6 พ.ย. 2021 เวลา 16:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยี 5 มิติเขาทำได้ยังไง?
ซึ่งเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลแบบใหม่นี้ไม่กลัวไฟดับ Server พัง แถมยังเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าไปไว้ในตัวกลางที่ใช้เก็บข้อมูลขนาดเล็กนิดเดียวได้
2
แผ่นกระจกขนาดเท่าเหรียญบาทนี้เก็บข้อมูลคัมภีร์ไบเบิลเอาไว้
หลายคนคงจะเห็นข่าวที่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Southampton ในประเทศอังกฤษได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่น Blue-ray ถึง 10,000 เท่า
โดยสามารถบันทึกข้อมูลกว่า 500 terabytes ลงไปในแผ่นกระจกตัวกลางที่ใช้เก็บข้อมูลขนาดเท่าแผ่น CD
เทคโนโลยีนี้ทีมวิจัยเรียกมันว่า Five-dimensional (5)D optical storage การบันทึกข้อมูลแบบ 5 มิติด้วยแสง แล้วมัน 5 มิติได้ยังไง?
สี่เหลี่ยมที่เห็นฝังอยู่ในแผ่นกระจกเก็บข้อมูลนี้แต่ละอันมีขนาดเพียง  8.8 X 8.8 ม.ม. แต่เก็บข้อมูลได้มากถึง 6 GB
เทคโนโลยีนี้ใช้แสงเลเซอร์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า femtosecond laser ยิงเข้าไปในเนื้อแก้วเพื่อใช้เขียนข้อมูลลงไปในโครงสร้างขนาดจิ๋วที่เกิดขึ้นจากการโดนเลเซอร์ยิง (เทคนิคเดียวกับการแกะสลักรูป 3 มิติไว้ข้างในคริสตัลนั่นเอง)
หลายคนคงเคยได้ของที่ระลึกในลักษณะนี้กันอยู่บ้าง
แต่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือการเขียนข้อมูลจะทำการยิงซ้อนเป็น 3 ชั้นบางเฉียบ แต่ละชั้นห่างกัน 5 ไมครอน เกิดเป็นแผ่นชั้นข้อมูลที่มีจุดต่าง ๆ เรียงกันเป็นแผ่นจุดตารางซ้อนกัน
ซึ่งแต่ละจุดนั้นจะเกิดจากการยิงเลเซอร์ด้วยความเข้มไม่เท่ากันรวมถึงการใช้เลเซอร์แบบโพลาไรเซชันในการบันทึกข้อมูล
ข้อมูลตำแหน่งจุด 3 ชั้นประกอบกับความเข้มของจุดกับการมีขั้วของแสง (Polarization) จึงทำให้เกิด 5 ตัวแปรในการเก็บข้อมูล
ดังนั้นแล้วเมื่อรวมข้อมูลตำแหน่งของจุดในเนื้อแก้วแบบ 3 มิติรวมกับความเข้มและ Polarization ของเลเซอร์ที่ใช้บันทึกข้อมูลจึงทำให้มี 5 มิติตัวแปรในการเก็บข้อมูลทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้หนาแน่นมาก และเป็นที่มาของเทคโนโลยี 5D optical storage นั่นเอง
แต่เทคโนโลยีนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนพัฒนา โดยปัจจุบันความเร็วในการบันทึกข้อมูลยังอยู่แค่เพียง 230 kbps เท่านั้นเอง กว่าจะเขียนข้อมูล 500 TB ตามข่าวเสร็จนี่คงรอกันนานทีเดียว ^^''
1
รวมถึงยังไม่มีข้อมูลความเร็วในการอ่านข้อมูลด้วย ทั้งนี้ถ้าข้อมูลเก็บไว้เยอะมากแต่อ่านได้ช้าก็ลำบากในการใช้งานอยู่
1
ด้วยลักษณะการเก็บข้อมูลแบบนี้จะเห็นได้ว่าแทบไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลหายแบบที่บันทึกในเทปแม่เหล็ก หรือ CD ลอกแบบเมื่อก่อน เพราะมันเป็นจุดโครงสร้างอยู่ในเนื้อกระจกที่เก็บข้อมูลเลย ระวังก็แค่อย่าทำแผ่นกระจกแตกก็พอ
3
รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องการเผลอเขียนข้อมูลทับของเก่าเพราะมันเขียนแบบถาวรเลย แถมยังใช้พลังงานในการเก็บรักษาข้อมูลต่ำมากอีกด้วย จริง ๆ เขียนเสร็จเก็บใส่คลังลืมได้เลย
1
เท่าที่ดูเทคโนโลยีนี้เหมาะกับการบันทึกข้อมูลเก็บใส่เซฟไว้เรื่อย ๆ คงไม่น่าจะเหมาะเอามาใช้กับ Cloud data center ได้ ยกเว้นว่าการอ่านและเขียนข้อมูลพัฒนาจนอ่านและเขียนได้เร็วกว่ารูปแบบที่ใช้กันอยู่ตอนนี้
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา