8 มี.ค. 2022 เวลา 12:46 • ประวัติศาสตร์
ไทมไลน์ประวัติศาสตร์คู่ขนาน ไทย-รัสเซีย (ฉบับย่อ)
ช่วงที่ 1 คริสต์ศตวรรษที่ 9 - 16
ภาพซ้าย: Rurik Dynasty เครดิตภาพ: Russia Beyond, ภาพขวา: อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนบางกลางหาว จ.สุโขทัย, แผนที่รัสเซียในยุค 1600 เครดิตภาพ: Wikipedia Commons, แผนที่อาณาจักรสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหง
  • รัสเซีย ยุคแห่งการเริ่มต้นและราชวงศ์รูลิค
...
  • คริสต์ศตวรรษที่ 9 ยุคก่อร่างสร้างตัวของจักรวรรดิเคียฟรุส
แม้ตำนานเก่าแก่บอกว่า ชาวรัสเซียดั้งเดิมเป็นสลาฟ แต่นักวิชาการลงความเห็นว่าพวกเขาอาจจะสืบเชื้อสายมาจากชาวนอร์สในสวีเดน (หรือเรียกว่า วารันเจียน) ไม่ใช่เป็นชาวสลาฟแท้ แต่มีเชื้อสายมาจากชาวไวกิ้งที่เดินทางลงมายังดินแดนแห่งนี้
1
ชาวสลาฟเดิมทะเลาะกันเองไม่มีความสงบ จึงมีการเชิญชาวนอร์สที่มีความสามารถทางการสู้รบมาปกครองตน
...
  • ผู้ที่ถูกเชิญมาคือ “พระเจ้ารูลิก” และได้ตั้งรกรากที่เมืองนอฟโกรอดในปี ค.ศ. 862 จากนั้นชาวนอร์สกลุ่มรูลิกได้ผสมผสานทางวัฒนธรรมกับชนเผ่าพื้นเมือง เช่น สลาฟ บอลติค ฟินนิค กลายเป็น “ชาวรัส” จนกลายเป็นต้นกำเนิดคนรัสเซียปัจจุบัน
2
ภาพวาดพระเจ้ารูลิก เครดิตภาพ: Wikipedia
  • ในลักษณะนี้ราชวงศ์แรกของชาวรัสจึงมีชื่อว่า “ราชวงศ์รูลิก” ตามปฐมกษัตริย์ และได้ขยายอาณาเขตออกไป และได้ตั้งเมืองหลวงใหม่ที่กรุงเคียฟ (ปัจจุบันคือเมืองหลวงยูเครน) พวกเขาผูกมิตรกับสลาฟเผ่าต่างๆ ตั้งเป็นจักรววรดิที่ชื่อว่าเคียฟรุส (เคียบ - รุด)
1
  • คริสต์ศตวรรษที่ 10 ยุคทองของศาสนาคริสต์นิกายออโธด๊อกซ์
กษัตริย์วลาดิเมียร์มหาราช เครดิตภาพ: http://www.danceshistoricalmiscellany.com/vladimir-great-pagan-philanderer-saint
  • ค.ศ. 988 กษัตริย์วลาดิเมียร์มหาราช ผู้ทรงนำคริสต์นิกายออโธด๊อกซ์เข้ามาเผยแพร่และมีบทบาทในเคียฟรุส
  • คริสต์ศตวรรษที่ 11 จุดสูงสุดของจักรววรรดิเคียฟรุส
1
กษัตริย์ยาโรสลาฟ เครดิตภาพ: alchetron.com
...
  • ยาโรสลาฟ โอรสของวาดิเมียร์มหาราช (ค.ศ. 1019-1054) สมัยพระองค์รุ่งเรืองด้านการขยายดินแดน ด้านการสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ จนได้ฉายาว่า “Yaroslav the Wise”
โดยมีการจัดการให้ราชวงศ์พระองค์ทรงแต่งงานกับราชวงศ์ต่างๆของประเทศในแถบยุโรป มีการริเริ่มใช้กฎหมายเป็นครั้งแรก มีโรงเรียนและห้องสมุดเป็นครั้งแรก จนเรียกได้ว่ากรุงเคียฟเมืองหลวงของจักรวรรดิเป็นศูนย์กลางการปกครองและด้านวัฒนธรรมของยุโรปตะวันออกในสมัยนั้น
  • คริสต์ศตวรรษที่ 13 เคียฟรุสล่มสลาย โดยการบุกรุกของมองโกล
2
  • ค.ศ. 1237-1240 จักรวรรดิเคียฟรุสล่มสลาย เพราะโดนเผ่ามองโกลที่เรียกตัวเองว่า Tatar เข้ามายึดหลายเมือง จนต้องย้ายเมืองหลวงหนีมองโกลไปมอสโคว เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรมอสโคว
  • คริสต์ศตวรรษที่ 14 อาณาจักรมอสโควภายใต้มองโกล (ราชวงศ์รูลิค)
  • Evan I ทรงสถาปนาตนเป็นกษัตริย์ ฉายา “อีวานถุงเงิน” เนื่องจากเป็นผู้ช่วยมองโกลรบชนะผู้ต่อต้าน และทำหน้าที่เก็บส่วยและบรรณาการส่งให้มองโกลเอง
1
  • คริสต์ศตวรรษที่ 15 มอสโควปลดแอกจากมองโกลสำเร็จ (ราชวงศ์รูลิค)
2
พระเจ้าอีวานที่ 3 ฉีกจดหมายชาวมองโกลประกาศศึก เครดิตภาพ: Wikipedia
...
  • Evan III ทรงสถาปนาตนเองเป็น “อีวานมหาราช” Evan III (The Great) ด้วยเหตุผลคือ
1
• ในปี ค.ศ. 1480 ทรงสามารถกวาดต้อนมองโกลออกไปหมดเกลี้ยงจากอาณาจักร
• แผ่ขยายอาณาจักรออกไปจนกว้างกว่าเดิม 3 เท่า กระทั่งมีความคิดว่า “มอสโควจะกลายเป็นกรุงโรมแห่งใหม่”
2
• ทรงสถาปนากรุงมอสโคว เป็นเมืองหลวงของรัสเซีย ทรงริเริ่มสร้างพระราชวัง ป้อมปราการ และวิหารในพระราชวังเคลมลิน นับว่าเป็นยุคสมัยของราชวงศ์รูลิกที่รุ่งเรืองมาก
2
  • คริสต์ศตวรรษที่ 16 ยุคสุดท้ายของราชวงศ์รูลิค
พระเจ้าอีวานที่ 4 ฉายา Evan the Terrible เครดิตภาพ: britannica.com
...
  • ค.ศ. 1547-1584 Evan IV เป็นหลานของ Evan III เป็นกษัตริย์ที่เริ่มใช้คำว่า “Tsar” “พระเจ้าซาร์” พระองค์แรก และเปลี่ยนชื่ออาณาจักรมอสโควเป็นอาณาจักรซาร์รัสเซีย พระองค์มีอุปนิสัยที่ดุร้ายและคลุ้มคลั่ง ถึงขนาดขาดสติสังหารบุตรตนเองที่มีตำแหน่งรัชทายาท ฉายาที่ทุกคนต่างเรียกคือ “อีวานจอมโหด” หรือ “Evan the Terrible”
3
...
1
  • ค.ศ. 1581 Cossacks กลุ่มคอสแซค หรือกลุ่มทหารทางตอนใต้ของรัสเซีย บุกรุกไซบีเรียของรัสเซีย
1
...
  • ค.ศ. 1598-1613 Feodor I ลูกชายคนที่สอง รองจากเจ้าชายอีวานผู้โดนพ่อผู้โหดร้ายสังหารไปกับมือ ขึ้นครองราชย์ต่อจาก Evan IV พระองค์เป็นซาร์องค์สุดท้ายในราชวงศ์รูลิก เป็นกษัตริย์ผู้มีร่างกายทุพพลภาพ สติปัญญาเชื่องช้าและอ่อนแอมาก จนไม่สามารถบริหารงานแผ่นดินได้
2
งานบริหารจึงตกเป็นของ บอริส โกดูนอฟ ผู้เป็นพี่เขย หลังจาก Feodor I สวรรคตรัสเซียอยู่ในยุคสมัยแห่งความวุ่นวาย จนในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออโธด๊อกส์จึงเลือก “มิคอิล โรมานอฟ” เป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟปกครองต่อจากราชวงศ์รูลิก
2
## จบช่วงที่ 1 ฝั่งรัสเซีย
  • ไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อาณาจักรสุโขทัย สู่ อาณาจักรอยุธยา
1
...
  • ก่อนปี พ.ศ. 1761 จากการศึกษาร่องรอยทางโบราณและโบราณวัตถุ ศิลาจารึก และตำนานพงศาวดารท้องถิ่นหลายฉบับ พบว่าดินแดนสุวรรณภูมิอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรขอมซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
2
  • พ.ศ. 1800 วีรบุรุษไทย 2 คน คือ พ่อขุนผาเมือง (เจ้าเมืองราด) และพ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง) สหายทั้ง 2 ท่าน ได้ร่วมมือกันยึดเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยมาจากข้าศึกที่ชื่อว่า “ขอมสบาดโขลญลำพง” พ่อขุนบางกลางหาวประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นอิสระ และสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้น ณ กรุงสุโขทัย ทรงพระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์"
อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนบางกลางหาว จ.สุโขทัย
...
  • พระองค์ทรงมีโอรสที่ปรากฏนามอยู่สองพระองค์ คือ พ่อขุนบานเมือง ผู้พี่และพ่อขุนรามราชผู้น้อง
  • พ.ศ. 1822 พ่อขุนรามคำแหง จึงได้ครองราชย์ต่อมาและได้ทรงเป็นมหาราชพระองค์แรงของชนชาติไทย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือได้ว่าเป็นยุคทองของสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือกว่าในรัชกาลใด ๆ ในราชวงศ์พระร่วง ราชอาณาจักรแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง
...
  • พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และทรงได้สร้างหลักศิลาจารึกเมื่อปี พ.ศ. 1835
2
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย เครดิตภาพ: Wikipedia
...
  • หลัง พ.ศ. 1842 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตในราว พ.ศ. 1842 อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง กษัตริย์องค์ถัดๆมาไม่สามารถรักษาเสถียรภาพไว้ได้ ทำให้หัวเมืองต่างๆที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจแข็งข้อตั้งตนเป็นอิสระ
1
  • พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทอง เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 และทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งขณะนั้นอาณาจักรสุโขทัยก็ยังคงอยู่ แต่ถูกแทรกแซงโดยอยุธยามาตลอด
3
  • พ.ศ. 1921 อยุธยายกทัพขึ้นไปตีทางเหนือ พระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปกครอง ยกกองทัพออกมาป้องกันเมืองด้วยพระองค์เอง แต่ก็ต้อยยอมพ่ายแพ้แก่กองทัพอยุธยา จนถึงกับต้องยอมถวายบังคมอ่อนน้อมต่ออาณาจักรอยุธยา ถูกอาณาจักรอยุธยาจำกัดอำนาจลงกับรวมทั้งการที่กษัตริย์สุโขทัยต้องย้ายที่ประทับอยู่ที่เมืองสองแควด้วย
  • พ.ศ. 1981 พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาล (พระมหาธรรมราชาที่ 4) กษัตริย์สุโขทัยสวรรคต นักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคอาณาจักรสุโขทัยด้วย
1
สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา) กษัตริย์อยุธยาช่วงนั้นจึงโปรดให้สถาปนาพระราเมศวรราชโอรสซึ่งประสูติจากเจ้าหญิงสุโขทัยพระองค์หนึ่ง ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 7 พรรษา เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองสองแคว ทั้งนี้เพราะทรงเห็นว่าเป็นพระราชโอรสที่มีเชื้อสายทางเจ้านายฝ่ายสุโขทัย คงจะเข้ากับทางราชวงศ์สุโขทัยได้ดี และเท่ากับเป็นการผนวกดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยในตัวไปด้วย
  • พ.ศ. 1991 เจ้าสามพระยาสวรรคต พระราเมศวรอุปราชจึงเสด็จจากเมืองสองแควไปครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ" ในรัชสมัยนี้ กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก ทรงปรับปรุงการปกครองเป็น “จตุสดมภ์” ซึ่งแบ่งเป็น เวียง วัง คลัง นา และมีทหารเป็นสมุหกลาโหม มีพลเรือนเป็นสมุหนายก และโปรดฯ ให้มีการถือศักดินาขึ้น
  • พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) ได้กระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร ช้างพระที่นั่งเสียที พระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทร์ ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร
พระสุริโยทัย (กลาง) ไสช้างเข้าขวางช้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ขวา) ซึ่งกำลังเสียทีช้างพระเจ้าแปร (ซ้าย) เครดิตภาพ: Wikipedia
  • พ.ศ. 2112 เสียกรุงฯ ครั้งที่ 1 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช พระเจ้าบุเรงนองทรงราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาให้ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเป็นประเทศราช
  • พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพไม่ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าที่เมืองแครง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าที่เมืองแครง เครดิตภาพ: Wikipedia
  • พ.ศ. 2135 สงครามยุทธหัตถี ณ หนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชนช้างกับพระมหาอุปราชา ที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชาเสียที ถูกฟันสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง
ภาพสมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ภาพถ่ายโดย: ศรัญญา ละม่อมสาย
## จบช่วงที่ 1 ฝั่งไทย
จบแล้ว ช่วงที่ 1
ติดตามได้ในตอนต่อไป…
...
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
โฆษณา