29 เม.ย. 2022 เวลา 13:25 • สุขภาพ
3 ผักพื้นบ้านต้านโรค Ep.2
รูปภาพจาก: Pixabay.com
จากบทความ 3 พื้นบ้านต้านโรค Ep.1 ได้พูดถึงคุณประโยชน์ของ ผักโหระภา ผักกระเพรา และตะไคร้ ซึ่งล้วนแต่เป็นผักที่มีคุณประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย ใน 3 ผักพื้นบ้านต้านโรค Ep.2 นี้จะพูดถึง หัวหอมแดง กระเทียม และพริก ซึ่ง 3 ผักที่กล่าวมานั้นมักนิยมไปเป็นเครื่องเทศดับกลิ่นคาว ให้รสชาติที่มีความเผ็ดร้อนถึงเครื่อง เหมาะกับคนที่ชอบทานอาหารรสชาติเผ็ดร้อนแต่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย
รูปภาพจาก: Pixabay.com
หอมหัวแดง มีสรรพคุณดี คุณประโยชน์ มากมาย เพราะในการประกอบอาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันจะมักจะนพหอมหัวแดงนำไปเป็นส่วนประกอบอาหาร เช่น แกงอ่อม น้ำพริก ไข่ลูกเขย น้ำปลาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้แล้วหอมหัวแดงยังมีสารสำคัญหลักๆ คือ ไดอัลลิน ไตรซัลไฟต์ ฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ และเพคติน ซึ่งสารเหล่านี้ส่งผลทำให้หอมหัวแดงมีสรรพคุณในการต้านโรคต่างๆ เช่น ยับยั้งแบคทีเรีย ลดไขมันในเส้นเลือด เป็นยาขับลมในลำไส้แก้ปวดท้อง แก้หวัด แก้คัดจมูก ขับเสมหะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้แก้ผิวหนังอักเสบและสามารถดมเมื่อเป็นลมได้
รูปภาพจาก: Pixabay.com
กระเทียม ในทางการแพทย์ ยาตำหรับไทย หรือพืชสมุนไพร กระเทียมคือพืชที่มีการพูดถึงและถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะมีสรรพคุณดีๆมากมายจนกระเทียมถูกนำมาแปรรูปเป็นแบบแคปซูลเพื่อเป็นทางเลือกให้คนที่รักสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามอาหารส่วนใหญ่ของไทยก็มักจะนำกระเทียมมาเป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำกระเทียมเย็นสกัด หมูกระเทียม ไก่กระเทียม ผัดผัก และน้ำพริก เป็นต้น ในกระเทียมมีสารสำคัญ คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินบี และสารต้านอนุมูลอิสระ และในงานวิจัยของประเทศสหรัฐฯ พบว่าในกระเทียมมีอีกหนึ่งสารสำคัญที่ชื่อว่า “อัลลิซิน” ซึ่งสารนี้จะมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง จึงมีคำแนะนำให้ทานกระเทียมวันละ 2-5 กลีบต่อวัน นอกจากนี้กระเทียมยังสามารถ แก้จุกเสียด แก้อาการแน่นท้อง ช่วยในเรื่องการขับลม แก้หวัด ช่วยขับพยาธิ รักษาริดสีดวง และแก้ไอ เป็นต้น
รูปภาพจาก: Pixabay.com
พริก ถูกนำมาใช้ประกอบอาหารมากมาย ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบสด แบบแห้ง และแบบผง ซึ่งเมนูอาหารที่นึกถึงพริกคือเมนูที่มีรสชาติเผ็ดร้อน เช่น ส้มตำ น้ำพริกต่างๆ เป็นต้น อย่างที่ทราบกันดีว่าในพริกนั้นจะมีสารให้ความเผ็ดที่ชื่อว่า “capsaicin” ซึ่งเป็นสารให้ความเผ็ดที่สามารถทนต่อความเย็นและความร้อนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อเรานำพริกมาประกอบอาหารโดยการผ่านความร้อนแต่พริกก็ยังคงให้ความเผ็ดได้เป็นอย่างดี นอกจากพริกจะให้ความเผ็ดแล้วยังมีสรรพคุณที่เด่นๆ เช่น ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยลดการเกิดหวัด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชอลอวัย ช่วยในเจริญอาหาร และทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น เป็นต้น
โฆษณา