29 ธ.ค. 2021 เวลา 11:41 • ประวัติศาสตร์
การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 1
“ข้าว” “ปลา” อาหารหลักของคนอยุธยา
1
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดมหาสมณาราม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ที่มา: ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
  • บันทึกของราชทูต ซิมง เดอ ลา ลูแบร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 เขียนไว้ว่า
“อาหารหลักของชาวอยุธยา คือ “ข้าว” กับ “ปลา” โดยข้าวเป็นพืชผลเก็บเกี่ยวทางเกษตรอันสำคัญของชาวอยุธยาและเป็นอาหารอันดีที่สุดของพวกเขา ทำให้มีกำลังวังชาและพ่วงพี”
3
...
  • บันทึกของ โตเม ปิเรส (Tome Pires) นักเดินทางชาวโปรตุเกส เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขียนไว้ว่า
“อยุธยามีข้าวอุดมสมบูรณ์ มีเกลือ ปลาเค็ม สุรา และผักมากด้วย เคยมีเรือนำสินค้าเหล่านี้มามะละกาถึงปีละ 30 ลำ”
...
  • จึงมีสำนวนโบราณที่ใช้มาถึงปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างว่า “ข้าวปลาอาหาร” หรือ “กับข้าวกับปลา” หรือ “กินข้าวกินปลา”
8
[ข้าวของ #คนสมัยอยุธยา]
ในอดีตมีอยู่ 2 ชนิด คือ ข้าวเหนียวกับข้าวเจ้า
  • สมัยทวารดี มีหลักฐานโบราณคดีบอกว่า คนในภาคกลางกินข้าวเหนียวเป็นหลักและใช้แกลบข้าวทำอย่างอื่น เช่น การก่ออิฐสร้างอาคาร
4
  • สมัยอยุธยา ชาวอยุธยาเริ่มปลูกข้าวเจ้ากิน แต่เริ่มแรกมวลชนส่วนใหญ่ยังติดกินข้าวเหนียวอยู่
4
  • ช่วงแรก “ข้าวเจ้า” หมายถึง ข้าวสำหรับให้เจ้านายกิน ส่วนข้าวเหนียวมองว่าเป็น “ข้าวไพร่”
4
  • ช่วงต่อมา ข้าวเจ้าพอปลูกกันมากขึ้นก็เริ่มตกอับมาเป็นข้าวสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ไม่เกี่ยงว่าคนกินจะเป็นเจ้าหรือไพร่อีกแล้ว จนในที่สุดในภาคกลางเอง ไพร่ก็กินข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียว แต่ข้าวเหนียวยังคงใช้ทำขนมเรื่อยมา
3
  • บันทึกของ ลา ลูแบร์ (อีกแล้ว) มีกล่าวเกี่ยวกับข้าวที่ปลูกในอยุธยาและหัวเมืองว่า
“ข้าวสาลีนั้นมีขึ้นในอยุธยาที่ดอนอันน้ำท่วมไม่ถึง เขาใช้วิธีรดน้ำให้ด้วยกระป๋องน้ำรดต้นไม้เช่นที่ทำกันในสวนของพวกเรา (ชาวยุโรป)…ต้องเอาใจใส่มาก หรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย…จึงยังมีแต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวเท่านั้นที่มีไร่ข้าวสาลีอยู่ และลางทีก็อาจเป็นเพราะทรงเห็นว่าเป็นของแปลกมากกว่าจะทรงนิยมในรสชาติของมันก็เป็นได้ ชาวบ้านเรียกข้าวชนิดนี้ว่า ข้าวโพดสาลี และคำว่าข้าว (Kaou possali) หมายถึง ข้าวเจ้า (Du ris) อย่างเดียว”
1
  • จากบันทึกด้านบนนี้ทำให้เราเห็นว่า ในสมัยอยุธยาก็มีการปลูกข้าวสาลี แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศของอยุธยาไม่เหมาะในการปลูก จะมีแต่กษัตริย์เท่านั้นที่มีไร่ข้าวสาลี ส่วนข้าวทั่วไปที่กินกันเป็นข้าวเจ้าที่เรียกสั้นๆว่า “ข้าว”
3
ที่มา: เว็บไซท์กรมศิลปากร
เขตรอบนอกพระนครเป็นที่ตั้งของท้องทุ่งต่างๆที่ใช้สำหรับปลูกข้าว ได้แก่
• ทิศเหนือของเกาะเมือง “ทุ่งขวัญ” ถึง “ทุ่งลุมพลี”
• ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ “ทุ่งภูเขาทอง” ถึง “ทุ่งบางบาล”
2
• ทิศตะวันตก “ทุ่งวรเชต” ถึง “ทุ่งสาคลี”
• ทิศตะวันตกเฉียงใต้ “ทุ่งปากกราน”
• ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ “ทุ่งทะเลหญ้า” ถึง “ทุ่งมหาราช”
• ทิศตะวันออก “ทุ่งหันตรา” “ทุ่งอุทัย” ถึง “ทุ่งชายเคือง”
• ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา “ทุ่งแก้ว”
• ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา “ทุ่งศรีโพธิ์”
• ทิศใต้ “ทุ่งบางปะอิน” ถึง “บางไทร”
[ปลาในน้ำ แหล่งอาหารหลักของ #คนสมัยอยุธยา]
คนใช้สุ่มจับปลา เครดิตภาพ: จิตรกรรมบนสมุดข่อย ฐานข้อมูล British Library
  • คนสมัยอยุธยากินปลาน้ำจืดที่หาจับได้ตามธรรมชาติในแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะฤดูน้ำหลากจะอุดมสมบูรณ์มีปลาให้กินเยอะ
2
  • คนสมัยอยุธยาจึงมีวิถีชีวิตแบบริมฝั่งแม่น้ำ ปลูกบ้านเรือนยกพื้นสูงเหนือพื้นดินและมีเรือติดไว้ใต้ถุนหรือก็ผูกไว้กับเสาเรือน ลักษณะบ้านแบบนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการใช้ชีวิตในฤดูน้ำหลาก
5
ภาพบ้านของคนสมัยอยุธยา สร้างยกสูงไม่ได้ไว้หนีน้ำ แต่ใช้ประโยชน์ในการจับปลาในช่วงฤดูน้ำหลาก
  • บันทึกของนิโกลาส์ แชรเวส (Nicolas Gervaise) เขียนไว้ว่า
“น้ำท่วมใหญ่ซึ่งดูเป็นที่น่ารำคาญและทำความเสียหายให้ได้มากนี้ กลับนำประโยชน์และความชื่นชอบมาสู่คนอยุธยาเป็นอย่างมาก เพราะมันเหมือนกับแม่น้ำไนล์ คือทำให้พื้นดินอุดมและนำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศ ที่กลัวกันมากก็คือความแห้งแล้งเท่านั้น…
…สิ่งที่ให้ประโยชน์อีกประการหนึ่งในกรณีที่มีน้ำท่วม ก็คือปลาเป็นอันมากและมากเสียจนกระทั่งว่า แม้จะไม่ต้องลงจากเรือน คนหนึ่งๆจะตกปลาได้ภายในหนึ่งชั่วโมง พอใช้บริโภคไปได้หลายวันทีเดียว”
...
  • ส่วนอาหารจากสัตว์น้ำ นอกจากปลาแล้วยังมี กุ้ง หอยนางรม เต่า ปลาไหล
ในส่วนของเครื่องปรุงรสที่สำคัญในการประกอบอาหารของคนสมัยอยุธยา ได้แก่ กะปิ พริก เกลือ
[สำรับและวัฒนธรรมการกินของ #คนสมัยอยุธยา]
ลักษณะการประกอบอาหารของคนอยุธยาเป็นแบบเรียบง่าย ต้มหรือนึ่งให้ร้อนจนได้ที่หรือแกง
1
  • ในน้ำแกงจะประกอบด้วย เกลือ พริกไทย ขิง อบเชย กะเพรา กานพลู กระเทียม หอมขาว จันทน์เทศ (จะเห็นว่ากะเพราเป็นสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการทำอาหารประเภทผัดเหมือนในปัจจุบัน)
3
  • ส่วนต้มหรือนึ่งจะมีน้ำจิ้มทำจากกะปิเตรียมใส่สำรับกับข้าว
2
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดไชยทิศ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ที่มา: ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
  • ในสมัยอยุธยามีจารีตอย่างหนึ่งคือผู้หญิงที่ประกอบอาหารและจัดสำรับกับข้าวแสดงถึงความเป็นกุลสตรี
5
  • ชาวอยุธยาใช้ปลาแห้งตกแต่งเป็นกับข้าวได้หลายสำรับ เช่นการหั่นปลาแห้งเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วจัดเรียงเป็นรูปต่างๆในจานชาม
4
  • ชาวจีนเป็นผู้ถ่ายทอดความชำนาญในการตกแต่งสำรับกับข้าว เช่น แต่งรูปเป็ดเป็นทหาร แต่งสับปะรดเป็นรูปมังกร ตกแต่งขนมปังทำเป็นรูปผลไม้ต่างๆ แล้วแต่งแต้มด้วยสีต่างๆ ให้สวยงามตามรสนิยมความชอบ
1
  • ชาวยุโรปที่มาพบเห็นสำรับกับข้าวที่ตกแต่งสวยๆ ได้นิยามเรียกสำรับอาหารแบบนี้ว่า “อาหารสำหรับดู” (Manager-pour-voir, Schaw-essen)
1
สำรับอาหารของชาวอยุธยา ภาพจิตรกรรมที่วัดเชิงท่า อยุธยา
  • ชาวอยุธยาทั่วไปจะกินข้าว 3 มื้อ ร่วมวงกันมี ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ และลูกหลาน กินร่วมกัน ใช้ภาชนะประเภทดินเผา หรือแบบกระเบื้อง แบบกะลามะพร้าว แบบห่อใบตอง แล้วแต่ครอบครัว
5
  • เมื่อถึงมื้ออาหาร จาน ชาม ถ้วยแกง ตักมารวมกันในภาด เรียกว่า “สำรับ” มีช้อนสำหรับตักแกง (ช้อนกลางสมัยอยุธยาก็เริ่มใช้แล้ว) เวลากินใช้มือรวบข้าวผสมกับข้าว หยิบเข้าใส่ปาก ถ้าเป็นคนจีนจะใช้ตะเกียบ หลังกินเสร็จ จะนำภาชนะไปล้างทำความสะอาด แล้วคว่ำไว้ในครัวจนแห้ง แล้วนำไปเก็บไว้ในชั้นวาง เว้นแต่ผู้ดีหรือขุนนางจะมีการจัดสำรับแยกเป็นพิเศษ
5
จบแล้ว ตอนที่ 1
ติดตามได้ในตอนต่อไป…
...
อ้างอิง:
เดอ ลา ลูแบร์, จดหมายเหตุลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร (นนทบุรี: ก้าวหน้า, 2510) หน้า 65-66, 125
โตเม ปิเรส, “จดหมายเหตุการณ์เดินทางของโตเม ปิเรส ตอนที่เกี่ยวกับสยาม”, แปลโดย พัฒนพงศ์ ประคัลภ์พงศ์ ใน ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา จากเอกสารไทยและต่างประเทศ, วินัย พงศ์ศรีเพียร, บรรณาธิการ (นครปฐม: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2528) หน้า 4
สุจิตต์ วงษ์เทศ, อยุธยายศยิ่งฟ้า (กรุงเทพฯ: มติชน, 2544) หน้า 218
นิโกลาส์ แชรเวส, ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร (นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2550) หน้า 23
เรื่องเดียวกัน หน้า 100, 121, 176
กรมศิลปากร, มรดกวัฒนธรรมไทยสมัยทวารวดีศรีอยุธยา (พ.ศ. 1890-2310) หน้า 175-176
โฆษณา