10 พ.ย. 2021 เวลา 21:14 • ความคิดเห็น
• ผมคิดว่า "การติดอธิบาย" เป็นทักษะที่ดีอย่างหนึ่งของผู้ที่จะให้ความรู้กับผู้อื่นได้ เช่น ครู-อาจารย์ หรือ อื่นๆ แค่บางทีคุณอยู่ผิดกลุ่ม ผู้ฟังไม่ตรงกับเรา ทำให้เราเสียความมั่นใจ และไม่ได้พัฒนาทักษะนี้ต่อไป
2
• แต่ผมจะขออนุญาตแชร์จากประสบการณ์ตัวเองบางเหตุการณ์ที่แตกต่าง ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ แต่ได้ผลสำหรับตัวเอง มีความสุขดีครับ
1
• บอกตัวเองเสมอว่า ถ้าเราเป็นคนที่ไม่ใช่ จะอธิบายแทบตาย ร้องไห้ฟูมฟายจะเป็นจะตายอย่างไหร่เค้าก็ไม่เห็นใจและสงสารเราหรอก (คิดในใจ)
5
• ผมมักจะพูดสั้นๆ ให้คิด: ก็คิดพิจารณาเอาเองหล่ะกัน อธิบายไปก็เท่านั้น แต่สงสัยตรงไหนก็ถามได้ ยินดีตอบ ถ้าเห็นใจกันแล้วก็จะเข้าใจเอง ยกเว้นเรื่องมันเกี่ยวกับการทำงาน กฎหมาย เรื่องที่สำคัญต้องอธิบายให้ชัดเจนครับ
2
• เปลี่ยนกลุ่มคนฟังถ้าเป็นไปได้ บางคนเราอธิบายจนรู้ไส้รู้พุงเราหมด เอาเราไปนินทาต่อ หรือ แซะเราภายหลังได้อีก อันนี้คือแย่มาก ผมเชื่อว่ายังมีคนรับฟังเราเสมอ เจอปัญหาเหมือนกัน (ไม่ได้มีคนเกลียดเราหมดใช่มั้ย) ไม่ต้องมากแค่ขอให้มีบ้างก็พอ เล่าแค่พอสบายใจและค้างไว้ติดตามต่อ Ep. หน้าก็ได้ เรายังเจอกันอีกนาน
2
• เรื่องที่เรารู้คนอื่นๆ อาจจะไม่ได้อยากรู้เหมือนเราก็ได้ แม้เป็นเพื่อนสนิทก็ตาม พูดไปจะกลายเป็นพวกอวดรู้ หรือ เพ้อเจ้อไปได้ ส่วนตัวแค่เกริ่นนำหัวเรื่องเหมือนโฆษณา ถ้าไม่มีใครถามต่อก็ไม่ต้องพูดต่อ (ผมฝึกยากกว่าจะทำได้ อารมณ์คนอยากเล่า)
3
***คำพูดที่ผมใช้เป็นประจำคือ "พี่อยากรู้เรื่องนี้จริงๆ เหรอ" "พี่มีเวลาให้ผมเท่าไหร่" "เรื่องมันยาวนะครับ" "แต่ฟังจากผมจบเลย ประหยัดเวลา" "งั้นผมจะสรุปให้ฟัง" "พี่สามารถไปหาข้อมูลเพิ่มได้ที่..." "พี่มีประเด็นไหนที่สนใจเป็นพิเศษมั้ย" มันทำให้ผมเจอผู้ฟังตัวจริงและผมใช้พลังงานไม่สูญเปล่าครับ
4
โฆษณา