11 เม.ย. 2022 เวลา 05:53 • ปรัชญา
EP. 5 จิตวิทยา ทำไมอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ยังเกิดขึ้นเยอะอยู่ แม้เราจะรณรงค์กันอย่างมากก็ตาม
"ศปถ.สรุปอุบัติเหตุทางถนน 7 วันอันตราย สงกรานต์ 64 รวมกว่า 2.3 พันครั้ง สาเหตุหลักขับรถเร็ว-ดื่มแล้วขับ"
ในปีพ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา นายอรรษิษฐ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ
ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 35.18 ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 22.13 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 83.27 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 58.10 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 39.13 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 37.15 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 33.20 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด อยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.79
ภาพจาก https://www.matichon.co.th/
เราคงเคยเห็นพาดหัวข้อข่าวแบบนี้เป็นประจำทุกๆ ปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์, ปีใหม่ ที่คนไทยจะเดินทางกลับบ้านเยอะที่สุด ประจำปี
แต่ถ้ามาสังเกตกันแบบเจาะลึก จะเห็นได้ว่า อุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ได้ลดลงเท่าที่ควรในแต่ละปีเลย อาจจะมีขึ้นๆ ลงๆ บ้าง แต่ไม่ได้แตกต่างกันซักเท่าไหร่
ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น....แล้วเบื้องลึกด้านจิตวิทยามันคืออะไร เราจะมาเล่าให้ฟัง
ภาพจาก amazon.com
ตามหลักจิตวิทยา เล่าว่า ถ้าเรามุ่งความสนใจไปหาสิ่งใดมากๆ จิตเราจะจดจ่อกับสิ่งนั้น จนอาจบันดาลใจให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้
จึงเป็นที่มาของหลักกฏแรงดึงดูด (The Law of Attraction) ที่โด่งดังจากหนังสือ The Secret ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้จริงครับ
หลายคนอาจจะบอกว่า เป็นเรื่องฝันเฟื่อง แต่เป็นที่พิสูจน์กันแล้วว่าความคิดของคนเราเป็นคลื่นความถี่เหมือนคลื่นวิทยุ ที่สามารถสื่อสารและดึงดูดกันได้
แต่ในทางจิตวิทยาพฤติกรรม มีหลักการอันหนึ่ง ที่ผมคิดว่าสามารถอ้างอิงกับสิ่งเหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน
Focusing Effect หรือ อคิที่เกิดขึ้นจากการให้ความสำคัญหรือเน้นรายละเอียดที่มากเกินไป มากกว่าการพิจารณา "ภาพใหญ่" ซึ่งอาจนําไปสู่ข้อผิดพลาดในการคิดพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคต การเน้นที่สิ่งที่คิดว่าสำคัญมากๆ บางครั้งปัจจัยเล็ก ๆ (ซึ่งอาจมีความสําคัญ) จะถูกเพิกเฉยทําให้ผลลัพธ์ที่แท้จริงแตกต่างจากผลลัพธ์ที่คาดการณ์ไว้
ภาพจาก YouTube.com
ในเรื่อง Focusing Effect นี้สามารถอธิบายทั้งการตัดสินใจเชิงนโยบายขององค์กร หรือการตัดสินใจส่วนตัวของมนุษย์ได้ ในเรื่องนี้ผมจะขอพูดถึงการตัดสินใจส่วนตัวของคนเรากันนะครับ
เหตุผลการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เกิดจากการเห็นแก่ความรวดเร็วมากกว่าความปลอดภัย
โดยช่วงเวลาที่คนเราตัดสินใจจะมีแรงจูงใจ 2 อย่างเกิดขึ้นพร้อมๆกัน และแข่งขันกัน คือ 1) ความปลอดภัย และ 2) ความรวดเร็วทันใจ
เมื่อคนเราต้องตัดสินใจ สมองคนเราจะเลือกแรงจูงใจ อย่างอัตโนมัติ (ตามระบบการตัดสินใจระบบที่ 1) เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตบ่อยเป็นปกติ ไม่ต้องไปเรียกระบบที่ 2 มาทำงาน
เรื่องความปลอดภัยอาจจะไม่เด่นชัดในใจ (เพราะมันไม่ค่อยเกิดกับเรา และมันไม่น่าเกิดกับเรา) แต่ความรีบร้อนระหว่างเดินทาง และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น (ช้า, เหนื่อย, เครียด) ทำให้คนตัดสินใจขับรถเร็ว เพื่อให้ไปถึงที่หมายรวดเร็วทันใจ มากกว่าความปลอดภัย
และปัญหาที่สำคัญที่ต้องพูดถึงคือ การที่ออกข่าวว่า เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นประจำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทุกปี ทางจิตวิทยา มนุษย์เราจะคิดและรับรู้ได้ว่ามันเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิด รู้สึกไม่ได้เรื่องแปลก
ดังนั้น ข่าวที่ออกมาก็ไม่ได้ส่งผลให้ อุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ลดลงแต่อย่างใด กลับส่งผลให้คนเชื่อต่อไปว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติ (ขับรถเร็ว, เมาแล้วขับ เป็นเรื่องปกติ)
เราคงต้องคิดใหม่ ทำใหม่กันแล้วไหมครับ ว่าเราจะเอาหลักจิตวิทยาพฤติกรรม หรือการตลาดพฤติกรรม ที่จะมาใช้แล้วชักจูงในคนปฏิบัติตาม ที่มากกว่ากฏหมาย ที่บังคับและมีบทลงโทษ (แต่ใช้ไม่ได้จริงจัง) เพื่อให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มาจากภายในกัน
ใครชื่นชอบการตลาดออนไลน์ แนวคิด วิเคราะห์ อยากแนะนำให้มาติดตามกันครับ
เรืองเล่า "จารย์มหาลัย เล่าเรื่อง" ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ด้านการตลาดในมุมมองต่างๆ ทาง Blockdit
"เรื่องเล่า การตลาดพฤติกรรม"
ที่อ.โหน่ง อยากมาแชร์ความคิด จิตวิทยามนุษย์ที่เกือบทุกคนตกหลุมพราง และเป็นเหยี่อของการตลาดบนโลกนี้
สอนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ฟรีๆ
ติดตามเรื่องราวดีๆ/บทความด้านการตลาดออนไลน์ ฟรีๆ ได้ที่
พูดคุยกันได้ที่ Line ID : https://lin.ee/ff6B0e0
อ.โหน่ง อลงกรณ์ - พี่เลี้ยงการตลาดออนไลน์
ปล. อย่าลืม Add Line ID: https://lin.ee/ff6B0e0
เพื่อรับข่าวสารประชาสัมพันธ์นะคร้าบ
#MarketingCuisine #พี่เลี้ยงการตลาดออนไลน์ #ปรุงการตลาดออนไลน์
#อโหน่ง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา