19 เม.ย. 2022 เวลา 04:43 • การตลาด
EP.7 Milli ข้าวเหนียวมะม่วง จิตวิทยา การแชร์และบอกต่อ
ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่าน นอกจากข่าวสงครามรัสเซีย ยูเครน และก็มีอีดหนึ่ง Event ที่แม้ว่าในอดีตจะไม่ดังในเมืองไทยเท่าไหร่ แต่สำหรับปีนี้อาจจะไม่ใช่
เทศกาลดนตรีและศิลปะประจำปี The Coachella Valley Music and Arts Festival 2022 จัดขึ้นที่เอ็มไพร์ โปโล คลับ เมืองอินดิโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกา ในปีนี้ ร้อนแรงและเป็นที่รู้จักสำหรับคนไทยอย่างรวดเร็วเมื่อแร็ปเปอร์สาวไทย MILLI (มิลลิ) ดนุภา คณาธีรกุล ขึ้นเวทีเป็นลำดับที่สอง ต่อจาก แจ็คสัน หวัง ร้องเพลง Mirror Mirror
Credit: Coachella
ในเนื้อเพลง MILLI กล่าวถึงเมืองไทย เช่น I’m Thai, Thailand so hot so hot, I can play Pingpong without hands, I didn’t ride an elephant
บอกให้รู้ว่าฉันไม่ได้ขี่ช้าง ประเทศไทยร้อน ร้อนมาก ๆ ที่บ้านฉันมีรถไฟลอยฟ้า รถไฟใต้ดิน เสากินรีหลักแสนก็มี ฯลฯ
แล้วโชว์กิน "ข้าวเหนียวมะม่วง" บนเวที  ยังแร็ปต่อว่า ประเทศไทยดี ผู้คนดี อาหารก็ดี แต่ Government is bood…
credit: kapook.com
ทำให้เกิดกระแสขึ้น twitter อันดับหนึ่งหลังจากนั้นไม่นาน
ล่าสุด ในวันเดียวกัน (17 เมษายน 2565) จากการตรวจสอบไปยังเว็บไซต์ Google พบว่าตั้งแต่ช่วงเช้า ที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย พบว่าคำว่า "mango sticky rice" กลายเป็นคำที่ถูกค้นหากันทั่วโลก โดยมียอดค้นหาพุ่งสูงสุดในเวลา 12.52 น. และเมื่อช่วงเวลาประมาณ 14.47 น. พบว่าประเทศที่มีการค้นหาคำว่า "mango sticky rice" มากที่สุด คือประเทศไทย รองลงมาคือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย
ดูคลิปการแร็ปของน้อง Milli คลิ๊ก
คุณทราบไหมครับ กระแสความโด่งดังของ Milli และข้าวเหนียวมะม่วง ไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวมันเอง แต่เกิดจากการที่ คนเล่นโซเชียล ต่างช่วยกันแชร์ และสื่อสังคมออนไลน์ ก็ต่างนำมาสร้างคอนเทนต์ และกระจายกันอย่างต่อนื่อง จนเกิดเป็นกระแส และนั่นคือสิ่งที่เราจะมาคุยกันในวันนี้ครับ
credit: Quicksprout
ทำไม คนเราถึงกด like, comment และ share เรื่องบางอย่างที่สนใจ แต่เรื่องบางอย่างก็น่าสนใจ เหมือนกัน แต่ไม่ได้รับการแชร์
ทำไมคนถึง "LIKE"
ทางเวปไซด์ marketingoops.com ได้นำเสนอในปี 2015 ว่า
44% ของผู้ใช้ Facebook จะคลิก Like วันละครั้ง 29% จะLike วันละหลายๆ ครั้ง
เหตุผลที่ 1 เพราะรวดเร็ว และเป็นการแสดงออกว่าเห็นด้วย
เหตุผลที่ 2 เพื่อยืนยันสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง จากกาสำรวจจาก 58,000 คน พบว่า การคลิก Like ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน.และคุณยังสามารถคาดเดาได้ว่าคนๆ นั้นคือใคร เช่น เป็นผู้ชาย หรือผู้หญิง มีความน่าเชื่อถือ 93% , อายุเท่าไร เชื่อถือได้ 75% เป็นต้น
เหตุผลที่ 3 เพื่อแสดงความเอาใจใส่ จากการสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับ Social Network มากขึ้น และยังให้ความสำคัญกับการสนทนาแบบโต้ตอบกันในทันที ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเอาใจใส่จริงๆ
เหตุผลที่ 4 Like เพราะคาดหวังสิ่งที่จะได้รับบางสิ่งบางอย่างตอบแทน เช่น คูปอง หรือข่าวสารจากแบรนด์ที่ตัวเองชื่นชอบ
49% ต้องการสนับสนุนแบรนด์ที่ชอบ
42% ต้องการคูปอง หรือส่วนลด
41% ต้องการรับข่าวสาร ข้อมูลจากแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ
35% ต้องการมีส่วนร่วมกับคอนเท้นต์นั้นๆ
31% เพราะเห็นว่าคอนเท้นต์ หรือโพสของคนๆ นั้น เป็นประสบการณ์ที่ดี
27% เพราเป็นเรื่องที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง และน่าสนใจ
21% Like ข้อมูลงานวิจัย หรือผลสำรวจจากแบรนด์ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า-บริการที่เฉพาะเจาะจง
20% เห็นเพื่อน “Like” หรือเป็นแฟนอยู่แล้ว
18% เห็นจากการทำโฆษณาของแบรนด์ (โทรทัศน์, Online และนิตยสาร)
15% ได้รับคำแนะนำจากแบรนด์
ทำไมเราถึง “Comment”
เราทุกคนมีบางสิ่งบางอย่างที่จะพูด หรือแสดงความคิดเห็น Moira Burke ได้สำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้ Facebook จำนวน 1,200 คน พบว่า การแสดงคิดเห็น คอมเม้นท์ จะเป็นการสร้างความพึงพอใจได้มากกว่าการคลิก Like
credit: Moira Burke
ทำไมเราถึง “Post” สเตตัส
• 10% ของผู้ใช้ Facebook จะอัปเดทสเตตัสใน Facebook เป็นประจำทุกวัน
• 4% ของผู้ใช้ Facebook จะอัปเดทสเตตัส วันละหลายๆ ครั้ง
• 25% ของผู้ใช้ Facebook ไม่เคยอัปเดทสเตตัสของตัวเองเลย
เหตุผลที่ 1 โพสเพื่อคลายความเหงา
จากผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มนักเรียน หรือนักศึกษา จะอัปเดทสเตตัสใน Facebook บ่อยขึ้น เมื่อรู้สึกเหงา
แล้วทำไมเราถึง “แชร์ ” ข้อมูลต่อล่ะ?
จากการสำรวจของ Ipsos เผยว่า
• 61% แชร์เรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ
• 43% แชร์เรื่องที่คิดว่าสำคัญ
• 43% แชร์เรื่องที่สนุกสนาน
• 37% แชร์เพื่อแนะนำให้คนอื่นๆ รู้ และเชื่อว่าเป็นความจริง
• 30% เพื่อแนะนำสินค้า บริการ ภาพยนตร์ หนังสือ ฯลฯ
• 29% แชร์เพราะต้องการสนับสนุน หรือสร้างความน่าเชื่อถือให้องค์กร
• 26% แชร์เพราะเห็นว่าแปลก และแตกต่าง
• 22% เพื่อให้คนอื่นรู้ว่า คุณกำลังทำอะไร
• 20% แชร์เพื่อเปิดประเด็น หรือเริ่มต้นบทสนทนา
• 10% แชร์เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขารู้
ข้อมูลเบื้องต้น เป็นข้อมูลที่ user เป็นผู้ตอบด้วยตัวเอง แต่ถ้าลองวิเคราะห์ดูก็จะดูขัดแย้งกัน เพราะ 61% บอกแชร์เรื่องที่น่าสนใจ
แต่มีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากมายที่ไม่ได้รับการแชร์ !!
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และถ้าเราอยากให้เรื่องราวของเราได้รับการแชร์เราจะทำอย่างไรดี?
โซเชียลมีเดีย ในแง่ของชีววิทยา
การที่เราเสพติดโซเชียลมีเดีย จริงๆแล้วมันเกิดจากสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราเอง ไม่ใช่นิสัยนะครับ แต่เป็นฮอร์โมน 2 ตัวนี้เลยครับ โดพามีน และ อ๊อกซีโทซิน
credit: balancemyhormones.co.uk
โดพามีน คือ ฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นความต้องการของมนุษย์
เพราะในขณะที่โดพามีนหลั่งออกมาจะทำให้คุณรู้สึกได้ถึงอารมณ์ที่พึงพอใจ มีความยินดี ความรักและความรู้สึกดีๆ จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ออกโทซิน คือ ฮอร์โมนสารเคมีที่สร้างความผูกพันธ์
มีรายงานว่าการใช้เวลา 10 นาทีในโลกโซเชียล สมองสามารถหลั่งฮอร์โมน ออกโทซินได้สูงกว่าปกติ 13 เปอร์เซนต์
เมื่อสมองหลั่งสารออกโซทิน ออกมาจะทำให้ความเครียดลดลง มีความรู้สึกรักและไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น มีความรู้สึกปรารถนา มากขึ้น
จากฮอร์โมนสองตัวนี้ ทำให้เกิดการสร้างความรัก ความพึงพอใจ หรือ ความรู้สึกปรารถนา ในช่วงเวลาที่เราใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่จะทำให้คนเราติดอยู่ในโลกโซเชียล และด้วยความรู้สึกดังกล่าวทำให้ผู้คนมักจะเชื่อใจคนที่อยู่ในโลกโซเชียลได้โดยง่าย
ทำไมเราถึงติดโซเชียลมีเดีย
เป็นเรื่องที่รู้กันอยู่แล้วว่า คนเราชอบพูดเรื่องของตนเอง และ โดยปกติแล้วมนุษย์ทั่วไปมักชอบพูดเรื่องของตนเอง แสดงความคิดเห็นของตัวเองในบทสนทนาทุกครั้ง ประมาณ 30-40 เปอร์เซนต์ แต่สำหรับคนที่ใช้โซเชียลมีเดีย นั้นจะพูดและแสดงความคิดเห็นของตนเองสูงถึง 80 เปอร์เซนต์
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะในการสนทนาแบบเห็นหน้ากันนั้น จะมีเรื่องของการควบคุมอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ในบางครั้งเราอาจไม่มีเวลาที่จะคิดคำตอบ ขณะเดียวกัน เราต้องคอยสบตาคู่สนทนา และคอยอ่านภาษากายของพวกเขาว่าสนใจในสิ่งที่เรากำลังพูดอยู่หรือไม่
แต่ในโลกโซเชียล นั้นทุกคนสามารถปรับแต่ง และ มีเวลาที่จะประดิษฐ์คำพูดของตนเองได้ ซึ่งแต่ละคนจะพยายามนำเสนอตนเองออกมาในด้านที่อยากให้คนเห็นและคิดว่าเขาเป็นคนแบบนั้น สังเกตุง่ายๆ จากโปรไฟล์ที่แต่ละคนปรับแต่งกันบนเฟซบุ๊ค ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสร้างตัวตนเพื่อเพิ่มความรู้สึก ภาคภูมิใจในตนเอง
การที่เราแชร์ นั้นคือเราต้องการแสดงตัวตนของตัวเอง จากผลสำรวจพบกว่า 68 เปอร์เซนต์ของผู้ที่แชร์ข้อความ หรือ ข่าวสารนั้น เพราะต้องการบอกคนอื่นว่า ฉันคิดอย่างไร ฉันเป็นคนอย่างไร และ เรื่องใดที่ฉันกำลังสนใจอยู่ในเวลานี้
credit: globallyconnectedlearning.com
และเพื่อบอกว่า คนอื่นว่า ฉันทันสมัย เป็นผู้นำทางสังคม เมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร ฉันจะแชร์
คอนเทนต์บางอย่างที่สำคัญ มีประโยชน์ แต่ไม่คูล ไม่เท่ห์ ฉันก็ไม่แชร์ แต่ถ้าเป็นนเรื่องบางอย่างที่อาจจะไม่ดี ไม่มีประโยชน์ แต่มันดูเท่ห์ทันสมัย ฉันจะแชร์
ฉะนั้น ไม่เกี่ยวว่าเนื้อหานั้นจะมีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์ ดีต่อสังคม หรือไม่ ถ้ามันสามารถบ่งบอกตัวตนที่ทำให้ดูดี ดูเท่ห์ ดูน่าสนใจ เนื้อหานั้นจะมีโอกาสที่จะได้รับการแชร์ต่อเนื่องได้
และการแชร์กันต่อเนื่อง จะเป็นจุดเริ่มต้น ให้สื่อสังคมอื่นๆ เริ่มรับรู้ และขยายผลการแชร์ (ด้วยการเอาเนื้อหานั้นไปทำคอนเทนต์ต่อเอง โดยไม่ต้องว่าจ้าง)
ยิ่งหลายสำนักเอาไปทำคอนเทนต์มากๆ จนเริ่มเกิดกระแสต้น และมันจะดังเป็นพลุแตก เมื่อ Influencer ในสังคมเช่นดารา เน็ตไอดอล เอาไปขยายผลต่อ เช่นทำ Tiktok ล้อ, Cover เมื่อนั้นอะไรก็หยุดไม่อยู่ครับ
แล้วในครั้งต่อๆไป เราจะมาคุยกันอีกทีว่า Viral Content มันไม่ได้เกิดขึ้นเองได้ แต่มันต้องมีลักษณะบางอย่าง และต้องทำยังไงถึงจะทำให้เกิดกระแส ได้รวดเร็ว
กด follow ติดตามกันไว้นะครับ แล้วเรามาคุยกันในครั้งต่อไปครับ
ใครชื่นชอบการตลาดออนไลน์ แนวคิด วิเคราะห์ อยากแนะนำให้มาติดตามกันครับ
เรื่องเล่า "จารย์มหาลัย เล่าเรื่อง" ที่จะมาแชร์ประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ด้านการตลาดในมุมมองต่างๆ ทาง Blockdit
"เรื่องเล่า การตลาดพฤติกรรม"
ที่อ.โหน่ง อยากมาแชร์ความคิด จิตวิทยามนุษย์ที่เกือบทุกคนตกหลุมพราง และเป็นเหยี่อของการตลาดบนโลกนี้
สอนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ฟรีๆ
ติดตามเรื่องราวดีๆ/บทความด้านการตลาดออนไลน์ ฟรีๆ ได้ที่
พูดคุยกันได้ที่ Line ID : https://lin.ee/ff6B0e0
อ.โหน่ง อลงกรณ์ - พี่เลี้ยงการตลาดออนไลน์
ปล. อย่าลืม Add Line ID: https://lin.ee/ff6B0e0
เพื่อรับข่าวสารประชาสัมพันธ์นะคร้าบ
#MarketingCuisine #พี่เลี้ยงการตลาดออนไลน์ #ปรุงการตลาดออนไลน์
#อโหน่ง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา