17 มิ.ย. 2021 เวลา 00:39 • ธุรกิจ
Billion Dollar Loser ตอนที่ 4 : WeWork – Revolution at Work
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับโปรเจค Green Desk มันก็ถึงเวลาที่ทั้ง Adam และ Miguel ต้องมาลุยเต็มตัวกับโปรเจคนี้ เพราะพวกเขากำลังมองเห็นอนาคตบางอย่างกับสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่
2
Billion Dollar Loser ตอนที่ 4 : WeWork – Revolution at Work
สิ่งแรกที่พวกเขาต้องทำก็คือการตั้งชื่อแบรนด์ใหม่ ให้หลีกหนีพ้นร่มเงาของเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่พวกเขาไม่ได้ต้องการให้ธุรกิจของเขาเป็นแบบนั้นตั้งแต่แรก
หลังจากหลายเดือนของการระดมความคิดกับทีมงานที่ไร้ผล Andrew Finkelstein ชายผู้ที่เป็นคนแนะนำให้ Adam รู้จักกับ Rebekah แฟนสาวของเขาได้โยนความคิดออกไปอย่างนึง นั่นก็คือ “WeWork” โดย Finkelstein กล่าวว่า “มันคือ WeLive มันคือ WeSleep มันคือ WeEat”
3
มันเป็นชื่อที่สนใจจน Adam และ Miguel ต่างคล้อยตาม พวกเขาจึงตัดสินใจที่จะถอยจากโปรเจค Green Desk และมาร่วมกันเริ่มต้นใหม่กับ WeWork แบบเต็มตัว
1
พวกเขาเริ่มต้นด้วยการมองหาอาคารในแมนฮัตตันที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงตกต่ำจากวิกฤติทางด้านการเงินตั้งแต่ปี 2008
1
โลกแห่งเทคโนโลยีกำลังเร่งเข้ามาแทนที่ Wall Street ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญใหม่ของความทะเยอทะยานทางธุรกิจของชาวอเมริกัน Coworking Space กำลังปรากฏขึ้นทั่วในเมืองใหญ่ เช่น ในนิวยอร์ก หรือ ซานฟรานซิสโก
2
Coworking Space กำลังปรากฏขึ้นทั่วในเมืองใหญ่ทั่วอเมริกา (CR:medium.com)
เหล่าฟรีแลนซ์ที่ใช้แล็ปท็อปได้เช่าโต๊ะทำงานในพื้นทีที่ใช้ร่วมกันด้วยความสวยงามแบบ DIY ความหวังของ Adam และ Miguel คือการผสมผสานระหว่างการเปิดกว้างและโลกที่คลุมเครือของสำนักงานแบบดั้งเดิม
ในช่วงฤดูใบร่วงปี 2009 เพื่อนคนหนึ่งแนะนำ Adam ให้ดูอาคารที่ 154 Grand Street ย่านโซโห มันเป็นย่านที่มีตึกระฟ้าระดับคลาส A+ ไปจนถึงตึกซอมซ่อ โดยอาคารดังกล่าวที่ Adam ได้ไปดูนั้นกำลังมีการปรับปรุงระบบทางเดินรวมถึง Facility ครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายนับล้าน
2
แม้แต่เจ้าของอาคารทรุดโทรมดังกล่าว ก็ยังไม่อยากจะทำอะไรกับมัน Miguel และ Adam ได้เดินหน้าเจรจากับเจ้าของ และการเจรจาก็เริ่มตึงเครียดเพราะทั้งคู่ต้องการให้เก็บค่าเช่าในระดับต่ำ ๆ ในขณะที่ต้องการเงินค่าก่อสร้างจำนวนมหาศาลเพื่อปรับปรุงพื้นที่ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการขยายตัวในอนาคต
แต่เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน การเจรจาก็สัมฤทธิ์ผล การก่อสร้างเริ่มขึ้นทันที โดยมีแผนที่จะเปิดทีละชั้น ทั้ง Miguel และ Adam บอกผู้เช่าว่า พวกเขาตั้งใจจะสร้างห้องออกกำลังกายที่ชั้นใต้ดินของอาคาร และกำลังคุยกับทางเทศบาลเมืองนิวยอร์กเกี่ยวกับการสร้างสวนสาธารณะในที่ว่างฝั่งตรงข้ามถนน
Miguel ต้องการทำให้ WeWork รู้สึกเป็นเหมือนสำนักงานให้น้อยที่สุด แต่ให้มันเป็นเหมือนโรงแรมบูติกเสียมากกว่า ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วเมืองนิวยอร์ก
2
WeWork เปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2010 โดยมีผู้เช่าเจ็ดสิบคน ซึ่งได้แก่ นักดนตรีผู้เริ่มต้นใช้เทคโนโลยีและเหล่าสถาปนิก แม้ WeWork จะไม่ใช่สำนักงานที่ถูกที่สุดในนิวยอร์ก แต่ผู้คนต่างเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับการออกแบบที่ดูดีมีสไตล์ และเงื่อนไขการเช่าที่มีความยืดหยุ่น และความรู้สึกของความเป็น community มากกว่าสำนักงานแห่งอื่น ๆ
WeWork ต้องการเป็นมากกว่าสำนักงาน หัวใจสำคัญที่ Adam และ Miguel วางตำแหน่งของ WeWork คือ การเสนอทางเลือกให้กับความฝันแบบ American Dream ซึ่งมันไม่ใช่รูปแบบองค์กรสมัยโบราณที่ต้องไต่เต้าตำแหน่งเพื่อขึ้นสู่จุดสูงสุดขององค์กรอีกต่อไป
1
เฉกเช่นเดียวกับผู้ประกอบการหลาย ๆ คน Adam นั้นชื่นชอบ Steve Jobs และมองเป็นไอดอลของเขา ความทะเยอทะยานที่สุดที่เขาได้แนวคิดจาก Jobs คือ การขับเคลื่อนองค์กรโดยไร้ซึ่งความปราณี แบบที่ Steve Jobs ทำกับ Apple
2
เหล่าพนักงานกลุ่มแรก ๆ ของ WeWork หลายคนรู้สึกงงงวยกับอารมณ์ที่แปรปรวนของ Adam WeWork เองก็ไม่ได้เสนอเงินเดือนจำนวนมาก และไม่ได้ให้ตัวเลือกในการจัดสรรหุ้นให้กับพนักงาน มีแต่คำพูดลอย ๆ ของ Adam ที่บอกว่า WeWork จะช่วยสร้างวิธีการทำงานที่ดีขึ้น และเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่ขึ้น
4
แม้ในช่วงแรก Adam จินตนาการถึงบริษัท ที่มีสำนักงานกว่าร้อยแห่ง และ บอกกับเพื่อน ๆ เขาว่า เขากำลังสร้างธุรกิจแสนล้านดอลลาร์อยู่ แต่ไม่มีใครในโลกแห่งอสังหาริมทรัพย์ในนิวยอร์ก ที่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรกับสไตล์การแต่งตัวของ Adam ด้วยเสื้อยืดและกางเกงยีนส์ของเขา
ในการประชุมด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ Park Avenue ทาง Adam ได้ถามผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งว่า บริษัทใดที่ให้เช่าพื้นที่สำนักงานมากที่สุดในนิวยอร์ก คำตอบคือ JPMorgan ซึ่งมีพื้นที่สามล้านตารางฟุต WeWork นั้นมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียงเล็กน้อยในตอนนั้น แต่ Adam ก็มีความฝันว่าเขาจะแซงหน้า JPMorgan ได้ในสักวันหนึ่ง
1
WeWork ใน นิวยอร์กเป็นเพียงจุดเริ่มต้น บริษัทต้องการขยาย และทำการเปิด WeWork ไปทั่วทุกมุมโลก Adam และ Miguel ได้ร่างแผนที่บนแผ่นกระดาษที่แสดงว่าพวกเขาต้องการไปไหนต่อ : ซานฟรานซินโก ลอสแองเจลิส โตรอนโต โดยมีเส้นเวกเตอร์มุ่งหน้าไปยังมอนทรีออล บอสตัน ชิคาโก อิสราเอล และ ลอนดอน
2
พนักงาน WeWork ในยุคแรก ๆ นั้น เข้าร่วมกับบริษัท ในบทบาทหน้าที่ ที่ไม่มีความแน่นอนเอาเสียเลย ซึ่งอาจจะต้องทำงานที่ใช้แรงงานมากกว่าตำแหน่งที่อยู่บนนามบัตรของพวกเขาเสียอีก
ตัวอย่างเช่น WeWork ได้ทำการปรับปรุงชั้นแรกที่ Empire State เสร็จในเวลาเพียงยี่สิบเก้าวัน เหล่าพนักงานต้องคอยมาช่วยเหลือในการขนถ่ายเสบียง หรือ ช่วยเหลือในการขนสิ่งของต่าง ๆ Adam มักปฏิเสธที่จะเลื่อนเวลาเปิดสำนักงานใหม่ เขามักบังคับให้พนักงานทุกคนทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ตราบใดที่ Wi-Fi ยังใช้งานได้อยู่
2
พนักงานโดยส่วนใหญ่นั้นจะอยู่กับ WeWork ไม่ถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่แล้วช่วงแรก ๆ พนักงานจะสนุกสนานกับการสร้างสิ่งใหม่ ๆ office ใหม่ ๆ หลายคนร่วมงานกันจนกลายเป็นเพื่อนสนิท และ WeWork ก็กำลังขยายอย่างรวดเร็ว
3
แต่ดูเหมือนว่าการมุ่งเน้นไปที่การสร้างชุมชนและการสร้างวิธีการทำงานที่ดีขึ้นนั้น จะดูสวนทางกับสภาพพนักงานของ WeWork รวมถึงประสิทธิภาพในการเติบโต และการประเมินมูลค่าของบริษัทในระยะยาว
1
Adam และ Miguel มักจะจับมือทำงานร่วมกันในทุกส่วนของการดำเนินงานของ WeWork โดย Adam นั้นให้อำนาจเต็มที่กับ Miguel ในการจัดการรูปแบบของพื้นที่ใหม่แต่ละแห่ง
Adam จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการก้าวเข้าสู่บทบาทซีอีโอ โดยรวบรวมวิสัยทัศน์ของบริษัท แสวงหาพันธมิตรที่มีศักยภาพ เขาเริ่มมีชื่อเสียงไปทั่วนิวยอร์ก ต้องบอกว่า Adam เป็นคนช่างฝันและเป็นคนคอยจัดการสิ่งต่าง ๆ ส่วน Miguel นั้นทำให้ WeWork แตกต่าง
3
เริ่มมีการสร้างลำดับชั้นของพนักงานขึ้นใน WeWork ซึ่ง Adam ได้รวมรวมพนักงานกลุ่มหนึ่งและมอบหน้าที่ให้กลายเป็นทูตของ Brand “WeWork” และต้องแต่งตัวตามสไตล์ของเขา
Adam นั้นสวมเสื้อยืดและกางเกงยีนส์เกือบทุกวัน แต่เสื้อของเขามาจากร้าน James Perse และมีราคา 200 เหรียญ “มันเป็นเสื้อยืดที่มีความแตกต่าง” Adam กล่าวกับทีมของเขา
เสื้อยืดและกางเกงยีนส์ที่ Adam นั้นใส่มาทำงานแทบทุกวัน (CR:The News Republic)
ในปี 2011 WeWork ได้กำหนดให้พนักงานต้องลงนามในข้อตกลงที่ไม่ให้พวกเขาเปิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องเป็นเวลา 18 เดือน หลังจากออกจากบริษัท ซึ่งในตอนนั้นต้องบอกว่ากระแสการสร้างสำนักงานที่คล้าย ๆ กันกับ WeWork กำลังเติบโตขึ้นทั่วประเทศ
Adam ได้เน้นว่าจ้างพนักงานใหม่จำนวนมาก ที่เพิ่งจบการศึกษามาได้ไม่นาน และเป็นคนหัวอ่อน ซึ่งคนหนุ่มสาวเหล่านี้เข้ามาด้วยความฝันที่เต็มเปี่ยม และมีความสุขที่ได้ทำงานทุกประเภทท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยในตอนนั้น
2
แม้บริษัทจะมีวิสัยทัศน์ที่จะนำชีวิตที่ดีมาสู่การทำงาน แต่เหล่าพนักงานซีเนียร์ของ WeWork หลายคน ก็มีภาระในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภรรยาหรือลูก การให้สวัสดิการอย่าง การไปเที่ยวหรือดื่มเบียร์ฟรีในที่ทำงาน ไม่ได้เป็นประโยชน์กับพวกเขามากนัก
1
ที่ WeWork มักให้ทำงานดึก ๆ ดื่น ๆ ติด ๆ กันในทุก ๆ สัปดาห์ มันดีสำหรับพนักงานวัยหนุ่มสาว แต่เหล่าซีเนียร์ก็ไม่ค่อยชอบใจในสิ่งนี้ และสวัสดิการต่าง ๆ ของบริษัท บางครั้งก็ไม่ได้รับความสนใจจาก Adam เลย
WeWork นั้นแทบจะไม่ให้สวัสดิการด้านประกันสุขภาพกับพนักงานเลยในช่วงเริ่มต้นบริษัท และไม่มีนโยบายลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร ตัว Adam เองก็แทบจะไม่ได้หยุดงานเลยเมื่อ Rebekah คลอดลูกคนแรกในปี 2011
2
Adam นั้นมองว่าตนเองเปรียบเสมือนศาสดา ของศาสนจักร WeWork ที่ทุกคนต้องทำตาม ทุกคนต้องจงรกภักดีต่อเขา แม้ Adam จะทะเลาะกับพนักงานหลาย ๆ คน เมื่อบริษัทเริ่มเติบโตขึ้น แต่เขามองไปที่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า นั้นคือ WeWork ที่กำลังขยายอิทธิพล และเริ่มเผยแพร่ความเชื่อในแนวคิดรูปแบบสำนักงานใหม่ไปทั่วโลกนั่นเอง
2
ต้องบอกว่า มาถึงตอนนี้ WeWork กลายเป็นเสือติดปีก ที่กำลังแผ่ขยายกิจการ สร้างสังคมการทำงานรูปแบบใหม่ ที่เป็นการ disrupt ธุรกิจสำนักงานล้าสมัยแบบเดิม ๆ ไปอย่างหมดสิ้น แต่ดูเหมือนปัญหาภายในนั้นก็กำลังรอปะทุอยู่ในไม่ช้า แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Adam และ WeWork โปรดอย่าพลาดติดตามต่อในตอนหน้าครับผม
2
อ่านตอนที่ 5 : Digital Transformation
ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
=========================
ร่วมสนับสนุน ด.ดล Blog และ Geek Forever Podcast
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิต Content ดี ๆ ให้กับท่าน
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog ผ่าน Line OA เพียงคลิก :
=========================
ฟัง PodCast เรื่องเกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ที่ Geek Forever’s Podcast
——————————————–
ฟังผ่าน Podbean :
——————————————–
ฟังผ่าน Apple Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Google Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Spotify :
——————————————–
ฟังผ่าน Youtube :
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา