4 ส.ค. 2021 เวลา 11:25 • สุขภาพ
รู้รอบ "ไมเกรน" ภายใน 5 นาทีแบบละเอียดยิบ
4
ไมเกรน คือ พบได้ประมาณร้อยละ 10 -15 ของประชากรทั่วไป พบได้ในคนทุกวันแต่พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 3.5 เท่า
11
โรคนี้มักเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังเป็นแรมปี เริ่มเป็นครั้งแรกตอนย่างเข้าวัยรุ่น หรือระยะหนุ่มสาว โดยเฉพาะผู้ป่วยหญิงมักเป็นโรคนี้ตอนเริ่มมีประจำเดือน บางรายเริ่มเป็นโรคนี้ตั้งแต่เด็ก ซึ่งมักมีอาการปวดท้อง เมารถเมาเรือด้วย มีน้อยรายที่จะมีอาการเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปแต่ผู้หญิงที่เคยเป็นไมเกรนมาก่อนเมื่อถึงวัยใกล้หมดประจำเดือน (40-50 ปี) อาจมีอาการปวดศีรษะบ่อยขึ้นบางรายอาจทุเลาหรือหายไปเองเมื่ออายุ  มากกว่า 50-60 ปีขึ้นไป แต่บางรายอาจเป็นตลอดชีวิต
7
ไมเกรนจัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่สร้างความรำคาญน่าทรมาน และทำให้เสียการเสียงาน โรคนี้เกิดได้กับคนทุกระดับไม่เกี่ยวกับฐานะทาง สังคมหรือระดับสติปัญญา แต่ผู้ที่มีฐานะดีหรือมีการศึกษามักจะปรึกษาแพทย์บ่อยกว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่เป็นประจำมักเป็นคนประเภทเจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก
11
โรคนี้ชาวบ้านเรียกว่า ลมตะกัง หรือ โรคปวดหัวข้างเดียว
2
สาเหตุ ไมเกรน
โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยไม่เกรน มีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย) และมักมีสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบในแต่ละครั้ง
1
ส่วนกลไกการเกิดอาการของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของสมอง ทั้งในส่วนเปลือกสมอ (cortex) และก้านสมอง (brain stem) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลง ของสารเคมีในสมอ ได้แก่ ซีโรโทนิน (trigeminal) (พบว่ามีปริมาณลดลงขณะที่มีอาการกำเริบ) โดพามีน(dopamine) และสารเคมีกลุ่มอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดการ อักเสบของเส้นใยประสาทสมองเส้นที่ 5 (trigeminal nerve fiber ที่เลี้ยงบริเวณใบหน้าและศีรษะ) รวมทั้งการอักเสบร่วมกับการหดและขยายตัวของหลอดเลือด แดงทั้งในและนอกกะโหลกศีรษะ ทำให้เปลือกสมองm(cortex) มีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง กระตุ้นให้เกิดอาการ ปวดศีรษะและอาการร่วมต่าง ๆ ขึ้นมา
3
สาเหตุกระตุ้น ไมเกรน
1
ผู้ป่วยมักบอกได้ว่า มีสาเหตุต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึ่งแต่ละคนอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป แต่มักจะมีได้หลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น
มีแสงสว่างจ้าเข้าตา เช่น ออกกลางแดดจ้า ๆแสงจ้า แสงไฟกะพริบ แสงสีระยิบระยับในโรงมหรสพ หรือสถานเริงรมย์ เป็นต้น
3
การใช้สายตาเพ่งดูอะไรนาน ๆ เช่น ดูภาพยนตร์หนังสือ จอคอมพิวเตอร์ หรือกล้องจุลทรรศน์ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น
1
การอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดังจอแจ  เช่น ตลาดนัดหรือเสียงอึกทึก (เช่น เสียงกรอง เสียงระฆัง)
การสูดดมกลิ่นฉุน ๆ เช่น กลิ่นน้ำมันรถ กลิ่นสีหรือทินเนอร์ กลิ่นสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอมหรือดอกไม้     เป็นต้น
การดื่มกาแฟมาก ๆ ก็อาจกระตุ้นให้ปวดได้ (แต่บางคนดื่มกาแฟแล้วอาการทุเลา หรือขาดกาแฟกลับทำให้ปวดไมเกรน)
3
เหล้า เบียร์ เหล้าองุ่นแดง (red wine) ถั่วต่าง ๆ กล้วย นมเปรี้ยว เนยแข็ง ซ็อกโกแลต ตับไก่ ไส้กรอก อาหารทะเล อาหารทอดน้ำมัน อาหารหมักดองหรือรมควัน ผงชูรส น้ำตาลเทียม (aspartame) สารกันบูด ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (เช่น ส้ม มะนาว) หอมกระเทียม ล้วนกระตุ้นทำให้ปวดได้
7
ยานอนหลับ ยาขยายหลอดเลือด (เช่น ไนโตรกลีเซอรีน) ยาลดความดัน (เช่น ไฮดราลาซีน รีเซอร์พีน) ยาขับปัสสาวะ
การอยู่ในที่ร้อนหรือเย็นเกินไปเช่นอากาศร้อนหรือหนาวจัด ห้องที่อบอ้าวห้องปรับอากาศเย็นจัดอากาศ  เปลี่ยนแปลง เป็นต้น
2
การอดนอน (นอนไม่พอ) หรือนอนมากเกินไปการนอนตื่นสาย (เช่น ในวันหยุดสุดสัปดาห์)
การอดข้าว  กินข้าวผิดเวลา หรือกินอิ่มจัด  เชื่อว่าเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งกระตุ้นให้ปวดศีรษะได้  บางครั้งพบว่าผู้ป่วยไมเกรนเมื่อ เป็นโรคเบาหวาน (มีน้ำตาลในเลือดสูง) อาการปวดจะหายไป
1
การนั่งรถ นั่งเรือ หรือนั่งเครื่องบิน
การเปลี่ยนแปลงของระดับความสูงหรือความดันบรรยากาศ
2
อาการเจ็บปวดตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
การเป็นไข้ เช่น ตัวร้อนจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
การออกกำลังการจนเหนื่อยเกินไป รวมทั้งการร่วมเพศ
ร่างกายเหนื่อยล้า
การถูกกระแทกแรงๆ ที่ศีรษะ (เช่นการใช้ศีรษะโหม่งฟุตบอล) ก็อาจทำให้ปวดศีรษะทันที
อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ สำหรับผู้ป่วยหญิงมีผลต่อการเกิดอาการไมเกรนอย่างมาก เช่น บางรายมีอาการปวดเฉพาะเวลาใกล้จะมีหรือขณะมีประจำเดือน บางรายในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ก็อาจทำให้อากาศกำเริบมากขึ้น เมื่อเลยระยะ 3 เดือนไปแล้ว อาการมักจะหายไปจนกระทั้งหลังคลอด (ในระยะ 6 เดือนหลังของการตั้งครรภ์มักมีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนสูง) บางรายกินยาเม็ดคุมกำเนิด (มีฮอร์โมนเอสโทรเจน) ทำให้ปวดบ่อยขึ้น พอหยุดกินยาก็ดีขึ้น หรือฉีดยาคุมกำเนิดอาการมักจะทุเลา
ความเครียดทางอารมณ์ คิดมาก อารมณ์ขุ่นมัวตื่นเต้น ตกใจ
อาการ ไมเกรน
มักมีอาการกำเริบเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดแบบตุบ ๆ (เข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ) ที่บริเวณขมับข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดสลับข้างในแต่ละ ครั้ง ส่วนน้อยจะปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจมี อาการปวดที่รอบ ๆ กระบอกตาร่วมด้วย  แต่ละครั้งมัก จะปวดนาน 4-72 ชั่วโมง และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือสัมผัสถูกแสง เสียงหรือ กลิ่น มักปวดรุนแรงปานกลางถึงมากจนเป็นอุปสรรค  ต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
3
(หลัง อาเจียน อาการปวดจะค่อย ๆ ลุเลาไปเอง) ผู้ป่วยมักมี อาการกลัว (ไม่ชอบ) แสงหรือเสียงร่วมด้วย ชอบอยู่ในห้องที่มืดและเงียบ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตาพร่ามัว คัดจมูก ท้องเดิน ปัสสาวะออกมาก ซีด เหงื่อออก บวมที่หนังศีรษะหรือใบหน้า เจ็บหนัง ศีรษะ มีเส้นพองที่ขมับ ขาดสมาธิ  อารมณ์แปรปรวน รู้สึกศีรษะโหวง ๆ รู้สึกจะเป็นลม แขนขาเย็น เป็นต้น
7
บางรายก่อนมีอาการปวดศีรษะ อาจมีสัญญาณบอกเหตุ (aura) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาการผิดปกติเกี่ยว กับสายตา เช่น เห็นแสงวอบแวบหรือระยิบระยับเห็นเป็นเส้นหยัก ภาพเบี้ยว ภาพเล็กหรือใหญ่เกินจริง หรือเห็นดวงมืดในลานสายตา ซึ่งจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆในช่วงเวลา 5–20 นาที และมักจะเป็นอยู่นานไม่เกิน 60 นาที ส่วนน้อยอาจมีสัญญาณบอกเหตุในลักษณะอื่น ๆ เช่น มีความรู้สึกสัมผัสเพี้อน (สู้สึกเสียวแปลบ ๆ เหมือน ถูกเข้ม หรือเหมือนมีตัวอะไรไต่) ที่มือและแขนรอบปากและจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ชาที่ใบหน้าและแขนขา
4
มีความรู้สึกไวต่อการสัมผัส พูดไม่ได้หรือพูดลำบาก บ้าน หมุน  มีเสียงหลอนหรือกลิ่นหลอน  เห็นภาพซ้อน  แขนขาอ่อนแรง อาการเหล่านี้มักเป็นเพียงชั่วขณะ แล้วทุเลาไปได้เองอาการปวดศีรษะ มักเกิดขึ้นภายใน 60 นาที (บางครั้งหลายชั่วโมง) หลังสัญญาณบอกเหตุลุเลาลงแล้ว บางรายสัญญาณบอกเหตุอาจเป็นต่อเนื่อง แม้ภายหลังมีอาการปวดศีรษะเกิดขึ้นแล้ว
2
บางรายอาจมีสัญญาณบอกเหตุโดยไม่มีอาการปวดตุบ ๆ แบไมเกรนตามมา หรือมีอาการปวดศีรษะในลักษณะแตกต่างจากไมเกรน (เช่นปวดมึน ปวดตื้อ) ตามมาก็ได้
2
นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติล่วงหน้าหรือตามหลังระยะปวดไมเกรน
อาการผิดปกติล่วงหน้า (prodome) อาจเกิดก่อนปวดศีรษะเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ เช่น อารมณ์แปรปรวน (หงุดหงิด  ซึมเศร้า    หรือครึ้มใจ) อ่อนเพลียหาวบ่อย ง่วงนอนมาก รู้สึกอยากอาหารบางชนิด (เช่น ซ็อกโกแลต ของหวาน) กล้ามเนื้อตึง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คอ)
ท้องผูกหรือท้องเดิน ปัสสาวะออกมาก
ส่วนอาการผิดปกติที่อาจพบภายหลังหายปวดศีรษะแล้ว (postdome) เช่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด เฉยเมย ขาดสมาธิ เจ็บหนังศีรษะ  อารมณ์แปรปรวน รู้สึกศีรษะโหวง ๆ กลัวแสง เบื่ออาหาร เป็นต้น
1
ในเด็กมักมีอาการคล้ายดังกล่าวข้างต้น แต่มักจะปวดขมับพร้อมกัน 2 ข้าง และปวดนานน้อยกว่าผู้ใหญ่ (นานประมาณ1-48 ชั่วโมง)ไม่ค่อยมีสัญญาณบอกเหตุทางตา (อาการผิดปกติทางสายตา) แต่มักมีอาการผิดปกติ ล่วงหน้า เช่น หาวบ่อย ง่วงนานมากหรือเฉยเมย มีความรู้สึกอยากอาหารบางชนิด (เช่น ซ็อกโกแลต ของหวาน นมเปรี้ยว กล้วย)
เด็กบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง กลัวแสง กลัวเสียง โดยไม่มีอาการปวดศีรษะก็ได้ (เมื่อโตขึ้นก็จะมีอาการปวดศีรษะ ไมเกรน)
1
การป้องกัน ไมเกรน
สำหรับผู้ที่ปวดไมเกรนบ่อย ๆ ให้พยายามค้นหาสิ่งที่กระตุ้นให้ปวด แล้วหลีกเลี่ยงเสีย เช่น ถ้ากินยาเม็ดคุมกำเนิด ทำให้ปวดบ่อย ก็เลิกยานี้เสีย และหันไปใช้ยาคุมชนิดฉีดแทน (ยานี้มีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน มีส่วนช่วยป้องกันไมเกรน) ถ้ากินผลชูรสหรือดื่มแอลกอฮอล์แล้วปวด ก็ควรงดเสีย ถ้าเข้าไปในที่ที่มีเสียงอีกทึกจอแจ (เช่น ตลาดนัด) แล้วปวดก็ต้องงดไป เป็นต้น
1
ถ้าไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุกระตุ้น หรือทราบแต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และยังปวดอยู่บ่อย ๆ (มากกว่า 3 ครั้ง/เดือน) จนเสียการ เสียงาน ควรให้ยากินป้องกันไม่ให้ปวด ซึ่งมีอยู่หลายขนาด โดยให้เลือกใช้ขนานใดขนาน หนึ่งเพียงขนาดเดียว และให้กินเป็นประจำทุกวัน ควรให้ติดต่อกันนาน 4-6 เดือน จึงค่อยหยุดยา เมื่อกลับมามีอาการกำเริบบ่อย ๆ อีก ก็ให้กินยาป้องกันซ้ำอีก
แพทย์จะเลือกใช้ยาขนาดใดขนาดหนึ่งให้เหมาะกับผู้ป่วย ซึ่งมีให้เลือกดังนี้
ฟลูนาริซีน (flunarizine) มีชื่อทางการค้า เช่น ซิบีเลียม (Sibelium)ให้กินขนาด 5-10 มก.(1-2 เม็ด) วันละครั้ง ก่อนนอนทุกคืน
1
อะมิทริปไทลีน เช่นทริปตานอล (Tryptanol) ให้กินขนาด 10 มก. ก่อนนอน ทุกคืน (ถ้าไม่ได้ผล อาจเพิ่มเป็น 25 มก.)
2
ไพโซติเฟน (pizotifen) เช่น แซนโดไมแกรน (Sandomigran) หรือโมซีกอร์ (Mosegor) ขนาดเม็ดละ 0.5 มก. กิน 1-3 เม็ด ก่อนนอน ยานี้เป็นยาในกลุ่มยา  แอนติฮิสตามีน อาจทำให้ง่วงนอน นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ไซโพรเฮปตาดีน (cyproheptadine) ขนาดเม็ดละ 4 มก.กิน 1–2 เม็ด ก่อนนอน  ยานี้เป็นยาในกลุ่ม แอนติฮิสตามีน อาจทำให้ง่วงนอน และยังช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร
โพรพราโนลอล (propranolo) เช่น อินเดอราล (Inderal) ซึ่งเป็นกลุ่มยาปิดกั้นบีตา ขนาดครั้งละ 20-40  มก.วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร
อะทีโนลอล ซึ่งเป็นกลุ่มยาปิดกั้นบีตาขนาดครั้งละ 50-100 มก.วันละครั้ง
ไนเฟดิพีน ซึ่งเป็นยาต้านแคลเซียม ขนาดครั้งละ 10-40 มก.วันละ 4 ครั้ง
ยารักษาโรคลมชัก เช่น โซเดียมวาลโพรเอต (sodium  valproate) ขนาด 0.6-2.5 กรัม/วัน หรือโทพิราเมต (topiramate) ขนาด 25-100 มก./วัน แบ่งให้ วันละ 1-2 ครั้ง
เมทิเซอร์ไจด์ (methysergide) เช่น เดสเซอริล (Deseril) ขนาด 1 มก. กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2- 3 ครั้ง หลังอาหาร (ไม่ควรกินเกิน 6 มก.) ยานี้ใช้ได้ผลดีแต่ไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน อาจทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวมาก เป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ (เช่น อาจทำให้เกิด retroperitoneal fibrosis) ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาต่ออีก ควรเว้นระยะสัก 1-2 เดือนก่อน ยานี้อาจ ทำให้เกิดผลข้างเคียงและมีข้อห้ามใช้เช่นเดียวกับเออร์โกตามีน  ควรใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล
2
การรักษา ไมเกรน
1.ขณะที่มีอาการกำเริบ ให้ยาบรรเทาปวด ได้แก่ ยาแก้ปวด หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ในรายที่เป็นรุนแรงอาจให้ยารักษาไมเกรน เช่นคาเฟอร์กอต แทน
2
ถ้ามีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนให้ยาแก้อาเจียน เช่น เมโทโคลพราไมด์ ดอมเพอริโน
ข้อสำคัญ การให้ยาบรรเทาปวด ต้องรีบกระทำทันทีเมื่อเริ่มรู้สึกมีอาการ จึงได้ผลดี และควรแนะนำให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนพักในห้องมืดและเงียบ ๆ
2.ถ้าปวดรุนแรงปวดติดต่อกันนานเกิน 72 ชั่วโมง แขนขาอ่อนแรงหรือหมดสติ หรือสงสัยเกิดจากสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ เช่น ต้อหินเฉียบพลัน)โรคหลอดเลือดสมองแตก ศีรษะได้รับบาดเจ็บ/เลือดออกใน สมองเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว อาจจำเป็นต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เจาะหลัง ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2
ถ้าตรวจพบว่าเป็นไมเกรน ก็จะให้ยารักษาไม-เกรนสำหรับชนิดปวดรุนแรง ได้แก่ ซูมาทริปแทน (su matriptan) กินขนาด 50-100 มก.ครั้งเดียว ส่วนใหญ่ อาการมักทุเลาภายใน 4 ชั่วโมงหลังให้ยา ในกรณีที่มีอาการปวดไมเกรนนานเกิน 72 ชั่วโมง (ซึ่งพบได้น้อย) แพทย์อาจต้องให้ยานี้ซ้ำหลายครั้ง (แต่ไม่ควรเกิน 300 มก./24 ชั่วโมง) ร่วมกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์
3
ในบางกรณี แพทย์อาจพิจารณาให้ยาอื่นแทน เช่น ฉีดไดโดรเออร์โกตามีน (chlorpromazine) 25-30 มก.เข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเดกซาเมทาโซน 4- 8 มก.เข้าหลอดเลือดดำ หรือให้เพร็ดนิโซโลน กินวันละ 60 มก.วันละครั้ง  เป็นระยะเวลา 3-4 วัน
ในกรณีที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือหมดสติ (เป็นอาการแสดงของไมเกรนชนิดรุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก) ก็จำเป็นต้องให้การรักษาแบบประคับประคอง อาการจะเป็นอยู่ชั่วคราว และหายได้เอง
1
3.ในรายที่มีอาการมากกว่าเดือนละ 3 ครั้ง ควรให้ยาป้องกัน ถ้าใช้ยาไม่ได้ผล หรือมีอาการปวดแทบทุกวัน (มากกว่า 15วัน/เดือน) ซึ่งถือว่าเป็นไมเกรนเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุ
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา