9 ส.ค. 2021 เวลา 03:30 • ไลฟ์สไตล์
#วันที่คิดไม่ออก ว่าจะเขียนอะไร
และแล้ววันนั้นก็มาถึง วันที่คิดไม่ออกจริงๆว่าจะเขียนอะไร เหมือนกับกระดาษที่ว่างเปล่าขาวสนิท เราเพิ่งผ่านช่วงนั้นมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตั้งแต่เริ่มลงนิทานชายชรากับทะเล จนมาถึงอาหารอีกสองเมนู
Image by Patrizia08 from Pixabay
สามวันติดๆที่เราไม่ได้เขียนอะไร เพราะไม่รู้จะเขียนอะไร เหมือนมีเสียงอื้ออึงอยู่ในหัวตลอดเวลา เสียงมาจากเรื่องนั้นนิด เรื่องนี้หน่อย ตีกันวุ่นไปหมดจนแทบจับใจความไม่ได้ด้วยซ้ำ ว่าตัวเองคิดอะไรอยู่
แม้กระทั่งตอนจะนอน ที่ก่อนหน้านี้รู้สึกง่วงและพร้อมนอนแล้ว ตาหลับอยู่แต่สมองกลับยังทำงานอย่างบ้าคลั่ง
“ฉันต้องการจะนอนนนน” เราคงตะโกนแบบนี้อยู่ในใจ
แล้วก็นึกขึ้นได้ว่า “ลองนั่งสมาธิดู”
2
ในห้องแอร์มืดๆ เย็นๆ เราก็จัดการลุกขึ้นมานั่งขัดสมาธิ หลับตา แล้วโฟกัสทุกความรับรู้ ไปที่ลมหายใจที่เข้าและออก
เรารับรู้ถึงลมที่ผ่าน ตรงข้างบนของริมฝีปาก เรามีหลุดจอไปบ้าง ไปไหนก็ไม่รู้ เป็นระยะๆ แต่อย่างน้อยเราก็รู้ว่า เราหลุดจอออกไป
เราพยายามนั่งสมาธิอยู่สักพัก จนรู้สึกว่าปวดหลัง ไม่ไหวละ … แล้วก็เลยกลับลงไปนอนใหม่
เรารู้สึกทันทีถึงการหยุดความวุ่นวายในหัว ที่มีเมื่อก่อนหน้านี้ “รู้สึกสงบดีจัง” เราคิด
แล้วอีกไม่นาน เราก็ผล็อยหลับไป …
Image by Comfreak from Pixabay
และในวันถัดไป เราก็กลับมาตั้งหลักเขียนได้ใหม่อีกครั้งกับบทความ “สีดำ สีเทา และสีขาว”
การนั่งสมาธิ นอกจากความสงบที่เราได้แล้ว เรายังได้สมาธิอีกด้วย
1
ปัจจุบันนี้การนั่งสมาธิมิใช่การปฏิบัติสำหรับชาวพุทธอย่างเดียวเท่านั้น การนั่งสมาธิเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งของศาสนาพุทธที่ทั่วโลกยอมรับ ให้เป็นสุดยอดของ “Mindfulness” (ความสงบในจิตใจ)
วิธีการนั่งสมาธิของชาวตะวันตกก็จะมีความต่างจากที่เราถูกสอนมาเล็กน้อย และวิธีนี้ก็อาจเป็นตัวเลือกที่ดีในการนั่งสมาธิ สำหรับบางคน
ไปดูกันดีกว่าค่ะ ว่าวิธีของพวกเขาเป็นอย่างไร …
HOW TO Meditate:
Image by Shahariar Lenin from Pixabay
1. Take a seat (เลือกที่นั่ง)
เลือกสถานที่ ที่คิดว่ามีบรรยากาศที่เงียบและสงบ
2. Set a time limit (กำหนดเวลา)
กำหนดเวลาที่จะนั่งสมาธิ โดยเริ่มจากง่ายๆก่อน สัก 5 หรือ 10 นาที
3. Notice your body (สังเกตร่างกายของตัวเอง)
จะนั่งท่าไหนก็ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นนั่งบนเก้าอี้ วางเท้าไว้ที่พื้น จะไขว่ห้าง หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น ตราบใดที่นั่งได้อย่างมั่นคง และสามารถที่จะนั่งท่านั้นได้นานๆ
4. Feel you breath (รู้สึกถึงลมหายใจ)
สังเกตความรู้สึกถึงการหายใจเข้าและหายใจออก
5. Notice when your mind has wondered (สังเกตใจของตัวเองเมื่อมันล่องลอยไป)
การโฟกัสที่ลมหายใจของคุณหายไป หายไปในที่ไหนสักที่ เมื่อคุณสังเกตรู้ว่าใจของคุณนั้นล่องลอยไป อีกไม่นานคุณก็ควรดึงมันกลับมา แล้วโฟกัสที่ลมหายใจตามเดิม
6. Be kind to your wandering mind (อย่าโหดร้ายกับใจที่ล่องลอยไป)
อย่าตัดสินลงโทษตัวเองที่ปล่อยให้ใจล่องลอยไป ก็แค่รีบนำใจกลับมาซะ
7. Close with kindness (ปิดท้ายด้วยความอ่อนโยน)
Image by 원규 이 from Pixabay
เมื่อคุณพร้อมที่จะออกจากสมาธิแล้ว ค่อยๆลืมตา ใช้เวลาสักครู่ในการสังเกตเสียงรอบๆตัว สังเกตความรู้สึกของร่างกายในตอนนี้ สังเกตถึงความคิดและอารมณ์
เมื่อเรานั่งสมาธิ เราฝังประโยชน์ ให้หยั่งรากลึกลงไปในชีวิตของเรา: เราสามารถลดความเครียดลง เรามีสัมพันธ์กับคนอื่นได้ดีขึ้น เราพัฒนาโฟกัสของเราทำให้เรามีสมาธิที่ดีขึ้น และเรายังอ่อนโยนกับตัวเรามากขึ้นอีกด้วย
3
ตัวเราเคยนั่งสมาธิ แต่ได้ห่างเหินไปนานมากแล้ว เมื่อได้กลับมาทำอีกครั้ง รู้สึกดีจริงๆค่ะ ตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิบ่อยๆและเป็นประจำ … แม้นั่งไม่นาน ก็ทำให้ใจของเรานิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
1
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ สำหรับคนที่มองหาความสงบในใจนะคะ
เนื้อหาบางส่วนได้แปลมาจาก https://www.mindful.org/how-to-meditate/
#สมองสองช้อน ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน ขอบคุณทุกๆกำลังใจ
หากไม่อยากพลาดบทความใหม่ๆ ในทุกๆวัน … กดติดตามไว้เลยนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา