2 พ.ค. 2022 เวลา 12:26 • ยานยนต์
1) ขึ้นอยู่กับ “กำลังซื้อ” ส่วนบุคคลครับ คือถ้ามีเงินพอจะซื้อรถ EV มาลองใช้ดูเพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรถน้ำมัน ก็สามารถทำได้
โดยส่วนตัวผมเองมองว่า รถ EV น่าจะมีค่าบำรุงรักษาและเปลี่ยนอะไหล่น้อยกว่ารถนำ้มัน เช่น รถ EV ไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่พวก
ยางรองแท่นเครื่อง, ไส้กรองอากาศ, นำ้มันเครื่อง, ประเก็นผาสูบ, หัวเทียน, หัวฉีด, หม้อนำ้, พัดลมหม้อนำ้ ฯลฯ
ในขณะที่รถ EV มีประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องการเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นประเด็นหลัก!
2) บริษัทผู้ผลิตรถเจ้าใหญ่ๆก็มีแผนจะผลิตรถ EV เพียงอย่างเดียวและเลิกผลิตรถนำ้มันเป็นการถาวร โดยเท่าที่ผมเห็นในข่าวคาดว่าจะเป็นช่วงปี 2030-2035 คือ ถ้าใครคิดจะซื้อรถนำ้มันวันนี้ แล้วใช้ไปอีกประมาณ สิบกว่าปีแล้วหันไปใช้รถ EV, รถนำ้มันคันนั้นอาจเป็นรถนำ้มันคันท้ายๆที่คุณมีโอกาสซื้อ!
3) ถ้าบ้านเราได้ลงมือผลิตแบตเตอรี่รถ EV จริงๆ ก็น่าจะเป็นปัจจัยให้ราคาอะไหล่ของแบตเตอรี่รถ EV มีราคาที่ตำ่ลงได้
แต่ปัญหาน่าจะเป็นเรื่องแร่ธาตุที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่รถ EV เช่น Nickel ที่บ้านเราอาจจะมีไม่มากพอจนทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ป้อนโรงงาน และนั่นอาจเป็น “โอกาส” ให้ประเทศอื่นๆที่มีวัตถุดิบประเภทนี้ได้เปรียบในการผลิตแบตเตอรี่ออกสู่ตลาดโลก
และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็จะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ชาวไทยจะได้ใช้แบตเตอรี่คุณภาพดีราคาถูกที่ผลิตได้เองในบ้านเรา
4) เนื้อหาบางส่วนจากข้อมูลของทาง
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ออกรายงาน "เมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนเป็น EV ทำไมไทยเสียเปรียบคู่แข่ง?"
มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้ครับ
อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่โดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งนโยบายลดภาษีอย่างเดียวจะไม่ได้ผลในการพัฒนาอุตสาหกรรมอีกต่อไป แต่ต้องพัฒนานวัตกรรมของไทยเอง โดยที่ผ่านมาประเทศไทยยังพึ่งพาแต่นวัตกรรมจากญี่ปุ่นเป็นหลัก ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ไทยไม่สามารถเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เหมือนที่เคยเป็นฐานการผลิตยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในอีกต่อไป
ในระยะสั้น KKP Research ประเมินว่ายังเป็นไปไม่ได้ที่ทั้งโลกจะหันมาใช้ EV แทนรถยนต์ ICE (Internal Combustion Engine, เครื่องยนต์สันดาปภายใน) ทั้งหมดในช่วง 5 ปีหลังจากนี้ เนื่องจากกำลังการผลิตแร่ลิเทียมซึ่งต้องใช้ในการผลิตแบตเตอรี่อยู่ที่ 1 แสนตันต่อปี ซึ่งเพียงพอกับการผลิตแบตเตอรี่สำหรับ EV เพียง 11 ล้านคันเท่านั้น
ในขณะที่ผลิตรถยนต์ทั่วโลก 80ล้านคันต่อปี ซึ่งหมายความว่าในระยะสั้น ยอดขายรถยนต์ EV จะเติบโตได้อย่างมากที่สุดเฉลี่ยปีละ 30% ลดลงจากช่วง 2019-2021 ที่โตเฉลี่ยปีละ 70%
KKP Research คาดว่ายอดขาย EV ทั่วโลกในปี 2025 จะมีสัดส่วน 16.9% ของยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมดในขณะที่สำหรับไทย จะโตได้ในอัตราที่ต่ำกว่าและมีสัดส่วนเพียง 4.5% เพราะราคา EV ยังแพงกว่า ICE มากและมีทางเลือกน้อย อย่างไรก็ตาม
ในระยะยาวเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่ที่กำลังพัฒนา เช่น Solid-State Battery และ Hydrogen Fuel Cell รวมถึงกำลังผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ราคารถยนต์ EV ลดต่ำลงและสนับสนุนให้ยอดขายรถยนต์ EV เติบโตได้เร็วขึ้น
ไทยอาจไม่ใช่ฐานการผลิตรถยนต์ในอนาคต
มูลค่าเพิ่มหลักกว่า 30% ของรถยนต์ไฟฟ้า คือ Li-Ion Battery ซึ่งไทยแทบไม่มีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน และเสียเปรียบคู่แข่งในหลายมิติ 1) ไทยไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนจีน การผลิตแบตเตอรี่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันจีนครอบครองการผลิตจำนวนมาก โดยบริษัท CALT ในจีนครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 40% ซึ่งสะท้อนข้อจำกัดในการเข้าตลาดสำหรับคู่แข่งรายใหม่
2) อินโดนีเซียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวเพราะเป็นแหล่ง Nickel ที่สำคัญของโลกมากถึง 30% ประกอบกับต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า และตลาดที่ใหญ่กว่า ทำให้เริ่มเห็นหลายบริษัท เช่น LG Energy Solution และ Hyundai Motor ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อันดับสองของโลกเริ่มเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย น่ากังวลว่าท้ายที่สุดประเทศไทยจะเสียส่วนแบ่งตลาดของยานยนต์ไปให้จีนและอินโดนีเซียมากขึ้นเรื่อย ๆ
5) ผมเองสนใจวงการรถยนต์ เลยพอจะมีข้อมูลที่รวบรวมไว้เป็น posts ของผมที่ชี้แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับรถ EV ไว้ดังนี้ครับ
6) ตอนนี้ถ้าใครอยากใช้รถแบบประหยัดนำ้มัน ลองดู posts เหล่านี้ของผมได้ครับ
โฆษณา