18 มิ.ย. 2021 เวลา 09:30 • การศึกษา
[ตอนที่ 28] ความแตกต่างระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปและฝั่งบราซิล (ไวยากรณ์ คำศัพท์ และการสะกดคำ)
Differences between European Portuguese and Brazilian Portuguese (Grammar, Vocabulary & Spelling)
สำหรับเนื้อหาตอนที่ 8 ของซีรีส์ "ภาษาละตินเเละกลุ่มภาษาโรมานซ์" จะยังคงเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล ซึ่งอาจช่วยให้เราแยกภาษาโปรตุเกสทั้งสองฝั่งได้ดีขึ้น โดยครึ่งหลังจะเป็นเรื่องไวยากรณ์ คำศัพท์ และการสะกดคำครับ
ส่วนเนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้น...เชิญอ่านกันได้เลยครับ
[ที่มาของภาพ : www.fidelity.com.br]
ดนตรีแนะนำให้เปิดฟังคลอประกอบระหว่างอ่านบทความ
- เพลงภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป : เพลง Dizer Que Não โดย Dengaz และ Matay ศิลปินชาวโปรตุเกส
- เพลงภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล : เพลง Desafinado โดย Antônio Carlos Jobim และ N. Mendonça ศิลปินชาวบราซิล ร้องและบรรเลงใหม่โดย NOVA
เมื่อสังเกตประโยคภาษาโปรตุเกส ประโยคความหมายเดียวกัน สามารถเขียนได้สองแบบ ตัวอย่างเช่น...
แล้วลองนึกทบทวนถึงความแตกต่างระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป กับภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล ว่ามีหลายประเด็นประกอบด้วย
- การออกเสียง (กล่าวถึงไปในเนื้อหาตอนที่แล้ว : https://www.blockdit.com/posts/60c4323054da550c797e498d )
- ไวยากรณ์
- คำศัพท์
- การสะกดคำ
เนื้อหาตอนนี้จึงกล่าวถึงประเด็นส่วนที่เหลือ ซึ่งเมื่อเราเน้นทักษะการอ่านและการเขียนภาษาโปรตุเกส (โดยเฉพาะพวกภาษาเขียน) วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราแยกว่าเป็นภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปหรือฝั่งบราซิล จะเป็นการสังเกตไวยากรณ์และคำศัพท์
ขณะที่การสะกดคำส่วนหนึ่งที่เคยแตกต่างกัน ได้เริ่มปรับมาใกล้เคียงกันขึ้น ตั้งแต่กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางราชการได้ทำข้อตกลงเรื่องการเขียนภาษาโปรตุเกส ในปี ค.ศ.1990 หากต้องการอ่านเอกสารภาษาโปรตุเกสก่อนหน้าช่วงเวลาดังกล่าว แล้วต้องการแยกว่าเป็นภาษาโปรตุเกสฝั่งใด ก็ควรต้องรู้รูปแบบการสะกดคำของภาษาโปรตุเกสแต่ละฝั่งในช่วงนั้น
ตัวอย่างความแตกต่างในเรื่องไวยากรณ์ คำศัพท์ และการสะกดคำระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิล ได้แก่...
[1. ไวยากรณ์]
หากเปรียบเทียบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษระหว่างแบบบริติชกับแบบอเมริกันแล้ว (สามารถอ่านเพิ่มเติมถึงความแตกต่างระหว่างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษทั้งสองฝั่งได้ที่ https://learnenglish.britishcouncil.org/grammar/intermediate-to-upper-intermediate/british-english-and-american-english ) ความแตกต่างทางไวยากรณ์ในภาษาโปรตุเกสระหว่างฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิลจะชัดเจนกว่า จนคนโปรตุเกสส่วนหนึ่งอาจรู้สึกหรือคิดว่าไวยากรณ์ภาษาโปรตุเกสแบบที่คนบราซิลใช้ดูแปลก ๆ
1.1 คำสรรพนามบุรุษที่ 2 : Tu และ Você
คำสรรพนามทั้งสองคำ (Tu และ Você) แปลว่า “คุณ” เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 2 ทั้งคู่
- ภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป : มักนิยมใช้คำว่า Tu ในเชิงเป็นกันเอง ทั้งในครอบครัว ระหว่างเพื่อนฝูงหรือเพื่อนร่วมงาน คำว่า Você ในโปรตุเกสเป็นคำที่ใช้ในภาษาทางการหรือสุภาพ กรณีที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคนที่ไม่รู้จักคุ้นเคยกันมาก
- ภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล : ไม่ค่อยใช้คำว่า Tu โดยมีเพียงภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิลบางสำเนียงบริเวณทางเหนือและใต้ของประเทศที่ใช้คำว่า Tu แต่จะใช้คำว่า Você โดยทั่วไป ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวัน การติดต่อเรื่องงาน ตามสื่อต่าง ๆ หรือกับคนไม่รู้จัก เพื่อนและครอบครัว
ลองดูประโยคตัวอย่างเพื่อแสดงความแตกต่างในสรรพนามบุรุษที่ 2 กรณีภาษาแบบเป็นกันเอง ระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิล ดังนี้
คำกริยาที่ต่อหลังคำว่า Tu (ฝั่งยุโรป) จะผันแบบประธานเป็นบุรุษที่ 2 เอกพจน์ แต่คำกริยาที่ต่อหลังคำว่า Você (ฝั่งบราซิล) จะผันแบบประธานเป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์
และหากใช้คำ Você เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 2 (อย่างในประโยคแบบเป็นกันเองตามภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล หรือประโยคแบบสุภาพตามภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป) จะคู่กับคำสรรพนามบ่งชี้ความเป็นเจ้าของ Seu/Sua ขณะที่คำ Tu จะคู่กับคำสรรพนามบ่งชี้ความเป็นเจ้าของ Teu/Tua
**ในภาษาพูดของภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิลมักจะละคำนำหน้านามแบบชี้เฉพาะ (Definite article) ประกอบด้วย O, Os, A, As**
1.2 คำสรรพนามชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronouns) : "This" กับ "That"
ในภาษาอังกฤษ มีคำสรรพนามชี้เฉพาะถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ สถานการณ์ในปัจจุบันหรือสิ่งของที่กำลังกล่าวถึงว่า “This” ส่วนคำสรรพนามชี้เฉพาะถึงสิ่งที่อยู่ไกลว่า “That”
ภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป จะมี 3 คำ ในกรณีใช้แทนคำนามเอกพจน์ ใกล้เคียงกับ “This” ในภาษาอังกฤษ ได้แก่
- Este : ใช้แทนคำนามเอกพจน์เพศชาย
- Esta : ใช้แทนคำนามเอกพจน์เพศหญิง
- Isto : ใช้แทนคำนาม (มักใช้กับพวกสิ่งของ) ที่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร (ไม่สามารถระบุว่าแทนคำนามเพศใด) หรือสถานการณ์ที่เกิดในปัจจุบัน
ส่วนคำ 3 คำของภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป ในกรณีใช้แทนคำนามเอกพจน์ ใกล้เคียงกับ “That” ในภาษาอังกฤษ ได้แก่
- Esse : ใช้แทนคำนามเอกพจน์เพศชาย
- Essa : ใช้แทนคำนามเอกพจน์เพศหญิง
- Isso : ใช้แทนคำนาม (มักใช้กับพวกสิ่งของ) ที่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร (ไม่สามารถระบุว่าแทนคำนามเพศใด)
แต่ในภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล มักจะใช้คำประกอบจาก Esse - Essa - Isso ร่วมกับคำว่า Aqui (ที่นี่/here) – Aí (ที่นั่น/there) แทน โดยคำบอกสถานที่ Aqui กับ Aí จะชดเชยความหมายบอกว่าสิ่งของอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล
Esse / Essa / Isso (That) + Aqui (Here)
= Esse aqui / Essa aqui / Isso aqui (That here = This)
Esse / Essa / Isso (That) + Aí (There)
= Esse aí / Essa aí / Isso aí (That there = That)
1.3 การเรียงลำดับประธานและกริยาในประโยค กรณีที่ประธานเป็นคำสรรพนามแบบ Reflexive Pronoun
คำสรรพนามแบบ Reflexive Pronoun เป็นคำสรรพนามในประโยคที่แสดงตนเอง มีเนื้อหาเน้นว่าประธานเป็นผู้ทำกริยานั้นด้วยตนเอง หรือประธานกับกรรมเป็นบุคคลเดียวกัน
แต่ในกรณีประโยคปฏิเสธ ไม่ว่าภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปหรือฝั่งบราซิล คำสรรพนามจะนำหน้าคำกริยาเสมอ
1.4 Presen Continuous Tense : คำกริยาที่ยังไม่ได้ผันรูป (Infinitive) กับคำกริยาที่ผันรูปแล้วเพื่อใช้เป็นคำนาม (Gerund)
ในประโยคที่กล่าวถึงภาคแสดงที่กำลังทำหรือเกิดอยู่ในปัจจุบัน (Present Continous Tense) ภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิลจะมีรูปแบบประโยคต่างกัน โดยสังเกตจากท่อนที่ตามหลังคำกริยา estar (หนึ่งใน verb to be ของภาษาโปรตุเกส)
1.5 วลีหรือคำกริยาที่สร้างจากคำนามบางกรณี
สำหรับวลีหรือคำกริยาบางคำในภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล จะสร้างจากคำนามแบบกะทัดรัดไปเลย ต่างจากภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป ที่ต้องมีคำกริยากับคำนาม ตัวอย่างเช่น วลีที่ใช้กล่าวแสดงความยินดี
ฝั่งโปรตุเกส : Dar os parabéns (To congratulate)
ฝั่งบราซิล : Parabenizar (To congratulate)
[2. คำศัพท์]
จุดเด่นอีกเรื่องของความแตกต่างระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิลคือ เรื่องคำศัพท์ ทำให้ชาวโปรตุเกสกับชาวบราซิลมีปัญหาเล็กน้อยกับเรื่องคำศัพท์ของอีกฝ่าย แม้ว่าทั้งชาวโปรตุเกสกับบราซิลต่างเข้าใจเนื้อหาที่อีกฝ่ายสื่อออกมาได้ดีก็ตาม
ตัวอย่างของความแตกต่างในคำศัพท์ที่มีความหมายเดียวกัน ระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิล ได้แก่...
แม้แต่คำศัพท์ภาษาโปรตุเกสคำเดียวกัน สามารถมีความหมายแตกต่างกันระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิลได้เช่นกัน ซึ่งบางคำต้องระวังการใช้งาน ตัวอย่างเช่น...
นอกจากนี้ กรณีคำศัพท์ที่เป็นคำยืมจากภาษาต่างประเทศส่วนหนึ่ง ภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิลจะรับคำยืมมาจากภาษาอังกฤษมากกว่า ขณะที่ภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป มักจะยืมคำหรือสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาละตินมากกว่า หรือจะเรียกได้ว่าภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปค่อนข้าง “อนุรักษ์นิยม” มากกว่าภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล
ตัวอย่างของคำยืมในภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิลที่ได้จากภาษาอังกฤษ มากกว่าภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป เช่น...
[3. การสะกดคำ]
แต่เดิมนั้น ภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิลจะมีบางคำที่สะกดแตกต่างกัน ทั้งแบบที่สะกดต่างกันแต่ออกเสียงใกล้เคียงกัน หรือการสะกดพร้อมการออกเสียงแตกต่างกันไปเลย
ความแตกต่างในการสะกดคำในภาษาโปรตุเกสระหว่างฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิล จะสังเกตได้จากคำภาษาโปรตุเกสสมัยก่อนที่มีตัว C กับ P ที่ตามด้วยตัว C Ç และ T ซึ่งมีหลายคำในภาษาโปรตุเกสกรณีนี้ จะละเสียงตัว C หรือตัว P ด้านหน้า ภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปและอดีตอาณานิคมในแอฟริกา เคยเขียนตัวพยัญชนะกรณีนี้ต่อกัน 2 ตัว ขณะที่ภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล จะละตัวพยัญชนะด้านหน้าที่ละเสียงไป เหลือพยัญชนะเพียงตัวเดียว
ในปัจจุบัน การเขียนคำที่มีพยัญชนะ C กับ P ที่ตามด้วยตัว C Ç และ T ในภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปและอดีตอาณานิคมในแอฟริกา จะค่อย ๆ เลิกการเขียนตัว C กับ P ด้านหน้าที่ละเสียงไปตามแบบภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล แต่อาจพบการสะกดคำแบบนี้ได้ในคนรุ่นก่อนที่ใช้ภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรป เนื่องจากข้อตกลงเรื่องการเขียนภาษาโปรตุเกส ค.ศ.1990 (Portuguese Language Orthographic Agreement of 1990 / Acordo Ortográfico da Língua Portuguesa de 1990) ที่ตกลงกันระหว่างกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ
ตัวอย่างของคำในภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปเมื่อก่อน ภาษาโปรตุเกสฝั่งบราซิล และภาษาโปรตุเกสที่ปรับตามข้อตกลงการเขียนภาษาโปรตุเกส ค.ศ.1990 เช่น...
เมื่ออ่านจนถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านคงจะพอเห็นภาพถึงความแตกต่างเรื่อง "ไวยากรณ์ คำศัพท์ และการสะกดคำ" ระหว่างภาษาโปรตุเกสฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิล ซึ่งอาจช่วยให้เราแยกภาษาโปรตุเกสทั้งสองฝั่งได้ดีขึ้น โดยเฉพาะภาษาโปรตุเกสที่เป็นภาษาเขียนครับ
หากท่านชอบเนื้อหาในบล็อกนี้ สามารถกด “ติดตาม” บล็อกนี้บน Blockdit ได้ครับ...แล้วพบกันใหม่ในเนื้อหาตอนหน้าครับ
[แหล่งที่มาของข้อมูล]
- Manuela Cook. Complete Portuguese. London, UK: Hodder Education; 2010.
- Sue Tyson-Ward. Complete Brazillian Portuguese. London, UK: Hodder Education; 2010.
โฆษณา