27 ต.ค. 2021 เวลา 09:20 • ความคิดเห็น
ในเรื่องนี้มันมีประเด็นสองอย่างมันทับซ้อนกันอยู่
ระหว่าง “อัญเชิญพระเกี้ยว” กับ “การแบกเสลี่ยง”
จากการสัมภาษณ์ของ นศ. ที่จัดการดูแลเรื่องกิจกรรมนี้ ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่การอัญเชิญ
แต่ปัญหาอยู่ที่วิธีการอัญเชิญ คือ “การแบกหาม”
เนื่องจาก นศ. วิศวะยินยอมมาร่วมแบกน้อยจนถึงขั้นต้องประกาศทั้งมหาวิทยาลัยแต่ก็มีคนสมัครใจมาแบกเพิ่มอีก 5-6 คน จนไม่มีทีมสับเปลี่ยนระหว่างการแบก และเมื่อจะนำรถลากมาใช้ก็ถูกคัดค้านจากคนที่มีอำนาจสูงกว่า ยังคงยืนยันว่าต้องใช้ นศ. แบกหามเท่านั้น
น้ำหนักของเสลี่ยงรวมคนอัญเชิญทั้งชายหญิงที่อยู่ราวๆ 250 กิโลกรัม มันจึงเป็นภาระอันหนักอึ้งสำหรับทีมแบกที่มีทีมเดียว
การที่ผู้จัดไม่สามารถหาคนได้และเปลี่ยนวิธีการอัญเชิญไม่ได้ เลยนำมาสู่การคืนพระเกี้ยวให้มหาวิทยาลัย
ดังนั้นถ้าประเพณีดั้งเดิม ไม่สามารถถ่ายถอดวิธีคิดสู่คนรุ่นใหม่ จนพวกเขายอมเข้าร่วมอย่างเต็มใจได้ และไม่สามารถส่งต่อระบบคุณค่าที่เคยมีในอดีต อีกทั้งยังไม่เปิดพื้นที่ให้กับการปรับเปลี่ยน การไปบีบบังคับคนรุ่นใหม่ให้ทำตาม มันก็ไม่น่าจะใช่สิ่งที่เป็นธรรมเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะในสถาศึกษาที่วัตถุประสงค์คือการพัฒนาระบบคิดและต้องออกไปพัฒนาประเทศในยุคที่โลกแข่งขันกันทางความคิด
นอกจากนั้นยังมีประเด็นในเรื่อง “ความหมายของการแบกหาม” เข้ามาร่วมด้วย
ถ้ายกมาในที่นี้อีกอาจจะยาวเกินไป ถ้าใครสนใจก็ตามอ่านต่อได้ใน link ด้านล่างครับ
โฆษณา