4 มี.ค. 2022 เวลา 14:20 • การศึกษา
ฝันเปียก ในผู้หญิง
เรื่องจริง หรือแค่ขำขันในวงเหล้า
เรื่องราวของ "ฝันเปียก" เชื่อว่าท่านชายส่วนมาก น่าจะรู้จักเป็นอย่างดี แต่ถ้าหากพูดถึง ฝันเปียกในผู้หญิง อาจทำให้หลายคนสงสัยว่า มันเป็นไปได้เหรอ ? เหตุผลก็เพราะร่างกายของเพศหญิง ไม่ได้สร้างมาเพื่อผลิตอสุจิ การฝันเปียก จึงเป็นเพียงแค่เรื่องคุยสนุก ในวงเหล้าหรือเปล่า โพสนี้จะพาไปทำความเข้าใจ เกี่ยวกับฝันเปียก โดยไม่ต้องอาบน้ำ
ฝันเปียก คืออาการทางร่างกาย ที่ไปถึงจุดสุดยอดขณะหลับ ศัพท์สากลเรียกว่า "Wet dream" ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า "Nocturnal emission" ในเพศชายนั้น มีประจักษ์พยาน หลักฐานมัดตัวแน่นหนา นั่นคืออสุจิ ที่ร่างกายขับออกมา ในช่วงที่หลับฝัน โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ส่วนใหญ่แล้ว เกิดขึ้นในช่วงวัยกำลังเจริญพันธุ์
ถึงจะมีจำนวนน้อยกว่า แต่ในเพศหญิง ก็สามารถพบได้เช่นกัน โดยการศึกษาพบว่า แม้ว่าฝันเปียกในผู้หญิง จะไม่มีของเหลว เปรอะเปื้อนที่นอน แต่จากงานวิจัยผู้หญิงจำนวน 245 คน ยอมรับว่าเคยถึงจุดสุดยอดอย่างน้อย 1 ครั้ง มากถึง 37% และ 30% ในจำนวนนี้ ยอมรับว่าเกิดขึ้น ภายในปีที่ผ่านมา
2
งานวิจัยยังพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว 8% ของความฝัน มักมีเรื่องราวเกี่ยวกับเซ็กซ์ หรืออีโรติกเข้ามาร่วม และ 4% ของทั้งหมดนี้ นำมาซึ่งความฝันที่พาไปถึงจุดไคลแม็กซ์อย่างสมบูรณ์แบบด้วย
1
สำหรับ "ฝันเปียกในผู้หญิง" หากอิงจากของเหลว ที่ร่างกายขับออกมา เราอาจจะไม่พบร่องรอย แต่ผลการศึกษาในเพศหญิงนั้นพบว่า ปริมาณเลือดที่หล่อเลี้ยงช่องคลอด บวกกับภาวะกรอกตาเร็ว ที่เกิดขึ้นขณะหลับ คืออาการเดียวกันกับ การมีเซ็กส์ หรือการช่วยตัวเอง ซึ่งพบเห็นได้ ในช่วงไคลแม็กซ์นั่นเอง
ช่วงเวลาที่เกิดภาวะฝันเปียก มักจะเกิดขึ้น ระยะที่สอง แต่ก่อนอื่น เราคงต้องมาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับวงจรการนอนหลับเสียก่อน ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ การนอนหลับของเรา จะแบ่งออกเป็นช่วงวงจร และหนึ่งวงจร ก็จะมีสองระยะ
ระยะหลับเงียบ เป็นระยะที่เกิดขึ้นประมาณ 75% ของการนอน และเป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะร่างกายในระยะนี้ จะลดการทำงานลง มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต เป็นช่วงพักของร่างกายที่ดีที่สุด
อีกระยะ คือระยะที่พบการกรอกตาเร็ว พบได้ประมาณ 25% ของการนอน ความฝันจากระยะนี้ ที่จะสร้างภาวะฝันเปียกขึ้นมา ร่างกายจะเพิ่มเมตาบอลิสม์ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เร่งการหายใจ รวมทั้งเพิ่มการสูบฉีดเลือด จนสุดท้ายก็เข้าสู่ภาวะฝันเปียก ซึ่งภาวะฝันเปียก ที่เกิดขึ้นในระยะนี้ โดยเฉพาะช่วงก่อนสว่าง จะกินเวลานานกว่าปกติ หรือประมาณ 40% ของวงจร นั่นเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เราจดจำความฝันได้ดี
ทั้งสองระยะ จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันกลายเป็นหนึ่งวงจร ในหนึ่งวงจรจะใช้เวลาประมาณ 90-120 นาที นั่นแปลว่าการพักผ่อน หรือการนอนหลับหนึ่งคืน คนทั่วไปจะสร้างวงจรได้ประมาณ 5-6 วงจรด้วยกัน
1
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่า ฝันเปียกเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยที่เราไม่ได้ไปกระตุ้นร่างกายอะไร แม้งานวิจัยในช่วงปี 2012 จะออกมาแย้งว่า ท่านอนคว่ำ การคิดถึงหนุ่มที่ถูกใจ หรือการถูกกดทับอย่างแรง ล้วนส่งผลต่อภาวะการฝันเปียกในผู้หญิง ที่ไม่จำเป็นต้องฝันถึงเรื่องเซ็กส์ก็ได้
2
อย่างไรก็ดี ฝันเปียกไม่ใช่โรค ไม่ได้เป็นอาการผิดปกติทางร่างกายแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล ทั้งหมดล้วนเป็นกลไกของร่างกาย ที่ทำงานตามธรรมชาติ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญก็ยืนยันแล้วว่า การถึงจุดสุดยอดนั้น เป็นผลดีต่อร่างกาย ไม่มีอันตรายอะไร
1
ปล. ส่วนใครที่ไม่เคยฝันเปียก ก็ไม่ได้ผิดปกติ เช่นกัน
กดไลค์ถ้าถูกใจ
แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์
คอมเมนท์เพื่อแนะนำและติชม
อัพเดทบทความสนุกแบบรัว ๆได้ที่
***พิมพ์ 1 แทนไอ ใส่ 0 แทนโอ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา