23 มี.ค. 2022 เวลา 22:48 • ประวัติศาสตร์
การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 6
1
หมากพลู ยาสูบ มิตรภาพและการเข้าสังคม
1
บน-ล่าง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดหนองโนเหนือ อ.เมือง จ.สระบุรี ที่มา: ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
...
ในสมัยอยุธยานอกจากเหล้าที่ใช้เป็นเครื่องรับรองและเลี้ยงฉลองแล้ว ยังพบว่าชาวอยุธยานิยมใช้หมากพลูเป็นเครื่องผูกมิตรอีกด้วย
7
  • หมากพลูกับการเข้าสังคม
4
ชาวอยุธยามีธรรมเนียมคือ การให้ชานหมากที่เป็นพืชจากอินเดีย (ตอนนั้นที่จีนและญี่ปุ่นก็มีกินหมาก)
2
...
  • ถ้าคนคุยด้วยเป็นแขก (ไม่ใช่เชื้อชาติแขก แต่ความหมายคือ Visitor) เจ้าบ้านก็จะแสดงไมตรีจิต โดยการป้ายหมากม้วนพลูยื่นให้แก่แขก หากแขกไม่รับ จะถือว่าไม่มีมารยาทไม่ให้เกียรติเจ้าบ้าน และการพูดคุยก็จะไม่เกิดขึ้นหรือเป็นไปได้โดยไม่ราบรื่น
5
  • ดังนั้นชาวอยุธยาเลยต้องฝึกเชี่ยนหมากทำฟันให้ดำตั้งแต่เล็ก ถือเป็นการสอนเข้าสังคมรูปแบบหนึ่ง
4
  • นอกจากนี้ค่านิยมการมีฟันสีดำทั้งชายหญิง ก็เพื่อสะดวกแก่การกินหมากและบ้วนน้ำหมาก ยังใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งหากฟันเป็นสีขาวจะดูสกปรกมาก เพราะน้ำหมากเป็นสีแดง เมื่อบ้วนน้ำหมากทิ้งจะทำให้ริมฝีปากติดสีแดงชัด
1
  • หมากพลูกับมิตรภาพทางการเมือง
5
แม้แต่ในหมู่กษัตริย์ของเอเชียอาคเนย์ด้วย ครั้งตอนเสียกรุงฯครั้งที่ 1 ตอนที่สมเด็จพระมหินทราธิราชไปเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนอง หลังจากกองทัพหงสาวดีได้ชัยชนะเข้ามายึดครองอยุธยาได้แล้ว พระเจ้าบุเรงนองแสดงความยินดีและความเป็นกันเองด้วยการพระราชทานพระศรี (หมาก) ให้แก่สมเด็จพระมหินทราธิราช
3
ฉากตอนหนึ่งที่พระเจ้าบุเรงนองยื่นพระศรี (หมาก) ให้สมเด็จพระมหินทราธิราช หลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ เครดิต: ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1
...
โดยพระเจ้าบุเรงนองได้หยิบพระศรีในพานยื่นให้ สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงรับไว้ครู่หนึ่งแล้วจึงเสวย แล้วพระเจ้าบุเรงนองจึงหยิบเอาที่บ้วนพระโอษฐ์ยื่นให้ แต่สมเด็จพระมหินทราธิราชก็มิได้บ้วน แล้วทั้ง 2 พระองค์จึงเจรจาความการบ้านการเมืองกันต่อไป
เหตุการณ์นี้ในพระราชพงศาวดารสะท้อนให้เห็นการขัดขืนไม่เต็มพระทัยที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ของสมเด็จพระมหินทราธิราช แต่เมื่อตกอยู่ในสถานะเชลยศึกแล้ว พระองค์ก็จึงต้องยอมรับความจริง
2
  • หมากพลูเป็นยาชูกำลัง
6
ในหมู่ไพร่ทาสผู้ใช้แรงงานยังมีความเชื่อว่าพลูสามารถกระตุ้นความขยันในการทำงานได้ คงเป็นความเชื่อของเจ้านายด้วย จึงอนุญาตให้ไพร่ทาสในสังกัดของตนได้กินพลูในระหว่างพักการทำงาน โดยงานเขียนของตุรแปงได้มีระบุไว้ว่า
4
...
“ดูเหมือนคนชาวสยามจะอดพลูได้ยากกว่าอดข้าวเสียอีก พลูมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาสูบในทวีปยุโรป กระตุ้นให้เกิดน้ำลาย ป้องกันความเจ็บป่วย ซึ่งธรรมดามักเกิดในประเทศร้อนจัด ทุกวันพวกทาสมีพลูจำนวนหนึ่งสำหรับกินกระตุ้นความขยันและเพื่อไม่ให้อยากขโมยพลู เพราะถ้าอยากขึ้นมาแล้ว เขาจะต้องพยายามหามากินให้ได้โดยทุกวิถีทาง”
5
  • หมากพลู คนอยุธยาใช้จีบกัน
6
หนุ่มสาวชาวอยุธยาจีบกัน ก็บอกความในใจโดยการให้หมากพลูกัน ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดคือ กรณีท้าวศรีสุดาจันทร์ให้หมากพลูแก่ขุนวรวงศาธิราช (ตอนนั้นเป็นพันบุตรศรีเทพ พราหมณ์ขับเสภา)
3
ฉากตอนหนึ่งที่ท้าวศรีสุดาจันทร์มอบห่อหมากพลูแก่พันบุตรศรีเทพ เครดิต: ภาพยนตร์สุริโยไท
...
ตามบันทึกของตุรแปงเชื่อว่า หมากพลูมีคุณสมบัติทำให้ลมหายใจสดชื่น ผ่อนคลาย ช่วยเรื่องความสุขทางจมูก อีกทั้งยังมีความเชื่อว่าหมากพลูช่วยดับความร้อนก่อนมีเพศสัมพันธ์
8
  • หมากพลู กับประเพณีในวัง
5
  • มีประเพณีที่กษัตริย์พระราชทานหีบทองแก่ขุนนางไว้ใส่พลู โดยห้ามมิให้ขุนนางที่ได้รับหีบทองนี้มีหีบใส่พลูอย่างอื่นที่เหมือนกับของพระราชทานนี้ เมื่อขุนนางคนนั้นถึงแก่กรรม หีบดังกล่าวจะต้องถูกส่งกลับคืนไปถวายกษัตริย์ พร้อมกับของพระราชทานอย่างอื่น
5
เมื่อชาติตะวันตกเดินทางเข้ามาในอยุธยา ยาสูบก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชานหมาก เห็นได้จากงานเขียนของตุรแปง หรือเมื่อชาวเปอร์เซียเข้ามา กุหลาบก็ถูกนำมาใช้ควบคู่กับใบพลูในหมู่คนหนุ่มสาวชาวอยุธยาด้วย
...
  • ยาสูบสมัยอยุธยา ยิ่งฉุน ยิ่งดี
3
งานเขียนของตุรแปงมีปรากฏความว่า
...
“ชาติที่เกียจคร้านชอบสูบยาจนติดเป็นนิสัย การสูบยาเช่นนี้ ทำให้เขามึนเมา แล้วความมึนเมาก็ช่วยให้เขาลืมความไร้ประโยชน์ของเขา หญิงชาวสยามก็ชอบสูบยาเหมือนกับผู้ชาย และยายิ่งฉุน เขาก็เห็นว่ายิ่งสูบอร่อย”
3
...
  • ในสังคมอยุธยา ความนิยมในยาสูบมีทั้งในชายและหญิงเท่าๆ กัน เหมือนกับกรณีของหมากพลู ไม่ได้ถูกใช้เป็นของแสดงถึงความเป็นชาย แต่ใช้เป็นเครื่องแสดงความเป็นผู้ใหญ่
4
  • ยังมียาสูบอีกประเภทที่เรียกว่า “มอระกู่” หรือ “บาระกู่” แต่ไม่ได้เป็นที่นิยมในการเสพมาก และไม่ถูกนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการต้อนรับของชาวอยุธยา อาจเป็นเพราะว่า มอระกู่เป็นยาสูบที่มีอุปกรณ์ของตัวเอง ไม่สามารถจัดวางอยู่ในสำรับหรือชานหมากได้นั่นเอง
4
จบแล้ว ตอนที่ 6
ติดตามได้ในตอนต่อไป…
...
ติดตามตอนที่ 5 จากด้านล่างนี้
  • แหล่งที่มาอ้างอิง:
กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) (กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, 2507), หน้า 118-119
ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง, ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม, แปลโดย ปอล ซาเวียร์, หน้า 78, 136-137
กรมศิลปากร, “จุลยุทธการวงศ์ ความเรียง (ตอนต้น) ปริเฉทที่ 1-2” ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1, หน้า 64-65
โฆษณา