22 ธ.ค. 2021 เวลา 13:00 • ไลฟ์สไตล์
■ เกลียดเทศกาลคริสต์มาส!
เหตุผลที่การเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสในญี่ปุ่นมีความแปลกและดูคึกคักเกินไป
เมื่อสิ้นสุดเทศกาลฮาโลวีน ก็ถึงเวลาที่สังคมโลกต้องมาหัวหมุนกันต่อในช่วงสิ้นปี เพราะอีกไม่กี่อึดใจโลกก็จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาสแล้วนั่นเอง
แน่นอนว่ามีผู้ที่ยังจดจำช่วงวัยเด็กที่ได้รับของขวัญในวันคริสต์มาส อีกทั้งเป็นวันที่ได้ทานขนมเค้กและได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว แต่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขากลับรู้สึกอึดอัดต่อการเฉลิมฉลองหรือความสนุกในเทศกาลคริสต์มาส
แล้วมีคนแบบไหนกันบ้างที่เป็นผู้ที่ไม่สันทัดหรือไม่ชอบเทศกาลแห่งความสุขนี้? (หรือบางคนถึงขั้นเกลียด!)
อีกอย่าง การเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสแบบนี้มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบญี่ปุ่นหรือเปล่า?
เราลองมาพิจารณาบางแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทศกาลคริสต์มาสนี้กันเถอะ
■ เหตุผลที่ไม่ชอบคริสต์มาส?
1
หากพูดถึงเทศกาลคริสต์มาส ในญี่ปุ่นจะมีภาพจำว่าเป็นการใช้เวลาอยู่กับคนรักหรือกับครอบครัว
เป็นวันสำคัญที่เราจะได้แลกเปลี่ยนของขวัญกันอย่างสนุกสนาน ได้ทานมื้ออาหารที่อร่อย และใช้เวลากับคนพิเศษ
ในญี่ปุ่น คริสต์มาสเป็นเรื่องของคู่รัก
แต่กระนั้น สำหรับคนที่โตเป็นผู้ใหญ่ซึ่งไม่ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวสักเท่าไหร่และยังไม่มีคนรักด้วยนั้น พวกเขา「กลับถูกมโนคติของสังคมทำลาย ทั้งๆที่ตัวพวกเขาเองไม่ได้ทำเรื่องเลวร้ายอะไรเลย แต่พอใกล้จะถึงเทศกาลคริสต์มาสก็ต้องมารู้สึกเขินอาย ทำตัวไม่ถูก」
1
คิดว่าเรื่องลักษณะนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ใครหลายคนเข็ดขยาดกับเทศกาลคริสต์มาส
1
อีกอย่าง ก็มีคนประเภทที่รู้สึกว่าถึงแม้จะมีคนรัก แต่พอเทศกาลคริสต์มาสมาถึงทั้งที 「การต้องมาเตรียมของขวัญด้วยความเอาใจใส่หรือการต้องไปจองร้านอาหารนั้นมันช่างดูยุ่งยากลำบาก...」 ดังนั้นก็เลยรู้สึกเกลียดเทศกาลคริสต์มาสไปเสียเลย มันก็มีคนคิดแบบนี้ด้วยเหมือนกัน
ก็เข้าใจนะว่าถ้าเป็นวันเกิดหรือวันครบรอบ สำหรับอีกฝ่ายนั้นมันคือวันที่มีความสำคัญ แต่เมื่อเรารู้สึกสงสัยขึ้นมาว่าแล้วคริสต์มาสน่ะจะฉลองไปเพื่ออะไรกันล่ะ? หลายคนก็จะเผลอรู้สึกขึ้นมาทันทีว่าการเตรียมของขวัญอะไรนั่นมันดูวุ่นวายอยู่เหมือนกัน
นอกจากนั้นในทางกลับกันก็ยังมีผู้ที่ไม่ชอบเทศกาลคริสต์มาส「เพราะว่าเกลียดการที่เหมือนกับว่าพวกเขาได้ไปสร้างภาระปัญหาให้กับอีกฝ่ายในการที่จะต้องมาเตรียมการสำหรับเทศกาลนี้ด้วย 」
กล่าวได้ว่า เกือบทั้งหมดของคนที่ไม่ชอบคริสต์มาสมักจะมีเหตุผลแบบนี้อยู่เยอะทีเดียว 「ด้วยเพราะภาพจำของสังคม จึงทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านในเรื่องการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสในฐานะที่เป็นงานกิจกรรมใหญ่งานหนึ่ง」
■ การเฉลิมฉลองในเทศกาลคริสต์มาสของญี่ปุ่นมีความแปลก?
เดิมทีถ้าพูดถึงเทศกาลคริสต์มาส จะเป็นวันเพื่อเฉลิมฉลองการที่องค์พระเยซูคริสต์มาบังเกิดยังโลกนี้ แต่เมื่อมองจากคนต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่ต้นกำเนิดของศาสนาคริสต์ ดูเหมือน「คริสต์มาสแบบญี่ปุ่นได้หยั่งรากลงในฐานะวัฒนธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวไปแล้ว」
พระกุมารเยซูมาบังเกิด
ในญี่ปุ่นทุกวันนี้ การใช้เวลากับคนรักในวันคริสต์มาสได้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ในต่างประเทศเช่นที่สหรัฐอเมริกานั้น ดูเหมือนการได้ใช้เวลาในช่วงเทศกาลคริสต์มาสอยู่กับครอบครัวของตนนั้นดูจะเป็นเรื่องปกติทั่วไป
บรรยากาศคริสต์มาสในต่างประเทศ
เพราะเหตุนั้น ในต่างประเทศ เทศกาลคริสต์มาสจึงมีบทบาทเสมือนกับปีใหม่อย่างในญี่ปุ่นนั่นเอง
ในจุดนี้ เราก็พอจะเข้าใจได้แล้วในเรื่องที่ว่าเทศกาลคริสต์มาสแบบญี่ปุ่นมีการรับรู้และเข้าใจที่แตกต่างไปจากพื้นที่ที่เป็นต้นกำเนิด
อีกอย่าง เมื่อมองจากคนต่างชาติก็ดูเหมือนจะรู้สึกได้ถึงความไม่ตรงกันอีกในเรื่องของการทานไก่ทอดหรือการทานชอร์ตเค้ก(short cake)
ชอร์ตเค้กและไก่ทอด
ถ้าถามว่าทำไม ก็เป็นเพราะว่าอาหารที่ใช้ทานกันมาแต่ดั้งเดิมในเทศกาลคริสต์มาสนั้นไม่ใช่ไก่ทอด หากแต่เป็นไก่งวง และไม่ใช่ชอร์ตเค้ก หากแต่เป็นบุชเดอโนเอล (ฝรั่งเศส : bûche de Noël เค้กขอนไม้)
เค้กขอนไม้
ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิดอะไรทั้งหมดหรอก แต่ก็คงพูดได้ว่าเรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่แทรกซึมมาจากวัฒนธรรมคริสต์มาสแบบดั้งเดิมมาสู่การเป็นวัฒนธรรมในแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น
ในญี่ปุ่น การที่คริสต์มาสเริ่มแทรกซึมมาสู่วัฒนธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวนั้น มาจากเมื่อครั้งที่ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นฝ่ายชนะในสงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย(日露戦争)
สงครามระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซีย
นับจากครั้งนั้น กล่าวกันว่าเทศกาลคริสต์มาสที่แพร่หลายในญี่ปุ่นก็ได้ขยายวงกว้างออกไป ถึงแม้จะเป็นผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์แต่ก็เริ่มหันมาเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสด้วยเช่นกัน
■ การที่ตื่นเต้นเกินไปต่อเทศกาลคริสต์มาสเป็นลักษณะเด่นแบบญี่ปุ่น?
เมื่อเทศกาลคริสต์มาสใกล้เข้ามา เราจะพบเห็นคนที่ตื่นเต้นคึกคักอยู่จำนวนมาก
เหตุใดคนญี่ปุ่นจึงค่อนข้างที่จะตื่นเต้นคึกคักต่อเทศกาลคริสต์มาสถึงเพียงนี้?
เรื่องนี้ดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่ว่าคนญี่ปุ่น「แต่เดิมเป็นพลเมืองที่ชอบงานเทศกาลอยู่แล้ว」
ในช่วงกลางยุคเมจิ คนญี่ปุ่นที่ได้พบเห็นการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสตอนท้ายปีในเขตย่านที่ชาวต่างชาติมาตั้งรกรากอาศัยอยู่ พวกเขาได้แสดงความสนใจว่า 「"ชาวต่างชาติกำลังมีเทศกาลที่ดูช่างน่าสนุกอะไรกันอยู่น่ะ"」 ซึ่งที่สุดแล้ว พอเข้าสู่ช่วงสิ้นสุดยุคเมจิ เทศกาลคริสต์มาสได้กลายมาเป็นกระแสของสังคมซึ่งถือเป็นเทศกาลที่สนุกสนานรื่นเริง
อย่างไรก็ตาม แม้คนญี่ปุ่นจะเชี่ยวชาญการสร้างให้เป็นวัฒนธรรมในแบบเฉพาะของตัวเองจากการที่ได้ซึมซับรับวัฒนธรรมของต่างชาติมาอย่างชาญฉลาดนั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมาเริ่มคิดเริ่มทำในเทศกาลฮาโลวีนหรือจากวันอีสเตอร์แบบในตอนนี้
ปกติคนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ขี้อายและสงบเสงี่ยม แต่พอถึงเวลาเทศกาลล่ะก็ จู่ๆก็จะดีดตัวโพล่ออกมาทันทีอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะทั้งตอนนี้หรือในอดีต
ต่อมา ความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลคริสต์มาสได้เงียบไปช่วงระยะเวลาหนึ่งเนื่องมาจากสงครามแปซิฟิก ภายหลังสงคราม ความรื่นเริงในงานเทศกาลถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่(ความรู้สึกก็เหมือนฮาโลวีนที่ชิบูย่าตอนนี้)
จากนั้น พร้อมๆกับในช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนั้นก็ได้กลายมาเป็นกิจกรรมหลักที่นิยมของเด็ก และผลจากยุคฟองสบู่ จึงทำให้กลายมาเป็นรูปแบบกิจกรรมสำหรับคู่รักที่ยังคงมีให้เห็นอยู่มาจนถึงตอนนี้
ปัจจุบันนี้ซึ่งแม้จะเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่การสำนึกรู้ว่าเทศกาลคริสต์มาสนั้นเป็นกิจกรรมใหญ่กิจกรรมหนึ่งที่จะได้ตั้งใจเตรียมของขวัญหรือจองดินเนอร์และได้ใช้เวลากับคนรักนั้นก็ยังคงไม่เลือนหายไป เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ อาจเป็นเพราะสื่อหรือบริษัทห้างร้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้ากำลังพยายามผลักดันอยู่เบื้องหลังก็เป็นไปได้
และเพราะประเทศญี่ปุ่นมีผู้ศรัทธาในศาสนาคริสต์จำนวนน้อย จึงกล่าวได้ว่าความหมายที่แท้จริงของเทศกาลคริสต์มาสได้เลือนหายไป หลงเหลือไว้แค่เพียงสำนึกในฐานะที่เป็น"กิจกรรมที่สนุกสนาน" เท่านั้น
■ สรุป
เทศกาลคริสต์มาสที่แพร่หลายบนสังคมโลกในฐานะที่เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน
แต่ว่าภายในนั้น คนที่รู้สึกถึงความอึดอัดหรือรู้สึกไม่ชอบเทศกาลนี้ ก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยเลย
คงกล่าวได้ว่าเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องจุดประสงค์แต่เดิมของเทศกาลคริสต์มาสที่ได้เลือนหายไป แล้วได้วิวัฒนาการมาสู่การเป็นวัฒนธรรมที่เฉพาะตัวแบบญี่ปุ่น
และถึงแม้จะเป็นเทศกาลคริสต์มาสก็ตามเราก็ไม่มีความจำเป็นต้องฝืนใช้เวลากับคนรัก รวมถึงไม่มีความจำเป็นต้องเตรียมดินเนอร์ราคาแพงๆ
จงค้นหาการใช้เวลาหรือใช้ชีวิตช่วงเทศกาลคริสต์มาสในแบบที่เป็นตัวคุณโดยที่ไม่ด้อยค่าบรรยากาศแห่งความสนุกสนาน ด้วยการรับคู่ชีวิต(partner)ที่ตัวเราเองคิดว่าอยากจะใช้เวลาด้วยกัน หรือนำเรื่องที่ตัวเองคิดว่าอยากจะทำเข้ามาร่วมด้วย
จะว่าไปแล้วก็เพราะอะไรหลายๆอย่าง คนญี่ปุ่นจึงเป็นชนชาติที่ชื่นชอบงานเทศกาลรื่นเริงนั่นเอง
โฆษณา