21 ม.ค. 2022 เวลา 00:29 • สิ่งแวดล้อม
สุดยอด! ทีมวิจัยไทยกับยูทูบเบอร์ชื่อดัง ค้นพบแมงมุมทารันทูลาสายพันธุ์ใหม่ของโลก “ตากสินัส แบมบัส”
แมงมุมทารันทูลาสายพันธุ์ใหม่ “Taksinus Bambus” ภาพถ่ายโดย: โจโฉ-สิปปวัฒน์
...
  • แมงมุมทารันทูลา หรือบางครั้งเราเรียกว่า “บึ้ง”
1
...
ผู้เขียนเคยได้ชมช่องของยูทูบเบอร์ที่ชื่อ “JoCho Sippawat” หรือ โจโฉ ช่องเค้าจะมีแนะนำพวกสัตว์มีพิษ สัตว์หายาก สัตว์แปลก รวมถึงพาเข้าไปผจญภัยในป่า หรือเอาชีวิตรอดในป่าหรือติดเกาะ โดยไม่มีอะไรติดตัวเลย ถือว่าเป็นช่องที่ขายความเป็นเอกลักษณ์ดีมากครับ ตอนนี้มี 2.49M Subscribers และ 260+ Videos
3
ภาพถ่ายตอนที่โจโฉไปสำรวจและค้นพบทารันทูลาสายพันธุ์ใหม่นี้
  • ผู้ค้นพบเป็นคนแรกคือ โจโฉ-ทรงธรรม สิปปวัฒน์ โดยพบตอนทริปเข้าไปในป่าบริเวณใกล้กับที่เค้าอาศัยอยู่ ใน ต.แม่ท้อ อ.เมืองตาก จ.ตาก
เค้าถ่ายรูปทารันทูลานี้ส่งให้ ดร. นรินทร์ ดูก่อนเพื่อศึกษาเบื้องต้น ก่อนที่จะฟอร์มทีมเข้ามาสำรวจในป่า
ภาพถ่ายทีมที่เข้ามาสำรวจและพิสูจน์ ถ่ายโดย ดร. นรินทร์ (คนกลาง)
...
  • ทีมผู้ค้นพบและทำการพิสูจน์ว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลก ประกอบด้วยหลักๆคือ
  • ดร. นรินทร์ ชมภูพวง อาจารย์ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น (คนกลางในรูป ถือกล้องถ่าย)
  • โจโฉ-สิปปวัฒน์ ยูทูบเบอร์ชื่อดัง (ซ้ายสุดในรูป)
  • คุณชวลิต ส่งแสงโชติ นักสะสมแมงมุมและผู้ศึกษาแมงมุม (ขวาสุดในรูป)
  • ทีมผู้ค้นพบได้ตั้งชื่อทารันทูลาสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า “ตากสินัส แบมบัส (Taksinus Bambus)” เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งทรงเคยเป็นเจ้าเมืองตาก หรือจังหวัดตากในปัจจุบัน
  • โดยทั่วไปทารันทูลาส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและบนต้นไม้ โดยทารันทูลาพันธุ์ที่อาศัยบนต้นไม้ก็จะอยู่บนต้นไม้หลากหลายประเภท แต่จนถึงขณะนี้ นักวิจัยยังไม่เคยระบุทารันทูลาอาศัยเฉพาะในต้นไม้บางประเภทเท่านั้น
...
“สร้างความประหลาดใจอย่างมากให้กับนักวิทยาศาสตร์ เมื่อทารันทูลาสายพันธุ์ใหม่ถูกค้นพบที่แรกในไทย โดยมีความพิเศษโดยใช้ลำต้นไผ่กลวงๆเป็นที่อาศัยโดยเฉพาะ” ดร. นรินทร์ กล่าวไว้
1
...
  • พวกเขาพบทารันทูลาชนิดนี้ในลำต้นที่โตเต็มที่ของก้านไผ่เอเชีย (Gigantochloa sp.) โดยทางเข้ารังมีขนาด 2-3 ซม. เป็นรอยแยกขนาดใหญ่ ภายในโพรงท่อมีเส้นใยทั้งที่โคนกิ่งหรือตรงกลางของต้นไผ่ ทารันทูลาทั้งหมดที่พบในลำต้นได้สร้างท่อดักแด้ที่ปกคลุมโพรงลำต้น
ภาพถ่ายของก้านไผ่ที่ใช้เป็นรังของทารันทูลาชนิดนี้
  • โดยปกติทารันทูลาไม่สามารถเจาะลำต้นไผ่ได้ จึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสัตว์อื่น เพราะไผ่เป็นอาหารของสัตว์หลายชนิด ทั้งด้วงหนอนไม้ไผ่ หนอนไม้ไผ่ แมลงภู่ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู นอกจากนี้ ไผ่ยังอาจแตกร้าวได้จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความชื้นในบรรยากาศ ทั้งที่เกิดตามธรรมชาติและที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
  • โดยปกติแล้วทารันทูลาที่อาศัยในต้นไม้ จะถูกค้นพบมากกว่าในอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา และบอร์เนียว
  • ส่วนสายพันธุ์ใหม่นี้มีความเฉพาะมากนอกจากอาศัยในก้านไผ่แล้ว ยังพบเฉพาะในป่าบนเนินเขาสูงที่ระดับ 1000 เมตร ทางภาคเหนือของไทย
ยังมีสิ่งมีชีวิตในไทยอีกมากที่ยังไม่ถูกค้นพบ แต่ป่าของไทยในปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่เพียง 31.64% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ซึ่งนักวิจัยหลายคนยังคงปฏิบัติภารกิจในการวิจัยและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพภายในป่าเหล่านี้จากการสูญพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลชีพบางชนิด
.
..
...
เรียบเรียงโดย Right SaRa
21st Jan 2022
  • แหล่งที่มาอ้างอิง:
รูปภาพและเนื้อหา จาก blog โพสท์โดย ดร. นรินทร์ ชมภูพวง ตามลิ้งค์นี้
บทความการวิจัยฉบับเต็ม ดูได้ที่
โฆษณา