13 ก.ย. 2021 เวลา 07:41 • ไลฟ์สไตล์
ทำไมเราถึงตัดสินคนจากครั้งแรกที่เจอ ?
รู้จักกับ Anchoring effect ที่เกิดขึ้นจากการปักใจเชื่อข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งไปแล้ว
ปกติสมองของเรามักจะพยายามลดกระบวนการทางความคิดเพื่อหาคำตอบที่สั้นที่สุด
โดยมีแนวโน้มที่จะเชื่อข้อมูลชุดแรกมากกว่าสิ่งอื่นๆ
แต่ Anchoring effect จะเป็นการเรียกอาการที่เป็นผลที่เกิดจากการมีอคติ
และมีวิธีการคิดยึดติดกับสิ่งที่สร้างขึ้นมาเอง ‘จากประสบการณ์ครั้งเเรกมากจนเกินไป’
ถึงเเม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายว่าเขา ‘ควรจะเปลี่ยนความคิดก็ตาม’
Anchoring effect สำคัญยังไง?
อาการของคนที่ปักใจเชื่อ ก่อนที่คนจะมารู้จักตัวตนของเรา คนเรามักจะตัดสินกันตั้งแต่แรกเจอ
ซึ่งข้อเสียของ Anchoring effect คือจะทำให้จมอยู่กับรายละเอียดหรือพลาดมุมมองอันมีค่าอื่นๆ
เพราะถูกชักจูงความคิดและเชื่อครั้งแรกมากจนเกินไป
ตัวอย่างเช่น
อาการ Anchor effect ในการโต้วาที การอภิปราย หรือการ พรีเซนต์ต่างๆ
คุณอาจเคยอยู่ในการชุมนุมที่มีกรอบแนวคิดเดียวอยู่ในหัว
การเริ่มต้นชี้นำบทสนทนาทั้งหมด หรือ การเรียก First impression ทำให้สามารถเรียกกระแสตอนรับและเป็นการเปิดใจคนได้
ซึ่งถ้าหากคุณเริ่มต้นด้วยการสร้างปัญหาให้กับข้อเสนอแนะในช่วงแรก
บางทีจะทำให้การถูกปิดกั้นความคิด แม้ว่าเราจะพูดอะไรต่อไปก็จะไม่ค่อยอยากรับฟังข้อมูลอื่นๆ
สิ่งนี้เริ่มต้นมาจากการมีอคติ
ตัวอย่างที่สอง
เป็นเหตุการณ์ที่เราสามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป นั่นก็คือ
ผู้ใหญ่หลายๆ คนไม่สามารถที่จะมองลูกหลานของตนว่า
‘พวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่’ และ ชอบมองว่า ‘เป็นเด็กน้อยที่ไร้เดียงสา’
ซึ่งด้วยเหตุผลนี่เอง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หลายๆ ครั้ง
ทำให้ไอเดียหรือวิถีการคิดของลูกหลานมักจะถูกพ่อเเม่คนเเสดงถึงความไม่เห็นด้วย
หรือให้น้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะให้ก่อนที่จะฟังเหตุผลของพวกเขา
เพราะว่าพ่อเเม่หลายๆ คนมักจะไม่สามารถทิ้ง first impression ที่พวกเขามีต่อลูกหลานของตัวเองได้
ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิด Anchoring effect บ้างนะ?
‘อารมณ์ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ความสามารถทางปัญญา และ ความมั่นใจที่มากเกินไป’
ยิ่งในโลกของการทำงาน
หากการประชุมหลาย ๆ ครั้ง แต่คนในทีมอาจจะจมปลักอยู่กับแค่แนวคิดเดียว
หรือข้อมูลเพียงด้านเดียวที่สมาชิกที่ได้ปักใจเชื่อไปแล้ว
ทำให้ความคิดเห็นอื่น ๆ ที่อาจจะดีกว่า หรือเวิร์กกว่า ถูกละเลย
#เราจะหลีกเลี่ยงหรือรับมือกับคนที่มี Anchoring effect ได้ยังไงบ้าง?
#เปิดใจและสร้างทัศนคติที่ดี
บางทีเราอาจจะจะเปลี่ยนตัวใครไม่ได้
เราต้องเริ่มเปลี่ยนความคิดที่ตัวเรา
เปิดใจรับฟังให้มากขึ้นเพื่อป้องกันการมีความคิดแบบเดียว
#การพูดด้วยคำถามปลายเปิด
เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น
และมุมมองที่หลากหลายให้ได้มากที่สุด
#สร้างทางเลือกแนะนำมุมมองอื่น ๆ
ต้องสร้างความตระหนักร่วมกันว่า
ไม่ควรปักใจเชื่อในข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง
ก่อนที่จะสรุปความคิด หรือ สรุปประชุม
เราอย่าพึ่งด่วนตัดสินใจอะไร หากเราไม่ได้คิดอย่างรอบคอบ เพราะบางทีเราอาจจะพลาดข้อมูลที่สำคัญที่สุดไปเลยก็ได้นะ
#เกลานิสัยอันตราย
#เกลาไปพร้อมกัน
ติดตามวีดีโอใหม่ๆและคอนเทนต์ดีๆได้อีกหลายช่องทางได้ที่
.
Youtube : Klaoshow
.
Website: เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเกลานิสัยอันตราย
.
Blockdit: Klaoshow
.
- สนใจติดต่อโฆษณาหรือสปอนเซอร์เกลาขอเรทการ์ด -
.
โทร 084-645-9656
อีเมล์: sales@klao365.org

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา