7 เม.ย. 2022 เวลา 16:06 • ปรัชญา
EP.4 ทำไมคนมีการศึกษา ก็หลงเป็นเหยี่อแก๊งค์ Call Center ได้
ตรู๊ดๆ เสียงดังมาจาก โทรศัพท์มือถือรุ่นที่เริ่มหายาก เพราะวางขายมานานแล้ว
คุณแม่วัย 55 ปี หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู แล้วเห็นว่าเป็นเบอร์ที่ไม่คุ้นเคย และไม่ได้โชว์ว่าโทรมาจากไหน จึงกดรับ เพราะอาจจะเป็นลูกค้าที่โทรมาสั่งซื้อของก็ได้
" ท่านมีบัญชีธนาคารที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI แจ้งอายัดไว้ 1 บัญชี เนื่องจากตรวจพบว่า เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพย์ติด ข้ามชาติ หากท่านไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพย์ติดนี้ กรุณากด 1 เพื่อติดต่อกลับทางเราโดยด่วน"
คุณแม่วัย 55 ตกใจมาก เลยรีบกด 1 เพื่อติดต่อเข้าไปปฏิเสธความเกี่ยวข้องนี้
"คุณต้องยืนยันความบริสุทธิ์ ว่าไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพย์ติด โดยไปดำเนินการที่ตู้ ATM ที่ใกล้ที่สุด และห้ามแจ้งเรื่องนี้ให้คนอื่นรู้ เพราะอาจจะมีการดักฟังโทรศัพท์อยู่ได้"
"ทางเราให้เวลา 5 นาทีเดินไปตู้ ATM ที่ใกล้ที่สุด เมื่อไปถึงหน้าตู้ ATM แล้วรอเราติดต่อกลับไปอีกครั้ง"
"คุณต้องดำเนินการกดรหัสตามที่เราบอก เพื่อยืนยันบัญชี ตามนี้ ......."
และสุดท้าย คุณก็ได้เป็นคนโอนเงินให้กับมิจฉาชีพ อย่างไม่รู้ตัว สูญเงินในบัญชีตัวเองไปเรียบร้อย.....
รูปภาพจาก https://www.bangkokbiznews.com/
ผมว่าหลายๆคน คงเคยได้ยินเรื่องราวลักษณะนี้ มาหลายต่อหลายครั้งนะครับ
บางคนอาจจะเคยสัมผัสมากับตัวเอง...
และก็มีข่าวคราว ของการโดนหลอกให้โอนเงิน จนสุดท้าย เสียเงินเป็นจำนวนมากไป
และที่สำคัญกระบวนการ แกีงค์ Call Center นี้มีข่าวคราวมานานไม่ต่ำกว่า 1-2 ปีมาแล้ว และมีการออกข่าวใหญ่โตกันบนทีวี และออนไลน์
แต่ก็ยังมีคนหลงเป็นเหยื่อของแก๊งค์ Call Center นี้อยู่
ส่วนมากเราก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมคนเหล่านั้นถึงยอมโอนเงินให้กับแก๊ง Call Center พวกนี้ ทั้งๆที่ดูก็ไม่มีความน่าเชือถือเลย ?
วันนี้ เราจะมาคุยกันโดยอ้างอิง จากหลักการตลาดพฤติกรรม หรือเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรม ทำไมคนถึงยังหลงเชื่อกันอยู่ มันมีเบื้องลึกอะไรที่เราไม่รู้อยู่หรือเปล่า ??
HOT-COLD EMPATHY GAP - ทฤษฏีที่จะมาช่วยไขความลับจิตใจของมนุษย์ต่อสถานการณ์นี้ครับ
รูปภาพจาก https://prezi.com/
hot-cold empathy gap เป็นผลงานการวิจัยของ George Loewenstein จากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ในสหรัฐฯ
งานวิจัยนี้ นำเสนอว่า คนเรามักจะประเมินค่า "การมีอิทธิพล หรือ Influences ของการเปลี่ยนแปลงภายใน มีผลต่อพฤติกรรมภายนอกของเรา ต่ำเกินไป
หรือถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจ ผมจะขออธิบายง่ายๆ คือ การตัดสินใจของคนเรามักขึ้นอยู่กับว่าในตอนนั้นเรา "กำลังรู้สึกยังไง" (State dependent) และมันยากมากที่จะจินตราการได้ว่า "ความรู้สึกอีกอย่าง" ในอีกสถานการณ์นั้นๆ เป็นยังไง
รูปภาพจาก www.marketingcuisine.com
พูดง่ายๆ คือ การตัดสินใจ หรือความคิดเห็นของเราต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต มักจะถูกควบคุมโดยความรู้สึกในปัจจุบันของเรา โดยที่เราไม่รู้ตัว
ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราอารมณ์ดี (Cold State) มีความสุขในขณะเดินทางท่องเที่ยวกับคนที่เรารัก เราก็จะจินตนาการไม่ค่อยออกว่าความโกรธ โมโห มันเป็นยังไง ถ้ามีเพื่อนโทรมาคุย มาปรับทุกข์กับเราว่ากำลังทะเลาะกับแฟน เราอาจนึกไม่ออกว่า อารมณ์ไม่ดีของเพื่อนมันจะเป็นยังไง
แม้ว่าจริงๆแล้ว เราอาจจะเกิดการทะเลาะกันแล้วเกิดอารมณ์ที่ไม่ดี (Hot State) บ้างก็เป็นไปได้
รูปภาพจาก https://web.colby.edu/
แล้วอารมณ์ดี หรืออารมณ์ไม่ดี มันเกี่ยวอะไรกับการหลงเชื่อ แล้วโดนหลองโดยแก๊ง Call Center ล่ะ ?
THE HEAT OF THE MOMENT
หนึ่งในบททดสอบงานวิจัย hot-cold empathy gap ที่โลเวนสไตน์ทำร่วมกับแดน อไรลี่ย์ คือการให้นศ. อาสาสมัครชาย 35 คน ที่ไม่ได้เป็นเกย์ อายุ 18-21 ปี จากมหาวิทยาลัย Berkeley ตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ
โดยตอนแรกทั้งคู่ให้นศ.ตอบคำถามในช่วง Cold State หรือช่วงที่ไม่ได้ตื่นตัวทางเพศ และหลังจากนั้นก็ให้นักศึกษานำ Laptop กลับบ้าน และให้พวกเขา ตอบคำถามใหม่ในช่วง Hot State หรือตอนที่กำลังช่วยตัวเอง
คำถามมีตัวอย่างดังนี้ครับ
1. คุณยอมมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอายุ 60 มั้ย
2. คุณคิดว่าจะกระตุ้นตัวเองจนถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ได้มั้ย
3. คุณคิดว่าตัวเองจะมอมยาผู้หญิงเพื่อจะได้มีเพศสัมพันธ์มั้ย
รูปภาพจาก https://relationships.onehowto.com/
คำตอบที่ได้ในช่วง Cold State เป็นดังนี้ครับ
1. 7% ตอบว่า ยอม มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอายุ 60
2. 6% ตอบว่า ยอม กระตุ้นตัวเองจนมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์
3. 5% ตอบว่า ตัวเองสามารถยอมยาผู้หญิงเพื่อจะมีเพศสัมพันธ์ได้
แต่สำหรับคำตอบในช่วง Hot State กลับเป็นดังนี้
1. 23% ตอบว่า ยอม มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงอายุ 60
2. 16% ตอบว่า ยอม กระตุ้นตัวเองจนมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์
3. 26% ตอบว่า ตัวเองสามารถยอมยาผู้หญิงเพื่อจะมีเพศสัมพันธ์ได้
ซึ่ง Hot State มีอัตราเพิ่มขึ้นกว่า Cold State ค่อนข้างเยอะมากเลย
สรุปก็คือ ตอนที่คนเราอยู่ในช่วง Cold State มักเชื่อว่า ตัวเองคงไม่หลงกลไปกับการหลองลวงแบบ ไม่สมเหตุ สมผลของแก็ง Call Center ได้ แต่ผลของการวิจัยชี้ให้เรารู้ว่า ไม่เกี่ยวว่าคุณจะเป็นคนมีการศึกษา หรือไม่มี แต่อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าเราอยู่ใน Hot State
เพราะ HOT-COLD EMPATHY GAP นี้ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรม และการกระทำที่อาจเกิดในอนาคตถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ฉนั้น จำเป็นอย่างมากที่เราต้องมีสติ และควบคุมสติ (ใช้ระบบสมองที่ 2 - Slow System) ให้มากขึ้น
และประเด็นที่สำคัญ คือ คนไทยกลัวขึ้นโรง ขึ้นศาล แบบหน้ามีดตามัว ฉนั้นเมื่อได้รับข้อความว่า เกี่ยวพันกับคดี ที่อาจจะต้องขึ้นโรง ขึ้นศาลแล้ว เรายินดีทำทุกอย่าง ให้เราหลุดจากปัญหาตรงนั้น โดยไม่ได้คิดตามหลักเหตุผลใดๆ
รูปภาพจาก https://www.reddeerexpress.com/
ฉะนั้น การแก้ปัญหาแท้จริง และสามารถแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้นั้น ควรเป็นการปลูกฝัง ให้คนเรา ไม่กลัวตำรวจ ไม่กลัวอัยการ และไม่กลัวการขึ้นศาล เพราะทั้ง 3 เป็นองค์ประกอบของระบบเท่านั้น ไม่ใช่องค์ประกอบการของความผิดที่เกิดขึ้น
การปรับแก้ไขนี้ น่าจะช่วยให้คนไทย ไม่หลงไปกับการหลอกลวงที่จะเข้ามาอีกหลากหลายรูปแบบในอนาคต ที่เราก็ยังไม่รู้ว่ามันจะพัฒนาไปถึงขั้นไหน
แต่เราสามารถป้องกันมันได้ครับ
ใครชื่นชอบการตลาดออนไลน์ แนวคิด วิเคราะห์ อยากแนะนำให้มาติดตามกันครับ
เรืองเล่า "จารย์มหาลัย เล่าเรื่อง" ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ด้านการตลาดในมุมมองต่างๆ ทาง Blockdit
"เรื่องเล่า การตลาดพฤติกรรม"
ที่อ.โหน่ง อยากมาแชร์ความคิด จิตวิทยามนุษย์ที่เกือบทุกคนตกหลุมพราง และเป็นเหยี่อของการตลาดบนโลกนี้
สอนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ฟรีๆ
ติดตามเรื่องราวดีๆ/บทความด้านการตลาดออนไลน์ ฟรีๆ ได้ที่
พูดคุยกันได้ที่ Line ID : https://lin.ee/ff6B0e0
ขอบคุณครับ
อ.โหน่ง อลงกรณ์ - พี่เลี้ยงการตลาดออนไลน์
ปล. อย่าลืม Add Line ID: https://lin.ee/ff6B0e0
เพื่อรับข่าวสารประชาสัมพันธ์นะคร้าบ
#MarketingCuisine #พี่เลี้ยงการตลาดออนไลน์ #ปรุงการตลาดออนไลน์
#อโหน่ง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา