13 ก.ย. 2021 เวลา 04:00 • ไลฟ์สไตล์
เดาว่า คงมีใครที่เคยมีอารมณ์แบบ อยากกวนประสาทใครซักคน ด้วยการจ่ายเงินเป็นเหรียญทั้งหมด ให้คนๆนั้นลำบากเล่น ทั้งลำบากในการนับ ทั้งลำบากในการเก็บ และขนย้ายไปฝากธนาคาร
อ่าว..จริงๆนะ จะให้ไปชกต่อยกับใคร ก็ใช่ที่ เปลืองเนื้อเปลืองตัวเปล่าๆ คนส่วนมากเลยลงเอยด้วยการจ่ายค่าอะไร ที่เราไม่อยากจะจ่ายด้วยเหรียญแทน อย่างค่าปรับ ค่าอาหาร ค่าของใช้ต่างๆ เอาแบบกวนนิดๆ แต่ก็ไม่ผิดอะไร
ไม่แนะนำให้ทำ แต่ถ้าจะทำก็ต้องรู้ไว้!
แล้วมันจำนวนเท่าไหร่กันละ ที่เราสามารถใช้เหรียญจ่ายค่าโน่นค่านี่กันได้ แบบสบายใจ ไม่ผิดกฏบ้านกฏเรือนใดๆ มาค่ะ จะเล่าให้ฟัง
ทีนี้ถ้ายังจะใช้เหรียญจ่าย แค่ไหนละ ที่มันไม่ผิดกฏหมาย แค่ไหนที่เค้าอนุญาติให้ทำได้ มารู้ก่อนว่าทำไมต้องมีกฏหมายระบุจำนวนที่สามารถจ่ายด้วยเหรียญได้
เคยได้ข่าวบ้างมั๊ยคะ ว่ามีการขนเหรียญจำนวนมาก เพื่อจ่ายค่าปรับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำให้จ่ายเจ้าหนี้ ฯลฯ จนมีข้อถกเถียงขึ้นมาบ่อยครั้งเมื่อถูกปฏิเสธการรับ ซึ่งหากมีการใช้เหรียญชำระหนี้ต่างๆ ในจำนวนที่เกินจากที่กฎหมายกำหนด ผู้รับมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธ โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย ง่ายๆ คือ กฏหมายตัวนี้มีเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งกันนี่ละค่ะ
แล้วจำนวนเท่าไหร่ ในเหรียญแต่ละชนิดที่เราสามารถชำระหนี้ได้ตามกฏหมายกันละ
เหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่เกินจำนวนที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ชนิด-ราคาของเหรียญกษาปณ์ชำระหนี้ได้คราวละ
25 หรือ 50 สตางค์ ไม่เกิน 10 บาท
1 บาท ไม่เกิน 500 บาท
2 บาท ไม่เกิน 500 บาท
5 บาท ไม่เกิน 500 บาท
10 บาท ไม่เกิน 1,000 บาท
และหากมีการใช้เหรียญชำระหนี้ต่างๆ ในจำนวนที่เกินจากที่กฎหมายกำหนด ผู้รับมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธ โดยไม่มีความผิดตามกฎหมายได้เหมือนกันนะคะ
เอาละคะ พอรู้กันแบบนี้แล้ว จะเอาเหรียญไปจ่ายอะไรก็เช็คให้ดีกันก่อนนะคะ เดี๋ยวจะหน้าแตกทั้งขนไป ทั้งขนกลับกันค่ะ😆
เรื่องราวทั้งหมดก็แค่เอามาเล่าสู่กันฟังคะ หยอกๆกันเล่นน่ะค่ะ ไม่มีเจตนาจะให้ใครขนเหรียญไปแกล้งใครค่ะ ทำแบบนั้นมันไม่น่ารักค่ะ
แต่ถ้าเราเป็นแม่ค้า หรือมีตู้หยอดเหรียญ อย่างเครื่องซักผ้า ตู้เติมน้ำ ก็คงต้องขนเหรียญไปทำธุระกันบ้างละน่า เอาว่าให้รู้ว่าแค่ไหนใช้ได้แล้วกันค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา