กิจวัตรแห่งการออม ลำดับที่ 2
การออมเงินให้ประสบผลสำเร็จต้องศึกษาพร้อมทั้งปฏิบัติให้เป็นกิจวัตร การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย คือจุดเร่ิมต้นการปฏิบัติกิจวัตรแห่งการออม
การหมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อเพิ่มทักษะการออมเงินนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งแล้ว แต่การกลั่นกรองทักษะที่ดีและเหมาะสมกับตนเองแล้วนำมาปฏิบัติหรือลงมือทำนั้นมีความสำคัญกว่า
จากข้างต้นที่กล่าวมาผู้เขียนขอแจกแจงเพิ่มเติมว่า การออมเงินนี้เป็นทักษะ ย้ำอีกครั้งหนึ่งคะว่าเป็นทักษะ ไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างบังเอิญ แต่เกิดจากการที่บุคคลหาความรู้ด้านต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการออมเงินโดยตรง หรือความรู้ด้านอื่นๆ แล้วนำมาประยุกต์กับการออมเงินให้ประสบผลสำเร็จ อีกทั้งการออมเงินในสมัยปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยออมเงินมากมาย ทั้งจากสถาบันการเงินต่างๆ หรือจากองค์กรที่ทำงาน รวมถึงสวัสดิการจากภาครัฐ ดังนั้น การศึกษาเกี่ยวกับการออมเงิน จึงเป็นการเปิดโอกาสให้กับบุคคลนั้น มีความรู้เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จด้านการออมเงินดังใจปรารถนาที่วางไว้
ส่วนการปฏิบัติหรือลงมือทำ ที่กล่าวว่ามีความสำคัญยิ่งกว่า เพราะหากมีความรู้ มองเห็นถึงความสำคัญของการออมแต่ไม่ลงมือปฏิบัติก็แทบไม่ต่างอะไรกับคนไม่มีความรู้และไม่เห็นความสำคัญเรื่องการออมเงินเลย การปฏิบัติจึงเป็นหนทางสู่ความสำเร็จด้านการออมเงินด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า “ความรู้คือทรัพย์ แต่การปฏิบัติ คือ กุญแจไปสู่ทรัพย์นั้น”
ขอขอบคุณภาพจากหนังสือ เดอะ เมจิก หน้า 17
หากถามว่าแล้วเริ่มปฏิบัติเมื่อใดจึงเหมาะสม คำตอบสั้นๆ คือ ทำทันที เดี๋ยวนี้ ตอนนี้
หากผู้อ่านมีคำถามว่า อยากปฏิบัติแต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อน หรือเริ่มต้นได้อย่างไร ทั้งกับคนที่ระดับมีความรู้ด้านการออมเงินหลากหลาย ไปจนถึงคนที่ไม่มีความรู้ด้านการออมเงินเลย
คำตอบที่สั้นที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นที่ดิฉันมั่นใจว่าหากเริ่มทำ คนที่ไม่เคยมีเงินออมเลยเงินออมก้อนแรกจะเกิดขึ้นได้ ส่วนคนที่มีเงินออมแล้วเงินออมจะงอกเงยเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนแรกที่ลงมือปฏิบัติ คือ เริ่มต้นจากการทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย เพราะคุณจะรู้ได้ทันทีว่าเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันส่วนไหนสามารถจัดสรร เพื่อนำมาเก็บออมได้ แม้แต่เพียงวันละบาท ก็ตกปีละ 365 บาท บางคนอาจว่าน้อย แต่เชื่อเถอะคะว่าบางคนเปิดสมุดบัญชีมา ยังมีเงินคงเหลืออยู่ไม่ถึง 365 บาทคะ ดังนั้นอย่างดูถูกเงินบาทเป็นอันขาดคะ อย่างน้อยก็สร้างมหัศจรรย์การออมเงินให้เกิดขึ้นได้ ดังสำนวนไทยโบราณกล่าวไว้ “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท...” ตามนั้นเลยละคะ
ขอขอบคุณภาพจาก https://en.islcollective.com/english-esl-powerpoints/grammar/present-simple-tense/present-simple-treasure-hunt/67118
หากกล่าวถึงหน้าที่ของบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่โดดเด่นที่สุด คือ เป็นแผนที่นำทางเพื่อการบริหารจัดการการเงินของบุคคลนั้น หากคุณบันทึกจนมีข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ขอรับรองว่าคุณมีแผนที่ขุมทรัพย์ในมือแล้ว เหลือเพียงแค่คุณมั่นใจและกล้าหาญที่จะออกเดินทางตามล่าขุมทรัพย์ที่เป็นของคุณตั้งแต่แรกแล้วหรือยัง?
หากพร้อมแล้ว ติดตามตอนต่อไปนะคะ
ขอบคุณผู้อ่าน
ออมกิจวัตร
โฆษณา