24 มิ.ย. 2021 เวลา 06:15 • สุขภาพ
โรคเลือดออกในสมอง คือ โรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน พบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 – 3 เท่า จากตัวเลขที่มีการศึกษากันในหลายประเทศพบว่า ในประชากร 1 แสนคน จะมีผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองประมาณ 10-20 รายต่อปี  หมายถึง ในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 6,000-12,000 รายต่อปีเลยทีเดียว
โรคเลือดออกในสมอง จัดเป็นกลุ่มหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคสมองขาดเลือด สาเหตุหลักมาจากภาวะความเสื่อมของหลอดเลือดสมองจากอายุที่มากขึ้นร่วมกับโรคประจำตัว  ที่สำคัญคือ โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน  ภาวะแข็งตัวของเลือดบกพร่อง รวมถึงการใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวบางชนิด แต่ในปัจจัยทั้งหลาย  อายุที่มากขึ้นร่วมด้วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน  ยังคงเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้
สาเหตุ เลือดออกในสมอง
สาเหตุของเลือดออกในสมองที่พบบ่อยได้แก่
ความดันโลหิตสูง เพราะความดันสูงไม่มีอาการอะไร ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองส่วนหนึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง
อุบัติเหตูที่ศีรษะ คนอายุน้อยกว่า 50 ปีเลือดออกในสมองมักจะเกิดจากอุบัติเหตุ
Arteriovenous malformation (AVM) เป็นผิดปรกติแต่กำเนิดหลอดเลือดดำฝองต่อกับหลอดเลือดแดงทำให้หลอดเลือดดำฝอยแตก
หลอดเลือดโป่งพอง Aneurysm ซึ่งอาจจะเกิดจากความดันโลหิตสูง หรือเป็นความพิการแต่กำเนิด
ความผิดปรกติของผนังหลอดเลือด Amyloid angiopathy
โรคเลือดเช่น โรคฮีโมฟีเลีย, sickle cell anemia
โรตตับซึ่งเลือดจะออกง่าย
เนื้องอกสมอง
รับประทานยาต้านเลือดแข็ง
อาการ โรคเลือดออกในสมอง
จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เลือดออก ขนาดของก้อนเลือดและสาเหตุ    มีอาการดังนี้
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก อัมพฤกษ์ อัมพาต
พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว
ตามัว
ซึมลง หรือไม่รู้สึกตัว
ชัก
การรักษา โรคเลือดออกในสมอง
โรคเลือดออกในสมอง ไม่มีวิธีการรักษาใดจะดีกว่าการป้องกัน กล่าวคือ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ต้องระวังควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้เคร่งครัด ลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น หยุดสูบบุหรี่  โรคนี้นับเป็นภัยเงียบที่ก่อให้เกิดอันตราย  การมีความรู้ความเข้าใจจึงมีความสำคัญครับ
การรักษาเลือดออกในสมองในระยะฉุกเฉิน
ต้องทำแข่งกับเวลาเพื่อช่วยชีวิต ลดความพิการที่จะเกิดขึ้น โดยมีการรักษาดังนี้
รักษาตามอาการ ด้วยการใช้ยา
ผ่าตัดเจาะระบายน้ำในสมอง ทำในกรณีเกิดน้ำคั่งในสมองร่วมหรือเพื่อวัดและลดความดันในสมอง
ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ นำเลือดในสมองออกลดสมองบวม และแก้ไขสาเหตุที่เลือดออก
การอุดรอยรั่วของโรค ซึ่งไม่ต้องมีแผลผ่าตัด สามารถทำได้โดยการอุด
ขดลวด กรณีเส้นเลือดโป่งพอง
กาว กรณีเส้นเลือดขอด
การรักษาต่อเนื่องหลังพ้นภาวะฉุกเฉิน
การทำกายภาพบำบัด โดยจำเป็นต้องฟื้นฟูให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
การดูแลต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลัง โดยเฉพาะภาวะน้ำคั่งในสมอง หรือชัก
การป้องกันการเกิดซ้ำ โดยหมั่นวัดความดันโลหิต  เบาหวาน  ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น งดสูบบุหรี่  งดนอนดึก งดเครียดทั้งกายและใจ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา