7 เม.ย. 2022 เวลา 01:08 • ธุรกิจ
“Climate Change” จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างไร ?
2
ในช่วงต้นสัปดาห์หลายคนคงได้สัมผัสกับอากาศเย็น ทั้ง ๆ ที่เป็นเดือนเมษายน จนกลายเป็นปรากฏการณ์ เมษาหน้าหนาว ทำให้หลายคนก็กังวลกันว่า สิ่งที่เกินขึ้นเป็นผลกระทบมาจาก Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างไปในหลาย ๆ อุตสาหกรรม
และกำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราและวิธีการทำงานของเรา ไปอย่างสิ้นเชิง
2
📌 การคาดการณ์ความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในปี 2019 องค์การแรงงานระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติรายงานว่า หากอุณหภูมิของโลกเราสูงขึ้นจริงตามที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยอิงจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จะทำให้ภายในปี 2030 ชั่วโมงการทำงานทั้งหมดทั่วโลกจะสูญหายไป 2.2% เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น
ซึ่งเทียบเท่ากับการสูญเสียงานเต็มเวลา 80 ล้านตำแหน่ง เทียบเท่ากับการสูญเสียทางเศรษฐกิจทั่วโลกจำนวน 2,400 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 80 ล้านล้านบาท
และเกือบทุกอุตสาหกรรมในโลกใบนี้จะถูกคุกคามจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมและงานในภาคเกษตรกรรมและการก่อสร้าง จะเป็นสองภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากภาวะโลกที่ร้อนขึ้น
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งผลการศึกษาในปี 2019 ที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวอาจสูญเสีย 520 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับ หรือประมาณ 17 ล้านล้านบาท และจะมีกว่า 22 ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น
4
📌 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ
ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
1. อุตสาหกรรรมการเกษตร
1
อุตสาหกรรมการเกษตร เป็นภาคที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยประชากรกว่า 940 ล้านคนทั่วโลกทำงานในอยู่ภาคเกษตรกรรม และมีคาดว่าประมาณ 60% ของชั่วโมงทำงานทั่วโลกจะสูญเสียไป เนื่องจากความเครียดจากความร้อนภายในปี 2030
นอกจากนี้ภาคเกษตรกรรมยังมีความเสี่ยงทางกายภาพโดยเฉพาะอีกด้วย เช่น อุทกภัยและภัยแล้งที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อพืชผลและปศุสัตว์ โดยมีข้อมูลตัวอย่างจาก สำนักเศรษฐศาสตร์การเกษตรและทรัพยากรของออสเตรเลีย ที่มีการรายงานว่า เกษตรกรชาวออสเตรเลียสูญเสียเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 25,484 ล้านบาท ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2019 เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปัญหาภัยแล้ง
2
2. อุตสาหกรรมภาคการก่อสร้าง
อุตสาหกรรมก่อสร้างจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นกัน โดยจะสูญเสียชั่วโมงทำงานทั่วโลกประมาณ 19% ในปี 2030 เพิ่มจาก 6% ในปี 1995 โดยภูมิภาคที่จะได้รับผลกระทบจากความเครียดจากความร้อน ส่วนใหญ่ คือ อเมริกาเหนือ ยุโรป และภูมิภาคอาหรับ
3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก็เป็นอีกภาคส่วนที่มีความเสี่ยงทางกายภาพทันทีจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น สกีรีสอร์ทกำลังเผชิญกับฤดูกาลที่สั้นลง เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้หิมะลดลง
1
สกีรีสอร์ทเกือบทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา อาจมีฤดูกาลที่สั้นลง 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 และมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2090 ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ตุรกีและออสเตรเลีย จะสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวเนื่องจากไฟป่า ทำให้การท่องเที่ยวในรูปแบบปีนเขาไม่ปลอดภัยอีกต่อไป
3
4. ภาคอุตสาหกรรมและบริการคิดเป็น 12% และ 10% ตามลำดับของชั่วโมงการทำงานจะหายไปจากความเครียดจากความร้อนในปี 2030
2
นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่อาจจะได้รับผลกระทบ เช่น อุตสาหกรรมพลังงาน ที่ได้รับการผลักดันให้หันเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รัฐบาลต่างๆ ได้เปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นเรื่อย ๆ
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ที่อาจได้รับผลกระทบจากผลของการทำเหมืองต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมกำลังในยุคที่คนเริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไม่ได้กระจายตัวกันอย่างเท่าเทียมไปทั่วโลก
โดยมีการคาดการณ์ว่า ภูมิภาคที่สูญเสียชั่วโมงทำงานมากที่สุด จะเป็นเอเชียใต้และแอฟริกาตะวันตก โดยคาดว่าประมาณ 5% ของชั่วโมงทำงานจะหายไปในปี 2030 ซึ่งสอดคล้องกับงานประมาณ 43 ล้านและ 9 ล้าน ตำแหน่ง ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ยากจนที่สุดจะต้องประสบกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และ ประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางและต่ำคาดว่าจะประสบปัญหาที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากมีทรัพยากรน้อยลงในการปรับตัวให้เข้ากับความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3
📌 การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ก็ได้ทำให้บางอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคเฟื่องฟู
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดความท้าทายต่อหลาย ๆ อุตสาหกรรมอย่างมาก
แต่อุตสาหกรรมบางประเภทกลับกลายเป็นยุคเฟื่องฟู เช่น ผู้ให้บริการพลังงานสะอาด ที่มีข้อมูลจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3% ในปี 2020
หรืออุตสาหกรรมนวัตกรรมด้านการขนส่งก็จะได้รับผลดีเช่นกัน จากการที่คณะกรรมการธิการยุโรป หรือ European Commission ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า จะไม่มีรถยนต์ใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งเบนซินและดีเซลตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป
โดยจะเหลือไว้เฉพาะรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าล้วนเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญของทวีปยุโรปในการลดการปล่อยมลพิษลงให้ได้มากที่สุด
ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์อย่างมากในครั้งนี้
ซึ่งตัวอย่างบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทนี้ก็คือ Tesla ที่มีเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
📌 แล้วจะรับมือกับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร ?
ภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวิธีจัดการ เพื่อความยืดหยุ่นและการปรับตัวของสภาพอากาศ ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศควรถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจหลัก และเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจ
โดยขั้นตอนเหล่านี้ อาจนำไปสู่การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่หรือย้ายเข้าสู่พื้นที่ใหม่ ๆ ของอุตสาหกรรม เช่น บริษัทพลังงาน BP จาก สหราชอาณาจักร ได้ลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 9 กิกะวัตต์ในสหรัฐอเมริกา
Exxon ได้ประกาศการลงทุนประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท ในเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อย่างไรก็ตาม การรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ควรได้รับการร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อมาลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และร่วมกันสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในโลกอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
4
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา