13 พ.ค. 2022 เวลา 11:30 • สิ่งแวดล้อม
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่จม เตาปฏิกรณ์ที่เสียหาย แต่ถูกลืม
1
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจได้พัฒนาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นมาใช้
โดยมีข้อดีคือ สามารถดำน้ำได้นานเป็นปีๆ (จนอาหารในเรือหมดเสียก่อน) และโจมตีได้ทั่วโลก
USS นอติลุส ของสหรัฐฯ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ลำแรกของโลก
ประเทศที่ครอบครองเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ได้แก่ สหรัฐฯ รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย รวมกันมากกว่า 130 ลำ ในปัจจุบัน
เป็นของสหรัฐฯ และรัสเซีย มากกว่า 70 และ 30 ลำ ตามลำดับ
ในอดีตที่ผ่านมา มีเรือดำน้ำนิวเคลียร์อยู่ 8 ลำ ที่เกิดอุบัติเหตุ และจมลงสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นของสหรัฐฯ และรัสเซีย
แผนที่เรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่จม (เรือตระกูล K เป็นของรัสเซีย)
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่จมนั้น น้ำทะเลจะเข้าไปในแกนปฏิกรณ์ ทำให้แกนไม่ร้อนเกิน รวมถึงระเบียบการของกัปตันที่สั่งให้ปิดเตาในกรณีที่เรือจม
เราจึงไม่เห็นหายนะเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลคือ กัมมันตภาพรังสีที่อาจรั่วไหลออกมา
เรือ Kursk ของรัสเซีย จมลงจากอุบัติเหตุตอปิโดในเรือระเบิด ลูกเรือเสียชีวิต 118 นาย ปัจจุบันเรือถูกกู้ขึ้นมาแล้ว
แม้น้ำจะเป็นเกราะป้องกันการแผ่รังสีได้ดี แต่ที่กังวลกันจริงๆ คือ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรือ
หนึ่งในเรือที่มีรังสีรั่วไหล คือ K-278 Komsomolets จมลงในปีค.ศ. 1989 จากการเกิดไฟไหม้ห้องเครื่อง
มีลูกเรือเสียชีวิต 42 นาย จาก 69 นาย ก่อนที่กองทัพเรือโซเวียตจะมาช่วย และเรือจมลงสู่ก้นทะเลของนอร์เวย์ในเวลาต่อมา
บริเวณปล่องที่ต่อเข้ากับเตาปฏิกรณ์ มีการแผ่รังสีสูง
เรือดังกล่าวจมลงไปพร้อมกับหัวรบนิวเคลียร์และขีปนาวุธในเรือ
หลังจาก K-278 จม นอร์เวย์และรัสเซียได้เฝ้าติดตามการแผ่รังสีในพื้นที่อยู่เป็นประจำ บางครั้งมีการสำรวจตัวเรือร่วมกัน
ภาพวาดการสำรวจซากเรือด้วยหุ่นยนต์
รอบตัวเรือมีการแผ่รังสีสูงกว่าบริเวณอื่นอย่างชัดเจน แต่ไม่สูงจนเป็นที่น่าตกใจ และยังดีที่บริเวณดังกล่าวมีสัตว์น้ำไม่มากนัก
การสำรวจซากเรือด้วยหุ่นยนต์
ปัจจุบัน K-278 ยังคงอยู่ใต้ทะเลพร้อมกับหัวรบนิวเคลียร์ ซึ่งรัสเซียก็มีแผนที่จะปลดหัวรบในเรือดังกล่าว
โดยรวม เรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่จมทะเลไม่ได้เป็นอันตรายมาก แต่จะเป็นอันตรายกับสัตว์น้ำที่อยู่ใกล้ตัวเรือเป็นเวลานาน
อ้างอิง :
โฆษณา