31 ส.ค. 2021 เวลา 12:25 • สุขภาพ
“การอยากได้ในสิ่งที่ดีที่สุด”
การอยากได้ในสิ่งที่ดีที่สุด อาจทำให้เราทุกข์ใจที่สุด
ประโยคในภาพประกอบบทความนี้
ผมได้มาจากความบังเอิญในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ
ทั้งจากการพูดคุยกับคุณพี่ท่านหนึ่ง (ขณะกำลังรอคิว)
แล้วก็จากการแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานกับรุ่นน้องนักจิตฯ
ซึ่งเหมือนกับทั้งสองคนนัดกันมาเลยครับ 555
เนื่องจากประเด็นในการพูดคุยนั้น
เกี่ยวกับเรื่อง “การอยากได้ในสิ่งที่ดีที่สุด”
โดยผลจากความปรารถนาในสิ่งที่ดีที่สุด
(ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายชีวิตให้ตนเองได้พัฒนาไปจากเดิม)
กลับนำมาซึ่งความกดดันและความไม่มีความสุข
จนทำให้แต่ละคนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า
“ดีที่สุดที่กำลังตามหา มันมีอยู่ไหมนะ ?”
“สิ่งที่เชื่อว่าดีที่สุด อาจทำให้เราทุกข์ใจที่สุด”
การตั้งเป้าหมายให้กับชีวิตของตนเอง
ทั้งการเรียน การทำงาน ครอบครัว
การช่วยเหลือผู้อื่น ชีวิตส่วนตัว ฯลฯ
(ทุกเรื่องในชีวิต)
เป็นธรรมดาครับที่เราอยากให้ชีวิตนั้น
ได้พบเจอกับสิ่งที่ดี
“มีชีวิตที่สมหวัง”
แต่ชีวิตของเราจะพบเจอกับความติดขัดทันทีครับ
หากเราเผลอยึดติดในคำว่า “ดีที่สุด” เอาไว้ตลอด
ซึ่งมันจะทำให้เราไม่ยอมรับ ไม่พอใจ และไม่เป็นสุข
(เนื่องจากเราปฎิเสธทุกสิ่งที่ไม่ตรงกับมาตรฐานในใจ)
แล้วมันก็มักทำให้เรารับรู้ทำนองว่า “ทำไมกูไม่สมหวังเลยวะ”
เหมือนยิ่งใช้ชีวิต ก็ยิ่งพบเจอแต่ความผิดหวัง
จุดนี้แหละครับเป็นโอกาสครั้งสำคัญ
ที่เราอาจจะกลับมาสังเกตตัวเองสักนิดว่า
“ไอ้ดีที่สุดที่ตั้งไว้ มันเกินความจริงไปแค่ไหน”
-หากเราอยู่กับความจริงอย่างตรงไปตรงมา
(เราย่อมยอมรับความจริงของชีวิต แล้วหาทางปรับตัว)
-แต่หากเราอยู่อย่างคาดหวัง อันนี้ก็ต้องมาลุ้นกันหน่อย
(เช่น คาดหวังแบบอยู่ในโลกความเป็นจริง
หรือ คาดหวังแบบอยู่ในโลกของความฝัน)
*ใจที่คาดหวังนั้นจึงเผชิญกับความเสี่ยงครับ
“ถ้าสมหวังก็พอใจ ถ้าผิดหวังก็ช้ำใจ”
ความช้ำใจที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
แล้วก็ดูไม่มีทีท่าว่าจะหยุด
จึงเป็นสัญญาณสำคัญครับ
ที่ชวนให้เราหันกลับมามองการจัดวางใจของตนเอง
เช่น
-เราคาดหวังบ้าง อยู่กับความจริงบ้าง
(อยู่แบบจริงบ้างฝันบ้าง / ดีใจก็มีเสียใจก็มี)
-เราคาดหวังบ่อย แล้วก็ไม่ยอมลดความคาดหวัง
(อยู่แบบยิ่งผิดหวัง ยิ่งคาดหวัง / ยิ่งมีชีวิตกลับยิ่งเจ็บ)
แล้วหากวันใดเรารับรู้ว่า
ยังไปไม่ถึงเจ้าสิ่งที่ดีที่สุดนั่นสักที
(หาไม่เจอ/จับไม่ได้/คว้าไม่ทัน/มองไม่เห็น)
แล้วก็ยิ่งทำให้ผิดหวังต่อไปเรื่อย ๆ
จนเหมือนเริ่มเอะใจแล้วว่า
มันมีอะไรบางอย่างที่ไม่เข้าที่เข้าทางแล้วล่ะ
ซึ่งตรงนี้ชีวิตอาจกำลังสอนบางอย่างให้กับเราครับ ว่า
“ที่มองหานั้นไม่เห็น ที่มองเห็นนั้นไม่ต้องหา”
ด้วยเหตุนี้
สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ก็อาจเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว ณ โอกาสนั้น ๆ
เพียงแค่เราไม่ยอมรับ ไม่ยินดี ไม่ชื่นชม (เพราะมันไม่ตรงใจ)
จนส่งผลให้เราพลาดโอกาส
ที่จะมีความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างทางของชีวิต
(เพราะมัวแต่ไปจดจ่ออยู่กับปลายทางที่ชื่อว่า ดีที่สุด)
ดังนั้น
-การปรับตัวให้อยู่กับความจริง (ที่ไม่ตรงกับใจ)
-การอนุญาตให้ตนเองอยู่กับความจริง (ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน)
“การอยู่กับความจริงตรงหน้า มิใช่อยู่กับความจริงที่อยากได้”
จึงเป็นปัจจัยให้เราได้เปิดใจและโอบรับทุกสิ่งในชีวิต
และยังช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น
“เมื่อใดก็ตามที่ใจเราหยุดต่อต้าน เมื่อนั้นใจเราย่อมพบความสุข” ^^

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา