16 ก.พ. 2022 เวลา 04:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
" อัจฉริยะก็ผิดพลาดได้ " สาเหตุที่ทำให้คนฉลาดผิดพลาดได้มากกว่าคนปกติ
หลายคนอาจเชื่อว่าความฉลาดหรือไอคิว เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนๆหนึ่งประสบความสำเร็จ แต่ผลจากการศึกษาติดตามนักเรียนแคลิฟอร์เนีย 1500 คนซึ่งมีผลทดสอบเชาว์ปัญญา(IQ)เกิน 140 ของ ลูอิส เทอร์แมน (Lewis Terman)  ผู้ที่ประกาศกร้าวว่าไอคิวเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในตัวบุคคลที่จะสามารถทำนายความสำเร็จของคนๆนั้นได้ แต่ในภายหลังชีวิตในหลายสิบปีต่อมาของนักเรียนทั้ง1500คน ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่เพียงแค่ความฉลาดของเชาวน์ปัญญาเท่านั้นที่เป็นสิ่งกำหนดความสำเร็จของแต่ละบุคคล แม้นักเรียนผู้เข้ารับการทดสอบดังกล่าวส่วนใหญ่จะพิสูจน์ตนเองได้ว่ามีความเป็นเลิศทางวิชาการจากการที่มีไอคิวอยู่ในระดับไบร์ท(ตามเกณฑ์ของเทอร์แมน)
ลูอิส เทอร์แมน
หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่เคยอ่านหนังสือ คิด, เร็วและช้า (Thinking, Fast and Slow) โดยแดเนียล คาฮ์นะมัน นักจิตวิทยาหนึ่งในผู้ซึ่งค้นพบอคติทางความคิด อันจะสามารถอธิบายการที่นักเขียนนวนิยายสืบสวนเรื่องเชอร์ล็อค โฮล์ม อย่างเซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอย ผู้ซึ่งสร้างตัวละครที่มีเหตุผลและความสามารถให้การอนุมานอย่างไม่มีตัวละครใดเทียบได้ จึงสามารถเชื่อเรื่องผีสางและสิ่งเหนือธรรมชาติได้อย่างไม่ลืมหูลืมตา
เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอย
เป็นที่แน่นอนว่านายแพทย์และนักเขียนขายดีอย่างเซอร์โคนัน ดอยนั้นเป็นผู้ที่มีความฉลาดแน่นอน การที่เขากลับเชื่อเรื่องผีสางนั้นอาจอธิบายได้ว่าเกิดจากอคติทางความคิด เพราะแม้เขาจะได้รับความคิดเห็นอื่นที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อของเขาแต่เขาก็มองไม่เห็นหลักฐานเพียงพอที่จะปฏิเสธความเชื่อของตนเอง กลายเป็นว่ายิ่งคุณมีความฉลาดในการหาเหตุผลมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะถลำลึกกับความเชื่อของคุณและยิ่งสร้างเหตุผลมากขึ้นเรื่อยๆเพื่อสนับสนุนมัน รวมถึงหาข้อโต้แย้งจากความเห็นอื่นได้อย่างง่ายดาย แน่นอนว่าความฉลาดดังกล่าวสอดคล้องกับไอคิวด้วย
แฮรี่ ฮูดินี่
บ่อยครั้งผมพบว่า ยิ่งคนฉลาดและมีการศึกษาที่ดีเท่าไหร่ เขาก็ถูกทำให้สับสนงุงงงได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
แฮรี่ ฮูดินี่กล่าวกับโคนัน ดอย
การศึกษาของนักจิตวิทยาหลังยุคของเทอร์แมน ก็ได้มีการแยกความฉลาดออกเป็นด้านต่างๆ หรือสิ่งที่ฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์เรียกว่า พหุปัญญา(multiple intelligences) เช่น ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์และความเข้าใจตนเอง ,ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (ทักษะด้านกีฬา) และปัญญาธรรมชาติวิทยา เป็นต้น แต่นักวิจัยหลายคนก็มองว่าทฤษฎีของการ์ดเนอร์แบ่งแยกความฉลาดกว้างเกินไป และไม่มีนิยามที่แน่ชัด อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่ายังมีความฉลาดด้านอื่นๆอีกเช่นกันที่เป็นสิ่งจำเป็นในการที่เราจะประสบความสำเร็จหรือใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นไปได้ว่าคุณสามารถประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่มีไอคิวอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าคุณก็ได้
ติดตามเพจช่องทางเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา