14 ก.ค. 2021 เวลา 05:54 • บ้าน & สวน
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
🏡 มารีโนเวทบ้านให้ป๊าม๊ากันเถอะ (ทำบ้านเพื่อวัยเก๋า) 🏡
🏡 เพราะการสร้างบ้าน = บาน(งบประมาณ)
ปัญหาจากการสร้างบ้านเมื่อ 4 ปีก่อนโดยไม่มีการประเมินค่าใช้จ่าย
1) จากงบกลมๆเล็กๆน่ารักบานปลายไปเยอะมากกกกกก
2) ค่าใช้จ่ายที่คิดไม่ถึงหรือคิดว่าไม่เยอะในการสร้างบ้านเช่น
- ค่าทิ้งขยะก่อสร้าง
- ค่าน้ำไฟในการพักของคนงาน
- ค่าน้ำมันในการวิ่งมาดูงานหรือวิ่งซื้อวัสดุต่างๆ
(ซึ่งตรงนี้ก็ควรทำค่าใช้จ่ายไว้)
3) ไม่ได้ทำบันทึกเพื่อให้ผู้รับเหมาเซ็นว่าของอะไรบ้างที่ให้ผู้รับเหมาไปแล้วพอของหายก็ทำไรไม่ได้ต้องซื้อใหม่เพราะไม่มีหลักฐานการรับของ
4) ไม่ได้จัดอันดับความสำคัญผลที่ตามมาคือพองบใกล้หมดของที่อยากได้ต้องลด Spec ลงเช่น เหล็กดัด สีทาบ้าน กลอนประตูหน้าต่าง สวิตช์ไฟ เป็นต้น
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
ในการรีโนเวทบ้านครั้งนี้โบว์จึงแก้ปัญหาด้วยการ
1⃣ ตั้งงบประมาณคร่าวๆ(งบในใจ)
2⃣ ทำตารางประเมินค่าใช้จ่ายโดยหาราคาวัสดุที่อยากได้ไว้ล่วงหน้า
3⃣ จัดอันดับความสำคัญเผื่องบประมาณไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งหมด
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
💰 ตั้งงบคร่าวๆโดยดูจากสิ่งที่จะปรับหรือเปลี่ยนเราที่ได้จดไว้ใน 𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟏 👉https://bit.ly/2Ub0olt
✍️ โดยสรุปคร่าวๆสิ่งที่โบว์จะปรับเปลี่ยนหลักๆ
- รั้วบ้าน
- หลังคา
- ระบบไฟฟ้าให้เป็น Smart Home
- ระบบประปาและงานสุขาภิบาล
- พื้นเปลี่ยนเป็นกระเบื้อง
- ติดลิฟท์
- ปรับพื้นหรือขนาดประตูให้เหมาะกับผู้สูงวัย
- ทำห้องนอนชั้นล่าง
👉 จากที่สรุปงบประมาณส่วนใหญ่จึงไปอยู่ที่งานโครงสร้าง งานสถาปัตย์และงานระบบโดยงบ 2.5 ล้านถูกแบ่งออกเป็น 𝟑 ส่วนดังนี้
1⃣ งบ 60% (1.5 ล้าน) แบ่งเป็น 4 ส่วน
1.1) งานเตรียมการ
1.2) งานโครงสร้างเช่น
1.3) งานสถาปัตยกรรม (องค์ประกอบบ้าน)
1.4) วางระบบไฟฟ้าประปาและสุขาภิบาลใหม่
2⃣ งบ 26% (650,000 บาท) แบ่งเป็น 2 ส่วน
2.1) ส่วนที่ตกลงกับผู้รับเหมาว่าเจ้าของบ้านจัดซื้อเอง
2.2) งานตกแต่งบ้าน
3⃣ งบ 14% (350,000 บาท)
- ลิฟท์บ้านพร้อมติดตั้ง
📍 เราอาจจะเผื่องบประมาณไว้อีก 10-20 % ไว้ในกรณีฉุกเฉินหรือมีค่าใช้จ่ายที่เราคาดไม่ถึง
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
1⃣ งบ 60% (1.5 ล้าน) แบ่งเป็น 4 ส่วน
1.1) งานเตรียมการ
- ขึงสแลน(ตาข่ายเขียวๆ)
- งานรื้อถอนเช่น กระเบื้องหลังคา พื้น ห้องน้ำ สุขภัณฑ์ เป็นต้น
- ค่าขนขยะก่อสร้างไปทิ้ง
1.2) งานโครงสร้างเช่น
- วางเสาเข็มเพิ่มเติม
- เทคอนกรีต (เสา คาน พื้น) เพิ่มบางส่วน
- โครงหลังคาบ้านและโรงจอดรถ
1.3) งานสถาปัตยกรรม (องค์ประกอบบ้าน)
- ก่ออิฐ ฉาบปูน
- ปูกระเบื้องห้องต่างๆและบริเวณบ้าน
- ปูฝ้าใหม่ทั้งชั้นบน-ล่าง
- ทำเค้าเตอร์ครัวและหลังบ้านใหม่
- etc.
1.4) วางระบบไฟฟ้าประปาและสุขาภิบาลใหม่
- เดินไฟฟ้าใหม่แบบฝังในผนังพร้อมเปลี่ยนเป็นโคม Downlight (หลอด LED ขั้ว E27) เพื่อง่ายต่อการเปลี่ยนหลอดไฟ
- เดินประปาใหม่ทั้งบ้าน
- วางท่อระบายน้ำและรางน้ำรอบบ้านใหม่ทั้งหมด
- เปลี่ยนระบบจากบ่อซึม(ส้วมซึมที่ต้องเรียกรถมาดูด)เป็นถังแซท
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
2⃣ งบ 26% (650,000 บาท) แบ่งเป็น 2 ส่วน
2.1) ส่วนที่ตกลงกับผู้รับเหมาว่าเจ้าของบ้านจัดซื้อเองเช่น
- บานประดู วงกบ ลูกบิด เหล็กดัด
- กระเบื้องทั้งหมด ท็อปแกรนิต
- สุขภัณฑ์ อ่างล้างหน้า ฝักบัวและอุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ในห้องน้ำ
- โคมไฟ หลอดไป สวิชต์ไฟ เป็นต้น
2.2) งานตกแต่งบ้าน
- งาน Build-in
- Furniture ลอยตัว
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
3⃣ งบ 14% (350,000 บาท)
- ลิฟท์บ้านพร้อมติดตั้ง (หากงบบานปลายมากอาจติดทีหลัง)
- มีหลายราคาหากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ 👉 https://bit.ly/3hKaVfc
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
ทำตารางประเมินค่าใช้จ่าย 📋
1⃣ จดรายขื่อวัสดุที่ต้องซื้อเองทั้งหมด
2⃣ ทำตารางรายการวัสดุโดยมีหัวข้อหลักๆเช่น
- ชื่อวัสดุ เช่น ประตูรีโมทรั้วหน้าบ้าน(มอเตอร์ประตู)
- วันที่
- ชื่อร้านค้า
- ราคา
- เบอร์โทรติดต่อหรือ Line
- อันดับความสำคัญ***
- Note เพิ่มเติมเช่น การรับประกัน ที่ตั้งหน้าร้าน เป็นต้น
3⃣ แนะนำว่าหาวัสดุที่เราอยากได้และที่ทดแทนกันได้แต่ราคาประหนัดกว่าเผื่องบประมาณไม่พอ
4⃣ แนะทำทำใส่ตาราง Excel เพราะสามารถเพิ่มรายการหรือ Update ข้อมูลได้ง่ายและป้องกันการสูญหาย
✅ ข้อดีของการทำตารางประเมินค่าใช้จ่าย
𝟭) กราประเมินค่าใช้จ่ายล่วงหน้าทำให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุมเราจะรู้ว่างานไหนควรทำก่อนหลังหรือราคาวัสดุไหนที่เราจ่ายไหว (ในส่วนโครงสร้างและงานสถาปัตย์รอผู้รับเหมามาตีราคา)
𝟮) เราจะเริ่มรู้ว่างบทิพย์ที่เราตั้งไว้ลอยๆใกล้เคียงกับความจริงหรือไม่
𝟯) กลับมาดูราคาวัสดุได้ง่ายกว่าและครอบครัวจะเห็นภาพได้งชัดเจนว่าสัดส่วนงบประมาณจะถูกจัดสรรไปที่วัสดุไหนบ้าง
𝟰) ตอนแรกที่ไม่ได้ทำหาหลายๆวัสดุและคุยทิ้งไว้ใน Facebook หรือ Line พอจะย้อนกลับไปดูหารายละเอียดหรือร้านไม่เจอเยอะมากๆค่ะ
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
หากงบไม่พอเลือก " ทำอันที่สำคัญก่อน "
1⃣ เอาอันดับความสำคัญในตารางประเมินค่าใช้จ่ายมา List รวมกันทั้งหมด
2⃣ เราจะเห็นได้ชัดแล้วว่าวัสดุในข้อ 𝗔 มีความสำคัญมากสุดและข้อ 𝗖 สามารถทำทีหลังได้แต่อาจจะต้องเตรียมหน้างานไว้ก่อนเช่น วางตำแหน่งปลั๊ก เดินสายไฟ โครงสร้างลิฟท์
3⃣ ส่วนใหญ่ในข้อ 𝗖 จะเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่มาเติมได้หลังบ้านเสร็จเช่น Hardwareครัว, งาน Build-in, ลิฟท์บ้าน, กล้องวงจรปิด เป็นต้น
📍 หลังจากที่โบว์ทำตารางประเมินค่าใช้จ่ายพร้อมจัดอันดับความสำคัญแล้วก็พบว่า "สิ่งที่อยากได้มักแพงกว่างบที่มีเสมอเลยค่ะ" 🤣🤣🤣
𝐂𝐡𝐚𝐩𝐭𝐞𝐫 𝟐 การตั้งงบประมาณ
ในตอนหน้าเราจะเริ่มตะลุยไปกับ 👉
😉 การคุยกับคนในครอบครัว
- จะคุยยังไงให้ป๊าม๊าเห็นภาพเดียวกับเราและไม่ทะเลาะกันตอนสร้างบ้านรวมถึงอำนาจการตัดสินใจในการเลือกซื้อวัสดุ (ปัญหานี้เกือบทุกคนน่าจะเจอตั้งแต่คุย Concept เพราะโบว์ก็เจอค่ะ 555555555)
😉 หาผู้รับเหมา
- ตามหาผู้รับเหมาที่ใช่คงเหมือนใจที่ตามหาความรัก
(รู้ว่ามีแต่ไม่ใช่ทุกคนจะเจอ ไอต้ามฟามรัก)
😉 แจ้งรายละเอียดงานกับผู้รับเหมา
- เราจะบรีฟงานรีโนเวทที่ค่อนข้างจุกจิกและรายละเอียดยิบย่อยยังไงให้ผู้รับเหมาเห็นภาพเดียวกับเราและสามารถตีราคาได้ครบถ้วน
😉 กำหนดระยะเวลาในการตีราคารีโนเวทของผู้รับเหมา
- เคยเจอไหมคะว่ามาตีราคาเสร็จ.......ผู้รับเหมาหายเงียบไป
โบว์ก็เจอค่ะ ไว้เราไปดูวิธีแก้กันในตอนหน้านะคะ
โฆษณา