7 ม.ค. 2022 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
การซื้อสินค้าใกล้หมดอายุกลายเป็นแนวโน้มการบริโภคใหม่ในจีน
เมื่อพูดถึงสินค้าใกล้หมดอายุ (Short shelf- life products) มักจะนึกถึงสินค้าลดราคาเพื่อจำหน่ายในราคาถูก และผู้ที่จัดซื้อสินค้าเหล่านี้มักมีอายุมากและมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันการเลือกจัดซื้อสินค้าใกล้ หมดอายุกลายเป็นกระแสนิยมของผู้บริโภคจีนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จีน กล่าวคือ ผู้บริโภคที่มีอายุ 25-35ปี กลายเป็นกำลังสำคัญในการใช้จ่ายสินค้าที่ใกล้หมดอายุโดยผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไฟล์ ซึ่งสินค้าใกล้หมดอายุก็เป็น hot keyword ถูกค้นหากันทางอินเตอร์เน็ตหลายๆ ครั้ง
สินค้าใกล้หมดอายุเป็นสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ หมายถึง สินค้าที่ใกล้หมดระยะเวลาการกำหนด แต่ยังคงรักษาคุณภาพสินค้าตามเดิมและ ถูกต้องตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังสามารถจำหน่ายในท้องตลาดได้ โดยสินค้าใกล้หมดอายุมักมี ส่วนลดราคาจากเดิมร้อย 50 – 80 ตามลำดับ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจีนได้ออกกฏระเบียบที่เกียวกับการจำหน่ายสินค้าใกล้หมดอายุต่างๆ อาทิ สินค้าผลไม้กระป๋องที่ใกล้หมดอายุมักหมายถึง สินค้าที่มีระยะเวลากำหนดการบริโภคไม่ตำกว่า 45 วัน (ปกติ 365 วัน) สินค้านมสดที่ใกล้หมดอายุมีระยะเวลาฯ ภายใน 15 วัน (ปกติ 60 วัน) ครีมสระผมที่ใกล้หมดอายุมีระยะเวลาฯ ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน (ปกติ 2 ปี) เป็นต้น
นักข่าวของสำนักข่าว China News รายงานว่าสาเหตุที่คนรุ่นใหม่หันมาให้ความสำคัญต่อการใช้จ่ายสินค้าใกล้หมดอายุ คือ สินค้าใกล้หมดอายุมีการคุ้มค่าทางราคาและมีความปลอดภัยด้านคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดในการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ของคนรุ่นใหม่ คือ ใช้ชีวิตอย่างประหยัดและใส่ใจสิ่งแวดล้อม (ลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม) อีกทั้ง ผู้บริโภครุ่นใหม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกสินค้าใกล้หมดอายุง่ายกว่ากลุ่มคนอื่นๆ และมีโอกาศสัมผัสและเลือกซื้อสินค้าเหล่านี้โดยผ่านทางออนไลน์มากกว่าคนอายุมากด้วย ขณะเดียวกัน ผู้คนที่รับรู้ถึงสินค้าใกล้หมดอายุไม่ใช่สินค้าที่มีปัญหาทางคุณภาพมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน
ตัวอย่างเช่น Mr.Zhang Chen ชาวเซี่ยงไฮ้ ให้สัมภาษณ์ของรายการโทรทัศน์แนะนำว่าครอบครัวมีสมาชิก 2 คน หากซื้อสินค้าอาหาร ตามราคาปกติมีค่าใช้จ่ายอยู่ประมาณ 50,000 หยวน/ปี แต่หากเลือกซื้อสินค้าอาหารใกล้หมดอายุ ซึ่งมีราคาเพียงร้อยละ 30-50 ของราคาเต็ม ทำให้ทั้งค่าใช้จ่ายส่วนนี้เหลือเพียง 20,000 หยวน/ปี Mr.Zhang Chen ยังเห็นว่า การเลือกซื้อสินค้าใกล้หมดอายุเป็นวิธีการใหม่ของการดำรงชีวิตและมิได้ทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตลดลงใดๆ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องนี้ และมีความยินดีจะแนะนำ เพื่อนญาติมิตรจัดซื้อสินค้าอาหารใกล้หมดอายุ
รายงานข่าว China News ระบุว่า ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าใกล้หมดอายุในตลาดจีน 3 อันดับแรก ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต แพลตฟอร์มออนไลน์ และร้านค้า Chain Store โดยครองตลาดการจำหน่ายสินค้าใกล้หมดอายุเป็นสัดส่วนร้อยละ
48.7 , 32.2 และ 30.8 ตามลำดับ หากมองในองค์ประกอบของผู้บริโภคนิยมจัดซื้อสินค้าใกล้ หมดอายุ เห็นว่า ผู้บริโภคหญิงมีจำนวนมากกว่าผู้บริโภคผู้ชาย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 63 และร้อยละ 37 ตามลำดับ ด้านการประกอบอาชีพ ผู้ที่มีอาชีพเป็นนักเรียนครองสัดส่วนร้อยละ 82 และผู้ที่ทำงานและผู้ที่เกษียณอายุแล้วมีสัดส่วนร้อยละ 16 ร้อยละ 1 ตามลำดับ ด้านอายุ ผู้ที่มีอายุ 18-30 ปีเป็นกำลังสำคัญในการใช้จ่ายสินค้าใกล้หมดอายุ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86 และอายุ 30-45 มีสัดส่วนร้อยละ 7 ส่วนผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีมี สัดส่วนร้อยละ 2
ทั้งนี้ สำหรับสินค้าใกล้หมดอายุที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ สินค้ายี่ห้อที่มีชื่อเสียงและ เป็นที่ยอมรับทางตลาดอยู่แล้ว ถัดจากนั้นคือสินค้า นำเข้าจากรายงาน “สิ่งควรรู้เกี่ยวกับสินค้าใกล้หมดอายุ” ของแพลตฟอร์ม Taobao สังเกตได้ว่า เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา มีจำนวน 2.1 ล้านคนจัดซื้อสินค้าใกล้หมดอายุโดยผ่านแพลตฟอร์มทางออนไลน์ และจำนวนนี้จะมีการขยายตัวร้อยละ 15 ต่อปี
นอกจากนี้ ข้อมูลวิจัยขององค์การ AI media consulting แสดงให้เห็นว่า ปี 2020 มูลค่าการค้าสินค้าอาหารของว่างในจีนสูงถึง 3 ล้านล้านหยวน ในส่วนนี้ มีจำนวนร้อยละ 1 อาจต้องจำหน่ายเป็นสินค้าใกล้หมดอายุ ซึ่งแสดงว่าตลาด สินค้าอาหารของว่างที่ใกล้หมดอายุก็มีมูลค่าสูงถึงหลายหมื่นล้านหยวนเช่นกัน และจำนวนนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงตลาดสินค้าใกล้หมดอายุของจีนมีศักยภาพมหาศาล
ปัจจุบัน ไม่ว่าในซูปเปอร์มาเก็ตหรือร้านค้าทางออนไนล์ต่างๆ ของจีนมักมีการจัดตั้งโซนจำหน่ายสินค้าใกล้หมดอายุ และชาวจีนเริ่มมีความรู้สึกต่อการรับซื้อสินค้าใกล้หมดอายุเปลี่ยนไปมีความเข้าใจมากขึ้น ว่าไม่ใช่พฤติกรรมที่น่าอบอาย กลับเป็นการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ที่ประหยัดและใส่ใจ สิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตของตลาดสินค้าใกล้หมดอายุในจีนแสดงให้เห็นถึงหว่งโซ่อุปทานและ อุปโภคพัฒนาได้อย่างครบวงจร พรัอมกับกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นของภาคการผลิต ยอมส่งผลต่อการจำหน่ายสินค้าปลายทาง ฉะนั้น การส่งเสริมการพัฒนาตลาดสินค้าใกล้หมดอายุ ไม่เพียงแต่เป็นการ แก้ไขปัญหาสินค้าหมดอายุในห่วงโซ่อุปทาน (การผลิตและการจำหน่าย) เท่านั้น หากยังเป็นการใช้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคและแก้ไขปัญหาการสิ้นเปลืองทางทรัพยกร ตลอดจนการลดภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเป็นแนวความคิดที่ดีสำหรับผู้ผลิต ผู้ขายและผู้ส่งออกไทย เพื่อนำมาพัฒนาและรักษาคุณภาพ ของสินค้าให้มีคุณภาพตามที่รัฐบาลจีนกำหนดในช่วงระยะที่ใกล้หมดอายุ
โฆษณา