19 ก.พ. 2022 เวลา 14:25 • ธุรกิจ
ทำไมการปรับราคา และสเปคเครื่องที่หลากหลายคือกลยุทธ์การตั้งราคาของ IPhone
1
ปัจจุบันนี้ตลาดสมาร์ทโฟนถือได้ว่าเป็นการแข่งขันที่ดุเดือด เพราะมีการแข่งขันกันทั้งในด้านราคา และเร่งพัฒนาคุณภาพเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
3
จากการอ่านบทความที่วิเคราะห์เกี่ยวกับกลยุทธ์การตั้งราคาของ IPhone นอกจากการตั้งราคาเพื่อภาพลักษณ์ การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคและ การตั้งราคาที่หลากหลายในผลิตภัณฑ์รุ่นเดียวกัน จะมีการอ้างอิงถึงกลยุทธ์ราคาแบบหลอกล่อ (Decoy effect)
3
กลยุทธ์ราคาแบบหลอกล่อ (Decoy effect) คือการกำหนดสินค้าที่มีราคาตรงกลางระหว่างสองแบบเพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาสูง และไปเพิ่มกำไรให้กำผู้ขาย ยกตัวอย่างเช่น ร้านขายเฟรนช์ฟรายส์ สองขนาดคือขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ แต่เพื่อให้ผู้ซื้อเลือกเฟรนช์ฟรายส์ไซส์ใหญ่ จึงกำหนดเฟรนช์ฟรายส์ ไซส์กลางขึ้นมาเพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเพิ่มเงินอีกนิดเดียวก็จะได้ซื้อนาดที่ใหญ่ขึ้น
4
บริษัท Apple ทุกๆปีจะมีการเปิดตัว IPhone หลายราคาโดยการปรับลด-เพิ่ม ขนาดหน้าจอและความจุ ซึ่งในส่วนนี้สามารถอธิบายได้ด้วยการใช้กลยุทธ์ราคาแบบหลอกล่อ ให้ผู้บริโภครู้สึกว่า เพิ่มเงินอีกไม่มากจะได้ IPhone ที่มีขนาดและความจุเพิ่มขึ้น ให้ความรู้สึกคุ้มค่ามากกว่า
1
แต่ถ้าหากดูจากราคายอดขาย IPhone เมื่อเทียบกับยอดขายในตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก แต่ละรุ่น จะพบว่า Iphone 12 มียอดขาย 5% ตามมาด้วย IPhone 12 pro Max 4 % Iphone 12 Pro 3% และ IPhone 12 mini ที่มียอดขายน้อยกว่า 1%(Counterpoint Research Handset Model Sales Tracker, Q1 2021)
1
ซึ่งในแง่ของการใช้กลยุทธ์ราคาแบบหลอกล่อจะมีตัวเลือกตัวตรงกลาง (ราคาหลอกล่อ) ไว้เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่ราคาสูงกว่า อีกทั้งสินค้าที่ตั้งราคาหลอกล่อ ยอดขายจะน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสินค้าที่ราคาสูงและต่ำ
นี่จึงเป็นเหตุผลที่จริงๆแล้ว การตั้งราคาที่หลากหลายของ IPhone ไม่ใช่รูปแบบของกลยุทย์การตั้งราคาแบบหลอกล่อ
การตั้งราคาสินค้าชนิดหนึ่งจะมีความหลาก ผสมผสานซึ่งกันและกัน ในที่นี่ผู้เขียนจะขอยกเรื่องส่วนเกินผู้บริโภค (Producer Surplus) มาอธิบายถึงการตั้งราคา
ส่วนเกินผู้บริโภค (Producer Surplus) คือ ส่วนต่างของราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่ายมากกว่าราคาของสินค้า อธิบายง่ายๆคือ เราถือเงินไปซื้อสินค้าราคา 500 บาท หรือเรียกอีกอย่งว่าเราเต็มใจที่จะซื้อสินค้าชิ้นนั้นในราคา 500 บาท แต่เมื่อเราไปถึงร้านค้า กลับพบว่าราคาสินค้าชิ้นนั้นราคา 300 บาท แสดงว่าส่วนต่างผู้บริโภคคือ 200 บาท ซึ่งส่วนต่างตรงนี้หากผู้ขายสามารถดึงมาเป็นกำไรจากการตั้งราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้นในขณะที่ต้นทุนเท่าเดิม
5
ปัญหาคือ ทำอย่างไรถึงจะสามารถดึงส่วนเกินผู้บริโภคนี้มาได้ เนื่องจากเราไม่มีข้อมูลของเกี่ยวกับเงินเดือน และความเต็มใจจ่ายของผู้ซื้อทุกคน
1
วิธีดึงส่วนเกินของผู้บริโภคที่ทำได้คือการปรับเปลี่ยนคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และราคาให้เข้าถึงผู้ซื้อได้ และเนื่องจาก IPhone เป็นเทคโนโลยีที่การใช้งานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนแค่ใช้งานพื้นฐาน แต่บางคนใช้ในการทำงานด้วย ทำให้ Apple สามารถใช้ประโยชน์จากข้อนี้ในการปรับเปลี่ยนคุณภาพและราคาให้แปรผันตามกันไปด้วย
1
กรณีของ Iphone 13 มีราคาเริ่มต้น 25,000 บาท ไปจนถึงราคา 62,900 บาท ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนขนาดหน้าจอ ความจุ รวมแล้วราคาเปิดตัวของ IPhone 13 มีถึง 14 ราคาเพื่อกระจายกันดึงส่วนเกินผู้บริโภคมาเป็นกำไรให้บริษัทมากที่สุด
1
ส่วนเกินผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐาสตร์ซึ่งคนทั่วไปจะไม่คุ้นเคย และไม่ใช้เครื่องมือในการตั้งราคา แต่เป็นเพียงแนวคิดที่แสดงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สามารถเชื่อมโยงและอธิบายถึงวิธีการตั้งราคาของสินค้าได้ สอดคล้องกับการตั้งราคาของ IPhone เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้หลายกลุ่ม ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากการขายสมาร์ทโฟนได้ต่อเนื่องมาตลอด
2
แหล่งข้อมูล
1. Counterpoint Research Handset Model Sales Tracker, Q1 2021 https://www.counterpointresearch.com/best-selling-models-q1-2021/
3. https://www.careervisaassessment.com/decoy-price/ Decoy Price: เหยื่อล่อให้คนซื้อของแพง
1
เพิ่มเติม
ในกล่องแสดงความคิดเห็นทุกคนงงเยอะมากค่ะ อาจเป็นเพราะผู้เขียนยังใหม่อยู่เลยเรียบเรียงไม่เก่งเท่าไร555 ขอโทษนะคะ
ประเด็นคือ เราได้อ่านบทความการใช้กลยุทธ์การตั้งราคาแบบหลอกล่อ และได้ยกตัวอย่าง IPhone ซึ่งมีการตั้งราคาที่คล้ายกับกลยุทธ์การตั้งราคาแบบหลอกล่อ แต่พอเราไปหาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าผลลัพธ์ (ในที่นี้คือยอดขาย) ไม่เหมือนกัน เราจึงยกส่วนเกินผู้บริโภค (Producer Surplus) มาอธิบายรูปแบบการตั้งราคาที่หลากหลายของ IPhone แทน
โฆษณา