8 พ.ค. 2022 เวลา 03:23 • ปรัชญา
🇯🇵ความเฉพาะตัวที่เหมือนเป็นลายเซนของชาติ..."ญี่ปุ่น" ถือเป็นประเทศหนึ่งที่สะท้อนตัวตนออกมาได้ดีและชัดเจน
ความเป็นญี่ปุ่นนั้นมีเสน่ห์
อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
วินดา
1
ยิ่งวินดาได้มีโอกาสฟังเรื่องราวปรัชญาชีวิตญี่ปุ่นผ่าน อ.เกตุ ยิ่งทำให้คอนเฟิร์มวิธีคิดที่น่าสนใจ และลึกซึ้ง พร้อมรอยยิ้มอิ่มเอมไปด้วยค่ะ😄
เมื่อได้ดูและฟังรายการจบ...วินดาคิดว่าเป็นเรื่องราวที่ดี มีประโยชน์ เลยถือโอกาสนี้มาแบ่งปันกับทุกคนนะคะ
ความรู้ทางปรัชญาของญี่ปุ่นเหล่านี้มาจาก Youtube ช่อง Cigna Thailand, รายการ Jigsaw For Good Life Ep.28 บทเรียนชีวิตจากญี่ปุ่น
1
🙇🏻‍♀️credit รายการ Jigsaw For Good Life Ep.28 บทเรียนชีวิตจากญี่ปุ่น
จาก อ.ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชา พาณิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เจ้าของเพจ เกตุวดี Marumura) สัมภาษณ์พูดคุยโดย นิ้วกลม, คุณเอ๋ สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์
ในรายการ อ.เกตุ และ คุณอ๋ ได้คุยกันถึงเรื่องอิคิไก, อิจิโกะ อิจิเกะ, วะบิ-ซะบิ และอีกหลายปรัชญาชีวิตญี่ปุ่น ซึ่งล้วนทำให้เราเห็นว่าทุกสิ่งที่ได้ทำล้วนมีแก่นและความหมายที่ลึกซึ้ง
1
อ.เกตุ เล่าว่ามีโอกาสได้ไปเรียนต่อและอยู่ที่ญี่ปุ่นนาน 8 ปี ตอนแรกที่ไปถึงรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่ได้พบเห็น เพราะสมัยนั้นสื่อยังไม่ได้มีอะไรทำให้เราได้เห็นญี่ปุ่นมากนักจะมีก็พวกการ์ตูน ไม่ได้เข้าถึงญี่ปุ่นง่ายขนาดนี้ แต่ก็ไม่ถึงขนาด Culture Shock เพราะไทยกับญี่ปุ่นก็มีความคล้ายกันอยู่บ้าง
🙇🏻‍♀️credit รายการ Jigsaw For Good Life Ep.28 บทเรียนชีวิตจากญี่ปุ่น
สิ่งที่เห็นเป็นความคล้ายกันของคนไทยและญี่ปุ่นน่าจะเป็นเรื่องความเกรงใจ คิดถึงกันและกัน แต่ญี่ปุ่นจะมีความแคร์มากๆในแบบที่เรานึกไม่ถึง เช่น เพื่อนที่มหาวิทยาลัยเอาขนมจากต่างประเทศมาฝาก แต่เขาไม่ได้เอาแค่ขนมมาให้ เขาเอาถุงสำหรับใส่ขนมมาด้วย เพื่อให้เราถือกลับบ้านได้สะดวก นี่คือความใส่ใจ
1
🌸"ความใส่ใจ" ที่ละเอียดของญี่ปุ่นอาจเพราะอยู่กับธรรมชาติเยอะ ฤดูของญี่ปุ่นแบบโบราณมีไปถึง 72 ฤดู แบ่งละเอียดเยอะมาก เช่น ฤดูจั๊กจั่นออกจากดิน, ฤดูน้ำค้างตกลงบนยอดหญ้า, ฤดูฝนตกปรอยๆ
2
เขาเห็นความเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ ใส่ใจและสังเกตธรรมชาติรอบตัวเลยทำให้เป็นคนละเอียด สังเกต และใส่ใจโดยอัตโนมัติ
🌸ความรู้สึกละเอียดอ่อนนี้ทำให้เขาอ่านความรู้สึกกันและกัน ใส่ใจกันและกันได้ง่ายขึ้น เช่น ถ้าขึ้นสายการบินญี่ปุ่นเวลาเสิร์ฟน้ำ แอร์สังเกตหน้าเรามีเหงื่อออกเขาจะถามว่า "สนใจจะรับน้ำเย็นไหมค่ะ?"
1
อ.เกตุ เล่าประสบการณ์ว่า ครั้งนึงเคยขอชาเขียวญี่ปุ่นบนเครื่องบิน แอร์ชงมาให้ในอุณหภูมิที่ดื่มได้พอดี เป็นความละเอียดที่สะท้อนกลับไปถึงการสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่า นั่นคือความละเอียดช่วยสร้างคุณค่าให้กับงาน
1
🌸โมโน โนะ อาวาเระ : ความเศร้าที่งดงาม
ความหมายที่ซ้อนอยู่ในคำนี้โยงไปกับ วะบิ-ซะบิ : ความงามที่ไม่สมบูรณ์แบบ
🙇🏻‍♀️credit รายการ Jigsaw For Good Life Ep.28 บทเรียนชีวิตจากญี่ปุ่น
แนวคิดนี้คือสิ่งของที่มันเป็นแบบนั้นเพราะมันเป็นแบบนั้นของมันอยู่แล้ว เช่น โต๊ะปล่อยไว้นานมันก็ผุพัง, เหล็กปล่อยไว้นานมันก็ขึ้นสนิม แต่มันก็คือความสวยงามในแบบของมันที่ผ่านไปตามกาลเวลา
1
กระเป๋าใบนึงของอ.เกตุ ซื้อจากแบรนด์ดังที่เกียวโตเป็นสีเนื้อ ดูจากสีแล้วเลอะง่าย ญี่ปุ่นมองว่าถ้าเลอะมันคือความงามในแบบของมัน มันคือเราเท่านั้นที่สร้างได้ มันคือความงามในแบบญี่ปุ่น
2
🌸ในเรื่องการทำงานของคนญี่ปุ่น >> ไม่มีงานไหนสมบูรณ์แบบสำหรับเรา คนญี่ปุ่นจะไม่ใช้คำว่า "Perfect" เขาจะใช้คำว่า "ดีขึ้นไปเรื่อยๆ เราต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ เติบโตไปเรื่อยๆ" ให้มองที่งานเราว่ามีอะไรที่ผิดพลาด มีตรงไหนที่จะปรับให้ดีขึ้นได้ เหมือนเป็นการปรับทีละนิดในแต่ละวันให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
อย่างคุณปู่ JIRO ที่ปั้นซูชิ (วินดาเคยดูสารคดีตั้งแต่สมัยเป็นแผ่น CD ชื่อ Jiro Dreams of Sushi) ตอนนี้น่าจะหาดูได้ง่ายขึ้นแล้วค่ะ
🌸อีกเรื่องที่คุณเอ๋ถามอ.เกตุอย่างน่าสนใจคือ คนญี่ปุ่นมักทำทุกอย่างดูจริงจัง เช่น มีพิพิธภัณฑ์ราเมน คุณสมบัติแบบนี้สะท้อนอะไร?
อ.เกตุ ให้ความเห็นว่าถ้ามองในด้านนักการศึกษา น่าจะคือการสอนให้เด็กได้เจอสิ่งที่ชอบตั้งแต่ยังเด็กด้วยตัวเอง
ญี่ปุ่นมีวิชาวิจัยอิสระ เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำวิจัยอะไรก็ได้ช่วงปิดเทอมหน้าร้อน เด็กป.1 มีการปลูกมะเขือเทศ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง เด็กได้เห็นการเจริญเติบโต
เด็กป.6 มีทำเรื่องแมลงในเมืองของฉัน เด็กก็ไปเดินพลิกฝาท่อ ถ่ายรูปว่าตัวนี้ชื่ออะไรไปหาข้อมูล พอไปPresentในห้องเรียนแล้วเพื่อนๆปรบมือให้ มันคือ momemt ของความภูมิใจ
1
เด็กได้เรียนรู้ในเรื่อง 1.ได้รู้ว่าชอบอะไร 2.ต้องมีวิธีในการหาข้อมูลนั้น พอโตเป็นผู้ใหญ่มีความรู้ติดตัวในการหาองค์ความรู้และต่อยอดเองได้
ในเรื่องของการทำงาน คนญี่ปุ่นมีความตั้งใจ เช่น คิด Product เขาจะคิดถึงลูกค้า สมมติว่าลูกค้าเป็นแม่บ้าน เขาจะคิดว่าเมื่อหยิบสินค้าเราขึ้นมาแม่บ้านจะรู้สึกยังไง? เขาจะ Happy ไหม เวลาเปิดออกมาจะตื่นเต้นไหม? ไม่ตื่นเต้น!?!...คิดไอเดียใหม่ นี่คือการใส่ใจลูกค้าจริงๆ
1
ไม่ได้คิดแค่ว่าเป็นแม่บ้านขนมต้องเฮลตี้จบ!!! แต่คนญี่ปุ่นจะคิดตั้งแต่หยิบขึ้นมา เปิดกิน ตอนกินจะทำอะไร และเมื่อกินเสร็จต้องทิ้ง ที่ญี่ปุ่นมีการแยกขยะลูกค้าจะทิ้งยากไม่ได้ก็คิดวิธีการพับกล่องมาให้ คิดทุกอย่าง ทุกจุด
มาถึงเรื่องการบริการ คนญี่ปุ่นไม่ได้มองว่าการบริการ คือแค่การให้บริการ สำหรับญี่ปุ่นใช้คำว่า
🙇🏻‍♀️credit รายการ Jigsaw For Good Life Ep.28 บทเรียนชีวิตจากญี่ปุ่น
🌸โอะโมะเตนาชิ : จิตวิญญาณการบริการ
รากศัพท์คือไม่มีหน้าไม่มีหลัง เขาจะคิดว่าที่ให้คุณไปไม่ได้หวังทิป ไม่ได้หวังให้คุณกลับมานะ แต่ฉันแค่ปรารถนาดีกับคุณ ใส่ใจกับคนตรงหน้า คือ วิธีที่คิดเสมอในงานบริการ สิ่งนี้ทำให้เรามีความสุข "ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ" ได้ความเป็นมนุษย์ต่อกัน "ให้ใจได้ใจ"
1
ที่เราเคยเห็นหรือเคยได้ยินว่าคนญี่ปุ่นจะส่งแขกจนลับตา คือ
🌸อิจิโกะ อิจิเอะ : ครั้งเดียวตลอดกาล หนึ่งครั้งหนึ่งพบพาน
🙇🏻‍♀️credit รายการ Jigsaw For Good Life Ep.28 บทเรียนชีวิตจากญี่ปุ่น
เขาจะคิดว่าการได้มาเจอกันครั้งนี้อาจเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายก็ได้ หรืออาจจะเจอกันอีกแต่บรรยากาศอาจต่างกัน มันจะไม่มีครั้งไหนที่เหมือนกัน
1
🌸ในเรื่องของพิธีชงชา คุณเอ๋ ได้ถามถึงความช้า ความพิถีพิถันที่เกิดขึ้น ว่าคนญี่ปุ่นต้องการอะไรจากผู้เข้าร่วม?
อ.เกตุ ได้ตอบอย่างน่าค้นหาว่า เขาไม่ได้ต้องการอะไร คือแค่เราสองคนได้ใช้เวลาดีๆร่วมกัน พิธีชงชาสมัยก่อนคือซามูไรจะดื่มด้วยกันก่อนรบ ไม่รู้ว่าจะได้เจอกันอีกไหม เพราะฉะนั้นการดื่มชาด้วยกันเป็นเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับเราสองคน
อาจไม่ต้องคุยกันแค่ได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกัน ฟังเสียงน้ำเดือด ฟังเสียงตอนชงชา แค่นี้ก็ถือเป็นเวลาดื่มด่ำที่มีค่าแล้ว ไม่ใช่การเจอกันแล้วนั่งเม้า ถ้าเปรียบเทียบกับการปฏิบัติธรรม การชงชาก็คือการเจริญสติ
ความเงียบ สำหรับญี่ปุ่น คือ ความสงบ ได้อยู่กับตัวเอง ได้ครุ่นคิด ได้ตกตะกอน
🌸อิคิไก : ชีวิตที่มีคุณค่า
หลายคนจะนึกถึงเรื่องใหญ่ เข่น ช่วยชาติ นี่คือเป็นอิคิไกใหญ่ แต่มันจะมีอิคิไกเล็กๆอยู่ด้วยเมื่อ..."เมื่อไหร่ที่เราคิดว่า เกิดมาก็ดีเนอะ ชีวิตมีคุณค่า" เช่น นอนฟังเสียงฝนตก เป็น moment ที่เกิดมาก็ดีนะเราได้ฟังเสียงฝนตกด้วย มีอิคิไกได้หมดขึ้นอยู่กับว่าเราสัมผัสรึป่าว
2
🙇🏻‍♀️credit รายการ Jigsaw For Good Life Ep.28 บทเรียนชีวิตจากญี่ปุ่น
อิคิไก มันคือการสัมผัส สังเกต และระลึกได้ โดยไม่ต้องตามหา เพราะมันคือตัวเราที่จะเห็นหรือไม่เห็นเรื่องพวกนี้
1
🌸โอคาเกะซามาเดะ : คำขอบคุณที่สะท้อนแง่งามชีวิต
ถ้าในภาษาอังกฤษ คือ Thanks to you. ภาษาญี่ปุ่นมีคำขอบคุณเยอะมาก
🙇🏻‍♀️credit รายการ Jigsaw For Good Life Ep.28 บทเรียนชีวิตจากญี่ปุ่น
โอคาเกะซามาเดะ จะแปลว่า ด้วยร่มเงาของท่านทำให้ฉันอยู่เย็นเป็นสุข
อ.เกตุ เล่าว่ามีอยู่วันนึงกลับบ้านมาเจอกับคุณยายข้างบ้านจึงยืนทักทาย ซึ่งคุณยายได้ตอบเป็นคำขอบคุณคำนี้มาทั้งๆที่ อ.เกตุ ไม่เคยทำอะไรให้คุณยายเลย แต่ในความหมายของคุณยายคือ แค่อ.เกตุมาอยู่ที่บ้านนี้ก็ทำให้คุณยายได้อยู่อย่างสงบสุข ดีกว่าที่บ้านอาจเป็นที่อยู่ของพวกมาเฟีย
🤗นี่คือเรื่องราวที่วินดาได้ดูได้ฟังสิ่งที่คุณเอ๋ และ อ.เกตุ พูดคุยกันในรายการ ได้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ และใจฟูฟู กลับออกมาด้วยค่ะ
ขอบคุณคุณเอ๋ที่ถามคำถามแทนใจคนดูได้อย่างตรงใจสำหรับวินดา ขอบคุณอ.เกตุที่ให้ความรู้ ความเข้าใจปรัชญาชีวิตญี่ปุ่นที่ถือเป็นบทเรียนผ่านการเล่าเรื่องได้เข้าใจง่าย ฟังเพลิน ยิ้มตาม ใจฟูไม่ไหวแล้วค่ะ และขอบคุณทีมงานรวมถึงผู้สนับสนุนทุกท่านที่ทำรายการดีๆออกมาให้พวกเราได้ติดตาม เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ค่ะ🙇🏻‍♀️💓🦋
สำหรับใครที่อยากตามไปฟังเรื่องราวนี้แบบได้ยินเสียงอ.เกตุที่สะกดคำในภาษาญี่ปุ่นได้อย่างถูกต้อง ได้ฟังเสียงบทสนทนาระหว่างคุณเอ๋และอ.เกตุในบรรยากาศการพูดคุยแบบสบายๆเป็นกันเองแนวเล่าเรื่อง เล่าสู่กันฟัง วินดาใส่ Link ไว้ด้านท้ายนี้นะคะ
1
แล้วพบกันใหม่ค่ะ👋🏻
#windasharing
โฆษณา