16 มิ.ย. 2021 เวลา 23:30 • สุขภาพ
WORK FROM HOME SYNDROME
1
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาหลายคนต้อง Work from home ซึ่งการทำงานที่บ้านที่ดูเหมือนจะสบายแต่ในบางครั้งก็ต้องพบกับปัญหาเช่นเดียวกับการทำงานที่ออฟฟิศ เช่น อาการปวด เมื่อย คอ บ่า ไหล่ หลัง หรือเอว บางครั้งอาจมึนศีรษะ สายตาพร่าเบลอจากการจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือมีอาการ มือชา เกร็ง นิ้วล็อก จากการจับเมาส์ หรือ chat นั่นคืออาการ Office Syndrome ที่กลายเป็น Work from Home Syndrome
WORK FROM HOME SYNDROME
วิธีป้องกัน Work from Home Syndrome
1. ท่านั่งทำงาน หลายคนอาจจะชอบการทำงานจากบ้านเพราะมันสบาย จะนั่งทำตรงไหนก็ได้ ซึ่งในประเด็นนี้ ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า การนั่งทำงานที่สบายเกินไปอาจทำให้เราไม่สบายภายหลัง การนั่งทำงานที่ถูกต้องคือ ควรนั่งหลังตรง ไม่ก้ม หรือเงยจนเกินไป ไม่เกร็งคอ บ่า ไหล่ และนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น ขาไม่ลอยจากพื้น อาจหาหมอนนุ่ม ๆ มาหนุนหลังทำให้รู้สึกสบายขึ้น อย่าลืมที่จะลุกเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
2. หากนั่งเป็นเวลานาน ๆ ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ อย่าปล่อยให้รู้สึกเมื่อยล้าจนเกินไป เพราะอาจเป็นอันตราย ทำให้หมอนรองกระดูกเกิดแรงกดทับ จนมีอาการปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งในระยะยาวอาจนำไปสู่ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
3. จัดอุปกรณ์การทำงาน เช่นโต๊ะ เก้าอี้ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานอยู่ที่บ้านบางคนก็ใช้โต๊ะญี่ปุ่นมากางคอมทำงาน หรือบางทีนั่งทำงานบนโต๊ะกินข้าวกับเก้าอี้ ซึ่งบางครั้งความสูงมันไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ต้องโน้มศีรษะลงไปมาก ๆ จนปวดกล้ามเนื้อคอ จึงต้องมีการปรับระยะห่างระหว่างสายตา และจอคอมพิวเตอร์ ประมาณ 2 - 2.5 ฟุต เก้าอี้ควรมีพนักพิงหลัง ควรจับเม้าส์ให้อยู่ในระดับเดียวกันกับมือและศอก วางงอ ทำมุม 90 องศา
4. ปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน ปรับแสงสว่างให้พอดี หรือหาต้นไม้เล็ก ๆ จัดวางให้โต๊ะทำงานดูมีชีวิตชีวา เพราะสีเขียวของต้นไม้ทำให้รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น
5. สิ่งของที่ใช้เป็นประจำ จัดให้อยู่ในจุดที่สะดวก เอื้อมหยิบง่าย ไม่ควรก้ม หรือเอื้อมมากเกินไป
6. ไม่ควรเคร่งเครียดกับงานจนเกินไป สิ่งที่หลายคนเป็นตอนที่ Work from Home คือการทำงานจนลืมเวลา กินข้าวไม่ตรงเวลาหรือนอนดึกเกินไป รวมถึงนั่งทำงานนาน ๆ ไม่ยอมลุกไปไหน ซึ่งการแบ่งเวลาพักให้ชัดเจนนั้นช่วยได้ ถ้ารู้สึกว่าร่างกายไม่ไหวให้หากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเป็นการผ่อนคลาย
7. ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น เพราะการดื่มน้ำสามารถปรับสมดุล ช่วยให้คอลลาเจนในร่างกายยืดหยุ่นได้ดี
#สาระจี๊ดจี๊ด
Work from Home Syndrome ให้เริ่มสังเกตว่ามีอาการปวดต้นคอมากขึ้น ปวดสะบักมากขึ้น และกล้ามเนื้อส่วนหลัง รวมถึงหัวเข่ามากขึ้น ให้ลองพักดูก่อน แต่หากผ่านไปแล้ว 3 วันจนถึง 1 อาทิตย์ อาการยังไม่ดีขึ้น ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาก่อนมีอาการรุนแรง
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/ บทความ-เวชศาสตร์ฟื้นฟู-และกายภาพบำบัด/Work-from-Home-Syndrome-ทำงานอย่างไรไม่ให้ป่วย
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา