24 มี.ค. 2022 เวลา 03:44 • การเมือง
สงครามรัสเซีย-ยูเครน จะจบลงอย่างไร? ตอน 3
จากที่ได้เกริ่นภาพรวม และกล่าวถึงฉากทัศน์แบบแรกใน 3 แบบไปแล้วคือ
[1] คุมเชิง: สถานการณ์แบบต่างสูญเสีย
ในตอนนี้ ผู้เขียนคือ เอสเชอร์ เททรูแอชวิลี ที่เป็นอดีตนักการทูตสหรัฐ และกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านกฎหมายที่ศูนย์กฎหมายมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ลงรายละเอียดของฉากทัศน์ที่ 2 คือ
[2] รุกฆาต: ปูตินได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
แล้วตอนหน้า เราจะจบกันที่ฉากทัศน์สุดท้ายคือ
[3] บีบให้จนมุม: เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย
ตามมาดูฉากทัศน์ที่ 2 กันได้เลยครับ
=======================
Photo by Kat J on Unsplash
ฉากทัศน์แบบรุกฆาต: ปูตินได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
(Checkmate: Putin achieves his objectives)
ในฉากทัศน์แบบนี้ รัสเซียชนะเหนือยูเครน และจัดตั้งระบอบหุ่นเชิดที่ปกครองอย่างกดขี่ กองทัพรัสเซียจะขจัดกองทัพยูเครนและพลเรือนอย่างโหดร้าย ไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่อดีตผู้นำโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ ทำในฮังการีปี 1956
รัสเซียจะยังคงแยกตัวออกจากฝ่ายตะวันตก และจะสร้างม่านเหล็กขึ้นรอบๆ ยูเครนและเบลารุส, ผู้คนชาวยูเครนไม่น่าจะยอมจำนนต่อผู้นำที่คนรัสเซียตั้งขึ้น น่าจะเกิดกบฏที่ต่อต้านในระยะยาวอย่างรุนแรง
หากมองไปที่มติของที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ ที่ประณามการรุกรานของรัสเซีย เมื่อดูรายชื่อของประเทศที่งดออกเสียง แทบจะเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงสมาชิกภาพของ องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization) ประเทศต่างๆ เหล่านี้ให้กำลังใจปูติน และมองเรื่องนี้เป็นความสำเร็จของเขา และจะกลายมาเป็นพันธมิตรของรัสเซียในระเบียบโลกใหม่แบบหลายขั้ว
หากปูตินยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป รัสเซียกับจีนน่าจะวางแผนร่วมกันต่อไปเกี่ยวกับการสร้างอิสระทางเศรษฐกิจ เพื่อแยกตัวออกจากฝ่ายตะวันตก
Photo by Ehimetalor Akhere Unuabona on Unsplash
อันที่จริง สหรัฐได้ควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีสำคัญของตนไปยังรัสเซียไว้แล้ว เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ทำให้นึกถึงมาตรการต่างๆ ที่ใช้กับจีน อันทำให้ห่วงโซ่อุปาทานทางเลือก และการจัดหาทรัพยากรให้กับตัวเองได้อย่างมากพอ กลายมาเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ของรัสเซียอีกครั้ง
โครงการของรัสเซียและจีนที่จะแทนที่ความเป็นใหญ่ด้านการเงินของสหรัฐจะเร่งตัวเร็วมากขึ้นอีก
ย้อนกลับไปที่ปี 2015 เมื่อจีนเปิดตัวระบบการจ่ายเงินระหว่างธนาคารข้ามพรมแดน (Cross-Border Interbank Payments Systems) นั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งในการตอบโต้การคว่ำบาตรของรัสเซียต่อไครเมียโดยชาติตะวันตก ในตอนนั้นจีนและรัสเซียเห็นพ้องว่า การแลกเปลี่ยนเงินหยวนจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้หันกลับมาสานต่อใหม่อีกครั้ง
แน่นอนว่าระบอบที่เกี่ยวข้องของทั้งสองขาติ ซึ่งอาจจะจบลงที่การโดนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจไปทั้งแพ็กเกจ ก็เป็นแรงจูงใจให้ต้องขยับตัวออกห่างจากเงินดอลลาร์ด้วย
สุดท้าย เราคงไม่อาจลืมได้ว่า รัสเซียยังคงจะเป็นผู้จัดหาน้ำมันและก๊าซรายหลักให้กับยุโรป ในฉากทัศน์นี้ ไม่แน่ว่าความกังวลเรื่องพลังงานอาจจะบีบบังคับให้เกิดการแตกแยกขึ้นในยุโรป และบ่อนเซาะความพยายามของคนยุโรปที่พยายามจะจัดการกับรัสเซียในฐานะก่ออาชญากรรมสงคราม
อ่านย้อนตอน 1 ได้ที่
ตอน 2 ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา