Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธรรมชาติ ธรรมดา
•
ติดตาม
29 ต.ค. 2021 เวลา 01:00 • ปรัชญา
แข่งอะไรก็แข่งได้ แต่แข่งบุญแข่งวาสนาไม่ได้จริงหรือ?
2
ทำไมคนเราเกิดมาต่างกัน บางคนรวย บางคนจน บางคนสบาย บางคนลำบาก
1
ทำไมบางคนอยากทำอะไรทำได้เลย ขณะที่บางคนต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก
คำว่า ‘วาสนา’ ในทางพุทธ แปลว่า อยู่ตัว
คือการทำสิ่งใดเรื่อยๆ จนอยู่ตัว หรือทำจนเกิดความเคยชิน นั่นเรียกว่าวาสนา
ใครมีความเคยชินอย่างไรก็ถือเป็นวาสนาของผู้นั้น
โดยการกระทำอันจะนำไปสู่การเกิดเป็นวาสนานั้น เริ่มตั้งแต่ ‘อัธยาศัย’ คือภาวะที่อาศัยอยู่กับจิตใจ ดึงจิตใจให้เกิดความมุ่ง หรือน้อมจิตให้เกิดเจตนาในการกระทำของเรา หากมีอัธยาศัยดี สิ่งที่แสดงออกมาก็กระทำไปในทางดี ส่วนหากมีอัธยาศัยทางเลว ก็มักแสดงออกไปในทางนั้น
แล้วการกระทำของเราที่เกิดจากอัธยาศัย ทำบ่อยเข้าก็จะเรียกว่า ‘นิสัย’
หากทำนิสัยต่อไปเรื่อยๆ มันจะเข้มข้นขึ้น ก่อเกิดเป็น ‘อุปนิสัย’
ทำต่อไปอีกจนเกิดความเคยชินมากๆก็กลายเป็น ‘สันดาน’ จนมันอยู่ตัวเกิดเป็น ‘วาสนา’
ถึงตรงนี้เราจึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าวาสนานั้นแก้ได้ เพียงแต่ต้องอาศัยความพยายามเป็นแรงผลักดันอย่างมาก
บางคนทำเพียงแค่ยอมรับวาสนาของตน หากเกิดมาฐานะความเป็นอยู่ไม่ดี โดนผู้คนดูถูก ก็ก้มหน้าก้มตายอมรับ คิดว่าวาสนาไม่ดี ทำอะไรไปก็ไม่เกิดผล หมดความพยายาม เกิดความท้อแท้ในวาสนาของตน ชีวิตก็เป็นอยู่เหมือนเดิม
ขณะที่บางคนไม่ยอมแพ้ แม้เกิดมามีสภาวะเดียวกัน แต่พยายามทำชีวิตของตนให้ดีขึ้นจนประสบความสำเร็จได้
หากมองว่าเป็นเรื่องบังเอิญ เป็นเรื่องของวาสนาที่มีมา ก็คงไม่ต้องพยายามทำอะไร รอคอยบุญพาวาสนาส่งช่วยผลักดันชีวิตเพียงเท่านั้น
แต่ทุกอย่างล้วนมีเหตุปัจจัย ได้รับสิ่งนี้เพราะจากเหตุแห่งสิ่งนี้ ดังนั้นจงลงมือทำเพื่อผลลัพธ์ที่ต้องการ
วาสนานั้นสร้างได้ด้วยตัวเราเอง หากสะสมวาสนาไปในทางที่ดีจะก่อเกิด ‘บารมี’ แก่คนผู้นั้น อันหมายถึงสิ่งที่ดีเลิศ สิ่งที่ประเสริฐ แต่หากสะสมในทางไม่ดี จะก่อเกิด ‘อาสวะ’ อันหมายถึงสิ่งที่หมักหมมอยู่ในใจ
คนที่เคยชินกับการปรุงแต่งที่ไม่ดี ไปอยู่ตรงไหนก็เก็บเอาอารมณ์ที่ผ่านมา อันกระทบผ่านผัสสะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็มาครุ่นคิด จนเกิดกระทบกระทั่งใจตัวเอง เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจขึ้น
ทีนี้เรารู้ตัวมีสติให้ยั้งทันที เกิดความคิดอะไรไม่ดีก็ให้หยุด แล้วเอาสติไปจับระลึกในสิ่งดีขึ้นมาแทน ทำจิตใจให้สบาย ปรุงแต่งในทางที่ดี คิดในทางที่ดี
ต่อไปเราก็จะชิน พอไปที่ไหนจิตก็สบาย นึกถึงเรื่องที่ดีๆ มีความสุขออกมาได้
หากอยากสร้างวาสนาในทางที่ดีได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ ที่เรียกว่า ‘ธรรมสมาธิ 5’ อันเป็นตัวแสดงว่าเราปฏิบัติธรรมมาอย่างถูกต้อง ดังนี้
1. ปราโมทย์ คือความร่าเริงเบิกบานใจ
2. ปีติ คือความอิ่มใจ ความปลื้มใจ
3. ปัสสัทธิ คือความสงบเย็นผ่อนคลายกายใจ
4. สุข คือความคล่องโปร่งใจ
5. สมาธิ คือความมีใจแน่วแน่ สงบ มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่ถูกอารมณ์ต่างๆ มารบกวน
หากเกิด 5 สิ่งนี้กับตัวเราได้ ปัญญาจะผ่องใส ชีวิตจะเจริญงอกงามและมีความสุข
จงพยายามแก้ไขวาสนาที่ไม่ดี พยายามปรับปรุง และสร้างวาสนาในทางที่ดี ด้วยการตั้งใจทำจิตใจให้เกิดเป็นกุศลอยู่เสมอ ยิ่งทำจะยิ่งเคยชินจนเกิดวาสนาที่ดี ก่อเกิดเป็นบารมีของคนๆนั้นในที่สุด
พระพุทธเจ้าสอนให้เราใช้ความสามารถในการปรุงแต่งสุข แทนที่จะปรุงแต่งทุกข์ ปรุงแต่งกุศลแทนที่อกุศล หากสร้างกุศลให้เกิดในใจได้จะเกิดสภาพจิตที่ดีอย่างยิ่ง ส่งผลให้เกิดความทุกข์น้อยลงจนหมดสิ้นได้
ดังนั้นคำว่า แข่งอะไรก็แข่งได้ แต่แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งกันไม่ได้นั้น ถือว่าไม่เป็นความจริง และแม้ว่าวาสนาสร้างได้ เราก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปแข่งวาสนากับใคร เพียงทำตัวเราให้ดี ให้เกิดกุศล ผู้นั้นเองที่จะได้รับความสุขและสิ่งดีๆเกิดขึ้นในชีวิต
ธรรมะ
พัฒนาตัวเอง
พระธรรมคำสอน
2 บันทึก
11
5
2
11
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย