วยความรู้สึกไม่สบายใจมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
4
เมื่อบริษัทของ Neumann นั้นใช้เงินจำนวนมากในการขยายกิจการไปทั่วโลก ในปี 2018 สูญสิ้นเงินลงทุนไปกว่า 2 พันล้านดอลลาร์
และเมื่อกำลังสิ้นสุดทศวรรษ WeWork กำลังจะหมดเงิน Neumann ได้กอบโกยเงินทุนจากบริษัทเข้ามาใช้จ่ายส่วนตัวอย่างบ้าคลั่ง และเขากำลังจะนำพา WeWork เข้าสู่ IPO ครั้งประวัติศาสตร์
แน่นอนว่ามันเป็นหนทางเดียวที่เป็นไปได้ ที่จะสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโอกาสในการอยู่รอดของ ธุรกิจ WeWork ที่เขาได้ซุกปัญหาต่าง ๆ ไว้ใต้พรมมากมาย
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 ที่ Neumann นั้นได้มองเห็นภาพความหวังครั้งแรกในธุรกิจของเขา แต่เมื่อถึงปลายทศวรรษ ความแตกหักต่าง ๆ ที่กำลังก่อตัวขึ้น และ มันกำลังใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดของเส้นทางวิสัยทัศน์ปลอม ๆ ของเขา
1
แล้วเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้น จนมาถึงจุดสิ้นสุดของชายคนนี้เป็นอย่างไร เขาเปลี่ยนตัวเองจากผู้อพยพที่กำลังจะถูกขับไล่ให้ออกจากประเทศ ให้กลายมาเป็นเศรษฐีพันล้านแถวหน้าของอเมริกาได้อย่างไร อย่าพลาดติดตามต่อในตอนหน้านะครับผม
1
อ่านตอนที่​ 2 : American Dream
ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
=========================
ร่วมสนับสนุน ด.ดล Blog และ Geek Forever Podcast
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิต Content ดี ๆ ให้กับท่าน
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog ผ่าน Line OA เพียงคลิก :
=========================
ฟัง PodCast เรื่องเกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ที่ Geek Forever’s Podcast
——————————————–
ฟังผ่าน Podbean :
——————————————–
ฟังผ่าน Apple Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Google Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Spotify :
——————————————–
ฟังผ่าน Youtube :
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา