22 ม.ค. 2022 เวลา 12:15 • ปรัชญา
นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 10
เรื่อง “ไม้จันทน์อยู่ที่ไหน?”
เครดิตภาพ: Pixabay by PDPics
ชายคนหนึ่งมีความต้องการอยากได้ไม้จันทน์มาก
เพราะเขาได้ยินมาว่าไม้จันทน์นั้นเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม
เขาจึงเดินเข้าไปในป่าเพื่อเสาะหาไม้ชนิดนี้
...
แล้วเขาก็พบคนตัดไม้คนที่ 1 ในป่า ชายหนุ่มกล่าวกับคนตัดไม้ว่า
“ฉันกำลังหาไม้จันทน์อยู่ ท่านช่วยหาอีกแรงได้ไหม เพราะท่านน่าจะรู้จักป่าแห่งนี้ดี”
คนตัดไม้ได้ฟังดังนั้นก็ตอบว่า
“ไม้จันทน์นะหรือ รู้จักแน่นอน แต่ว่าวันนี้มันค่ำเกินไปแล้ว
คืนนี้เธอช่วยฉันทำงานเล็กๆ น้อยๆ ไปก่อนแล้วกัน
พรุ่งนี้เราจึงจะออกไปหาต้นจันทน์ด้วยกัน”
ชายคนนั้นตอบตกลงด้วยความสุข
...
คืนนั้นเขาช่วยคนตัดไม้ทำงานจนเหนื่อยและหลับไปอย่างสนิท
ในวันรุ่งขึ้นเขาจึงตื่นสาย หลังจากตื่นนอน ชายคนนั้นก็ชวนคนตัดไม้ไปหาไม้จันทน์
แต่คนตัดไม้กลับบอกว่า
“ไปไม่ได้แล้ว เพราะว่าวันนี้เธอนอนตื่นสาย การหาไม้จันทน์จะต้องใช้เวลาทั้งวัน เรารอไปวันพรุ่งนี้เถอะ”
...
และในทุกๆวัน คนตัดไม้จะมีเหตุผลนานาประการเพื่อบอกชายคนนี้ว่า
พวกเขายังไม่สามารถหาไม้จันทน์ในวันนี้ได้ และต้องหาในวันพรุ่งนี้เสมอ
...
จนเวลาผ่านไป 3 ปี ชายที่ต้องการหาไม้จันทน์จึงค้นพบว่า “วันพรุ่งนี้” ไม่มีอยู่จริง
...
ต่อมา ชายคนนั้นก็จากคนตัดไม้คนแรกไป และได้พบกับคนตัดไม้คนที่ 2
คนตัดไม้คนที่สองได้บอกกับชายคนนั้นว่า
“เธอกำลังหาไม้จันทน์หรือ มันหาง่ายมาก เพราะมันอยู่ตรงหน้าเธออยู่แล้ว”
ชายคนนั้นจึงถามกลับว่า “อยู่ตรงหน้าฉันหรือ อยู่ที่ไหนล่ะ”
คนตัดไม้คนที่สองตอบว่า “เธอเพียงเข้าไปในป่าและหาไม้จันทน์เท่านั้นเอง”
ชายคนนั้นตอบกลับว่า “มันไม่ง่ายอย่างนั้นสักหน่อย เพราะฉันเพิ่งออกมาจากป่าและก็ไม่เห็นต้นจันทน์เลยสักต้น”
...
คนตัดไม้ตอบว่า “อ้าว! ก็เป็นเพราะว่าเธอไม่รู้จักลักษณะของต้นจันทน์
เธอไม่รู้จักลักษณะต้นไม้ในป่า เดี๋ยวฉันจะสอนเธอเอง
ฉันจะสอนให้เธอรู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้นานาพันธุ์ในป่านั้น
และเมื่อเธอรู้จักต้นไม้ต่างๆ ในป่าเพียงพอ เธอก็จะรู้เองว่าต้นไหนคือต้นจันทน์”
แล้วชายคนนั้นก็เรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้ต่างๆ ในป่า
...
แต่เมื่อ 3 ปีผ่านไป ชายคนนั้นก็ยังไม่รู้จักต้นจันทน์
ในเช้าวันหนึ่งชายคนนั้นตื่นขึ้นแล้วก็พบว่า
คนตัดไม้คนที่สองไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับต้นจันทน์เลย
...
ต่อมาเขาได้พบกับคนตัดไม้คนที่ 3 ชายคนนั้นพูดกับคนตัดไม้ว่า
“ฉันตามหาไม้จันทน์มา 6 ปีแล้ว ยังหาไม่ได้เลย
เธอช่วยฉันหาไม้จันทน์หน่อยได้ไหม ฉันอยากจะหามันให้ได้ในตอนนี้ วันนี้”
คนตัดไม้คนที่สามหัวเราะและบอกว่า “ได้สิ ฉันจะช่วยเธอหาไม้จันทน์ให้ได้ภายในวันนี้เลย”
หลังจากนั้นครึ่งวัน ชายคนนั้นและคนตัดไม้คนที่สามก็ยืนอยู่ข้างหน้าต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง
แล้วคนตัดไม้ก็บอกว่า “นี่แหล่ะ ต้นจันทน์”
ชายคนนั้นมีความสุขยิ่งนัก เขาร้องไห้ด้วยความดีใจและก้มลงกราบต้นไม้
...
จากนั้นเขาก็ตัดต้นไม้นั้น
นำกลับบ้าน และอวดเพื่อนๆของเขา และบอกเพื่อนๆ ว่า
“ดูสิ นี่คือต้นจันทน์อันสวยงาม มันมีใบไม้และลำต้นที่สวยงามมาก
ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับต้นจันทน์นี้จากคนตัดไม้คนที่สาม เขาเก่งเหลือเกิน
เขาสามารถบอกฉันได้ว่าต้นจันทน์คือต้นไหน เขาเป็นคนตัดไม้ที่เก่งจริงๆ”
...
1
แต่แล้ววันหนึ่ง เพื่อนคนหนึ่งก็กล่าวทักขึ้นมาว่า
“เพื่อนรัก ฉันคิดว่าขอนไม้นี้ไม่น่าใช่ไม้จากต้นจันทน์นะ”
ชายคนนั้นโกรธมากและยืนยันว่า “มันเป็นไม้จากต้นจันทน์แน่นอน ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้มาตั้ง 6 ปี”
เพื่อนจึงตอบว่า “ฉันเองก็ไม่รู้อะไรนักเกี่ยวกับต้นไม้ แต่ฉันไม่คิดว่านี่เป็นไม้จันทน์หรอก เพราะขอนไม้นี้ไม่มีกลิ่นหอมอย่างที่ไม้จันทน์ควรจะเป็น”
ชายคนนั้นรู้สึกตกใจและประหลาดใจมาก เขาเพิ่งจะระลึกได้ว่า
เขาเริ่มออกตามหาไม้จันทน์นี้เพราะว่ามันมีกลิ่นหอม แต่เมื่อเขาคิดว่าเขาพบมันแล้ว
เขาก็หลงดีใจจนลืมคุณสมบัติของมัน
...
ชายคนนั้นพูดอย่างโมโหว่า
“ไม้นี้ช่างน่าเกลียด ใบไม้นี้ช่างน่าเกลียด ลำต้นนี้ช่างน่าเกลียด และคนตัดไม้คนนั้นก็น่าเกลียด”
ชายคนนั้นจึงตัดสินใจที่จะเผาขอนไม้นั้นทิ้งเสีย และในขณะที่เขากำลังเผานั่นเอง
1
เขาก็ได้กลิ่นหอมของไม้จันทน์
...
  • สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
...
  • ไม้จันทน์ในนิทานเรื่องนี้ เปรียบเหมือน “คำสอนของพระพุทธเจ้า” หรือ “คำสอนของพ่อแม่-ครูบาอาจารย์”
  • เราตามหาคำสอนเพื่อความสุขในชีวิต เหมือนชายผู้ตามหาไม้จันทน์ในเรื่อง
  • หลายครั้งเราผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ลงมือหาอย่างจริงจัง เหมือนกับตอนชายคนนี้เจอคนตัดไม้คนที่ 1 เราย่อมไม่พบความสุขนั้นฉันใด
  • เราอ่านความรู้แค่ในตำรา แต่ไม่นำมาปฏิบัติ ก็เหมือนตอนชายคนนี้เจอคนตัดไม้คนที่ 2
  • เมื่อเราเจอผู้มีวิชาหรือให้คำสอนที่เราตามหา และได้รับการถ่ายทอดแล้ว แต่ถ้าเราวางไว้เฉยๆไม่นำมาใช้ ก็เหมือนกับตอนที่ชายคนนี้ได้รับไม้จันทน์จากคนตัดไม้คนที่ 3 แต่ไม่นำมาให้ใช้ให้เกิดกลิ่นหอม
  • ความรู้หรือคำสอนใดๆเมื่อเราได้รับมาแล้ว ถ้าเราไม่ได้นำมาใช้ปฏิบัติให้เห็นผล ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆขึ้นมาในชีวิต
1
  • ผู้เขียนขอยกคำคมของขงจื๊อ ที่เกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องนี้ ตามด้านล่าง
เครดิตภาพ: AZ Quotes
Knowledge without practice is useless. Practice without knowledge is dangerous
Confucius (ขงจื๊อ)
“ความรู้ถ้าหากขาดการปฏิบัติย่อมไร้ค่า การปฏิบัติถ้าหากไม่มีความรู้ควบคู่ก็ย่อมอันตราย”
6
  • ที่มาของนิทานเซน:
Facebook: เซน @ZenSimple

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา