13 ก.พ. 2022 เวลา 09:14 • ปรัชญา
มันมีเรื่องที่ว่า อารมณ์บังคับจิต จิตไปบังคับกายอีกที่หนึ่ง ถ้าเราสามารถ สละอารมณ์ รู้จักอารมรณ์ ได้เราก็สามารถ ชนะอารมณ์ได้ คราวนี้การที่จะชนะอารมณ์ได้ เราก็นำกายมาให้อยู่นิ่งๆ เสียก่อน นั่งนิ่งไม่ไหวติง ดูสิว่าจะชนะกายได้มั้ย เมื่อชนะกายได้ ต่อไปเราก็ฝึกหัดเอาชนะอารมณ์ อารมณ์อะไรจะเข้ามา เราก็หาวิธีสกัดกั้นอารมณ์ เราสกัดกั้นอารมณ์ได้ กายมันก็นิ่ง จิตก็นิ่ง แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ต้องทำขันติให้เป็นบารมีเสียก่อน คือเมื่อกายเกิดมีเวทนาอะไรขึ้นมา เราก็ต้องทน ทนไปจนเรา จากที่กายปวดมากๆ ก็กลายเป็นชา พออาการชานั้นหายไป จิตก็นิ่ง เวทนาอารมณ์เวทนากายไม่มี มีแต่ความนิ่งเฉย แล้วเค้าฝึกให้กายนิ่งจิตนิ่ง ฝึกไปทำไม ได้ประโยชน์อะไร จากการฝึกให้กายนิ่ง จิตนิ่ง
การปฏิบัติ นี่ถ้าเราใช้อารมณ์คิดว่าว่าง ไปจ้องมองดูความคิด ความคิดมันก็มีอารมณ์ พอเราไปมองดู จ้องอารมณ์ อารมณ์ความคิด มันก็หลอกเรา ทำเป็นสงบ เราถึงต้องเข้าสู่การปฏิบัติ นั่งพับเพียบเรียบร้อย ยืดกายตรงๆ หายใจให้มันลึก นั่ง ไป กี่นาที ภาวนาพุทโธเฉยๆ แค่สองคำเท่านั้น (ไม่น่ายากอะไร ของง่ายๆ ไม่ต้องคิดอะไรทั้งนั้น ถ้าคิด นั้นก็คืออารมณ์) ดูลมเข้าออกเฉยๆ ทำใจนิ่งๆเฉยๆ ดูซิ กายมันสงบมั้ย จิตมันสงบดีมั้ย ต้องทดลอง จะได้รู้ว่าทำได้หรือไม่ได้ ถ้าจะให้ดีก็กราบพระเสียก่อน ขอประพฤติปฏิบัติธรรมตามรอยยืน เดิน นั่ง นอน เสียก่อนเริ่มปฏิบัติ จะปฏิบัติกี่นาที ก็บอกกล่าวเสียหน่อย ว่าข้าพเจ้ามาขอฝึกหัดประพฤติปฏิบัติธรรม ตามรอยของท่าน ทำดู ไม่น่ายากเย็นอะไร เรายังไปนั่งตรงโน้นตรงนี้ นั่งเป็นชั่วโมงๆ บางครั้งก็ไปนั่งคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ฟังเพลงบ้างเป็นชั่วโมง
ลองมาอยู่เฉยๆ นั่งนิ่งดู แค่ลมหายใจของเราเอง ดูซิจะทำได้มั้ย มันท้าทายตัวเอง เราก็ทำอะไรได้ตั้งหลายอย่างนี่นะ แค่มานั่งดูลมหายใจเข้าออกของตัวเอง มันเป็นยังไงน่ะ หรือว่าไม่รู้จะดูไปทำไม รอให้ลมหายใจมันติดขัด ถึงเวลานั้น จะพยายามหายใจ ดูแลลมเข้าออกจะไหวหรือ
โฆษณา