6 มี.ค. 2022 เวลา 14:38 • ธุรกิจ
ด้วยความเข้มแข็งของ City of London ศูนย์กลางการเงินโลก GDP ของอังกฤษยังเติบโตได้ 14.8%ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-18) ขณะที่ GDP ของเยอรมนีลดลง 18.2% อังกฤษมีกลยุทธ์อย่างไร จึงสามารถก้าวผ่านวิกฤตครั้งใหญ่ได้ และต้องแลกด้วยอะไรบ้าง?
2
วันนี้จะชวนมานั่งไทม์แมชชีน ย้อนเวลาไปเดินในอังกฤษ ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 1914
★ Archduke Franz Ferdinand of Austria รัชทายาทของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ถูกลอบสังหาร นำไปสู่ July Crisis ระหว่าง ออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษ จนกลายเป็นชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 1
★ ตลอดสัปดาห์เกิดเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (foreign exchange) และตลาดซื้อลด (discount market)
วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 1914
  • อังกฤษปิดตลาดหุ้นคือ the London Stock Exchange เป็นเวลา 5 เดือน
  • ผู้คนเริ่มออกมาต่อแถวที่ Bank of England เพื่อขอแลกเงินที่ถืออยู่เป็นทองคำ
  • ธนาคารขนาดใหญ่ (high street banks) รีบร้อนที่จะแลกพันธบัตรและตั๋วเงินเป็นเงินสด หรือใช้เป็นหลักประกันเพื่อกู้ยืมเงินจาก Bank of England
1
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 1914 เป็นวันหยุดทำการปกติของธนาคารในอังกฤษ
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม 1914
  • อังกฤษประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 (the declaration of war) ภายใต้ Treaty of London ที่มีกับเบลเยี่ยม ซึ่งถูกรุกรานโดยเยอรมนีในช่วงเช้าของวันนี้
  • รัฐบาลประกาศให้วันนี้เป็นวันหยุดทำการเพิ่มเติมวันแรกของธนาคาร (an extended Bank Holiday)
และมีการดำเนินการหลายอย่างด้านเงินทุน (Battle for Capital) เพื่อกดดันความสามารถของเยอรมนีในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในเวลาต่อมา ได้แก่
  • ห้ามโอนหรือเคลื่อนย้ายเงินปอนด์ให้แก่คนเยอรมัน ทั้งในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล และรายได้จากการขายหลักทรัพย์ (securities)
  • ควบคุมสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารขนาดใหญ่ของเยอรมนีที่ดำเนินการในอังกฤษ
  • ห้ามการระดมทุน (capital raising) ในอังกฤษโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่อังกฤษ (non-UK entity) และการระดมทุนทุกกรณีในอังกฤษต้องขออนุญาตจากกระทรวงการคลัง (the Treasury)
1
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 1914 ธนาคารเปิดทำการเป็นวันแรก หลังหยุดทำการหลายวันตามประกาศในช่วงต้นสัปดาห์
  • อังกฤษสามารถบริหารจัดการความแตกตื่นของผู้คนในประเทศ ทำให้ธนาคารสามารถดำเนินการได้ราบรื่น เมื่อเปิดทำการวันแรกในวันนี้
Reference: Western Front Assiciation
เกิดอะไรขึ้นในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดธนาคาร?
  • David Lloyd George (the Chancellor of the Exchequer) ได้นำเสนอ the Currency and Bank Notes Act และได้รับอนุมัติจากรัฐสภา (an Act of Parliament) ให้อังกฤษออกจากระบบมาตรฐานทองคำ (gold standard)
1
  • กระทรวงการคลัง (the Treasury) ออกธนบัตรจำนวน 300 ล้านปอนด์ เป็นธนบัตรมูลค่า 1 ปอนด์ และ 10 ชิลลิง (shillings) โดยไม่มีทองคำหนุนหลัง
1
  • ธนบัตรที่พิมพ์ออกใหม่นี้ มีการกล่าวถึงในชื่อ “Bradburys” ซึ่งเป็นชื่อของ Sir John Bradbury (Permanent Secretary of the Treasury ในขณะนั้น)
  • อังกฤษประสบผลสำเร็จในการสร้างความเชื่อมั่นและป้องกันความโกลาหล เมื่อธนาคารเปิดทำการในเวลาต่อมา
Reference: Western Front Association
กลยุทธ์การหารายได้ของอังกฤษในช่วงสงคราม
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลอังกฤษใช้จ่ายอยู่ที่ 8.1% และ 12.7% ของ GDP ในปี 1913-1914 และขึ้นสูงถึง 35.1% ของ GDP ในปี 1918
Reference: University of Warwick
จริงๆ แล้วอังกฤษยังสามารถสร้างรายได้และเติบโตเศรษฐกิจได้ดี แม้จะอยู่ในช่วงสงคราม จากความแข็งแกร่งด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจเดินเรือ และธุรกิจประกัน ที่ทำรายได้มหาศาล และเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงได้เข้ามาทำงานอย่างจริงจังในเกือบทุกภาคส่วน ทดแทนผู้ชายที่ต้องไปทำสงครามเป็นเวลาหลายปี ผนวกกับแผนการจัดหาวัตถุดิบจากสหรัฐอเมริกาที่อยู่ไกลจากพื้นที่สงคราม ทำให้สามารถรักษาประสิทธิภาพการผลิตได้ (productivity)
แต่อย่างไรก็ดี รายได้ที่เพิ่มขึ้นก็ไม่เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละปีอย่างมาก และจำเป็นต้องระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
Reference: University of Warwick
ยุทธศาสตร์และทางเลือกในการระดมทุนของอังกฤษในหลายรูปแบบ
1. เงินกู้ยืมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ (borrowing)
เป็นยุทธศาสตร์หลัก คิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในการระดมทุนทั้งหมดในช่วงสงคราม คือ มากกว่า 70% ของการระดมทุนทั้งหมด ซึ่งได้เล่าถึงในบทความตอนที่แล้ว และเป็นต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงมากเพื่อจูงใจนักลงทุน และเพื่อกีดกันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยประเทศอื่นๆ
(ติดตามอ่านได้ที่ https://www.blockdit.com/posts/6220d31b25c8de458436ba49)
2. เงินเฟ้อ (inflation)
the Currency and Bank Notes Act ที่รัฐสภาอังกฤษอนุมัติให้พิมพ์ธนบัตรได้ โดยไม่ต้องมีทองคำหนุนหลัง จำนวน 300 ล้านปอนด์ และอังกฤษได้ดำเนินการพิมพ์ธนบัตรใหม่นี้ออกมาในช่วงสัปดาห์แรกของสงคราม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นภายในประเทศในช่วงที่เกิดภาวะตื่นตระหนก และต้องแก้ไขสถานการณ์อย่างฉุกเฉินให้ทันท่วงที ซึ่งช่วยรักษาเสถียรภาพภายในประเทศด้านการดำเนินงานของธนาคาร
เนื่องจากมีความต้องการระดมทุนจำนวนมหาศาล ขณะที่วิธีการนี้จะมีผลต่อภาวะเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ จึงไม่ใช่ทางเลือกหลักของอังกฤษในการระดมทุนในครั้งนี้ ถึงอย่างนั้นก็ตาม เงินเฟ้อในอังกฤษได้เพิ่มสูงขึ้นมากจนถึง 25% ในปี 1917 ก่อนที่จะเริ่มปรับลดลง
1
ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษก็ได้ประกาศความตั้งใจที่จะใช้ระบบมาตรฐานทองคำ (gold standard) เช่นเดิม และมุ่งมั่นในการดำรงฐานะศูนย์กลางทางการเงินของโลก
3. ภาษี (taxes)
ระบบการจัดเก็บภาษีในอังกฤษมีการพัฒนาแล้ว ทำให้รัฐบาลอังกฤษสามารถระดมทุนผ่านช่องทางนี้ได้ ในขณะที่เยอรมนีไม่สามารถทำได้เทียบเท่าอังกฤษ
ในปี 1913-14 ภาษีทางอ้อมที่สำคัญ คือ ยาสูบและแอลกอฮอล์ ขณะที่ภาษีทางตรงที่สำคัญ คือ ภาษีเงินได้และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอังกฤษพยายามเลี่ยงการใช้ภาษีทางอ้อม (indirect tax) ในการหารายได้เพิ่ม เพราะจะเพิ่มค่าครองชีพ และสร้างปัญหากับกลุ่มคนทำงาน (working class)
ในปี 1918 สัดส่วนของภาษีทางตรงเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของรายได้จากภาษีทั้งหมด ในช่วงสงคราม มีการเพิ่มภาษีการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย (luxury imports) เช่น รถยนต์ และนาฬิกา เป็นต้น
กลยุทธ์ด้านภาษีที่สำคัญของอังกฤษ คือ “ยุติธรรม” และ “วิทยาศาสตร์ (scientific)” คือมีเหตุผลรองรับที่ชัดเจน อธิบายได้ ทำให้ในภาพรวมได้รับการสนับสนุนมาตรการการเพิ่มรายได้ภาษี
4. การระดมทุนทางอ้อม ได้แก่ การเลื่อนและยกเลิกโครงการลงทุน โครงการซ่อมบำรุง (postponing maintenance and repair, as well as cancelling projects deemed unnecessary)
ความพร้อมของอังกฤษกับสงครามโลกครั้งที่ 1
แน่นอนว่าอังกฤษมีเงินไม่เพียงพอในการทำสงคราม แม้ว่าจะเป็นประเทศที่รวยที่สุดในขณะนั้น แต่อังกฤษมี City of London ศูนย์กลางการเงินโลกทั้งตลาดเงินและตลาดทุน มีระบบนิเวศน์ที่พร้อมรองรับการระดมทุนขนาดใหญ่ (Institutional Architecture)
ยุทธศาสตร์ระบบการเงินที่แข็งแรงและกลยุทธ์ทางการเงินที่ออกแบบครอบคลุมหลายมิติ และการตัดสินใจที่ทันต่อสถานการณ์ ทำให้อังกฤษประสบผลสำเร็จในการระดมทุนในช่วงสงคราม (war finance) และรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจ
อังกฤษไม่เพียงต้องการชนะในสงคราม แต่ยังมุ่งมั่นสร้างเสถียรภาพของระบบและความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจหลังสงครามเสร็จสิ้นด้วย (Post-war World) แม้ว่าจะถูกท้าทายอย่างมากในช่วงสงคราม
อาจกล่าวได้ว่า เป้าประสงค์หลักของยุทธศาสตร์อังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ
1. การผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ดำเนินได้ต่อเนื่องมุ่งเน้นกลยุทธ์การรักษาระดับประสิทธิภาพการผลิต (productivity) โดยดึงผู้หญิงทำงานเป็นหลัก และนำเข้าวัตถุดิบการผลิตอย่างต่อเนื่องไม่สะดุดจากสหรัฐอเมริกา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสังคมในประเทศ และรักษาสถานะผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลก
1
2. การเสริมสร้างฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง เพียงพอในการบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีหลังสงครามในการบริหารจัดการ จะสังเกตว่าอังกฤษมีการออกแบบการระดมในแต่ละรูปแบบอย่างระมัดระวัง พิจารณาจากผลกระทบในหลายมิติ ในแต่ละปีที่มีการระดมทุนเพิ่มเติม (new money) และแปลงหนี้เดิม (refinance)
1
3. การเน้นย้ำบทบาทและความเชื่อมั่นในอังกฤษจากประชาคมโลก ในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และเงินปอนด์ในฐานะเงินสกุลหลักของโลก จะเห็นได้ว่านอกจากการระดมทุนจะใช้เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายของอังกฤษแล้ว ยังครอบคลุมถึงการให้ความช่วยเหลือประเทศในเครือข่าย ที่ได้รับความเดือดร้อนในการร่วมกันทำสงครามด้วย
1
สิ่งที่อังกฤษต้องแลกเปลี่ยน เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
1
1. การใช้เงินทุนของประเทศอย่างมาก จนเปลี่ยนจากฐานะผู้ให้กู้ที่สำคัญ (the world’s largest overseas investor) เป็นผู้กู้คนสำคัญ และถูกท้าทายอำนาจอย่างมาก รวมถึงระบบเศรษฐกิจและการเงินในขณะนั้น จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับโลกในเวลาต่อมา
1
2. การกู้ยืมเงินมหาศาล ที่ต้องใช้เวลาถึง 100 ปีที่จะชำระได้ครบทั้งจำนวน (ชำระครบในปี 2015) ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความที่แล้ว: https://www.blockdit.com/posts/6220d31b25c8de458436ba49
2
3. บทบาทศูนย์กลางทางการเงินในฐานะมหาอำนาจใหม่ของสหรัฐอเมริกา ที่เกิดจากการพึ่งพิงของอังกฤษ ทั้งในการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตและอาหาร รวมทั้งเงินกู้ยืม และนี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนและจุดเริ่มต้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของระบบการเงิน การเมือง สังคม และเศรษฐกิจของโลก จนถึงปัจจุบัน
1
มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะดำรงความอยู่รอดและก้าวผ่านช่วงสงคราม และมันทวีความซับซ้อนมากขึ้นสำหรับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในการตัดสินใจทำสงครามและทุกๆ การตัดสินใจในระหว่างสงคราม
ความเชื่อมโยงกันอย่างมากในทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งผลได้เสียในระยะสั้นและระยะยาว มีความผิดพลาดเกิดขึ้น แผนสองแผนสามต้องมี บทเรียนหลายอย่างนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้านในเวลาต่อมา
2
คำถามว่าอังกฤษแลกเปลี่ยนความสำเร็จในช่วงสงครามด้วยอะไร จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจกลไกความคิดทางยุทธศาสตร์เท่านั้น และเป็นพื้นฐานที่ดีในการต่อยอดความเข้าใจในความเคลื่อนไหวต่างๆ ของหลายประเทศในขณะนี้
1
แล้วติดตามกันต่อในตอนถัดไป กับ Manage Your Money นะคะ
1
โฆษณา