14 เม.ย. 2022 เวลา 20:52 • สิ่งแวดล้อม
#LetTheEarthBreath โลก(โรค)ป่วย...เราป่วย
8
โลกที่ป่วย ชีวิตบนโลกก็ป่วยตาม สุขภาพของเราขึ้นอยู่กับสุขภาพของโลก
Green Peace
10
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โรคที่มากับความร้อนก็มากขึ้น
ภาวะการเป็นลมแดดเนื่องจากความร้อนสูงเกินไป หรือ ฮีทสโตรก ทำให้เกิดการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ อากาศที่อุ่นขึ้นทำให้เชื้อโรคบางชนิดแพร่กระจายได้เร็วขึ้น และยังอาจพบโรคระบาดใหม่ที่มากับเชื้อโรคเมื่อน้ำแข็งละลาย รวมไปถึงโรคอุบัติใหม่ เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคซาร์ส ที่คร่าชีวิตผู้คนและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก
ไวรัสและแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโรคระบาดของมนุษย์มาเนิ่นนานหากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้น้ำแข็งอาร์กติกค่อย ๆ ละลายจนกระทั่งปลดปล่อยไวรัสและแบคทีเรียในยุคหลายพันปีก่อน นั่นหมายถึงมนุษย์ไม่เคยมีภูมิคุ้มกันโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากไวรัสและแบคทีเรียอายุพันปีที่เคยสงบนิ่งใต้น้ำแข็ง
สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าการคืนชีพกลับมาของเชื้อโรคต่าง ๆ คือ การอุบัติใหม่ และการย้ายถิ่นฐานของเชื้อโรค ที่เอื้อจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น และความทันสมัยของโลกที่ทำให้การเดินทางเป็นไปได้ง่าย
ในอดีตโรคระบาดจะจำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเท่านั้น แต่ลองจินตนาการว่าหากโรคนี้เกิดขึ้นในยุคที่การเดินทางสะดวกสบายรวดเร็วอย่างรถไฟและเครื่องบินที่เชื่อมต่อข้ามพรมแดนได้ง่ายนั้น จะเป็นอย่างไร
โรคระบาดที่มียุงและแมลงเป็นพาหะ อาทิ ไข้เหลือง และมาลาเรีย ทวีความถี่และเกิดผู้เคราะห์ร้ายมากขึ้นโดยมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยผลักดัน
ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (2019) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของโรคอุบัติใหม่จากไวรัสที่เห็นชัดที่สุดในขณะนี้ เราคงต้องรออีกสักนิดให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาถึงไวรัสนี้มากพอจึงจะชี้เฉพาะถึงที่มาและสาเหตุ แต่ประเด็นหลัก ๆ ที่น่าคิดคือ ภูมิคุ้มกัน อากาศที่เปลี่ยนแปลง และการ(กลับ)มาของเชื้อโรค
ไวรัสและแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโรคระบาดของมนุษย์มาเนิ่นนาน สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้มีอยู่ทั่วไปบนโลกของเรา ตั้งแต่ในก้อนหินเล็ก ๆ หนึ่งก้อน ยุงหนึ่งตัว ไปจนถึงลำไส้ของเรา ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลอีกหลาย ๆ จักรวาลที่มนุษย์ยังอาจไม่ทราบทั้งหมด ก้อนหินที่ดำรงอยู่ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งและเกิดการทับถมของดินมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละปี และถูกแช่แข็งไว้ผ่านเวลาหลายพันปี มนุษย์เพิ่งค้นพบยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียราว 70 ปีเท่านั้น และวัคซีนป้องกันไวรัสจะผลิตขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์เผชิญกับโรคนั้นเสียก่อน
แต่หากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้น้ำแข็งอาร์กติกค่อย ๆ ละลายจนกระทั่งปลดปล่อยไวรัสและแบคทีเรียที่จำศีลหลับไหลตั้งแต่ในยุคหลายพันปีก่อน ก่อนที่มนุษย์จะมีข้อมูลสิ่งเหล่านี้ล่ะ? ซึ่งนั่นหมายถึงมนุษย์ไม่เคยมีภูมิคุ้มกันโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากไวรัสและแบคทีเรียอายุพันปีที่เคยสงบนิ่งใต้น้ำแข็ง คำถามคือเราจะรับมือได้อย่างไร
แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าการคืนชีพกลับมาของเชื้อโรคต่าง ๆ คือ การอุบัติใหม่ และการย้ายถิ่นฐานของเชื้อโรค ที่เอื้อจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น และความทันสมัยของโลกที่ทำให้การเดินทางเป็นไปได้ง่าย ภาวะโลกร้อนไม่ได้เพียงแค่ทำให้น้ำแข็งละลายเท่านั้น แต่การเดินทางที่เข้าถึงพื้นที่หลากหลายง่ายขึ้น รวมถึงการที่พื้นที่อย่างไซบีเรียเข้าถึงได้จากการรุกล้ำของอุตสาหกรรมประมงและขุดเจาะพลังงาน ก็เป็นอีกหนทางที่เชื้อโรคสามารถเดินทางออกจากไซบีเรียไปยังที่ห่างไกลอื่นได้ และเพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคจากใต้ดินปนเปื้อนออกสู่ดินชั้นบน แหล่งน้ำ และห่วงโซ่อาหารได้
โรคระบาดที่มียุงและแมลงเป็นพาหะ อาทิ ไข้เหลือง และมาลาเรีย ทวีความถี่และเกิดผู้เคราะห์ร้ายมากขึ้นโดยมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยผลักดัน วงจรชีวิตและการเจริญเติบโตของยุงนั้นเกี่ยวข้องอย่างมากกับปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิ กล่าวคือ ยุงและแมลงชอบอากาศที่อบอุ่นจนถึงร้อน สามารถแพร่พันธุ์ได้ดีขึ้น เติบโตเร็วขึ้น นอกจากนี้วงจรของปรสิตในยุงยังพัฒนาไปเร็วขึ้นด้วยจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งอาจซ้ำความร้ายแรงด้วยปรสิตมาลาเรียดื้อยาที่เกิดขึ้นแล้วในปี 2562 ที่ผ่านมา
ไข้หวัดนกเองก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและเชื้อไวรัส เดิมทีหวัดนกนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติในสัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็ดหรือนกป่า ซึ่งตามปกติความหลากหลายของสายพันธุ์และความสมบูรณ์ของถิ่นที่อยู่และอาหารจะทำให้พวกมันมีภูมิต้านทาน แต่สภาวะโลกร้อนและการสูญเสียถิ่นที่อยู่ส่งผลต่อจำนวนประชากรของนก ประกอบกับฤดูที่เปลี่ยนแปลงไปได้เปลี่ยนแปลงวงจรและเส้นทางการบินอพยพ ทำให้ไวรัสที่เจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาตัว เส้นทางการบินที่เปลี่ยนไปหรือการเติบโตขึ้นของเมืองก็มีโอกาสที่นกป่าจะใกล้ชิดกับปศุสัตว์และมนุษย์มากขึ้น
หากกล่าวถึงโรคระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งหรือสองทศวรรษที่ผ่านมานั้น ตั้งแต่ ไข้เลือดออก ฉี่หนู อหิวาตกโรค อีโบลา ไข้หวัดนก วัณโรค ซาร์ส และมาลาเรีย ล้วนมีจุดเริ่มต้นติดต่อมาจากสัตว์สู่คน (ทั้งจากพาหะ หรือสัตว์โดยตรง) และพัฒนามาเป็นการติดเชื้อจากคนสู่คน ซึ่งสาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า ค้าสัตว์ป่า หรือการเข้าใกล้ชิดกับสัตว์ป่าโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
สภาพภูมิอากาศคือชนวน เชื้อโรคคือกระสุน
เราอาจจะได้รู้จักกับโรคระบาดชนิดใหม่มากขึ้น และรุนแรงขึ้น หากวิกฤตโลกร้อนยังคงดำเนินต่อไป
เราอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ร่วมกับสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ตั้งแต่ขนาดเล็กจนมองไม่เห็นอย่างแบคทีเรีย ไวรัส แมลง ไปจนถึงสรรพสัตว์ต่าง ๆ ความสมบูรณ์หลากหลายของสายพันธุ์และสิ่งแวดล้อมจึงเป็นกลไกตามธรรมชาติที่สำคัญที่สุดในการรักษาสมดุลของทุกชีวิต แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) แม้ดูจะเป็นหลักการที่เพิ่งได้รับการพูดถึงไม่นาน แต่การรักษาและคำนึงถึงสายสัมพันธ์ของสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งเดียวนั้นเป็นรากฐานการป้องกันและควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ได้อย่างดีที่สุด
ขอบคุณที่มาจาก TW: https://twitter.com/wowmakessense/status/1514617968478810117
โฆษณา