20 ส.ค. 2021 เวลา 02:46 • ความคิดเห็น
เรียนจำนวนนับด้วยการสัมผัสสิ่งของสมัยอนุบาล​ ​ฝึกความทรงจำและจินตภาพในการเรียนภาษาและคณิตศาสตร์​ เรียนคณิตศาสตร์สมัยปฐม​ เป็นรากฐานการเรียนฟิสิกส์เคมีชีวะสมัยมัธยม​ เรียนภาษาเพื่อฝึกการอ่านการค้นคว้าด้วยตนเอง ใครไม่ชอบเคมีชีวะ​ ก็ฉีกออกไปออกแบบสร้างบ้าน​ ซ่อมสร้างสิ่งของในขั้นมหาลัย ใครชอบก็เป็นพื้นฐานในการเรียนแพทย์แผนใหม่​ สรีรวิทยา​ เซลส์วิทยา​ ภูมิคุ้มกันวิทยา​ เวชศาสตร์​ เฉพาะทาง​เป็นลำดับถัดไป​ เพื่อไปฝึกเป็นหมอรักษาคน​ ระหว่างทาง​ใครไม่ไหวไม่ชอบวิชาไหน​ ก็หันเหไปตามสายที่ชอบที่ถนัด​ แต่ปลายทางเหมือนกันคือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์​และสังคม​ มีจิตสาธารณะที่เกิดจากประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ​ แต่สังคมประชาธิปไตย​จะไปบังคับให้ใครเรียนอะไร​ ทำอะไร​เพื่ออะไรไม่ได้​ เพราะคนเท่ากัน​มีจิตอิสระ​ในการตัดสินใจเหมือนกัน
​ จึงต้องออกแบบหลักสูตร​ ให้ง่ายยากออกเป็นขั้นๆ​เพื่อคัดคนให้เหลือสายวิชาขีพที่ขาดแคลน​ และเป็นประโยชน์สำคัญต่อคนหมู่มากก่อน​ ส่วนคนนั้นจะทำประโยชน์ต่อสังคมมากน้อยเท่าใดกำหนดไม่ได้​ ได้แต่อาศัยหลักสถิติที่คน​ศึกษามากรู้มากเห็นอะไรมาก​ ความคิดยอมออกจากการเอาตัวเป็นศูนย์กลาง​ ​เห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง​ เห็นปัจจัยต่างพึ่งพาอาศัยกัน​ ส่งต่อกันเป็นทอดๆ​จาก​พ่อแม่สู่ลูก​ รุ่นก่อนสู่รุ่นถัดไป​ ตัวเองสู่ครอบครัว​ สู่วงเพืีอน​ เพื่อนบ้าน​ ที่ทำงาน​ ขยายแสดวงออกไป​
เพื่อนำไปสู่สังคมที่พัฒนาขึ้น​ ยิ่งพอมาทำงานภาคปฏิบัติมองเห็นสิ่งที่ทำไปเป็นประโยช์น์ต่อผู้อื่น​ หัวใจพองโต​ ความรู้สึกสงบระงับ​ แม้เหนื่อยกายก็อิ่มใจ​ ก็มีกำลังใจทำต่อไปให้ดีขึ้น​ คนที่ได้รั​บประโยชน์ก็เริ่มเห็นคุณของการดำรงชีวิตในสังคม​เกิดทัศนคติจิตสำนึกรวมหมู่ที่ดี​ ลดอัตตาและการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง​ ก็จะเลิกตั้งคำถามว่าเกิดมาทำไม​ แต่จะเฝ้าถามตัวเองว่าจะทำอะไรให้ใครได้บ้าง
โฆษณา