4 ก.ค. 2021 เวลา 01:36 • สุขภาพ
โรคแพนิก (โรคตื่นตระหนก) เป็นภาวะวิตกกังวล หรือมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นฉับพลันทันที
1
โดยไม่คาดคิดมาก่อนอาการแต่ละครั้งจะเป็นอยู่ช่วงไม่นาน และมีลักษณะกำเริบซ้ำ ๆ มักมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงอายุ 17-30 ปี (เฉลี่ย 25 ปี) พบได้ประมาณร้อยละ 3-5 ของประชาการทั่วไป และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า
2
สาเหตุ โรคแพนิก
3
ยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิฐานว่าอาจเกี่ยวกับความ ผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่าผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไปด้านชีวภาพ
1
ปัจจัยด้านจิตใจ เชื่อว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น นั้นเป็นการเลียนแบบจากพ่อแม่ที่มีอาการในลักษณะ เดียวกับผู้ป่วย หรือเกิดจากที่ผู้ป่วยเคยมีอาการแพนิก ในขณะที่มีสิ่งกระตุ้นหรืออยู่ในสถานที่บางลักษณ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นหรือสถานที่ลักษณะนั้น ก็เกิดอาการกำเริบซ้ำอีก
ส่วนปัจจัยชีวภาพ พบว่า ระบบประสาทอัตโนมัติส่วนซิมพาเทติกของผู้ป่วยมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ หรือมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อสารส่งผ่าน ประสาท (neurotransmitters) ได้แก่ นอร์เอพิเนฟรีน ซีโรโทนิน กรดแกมมาอะมิโนบูไทริก(gamma-aminobutyric acid/PABA) หรือเกิดจากสารเหนี่ยวนำ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้น 5-35% โซเดียมแล็กเทต
1
นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านจิตใจและไบคาร์บอเนต โยฮิมบิน (yohimbin) เฟนฟลูรามีน (fenfluramine) กาเฟอีน เป็นต้น
อาการ โรคแพนิก
ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลหรือรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงเกิดขึ้นฉับพลันทันทีโดยไม่คาดคิดมาก่อน เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งใดมากระตุ้น และกำเริบซ้ำบ่อย ๆโดย แต่ละครั้งที่เป็น จะมีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 4 อย่างขึ้นไป
ใจสั่น หัวใจเต้นแรงหรือเร็ว
เหงื่อแตก
มือสั่น หรือตัวสั่น
1
หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจขัด
รู้สึกอึดอึดหรือแน่นในหน้าอก
เจ็บหน้าอกหรือไม่สบายบริเวณหน้าอก
คลื่นไส้ หรือปั่นป่วนในท้อง
รู้สึกมึนงง เวียนศีรษะ โคลงเคลง โหวงเหวงปวดศีรษะ หรือเป็นลม
รู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแปลกไป หรือรู้สึกว่าตนเองแปลกไป
กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวจะเป็นบ้า
กลัวว่าจะตาย
รู้สึกมึนชาหรือปวดเสียวตามตัว
รู้สึกหนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบไปทั้งตัวอาการที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดๆ ไม่เกี่ยวข้องกับโรคทางกายหรือการใช้ยา หรือสารใด ๆ อาจเกิดขึ้นขณะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้านขณะอยู่ตามลำพังหรืออยู่กับคนอื่นก็ได้
อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพิ่มความแรง ถึงระดับสูงสุดภายใน10 นาที แต่ละครั้งจะเป็นอยู่ไม่เกิน 20-30 นาที (น้อยรายที่จะเป็นนานเกิน 1 ชั่วโมง)
บางรายอาจมีอาการกลัวการอยู่ในสถานที่ที่ตนอาจเกิดอาการขึ้นมาแล้ว จะไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือหนีออกไปไม่ได้ (sgoraphobia) ร่วมด้วย
1
ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งเป็นผล มาจากอาการดังกล่าว (เช่น ไม่กล้าออกจากบ้าน) จนมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
การป้องกัน โรคแพนิก
โรคนี้มักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจนและ มักไม่เกี่ยวข้องกับการคิดมาก มีแนวโน้มกำเริบบ่อย ๆ การได้รับการรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องจะช่วยให้โรคหายหรือสามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติได้ แต่ถ้าขาด  การรักษาผู้ป่วยมักมีอาการเรื้อรังและอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรคและแนวทางการบำบัดรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง
ผู้ป่วยมักมีความกลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจหรือ กลัวตาย บางครั้งเวลามีอาการกำเริบจะรีบมาตรวจที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล ควรให้ความมั่นใจว่าโรคนี้ไม่ใช่ โรคหัวใจ และไม่มีภาวะฉุกเฉินทางร่างกายแต่อย่างใด ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตและออกกำลังกายได้เช่นคน ปกติทั่วไป
การรักษา โรคแพนิก
1. ถ้าผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัย โรคนี้ และมั่นใจว่าไม่มีโรคทางกาย (เช่น โรคหัวใจ คอ พอกเป็นพิษ) ก็ให้การรักษาดังนี้
ก.ให้ยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI)ได้แก่ ฟลูออกซีทีน เริ่มด้วยขนาด 10มก./วัน แล้วค่อย ๆ  เพิ่มขนาดยาทุกสัปดาห์ จนถึงขนาด 20-40 มก./วัน โดยกินวันละ 1 ครั้งหลังอาหารเช้า
ข. ให้ยากล่อมประสาท ได้แก่ อัลพราโซแลม ขนาด 2-4 มก./วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
              ควรให้ยา 2 ชนิดนี้ร่วมกันตั้งแต่แรก  ถ้าอาการดีขึ้นควรให้ติดต่อกันนาน 4 - 6 สัปดาห์ แล้วจึงค่อย ๆ ลดยากล่อมประสาทลงลง จนเหลือยาแก้ซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว (ไม่ควรให้ยากล่อมประสาทติดต่อกันนาน ๆ เพราะ อาจทำให้เสพติดได้)
เมื่อควบคุมอาการได้ดีแล้ว ให้คงยาแก้ซึมเศร้าต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 12 เดือน แล้วจึงค่อย ๆ ลดยาลงจนหยุดยาได้ โดยใช้เวลา
2 - 6  เดือน
2. ถ้าให้ยา 2-4 สัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการ ที่สงสัยมีสาเหตุจากโรคทางกาย หรือผู้ป่วยรู้สึกกลัวหรือ กังวลมากควรส่งปรึกษาจิตแพทย์
 
ในรายที่สงสัยเป็นโรคทางกาย อาจต้องทำการ ตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด เอกซเรย์ คลื่นหัวใจ เป็นต้น
หากวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก ก็จะให้การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า และยากล่อมประสามตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ 
มีอยู่หลายชนิด  แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
2
นอกจากนี้  ยังอาจมีการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การฝึกการผ่อนคลาย (relaxation training) การใช้เทคนิคจิตบำบัดและพฤติกรรมบำบัดต่าง ๆ
ผลการรักษาหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่องมักจะได้ผลดี บางรายเมื่อหยุดยาสักระยะหนึ่งก็อาจมีอาการกำเริบได้อีกก็ควรจะได้รับยารักษาใหม่อีก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา