24 ส.ค. 2021 เวลา 03:08 • หนังสือ
#62 เล่ม 3 บทที่ 13 หน้า 305 — 311
...
N : และ (ขอทวนหน่อยนะครับ) จุดมุ่งหมายของผมในการเป็นมนุษย์ก็คือ❓
G : เพื่อตัดสินใจและประกาศออกไป เพื่อสร้างสรรค์และแสดงออก เพื่อมีประสบการณ์และบรรลุถึงตัวตนที่แท้จริงของเธอ
เพื่อสร้างสรรค์ตัวเองขึ้นมาใหม่ในทุกขณะตามมโนภาพที่สูงส่งที่สุดที่เธอเคยมีต่อตัวเองว่าตัวตนที่แท้จริงของเธอคือใคร
📌 นั่นคือจุดมุ่งหมายของเธอในการเป็นมนุษย์ และคือจุดมุ่งหมายของทุกสรรพชีวิต
...
...
...
N : ตอนนี้เราเหลืออะไรอีกครับเนี่ย❓ เราถล่มศาสนาไปแล้ว ปรามาสการแต่งงานไปแล้ว ประณามรัฐบาลไปแล้ว แล้วจะยังไงต่อดีครับ❓
G : อย่างแรกเลยนะ เราไม่ได้ถล่ม ปรามาส และประณามอะไรทั้งนั้น 🔸หากสิ่งที่พวกเธอสร้างขึ้นมันใช้ไม่ได้ผลและไม่ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่พวกเธอต้องการให้เกิด🔸 และการอธิบายถึงสภาวะนั้นก็ไม่ใช่การถล่ม การปรามาส และการประณามการสร้างนั้น
พยายามระลึกถึงความต่างระหว่าง ‘การให้ข้อสังเกต’ กับ ‘การพิพากษา’
N : ผมไม่ได้อยากโต้แย้งกับพระองค์ในเรื่องนี้นะครับ แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่พระองค์พูดมามันให้ความรู้สึกว่าพระองค์กำลังพิพากษาอยู่
G : เราถูกบีบด้วยข้อจำกัดทางภาษาอย่างมหาศาล มีคำให้เลือกใช้น้อยมาก เราใช้คำเดียวกันซ้ำไปซ้ำมา แม้ว่ามันจะไม่ได้สื่อถึงความหมายแบบเดียวกันหรือสื่อถึงความคิดแบบเดียวกัน
1
เธอบอกว่าเธอ “รัก” ไอศกรีมรสกล้วย แต่แน่นอนว่าเธอไม่ได้หมายความแบบเดียวกับที่เธอบอกว่าเธอรักใครสักคน เห็นไหมล่ะว่า เรามีคำให้เลือกใช้น้อยมากจริงๆในการอธิบายว่าเรารู้สึกอย่างไร
1
การสื่อสารกับเธอผ่านทางรูปแบบนี้ (ในรูปของถ้อยคำ) ฉันยอมให้ตัวเองเผชิญกับข้อจำกัด ซึ่งฉันก็ยอมรับว่าภาษาบางอย่างที่นำมาใช้ตรงนี้เป็นคำที่ ‘เธอเองเอามาใช้เวลาพิพากษาเรื่องต่างๆ’ จึงดูเหมือนสรุปได้ง่ายๆว่า ‘ฉันกำลังพิพากษาอยู่’ เวลาที่ฉันใช้คำพวกนั้น
1
ให้ฉันได้ให้ความมั่นใจกับเธอตรงนี้ว่าฉันไม่มีวันทำแบบนั้น ตลอดการพูดคุยกันนี้ 🔸ฉันแค่พยายามบอกวิธีไปสู่จุดหมายที่เธอบอกว่าอยากไป🔸
และอธิบายให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ว่า 🔹อะไรที่ขวางทางเธออยู่ และ อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อเธอไม่ให้ไปถึงจุดนั้น🔹
ในส่วนของ ‘ศาสนา’ เธอบอกว่าเธออยากไปสู่จุดที่เธอได้รู้จักและรักพระเจ้าได้อย่างแท้จริง ฉันก็เพียง “ให้ข้อสังเกต” ว่าศาสนาพาเธอไปสู่จุดนั้นไม่ได้
ศาสนาของเธอทำให้พระเจ้ากลายเป็นความลี้ลับยิ่งใหญ่และหล่อหลอมให้เธอไม่กล้ารักพระเจ้า แต่ให้ยำเกรงพระเจ้าแทน
ศาสนาแทบไม่ได้ช่วยให้พวกเธอปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรเลย พวกเธอยังคงฆ่าแกงกัน กล่าวประณามกันและกัน โยน “ความผิด” ให้แก่กันและกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ‘ศาสนา’ ของพวกเธอเองนั่นแหละที่เกื้อหนุนให้พวกเธอมีพฤติกรรมอะไรแบบนี้
📌 ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา ฉันเพียงสังเกตเห็นว่าพวกเธอบอกว่าต้องการไปที่หนึ่ง — แต่ศาสนากลับพาพวกเธอไปอีกที่
เวลานี้เธอบอกว่าเธออยากให้ ‘การแต่งงาน’ พาเธอสู่ดินแดนแห่งความสุขชั่วนิรันดร์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็นำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคงและความสงบสุขทางใจตามสมควร
แต่ประดิษฐกรรมที่เรียกว่าการแต่งงานของพวกเธอนั้นกลับไม่ต่างไปจากศาสนาที่ทำหน้าที่ได้ดีในช่วงต้น (ในช่วงเวลาที่เธอมีประสบการณ์ถึงมันในช่วงแรกๆ) และก็ไม่ต่างจากศาสนาอีกที่เธอยิ่งอยู่กับประสบการณ์ (การแต่งงาน) นี้นานเท่าไหร่ มันยิ่งพาเธอไปยังที่ที่เธอบอกว่าเธอไม่อยากไปมากเท่านั้น
คนเกือบครึ่งหนึ่งที่แต่งงานตัดสินใจหย่าร้าง ส่วนคนมากมายที่ยังมีชีวิตสมรสอยู่ก็อยู่ในภาวะไร้สุขอย่างสิ้นหวัง
“ความสุขล้นจากการร่วมชีวิต” กลายเป็นความข่มขื่น โกรธขึ้ง และผิดหวังเสียใจ มีบ้าง (ซึ่งจำนวนก็ไม่น้อยเลย) ที่นำพาตัวเองสู่โศกนาฎกรรมอย่างสิ้นเชิง
เธอบอกว่าเธออยากให้ ‘รัฐบาล’ รับประกันสันติภาพ อิสรภาพ และความสงบภายในประเทศ ซึ่งฉันก็สังเกตเห็นว่า รัฐบาลที่พวกเธอก่อตั้งขึ้นมาไม่ได้ทำเรื่องอะไรพวกนี้เลย กลับกันพวกเขาพาเธอเข้าสู่สงคราม เพิ่มการ ‘จำกัด’ เสรีภาพ เพิ่มความรุนแรงและสร้างความวุ่นวายภายในประเทศมากขึ้นด้วยซ้ำ
1
แค่ปัญหาพื้นฐานอย่างการจัดหาอาหารแก่ผู้ยากไร้และทำให้ประชากรมีสุขภาพแข็งแรงพวกเธอก็ยังหาทางแก้กันไม่ได้เลย ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องความท้าทายของการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมให้กับผู้คน
1
ผู้คนบนโลกเป็นร้อยเป็นพันต้องอดตายในแต่ละวัน ในขณะที่คนนับพันนับหมื่นทิ้งขว้างอาหารในแต่ละวันในปริมาณที่มากพอจะเลี้ยงดูผู้อดอยากได้ทั้งประเทศ
พวกเธอแก้ปัญหาง่ายๆอย่างการนำของเหลือกินเหลือใช้จาก “ผู้มั่งมี” มาเจือจานแก่ “ผู้ยากไร้” ยังไม่ได้เลย ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องว่าพวกเธอจะ ‘ต้องการ’ แบ่งปันทรัพยากรของตนอย่างซื่อตรงให้มากขึ้นได้หรือเปล่า
📌 ทั้งหมดนี้ ‘ไม่ใช่การพิพากษา’ แต่เป็นสิ่งที่ “เป็นความจริงซึ่งสังเกตเห็นได้” จากสังคมของพวกเธอ
N : ทำไมล่ะครับ❓ ทำไมมันถึงเป็นแบบนี้❓ ทำไมพวกเราถึงแทบไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลยในการแก้ปัญหาของพวกเรากันเองในช่วงหลายปีมานี้❓
G : หลายปีหรือ❓ หลายร้อยปีดีกว่าไหม
N : โอเค หลายร้อยปีก็ได้ครับ
G : มันเกี่ยวกับ ‘มายาคติแรกเริ่มทางวัฒนธรรมของมนุษย์’ (คือมายาคติแรกที่เกิดขึ้น) จากนั้นมายาคติอื่นที่เหลือทั้งหมดจึงเกิดขึ้นตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถ้ามันยังไม่เปลี่ยน ทุกอย่างก็จะไม่มีวันเปลี่ยน
เพราะ ‘มายาคติทางวัฒนธรรม’ จะปูทางไปสู่ ‘ระบบศีลธรรมจรรยา’ — และ ‘ระบบศีลธรรมจรรยา’ ก็จะหล่อหลอมขึ้นเป็น ‘รูปแบบทางพฤติกรรม’ (ที่พวกเธอปฏิบัติต่อกันและกัน)
ทว่าปัญหาอยู่ตรงที่มายาคติทางวัฒนธรรมของพวกเธอนั้นแตกต่างจาก ‘สัญชาตญาณขั้นพื้นฐาน’ ของพวกเธอ
N : หมายความว่ายังไงครับ❓
G : มายาคติแรกเริ่มทางวัฒนธรรมของพวกเธอก็คือ “โดยเนื้อแท้แล้วมนุษย์นั้นชั่วร้าย”★ นี่คือมายาคติว่าด้วย ‘บาปกำเนิด’ มายาคตินี้ไม่เพียงบอกว่าพวกเธอมีธรรมชาติพื้นฐานที่ชั่วร้ายเท่านั้น แต่พวกเธอยังเกิดมาพร้อมกับมันอีกด้วย
★ส่วนมายาคติทางบ้านเราก็จะใช้คำว่า ‘กรรมเก่า’ พวกเราต้องเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม — แอดมิน
มายาคติทางวัฒนธรรมที่ตามมา ที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่พ้นจากมายาคติแรกเริ่มก็คือ “ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด” เท่านั้นถึงจะอยู่รอด
มายาคติข้อนี้บอกว่า : พวกเธอบางคนแข็งแกร่ง บางคนอ่อนแอ และเพื่อที่จะอยู่รอดให้ได้ พวกเธอต้องเป็นหนึ่งในคนที่แข็งแกร่ง พวกเธออยากช่วยเหลือใครอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องความอยู่รอดของตัวเองแล้วล่ะก็ พวกเธอจะต้องดูแลตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก แม้ว่าพวกเธออาจจะต้องปล่อยให้คนอื่นตายไปเพื่อความอยู่รอดของตัวเองก็ตาม
และแน่นอนว่าพวกเธอยังทำมากยิ่งกว่านั้นอีก นั่นคือ หากพวกเธอคิดว่าจำเป็นต้องทำเพื่อให้ตัวเองและพวกของตัวเองอยู่รอด พวกเธอก็จะต้องฆ่าคนอื่น (ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ “อ่อนแอ” กว่า) เพื่อที่พวกเธอจะได้เป็น “ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด”
พวกเธอบางคนบอกว่านี่คือ ‘สัญชาตญาณขั้นพื้นฐาน’ ของพวกเธอ ซึ่งถูกเรียกว่า “สัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอด” มายาคติทางวัฒนธรรมข้อนี้เองที่หล่อหลอมระบบศีลธรรมจรรยาทางสังคมส่วนใหญ่ของพวกเธอขึ้นมา ก่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมแบบกลุ่มที่หลายหลายขึ้น
1
ทว่า “สัญชาตญาณขั้นพื้นฐาน” ของพวกเธอนั้น 💢‘ไม่ใช่’ การอยู่รอด💢
แต่เป็น :
▶️‘ความยุติธรรม’
▶️‘ความเป็นหนึ่งเดียวกัน’ และ
▶️‘ความรัก’
💥 นี่คือ “สัญชาตญาณขั้นพื้นฐานของสรรพชีวิตในทุกแห่งหน”
💥 คือ “ความทรงจำในระดับเซลล์”
💥 และคือ “ธรรมชาติที่แท้จริงของพวกเธอ”
ด้วยเหตุนี้มันจึงทำลายมายาคติแรกเริ่มทางวัฒนธรรมของพวกเธอลง พวกเธอ ‘ไม่ได้’ มีพื้นฐานที่ชั่วร้าย พวกเธอไม่ได้เกิดมาพร้อมกับ “บาปกำเนิด”
เพราะหาก “สัญชาตญาณขั้นพื้นฐาน” ของพวกเธอคือ “การอยู่รอด” และหากธรรมชาติขั้นพื้นฐานของพวกเธอนั้น “ชั่วร้าย” พวกเธอจะไม่พุ่งตัวออกไป ‘โดยสัญชาตญาณ’ เพื่อรับตัวเด็กที่ตกจากที่สูง เพื่อช่วยคนที่กำลังจมน้ำ หรือเพื่อช่วยใครจากอะไรก็ตาม
แต่ทว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเธอกระทำไปตามสัญชาตญาณขั้นพื้นฐานและแสดงธรรมชาติขั้นพื้นฐานนี้ออกมาโดยไม่ได้ ‘คิดอะไร’ เกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ เมื่อนั้นพวกเธอก็จะแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมาโดยทันที ‘แม้ว่าพฤติกรรมเหล่านั้นจะทำให้ตัวเองต้องตกอยู่ในอันตรายก็ตาม’
เพราะฉะนั้นสัญชาตญาณ “ขั้นพื้นฐาน” ของพวกเธอจึงไม่มีทางเป็น “การอยู่รอด” ไปได้ และก็ชัดเจนว่าธรรมชาติขั้นพื้นฐานของพวกเธอนั้นก็ไม่ได้ “ชั่วร้าย”
💥 สัญชาตญาณและธรรมชาติของพวกเธอมีไว้เพื่อสะท้อนถึง 🔸แก่นแท้แห่งตัวตนที่พวกเธอเป็น🔸 ซึ่งก็คือ ‘ความยุติธรรม’ ‘ความเป็นหนึ่งเดียวกัน’ และ ‘ความรัก’
เมื่อดูจากความหมายในทางสังคมแล้ว เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจความต่างระหว่าง “ความยุติธรรม” และ “ความเท่าเทียม”
สัญชาตญาณขั้นพื้นฐานของทุกสรรพชีวิตนั้นไม่ใช่การเสาะแสวงหา ‘ความเท่าเทียม’ หรือ ‘ความเสมอกัน’ (หรือความเหมือนกัน) ซึ่งจริงๆแล้วต้องเป็นไปในทางตรงกันข้าม
🔸สัญชาตญาณขั้นพื้นฐานของทุกชีวิตคือการแสดงออกถึง ‘ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว’ ไม่ใช่ความเหมือนกัน🔸
การสร้างสังคมที่ทำให้คนสองคนเท่าเทียมกันหรือเหมือนกันทุกอย่างไม่ใช่แค่เป็นไปไม่ได้ แต่ยังไม่เป็นที่ปรารถนาอีกด้วย
กลไกทางสังคมที่พยายามสร้างความเท่าเทียมที่แท้จริง (พูดอีกอย่างได้ว่า สร้าง “ความเหมือนกัน” ทุกอย่าง ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง และทางสังคม) คือ 💢ความขัดแย้ง💢 (ไม่ใช่เสริมส่ง) 🔸ต่อแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและจุดมุ่งหมายที่สูงส่งที่สุด🔸
ซึ่งก็คือ : ✨ให้แต่ละคนมีโอกาสสร้างผลลัพธ์ตามความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตน ด้วยเหตุนี้จึงจะสามารถสร้างสรรค์ตัวตนขึ้นใหม่ได้อีกครั้งอย่างแท้จริง✨
1
ความเท่าเทียมกันของ 🔸‘โอกาส’🔸 คือความจำเป็นในการนี้ ไม่ใช่แค่ตัวความเท่าเทียมกันเฉยๆ นี่ล่ะที่เรียกว่า ‘ความยุติธรรม’
ความเท่าเทียมกันเฉยๆที่เกิดจากการใช้กำลังภายนอกและกฎหมายบังคับจะ ‘ขจัด’ (ไม่ใช่สร้าง) ความยุติธรรม มันจะ 💢ขจัดโอกาสในการสร้างสรรค์ตัวตนขึ้นใหม่ได้อย่างแท้จริง💢 ซึ่งเป็น “เป้าหมายสูงสุดของสิ่งมีชีวิตที่ตื่นรู้แล้วในทุกแห่งหน”
แล้วอะไรล่ะที่จะ ‘สร้าง’ อิสรภาพแห่งโอกาสขึ้น❓
คำตอบก็คือ ✴️ระบบที่เอื้อให้สังคมตอบสนองต่อความจำเป็นของความอยู่รอดขั้นพื้นฐานให้แก่ทุกผู้คน — เพื่อที่แต่ละคนจะได้มีโอกาสมุ่งสู่การพัฒนาตัวเองและการสร้างสรรค์ตัวเองแทนที่จะเป็นการอยู่รอดของตัวเอง✴️
1
พูดอีกแบบก็คือ เป็นระบบที่เลียนแบบ “ระบบที่แท้จริง” (ที่เรียกว่าชีวิต) ✨ซึ่งรับประกันความอยู่รอดของทุกคน✨
💥เพราะความอยู่รอดของตัวเองไม่ใช่ประเด็นสำคัญในสังคมที่ตื่นรู้แล้ว
💥สังคมเหล่านั้นจะไม่ยอมให้สมาชิกในสังคมคนใดต้องทุกข์ทรมานจากความอดอยากถ้าหากมีทรัพยากรมากพอสำหรับทุกคน
💥ในสังคมเหล่านี้ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมนั้นไม่ต่างกัน
💢 ไม่มีสังคมไหนที่สร้างขึ้นบนฐานของมายาคติว่าด้วย “ความชั่วร้ายโดยธรรมชาติ” หรือ “ผู้แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้นถึงจะอยู่รอด” จะเข้าใจเรื่องนี้
1
...
...
...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา