เรื่องราวของความเจ็บปวด มันอยู่ สองส่วน ความเจ็บปวดที่เกิดจากกาย ที่เรียกว่า เวทนากาย อีกส่วนหนึ่ง คือ เวทนาที่มาจากอารมณ์ ในการที่เราจะเรียนรู้จักเรื่องเวทนา ของอารมณ์ เพื่อให้เกิดสติของจิตเกิดขึ้น แล้วอีกส่วนหนึ่งของเราก็คือจิต ซึ่งเราจะไม่มีทางจะรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเราได้เลย ว่าจิตที่ที่แท้จริงของเรานั้นเป็นอย่างไร เราจึงต้องนำกายมาประพฤติปฏิบัติธรรม มีการอธิฐานในการกระทำ นำกายมานั่งนิ่ง ต่อหน้าพระพุทธ หรือที่เราอธิษฐาน เหมือนอุปโลกน์ สมมุติขึ้นมาก่อนว่าเรานั่งอยู่หน้าพระ กิริยาที่เราใช้ในการศึกษาธรรม ภาวนา เราก็นั่งพับเพียบ นั่งยืดกายให้ตรง กราบพระแล้วอธิษฐาน ของนั่งประพฤติปฏิบัติธรรมตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนเจ้าชายสิทธัตถะกระทำ ที่ท่านไปเรียนเรื่อง ไปดูเรื่องราวของกายฤาษี ท่านก็มากระทำขึ้น ให้กายท่านนิ่ง เมื่อกายท่านนิ่งได้ จิตเค้าก็จะนิ่งตามกาย
เรื่องราวอะไรทำนองนี้ ฤาษีเค้ามีความมีความขันติต่อเวทนากาย เค้าทำกายนิ่ง มุ่งหมายอยากให้มีฤทธิ์ ยังมีความทะเยอทะยาน ในเรื่องราวของฤทธิ์ ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านทำกายนิ่งได้ ท่านก็สังเกตดู ว่าเหมือนกายนิ่ง จิตมันก็นิ่งตามกาย ท่านก็พยายามรักษากายนิ่ง มีอะไรมาทำให้กายไม่นิ่งได้บ้าง ท่านก็สังเกตุดู . ดูไป เพราะมีอารมณ์เกิดขึ้น ท่านก็บังคับทที่กายให้นิ่ง เมื่อกายนิ่งจิตก็จะนิ่งตามกาย แล้วก็สำรวจสังเกต อะไรที่เกิดขึ้นมา มันมีอารมณ์รีอน หงุดหงิดอะไรภายในกาย มีแรงกดแรงดันอะไรเกิดขึ้นมาภายในกาย ให้จิตรับรู้ เวทนาอะไรเกิดขึ้น ก็เพียรรักษากายให้นิ่ง โดยใช้จิตนี้พยายามรักษากายนิ่งไว้ ซึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้น ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจะรู้จักว่าความอดทน จะต้องรักษากายให้นิ่งนั้น มันเป็นอย่างไร แล้วทำไปเพื่อให้เกิดอะไร เรื่องราวการที่เราฝึกหัด ก็เพื่อที่จะดึงจิตให้มารู้จักทุกข์ ทุกข์ของกาย ทุกข์ของอารมณ์
การที่เราอบรม ฝึกหัดจิตของเรา ก็เพื่อให้จิตของเราเท่าทันอารมณ์ มีความขันติต่ออารมณ์ ที่เกิดขึ้นภายในกายนี้ แล้วก็สามารถที่จะละอารมณ์ต่างๆ ชำระสะสางอารมณ์ ที่จะนำพาจิตไปสร้างกรรมด้วยกิริยาของกายวาจาใจ เพราะปกติคนเรานั้นใช้กายเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์ตลอด เมื่อเรามีการฝึกเรื่องของขันติ จิตมีขันติ จิตก็สามารถ ยับยั้งอารมณ์ สลัดอารมณ์ออกไป หากจิตไม่รู้เวทนาอารมณ์นั้นเป็นอย่างไร จิตจะมีปัญญาสลัดอารมณ์นั้นทิ้งไปได้มั้ย ทั้งเรื่องราวของเวทนากาย เวทนาอารมณ์
ถ้าหากจิตเราไม่รู้จัก สติเราไม่ตื่นขึ้นมา จิตของเราไม่ตื่นขึ้นมา เราจะไม่มีทางรู้จัก ว่าอารมณ์ที่ไหลออกมาจากแม่ทั้งสี่นั้นเป็นอะไร มาจากกรรมที่เรากระทำขึ้นจริงมั้ย ก็เลยต้องมีการฝึกหัดปฏิบัติธรรมขึ้น เมื่อเราสามารถทำกายให้นิ่ง จิตให้นิ่งได้ มีความขันติต่ออารมณ์ได้ การที่หยุดยั้งเรื่องราวของอารมณ์ที่พาไปคล้องเวรคล้องกรรม มันก็สามารถกระทำได้มากขึ้น เพราะเราจะเห็นอารมณ์ได้ชัดเจนขึ้น ว่ามันเป็นกรรมอย่างไร
เมื่อจิตเรามีสติมีกำลัง มีความขันติมากขึ้น เราก็สามารถที่จะหยุดยั้งอารมณ์ของเราได้มากขึ้น กรรมที่จะทำตามอารมณ์ก็น้อยลง การเกิดก็ลดน้อยลงไปเรื่อย ความขันติอดทนในเวทนาที่เกิดขึ้น รักษากายนิ่ง เรากสังเกตุสิ่งที่ไกลออกไปจากกาย ไอร้อนอะไรต่างๆ เหมือนเป็นไข้ เหมือนมดกัด ยังกัด นั้นก็เป็นเรื่องราวของอารมณ์ที่ปรุงแต่งกาย (ความจริง ไม่มีมดมียุงอะไรเลย) ขันติที่เราสามารถรักษากายให้นิ่งได้ ก็จะค่อยเกิดคำว่าบารมี ต่อไปเราก็สามารถขันติต่ออารมณ์ จิตก็นิ่งได้ ปลดปล่อยอารมณ์ให้ผ่านไปได้ ก็เหมือนเราปลดเปลี้ยงเรื่องราวของกรรม จะเห็นเป็นเหมือนหมอกควันดำออกๆจากกาย ที่เราไม่เห็นเรื่องราวของหมอกควัน เพราะเรายังทำให้กายนิ่ง จิตนิ่งไม่ได้ นํ้นเอง
ที่จริงแล็วก็เป็นเพราะจิตของเรายังมีกรรมมากมาย ซึ่งเราก็ตีองเพียรกระทำขึ้น เพื่อให้จิตเบาบางจากกรรม เราทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบร้อน เราก็สามารถรู็ว่า กายเบา จิตเบา เบาบางจากกรรมนั้นเป็นอย่างๆ การฝึกหัด เพื่อให้รู้จักอารมณ์ จึงต้องอาศัยการกระทำ ฝึกให้จิตมีความขันติ ต่อไปเราก็จะรู้จักเรื่องราวของกรรมที่เราสะสมไว้กับแม่ทั้งสี่
เมื่อจิตเรามีขันติ มีสติของจิต เราก็จะรู้จักเรื่องราวของอารมณ์ ละอารมณ์ รักษาจิตของตน สลัดอารมณ์ออกไปได้ จิตเราก็เป็นปกติ ผ่องใส
การประพฤติปฏิบัติธรรม อย่ารีบร้อน อย่าอยากรู้ อยากเห็น วางจิตเฉย ขอให้หมั่นเพียรกระทำขึ้น ก็จะค่อยเรียนรู้ขึ้น เรื่องราวการสร้างบุญกุศลตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อช่วยเหลือจิตของตน ไม้ต้องมาเกิดบ่อยๆ เกิดทีไหร่มันก็ทุกข์ มีความเสี่ยงทุกครั้งที่เกิดมา ว่า จิตละจากกายมนุษย์ จะเดินทางไปที่สุขหรือทุกข์ เมื่อกรรมที่เคยกระทำด้วยธาตุทั้งสี่สะสมบันทึกไว้กับแม่ทั้งสี่ มีเพียงกายมนุษย์เท่านั้น ที่สามารถจะนำกายมนุษย์มาแก้ไขเรื่องราว ลบเรื่องสีต่างๆที่เป็นกรรมออกไป ให้ธาตุนั้นขาวบริสุทธิ์ ไม่มีสีของกรรมเลย
การที่เราฝึกหัดประพฤติปฏิบัติธรรม กายนิ่งจิตนิ่งได้ ต่อไปเรามีความขันติ ต่อทุกขเวทนาภายในกาย จิตนิ่งขึ้น อารมณ์สงบขึ้น ก็ไปเราก็ได้เรียนรู้จัก เรื่องราวของของที่ติดอยู่กับแม่ทั้งสี่ ที่ทำให้กายนี้เจ็บป่วย นั้นมันมาจากตรงที่บ้าง เราก็จะค่อยเรียนรู้จัก เรื่องของกรรม ที่คลายของออก ยิ่งเรามาประพฤติปฏิบัติธรรม ขณะที่กายมีอาการเจ็บป่วย ฝืนกายมาประพฤติปฏิบัติธรรม หรือ เราก็จะได้เรียนรู้จักเรื่องราวของคำว่าเจ้ากรรมนายเวร เมื่อเรารู้จัก เราก็จะรู้จักว่า ต้องแก้ไขอย่างไร เช่น ทำบุญอุทิศส่วนกุศล ขมาเจ้ากรรมนายเวร ขออโหสิกรรม
เรื่องราวเหล่านี้ มันก็จะเป็นเรื่องราวของการศึกษา กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งนั้น
ทำไมกายถึงป่วยเจ็บป่วย เราจะรู้จักชัดเจนขึ้นว่า กายเจ็บป่วยเพราะเรามีกรรม จิตป่วยก็เพราะกรรมอีกเหมือนกัน กรรมที่เราไม่รู้จักลดละ ปล่อยวางอารมณ์ กรรมที่เกิดจากการยึดถือสิ่งที่ไม่ควรยึด เอามายึดถือ นำพาวิญญาณร้ายๆ ของไม่ดีมาสู้ จิตเช่นเรื่อวราวของคำว่าไสยศาสตร์ เวทนา คาถาอาคมต่างๆ เราเป็นผู้ที่ไปเสาะแสวงหามาสู่ตัวตนของเราเอง ทำลายตัวเราเองทั้งนั้น
โฆษณา